นักเรียนมีวิธีป้องกันหรือลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างไร

ความขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกัน การไม่ถูกกันทางความคิดไม่ตรงกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง

1. เกิดจากความเชื่อศรัทธาในคำสอนของศาสนาแตกต่างกัน

2. ความมีทิฏฐิมานะ

3. ความถือตัวว่าความคิดของตนเองดูดีกว่าคนอื่น

4. มีวิสัยทัศน์ที่คับแคบ

5. สังคมโลกขยายตัวเร็วเกินไป และการมีค่านิยมในสิ่งต่าง ๆ ผิดแผกกัน

วิธีป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งทางศาสนาต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมและวิธีป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งทางศาสนา

1. วิธียอมกัน คือ ทุกคนลดทิฐิมานะ

2. วิธีผสมผสานกัน คือ ทุกฝ่ายทุกศาสนาเปิดเผยความจริง

3. วิธีหลีกเลี่ยง คือ ไม่ไปก้าวก่ายความคิดและความเชื่อศาสนาอื่น

4. วิธีการประนีประนอม คือ การแก้ไขปัญหาโดยวิธียอมเสียบางอย่างและได้บางอย่างมีอำนาจพอ ๆ กัน ต่างคนก็ไม่เสียเปรียบ

กรณีตัวอย่างปาเลสไตน์

          ในดินแดนปาเลสไตน์ได้ เกิดสงครามยืดเยื้อมานับสิบๆปี เกิดจากเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ดินแดนนี้อยู่ในความครอบครองของชาวเติร์ก (ตุรกี) และมีปาเลสไตน์ เป็นชนพื้นเมืองอยู่ดั้งเดิม ผสมกับชาวอาหรับและชนเผ่าต่างๆโดยมีประเทศอังกฤษ สนับสนุนให้ปาเลสไตน์มีเอกราชในบริเวณนี้ ต่อมาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวยิวในเยอรมันถูกฮิตเลอร์ฆ่าตายจำนวนมาก อังกฤษและชาติมหาอำนาจในขณะนั้นได้ให้ชาวยิวอพยพเข้าสู่ดินแดนปาเลสไตน์ในปีค ศ 1922 แต่ขณะเดียวกันชาวปาเลสไตน์ไม่พอใจเพราะพวกเขายังคงอยู่ลำบากและมีปัญหากับประเทศอิสราเอลจวบจนปัจจุบัน มีการจัดตั้งกลุ่มฮามาส เพื่อขับไล่อิสราเอลออกจากปาเลสไตน์ มีการเจรจาสงบศึกหลายครั้งแต่ยังไม่สำเร็จ สภาพปัยหาต่าง ๆ ยังคงมีจวบจนปัจจุบัน

นักเรียนมีวิธีป้องกันหรือลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างไร

ปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน การเลี้ยงลูก ปัญหาทางการเงิน หรือแม้แต่เรื่องสุขภาพ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ล้วนเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกภายในบ้านและอาจจะบานปลายจนกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวได้นะคะ วันนี้เรามีวิธีรับมือที่จะให้สมาชิกภายในบ้านร่วมมือกันจัดการปัญหาต่างๆ เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมาฝากค่ะ

  • หาเวลาพูดคุยกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยเลือกเวลาที่ทุกคนสะดวกเพื่อพบปะพูดคุยกัน ให้สมาชิกทุกคนพูดคุย มีส่วนร่วมในการเสนอคำแนะนำ และวิธีแก้ปัญหาภายในครอบครัว ควรเปิดโอกาสให้ทุกคนพูดถึงสิ่งที่คิดออกมาตรง ๆ เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด การเผชิญและก้าวผ่านปัญหาครอบครัวคงเป็นเรื่องยากหากสมาชิกคนใดคนหนึ่งทำเพียงลำพัง แต่เมื่อสมาชิกทุกคนช่วยกันก็จะแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
  • รู้จักควบคุมอารมณ์ เป็นเรื่องปกติที่แต่ละคนมีความคิดเป็นของตัวเอง หรือมีความคิดเห็นคนละมุมมอง ต้องรู้จักใช้เหตุผล หลีกเลี่ยงการโต้เถียงและไม่ใช้อารมณ์เป็นใหญ่
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี สภาพแวดล้อมอาจส่งผลต่อพฤติกรรมได้ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในบ้านหรือรอบ ๆ บ้านให้ดีขึ้นอาจช่วยลดอาการเครียดที่เกิดขึ้นได้
  • กำหนดกฎ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความเข้าใจที่ตรงกันของทุกคนในครอบครัว เช่น กำหนดเวลาการกินอาหารเย็นร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว การแบ่งงานบ้านต่างๆ เช่น การกวาดบ้าน การถูบ้าน การทิ้งขยะ และการดูดฝุ่น เป็นต้น จะทำให้สมาชิกทุกคนในบ้านมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน
  • ร่วมมือกันดูแลครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ควรร่วมมือและช่วยเหลือกันในการดูแลครอบครัว แก้ไขปัญหาต่าง ๆ และดูแลพฤติกรรมของลูก ๆ โดยไม่ปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น

ให้คะแนนบทความนี้

[คะแนนบทความนี้: 2.6]

ในการใช้ชีวิตประจำวัน ของนักเรียน ไม่ว่าจะอยู่ในครอบครัว โรงเรียน และสังคม บางครั้งอาจต้องพบเจอกับปัญหาต่างๆ รวมไปถึงความขัดแย้ง ซึ่งบางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ การศึกษาหาความรู้ในเรื่องทักษะชีวิต และนำหลักการดังกล่าวไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้นักเรียนสามารถป้องกันและ แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งช่วยลดความขัดแย้ง ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนด้วย  โดยทักษะชีวิตที่นักเรียนควรเรียนรู้ มีดังนี้
       1. ทักษะการตัดสินใจ เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ เช่น ถ้าบุคคลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำของตนเองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพหรือความปลอดภัยในชีวิต โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

      2. ทักษะการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข

       3. ทักษะการต่อรองเพื่อประนีประนอม  การต่อรอง หมายถึง การทำให้ลดลงเช่นของแพงมีการต่อรองให้ราคาลดลง ส่วนการประนีประนอมก็คือการผ่อนหนักให้เป็นเบาให้แก่กันหรือปรองดองกัน ดังนั้นทักษะการต่อรองเพื่อการประนีประนอมจึงหมายถึงทักษะที่ลดความรุนแรงหรือผ่อนหนักให้เป็นเบา สร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับหลายคู่กรณีทั้งหลาย โดยการใช้ทักษะดังนี้

1.ควบคุมอารมณ์ ไม่ใจร้อน มีเหตุผล
2.รอบคอบ ความรอบคอบจะสามารถคิดหาเห็นผลในการต่อรองได้ดี
3.ใช้เหตุผล เหตุผลจะทำให้การต่อรองดีขึ้น
4.มีการยืดหยุ่น การรู้จักผ่อนหนักเป็นเบา คล้อยตามบ้าง
5.สุภาพอ่อนโยน

คำพูดที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง คำพูดที่ประนีประนอม
1.เธอไม่ต้องมาชวนเราไปทำเรื่องไร้สาระเลยนะ เราไม่มีเวลาว่างมากเหมือนเธอ 1.เราอยากไปเดินซื้อของกับเธอนะ แต่เรายังทำการบ้านไม่เสร็จเลย ถ้าทำเสร็จก่อนที่เธอจะไป เราจะไปด้วยแล้วกันนะ
2.เราว่ามานีพูดถูกที่เธอไม่มีเหตุผลเลย พูดอย่างนี้ไม่มีใครอยากพูดกับเธอหรอก 2.เราว่าที่เธอพูดก็มีส่วนถูก แต่มองอีกด้านหนึ่ง ที่มานีพูดมาก็มีเหตุผลน่ารับฟังเหมือนกันนะ เราควรพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อจะตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมเธอว่าดีไหม
3.เธอเอาแต่ใจเกินไปแล้วนะ 3.เธอน่าจะฟังคนอื่นบ้างนะ

      4. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแสดงความต้องการ การแสดงความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ ซึ่งทักษะที่สำคัญเกี่ยวกับการสื่อสารก็คือ การพูดการฟัง การถาม

       ทักษะการพูด : เป็นทักษะที่ผู้สื่อการจะต้องคำนึงถึงบริบทโดยรวม เพื่อให้การพูดเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ในการสื่อสารผู้พูดควรคำนึงถึง

        1.พูดกับใคร : การพูดนั้นต้องใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับคนที่เราพูดด้วย เช่น พูดกับพ่อแม่ พูดกับเพื่อน หรือ พูดกับเด็ก พูดกับผู้ใหญ่ ก็จะต้องใช้ระดับภาษาที่ต่างกันและควรใช้คำสุภาพเพราะการใช้คำพูดที่ไม่ สุภาพอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้
        2. พูดที่ไหน : การพูดนั้นต้องใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับสถานที่ ควรดูว่าเป็นที่ส่วนตัว ที่สาธารณะ หรือ อยู่ในพิธีการ ควรใช้คำพูดและระดับเสียงให้เหมาะสมกับสถานที่นั้น เช่น หากนักเรียนอยู่ในพิธีไหว้ครูแล้วจำเป็นต้องพูดกับเพื่อนควรพูดอย่างกระชับ โดยใช้น้ำเสียงเบาเพื่อนไม่ให้รบกวนผู้อื่น
         3. พูดเวลาใด : การพูดนั้นควรคำนึงถึงอารมณ์ของผู้ที่เราสนทนาด้วยว่าในเวลานั้นเป็นอย่างไร หรือ สถานการณ์ในขณะนั้นเราควