นักเรียนคิดว่าอิทธิพลของครอบครัว เพื่อน โรงเรียน และสื่อต่างๆ มีผลกระทบต่อตนเองหรือไม่อย่างไร

         ความขัดแย้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มนักเรียนและเยาวชนในช่วงวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่มีเพื่อนมาก  และเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทางด้านร่างกายและจิตใจ วัยรุ่นจึงเป็นช่วงวัยที่มักประสบปัญหาเพราะเป็นระยะที่มีนิสัยโมโหง่าย ดื้อเพื่อนมีอิทธิพลต่อตนมากจึงทำให้เกิดความขัดแย้งทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มเพื่อนเสมอๆ และมักก่อให้เกิด

ความรุนแรงและผลกระทบอื่นๆตามมาอีกมากมาย

ลักษณะและพฤติกรรม ที่เกิดขึ้นจากปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชน

       1. การทะเลาะวิวาทภายในสถาบัน อาจเกิดจากบุคคล 2 คนที่ทำร้าย ชกต่อย ตีกัน ปัญหาการรังแกกันในโรงเรียนที่พบบ่อยๆ คือการทำร้ายจิตใจกันด้วยวาจา การล้อเลียน   การที่รุ่นพี่ครอบงำรุ่นน้อง และการคุกคามทางเพศ เด็กเล็กถูกเด็กโตรังแก ข่มขู่เอาเงินหรือสิ่งข้องมีค่าทำร้ายกัน หรืออาจเกิดจากบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายละหลายๆ คน หรือการรุมทำร้ายกันซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงมากแต่ทำให้เกิดการบาดเจ็บแต่บางครั้งก็จะมีการแทงกัน ยิงกัน ดังข่าวที่ปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์

        2. การทะเลาะวิวาทภายนอกสถาบัน   การทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบันส่วนใหญ่เป็นความรุนแรง ที่เกิดจากความไม่พอใจกันระหว่างบุคคลกับบุคคล  หรืออาจจะขยายเป็นระหว่างกลุ่มมักเกิดจากนักเรียน  นักศึกษากลุ่มหนึ่งซึ่งมีจำนวนเล็กน้อยเกิดความคึกคะนอง  อยากทำตัวโดดเด่น(ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง) ไม่คิดถึงจิตใจของผู้อื่น  แม้กระทั้งพ่อแม่ของตนเอง ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม คือ ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท มีการทำร้ายกัน  ยกพวกระหว่างโรงเรียนมาตีกันโดยการใช้อาวุธต่างๆ  เช่นมีด  ไม้  เป็นต้น

         3. การถูกทำร้ายทางเพศ  วัยรุ่นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้หญิงที่ถูกทำร้ายทางเพศโดยมากมักจะเกิดจากความขัดแย้ง  ทำให้เกิด ความโกรธ  อยากแก้แค้นกัน  อาจใช้วิธีหลอก  ล่อลวงและบังคับ  บางรายถูกทำร้ายทางเพศติดต่อการเป็นเวลานานหลายปี  กว่าที่คนใกล้ชิดหรือหน่วยงายที่เกี่ยวข้องจะรู้เรื่องหรือผู้ถูกทำร้ายจะยอมเปิดเผยเรื่องราว

สาเหตุของการขัดแย้งในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชน  มีดั้งนี้
          1. เกิดจากความไม่พอใจจนทำให้มีความขัดแย้งกันในเรื่องต่างๆ จนเกิดอารมณ์ เป็นเหตุให้ใช้ความรุนแรงต่อกันมักเกิดกับกลุ่มเพื่อนที่ไม่ค่อยสนิทกัน   อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบว่าตัวเองถูกอีกฝ่ายไม่พอใจ
          2.หยอกล้อและแกล้งกัน อาจจะเล่นแรงเกินไปหรืออีกฝ่ายไม่มีอารมณ์เล่นด้วย การแกล้งกันอาจทำให้เกิดการทะเลาะกันได้
          3.การหึงหวง  วันรุ่นส่วนใหญ่ทั้งเพศชายและเพศหญิงเริ่มสนใจเพศตรงข้าม  และบางคนอาจจะมีคู่รักการชอบหรือการสนใจคนคนเดียวกันหรือสนใจคนที่คนรักอยู่แล้วจะทำให้เกิดการหึงหวง เป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้ง
          4. มีความผิดปกติทางจิตใจ คือ เป็นคนก้าวร้าว ชอบการกระทำที่รุนแรง ขาดความเมตตาปรานี
          5. มาจากครอบครับที่มีแต่ความขัดแย้ง พ่อแม่ทำเลาะกัน ทุบตีและด่าว่ากัน ลูกจะซึมซับพฤติกรรมที่รุนแรงดังกล่าว อาจเกิดการเลียนแบบมีอารมณ์ร้อนหรือใช้ความรุนแรงเพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ
          6. มี ค่านิยมที่ผิดๆ ซึ่งเป็นค่านิยมที่แสดงออกทางพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น แก้แค้นแทนเพื่อนทั้งๆ ที่ตัวองไม่ได้โกรธหรือมีเรื่องทะเลาะกับเขาแต่ด้วยความที่เป็นเพื่อนกลุ่มเดียวกันหรือด้วยวามรักเพื่อนจึงช่วยเพื่อนในทางที่ผิด โดยการไปทะเลาะกับฝ่ายตรงข้าม และอาจถึงขั้นทำร้ายร่างกายกัน
          7. เกิดการกระทบกระทั่งกัน บางครั้งอาจจะไม่มีเจตนาที่จะมีเรื่องขัดแย้งกันแต่ทำไปด้วยความไม่ไดตั้งใจหรือทำไปโดยไม่ได้คิดอะไร เช่น พูดจาด้วยคำพูดที่รุนแรงโดยไม่ได้คิดหรือเดินชนกันโดยไม่ได้ตั้งใจก็อาจจะทำให้เกิดความไม่พอใจหรือเกิดความขัดแย้งกันได้
          8. การเลียนแบบสื่อต่าง ๆ ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการขัดแย้ง ใช้ความรุนแรง เช่น ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และหนังสือต่างๆ เป็นต้น

        ความขัดแย้งระหว่างนักเรียนหรอเยาวชนในชุมชนเมื่อเกินขึ้นจะทำให้เกินผลกระทบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ดังนี้

         

1. ทำให้โกรธเคือง เกิดความบาดหมางกันและเลิกคบหากัน ทำให้เสียมิตร
          2. ทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายกัน จนทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับบาดเจ็บพิการทุพพลภาพ หรืออาจเสียชีวิต
          3. ทำให้ครอบครัวไม่มีความสุข ผู้ปกครองเดือดร้อน มีความทุกข์ใจ โรงเรียนต้องเชิญผู้ปกครองไปพบ หรือถ้าฝ่ายเสียหายแจ้งความ ต้องไปดำเนินเรื่องต่อทำให้เสียเวลาในการเรียนด้วย
          4. อาจถูกดำเนินคดีเพราะทำผดกฎหมาย เช่น การทำร้ายร่างกายผู้อื่น
          5. เสียการเรียน เสียเวลา อาจเสียอนาคต เช่น เกินการหวาดกลัวฝ่ายตรงข้าง ทำให้ไม่กล้ามาโรงเรียน ต้องคอยหลบเลี่ยง และอาจทิ้งการเรียนกลางคัน
          6. เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาภายหลัง เช่น ถ้าเกิดความพิการ ต้องเป็นภาระเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลในระยะยาว เป็นต้น
          7. เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาภายหลัง เช่น ถ้าเกิดความพิการ ต้องเป็นภาระเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลในระยะยาว เป็นต้น

             ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดในวัยรุ่นส่งผลทำให้มีความรุนแรงเกิดขึ้นตามมาในโรงเรียน สถาบันศึกษา และในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นความขัดแย่งภายในโรงเรียนและการทะเลาะวิวาท นอกสถาบัน แนวทางการแก้ไขปัญหาควรปฏิบัติดังนี้ 
             1. ฝึกตนเองให้สามารถรู้จักแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิดดี เหตุผล หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์และความรุนแรง รู้จักประนีประนอม พูดจาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง
             2. รู้จักการให้อภัยเพราะการให้อภัยจะทำให้ความขัดแย้งจบได้รวดเร็ว
             3. ไม่ใช้อารมณ์ ความรุนแรง ตัดสินปัญหาความขัดแย้ง แต่ควรใช่สติและความคิดในการแก้ไขปัญหา
             4. รู้จักการข่มใจ อดทนอดกลั้น เพื่อที่จะทำให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นคลี่คลายไปในทางที่ดี
             5. ช่วยห้ามปรามไกล่เกลี่ยเพื่อนและคนใกล้ชิด อย่าให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันและต้องไม่ยุยงส่งเสริมให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน
             6.เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสัมพันธภาพอันดีในกลุ่มนักเรียน เช่น โครงการกีฬาสี การจัดแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำให้นักเรียนมีโอกาสในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และทำให้ทุกคนรู้บทบาทหน้าที่ของตัวเอง
             7.เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนา คุณธรรมจริยธรรมในรูปแบบต่างๆ ที่โ รงเรียนและสถาบันการศึกษาจัดให้นักเรียนเพื่อกล่อมเกลาจิตใจ อาทิ อบรมจริยธรรม และไปเข้าค่ายปฏิบัติธรรมและฝึกสมาธิ เป็นต้น

สรุปปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชนในชุมชน
        
ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชนในชุมชน เป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน การทะเลาะวิวาท ใช้กำลังทำร้ายกัน ทำให้นักเรียน เยาวชน และคนในสังคมได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ทุกคนในสังคมจึงต้องร่วมมือกันหาวิธีป้องกันและจัดการความขัดแย้งอย่างสันติและสร้างสรรค์ เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงในสังคม และสมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข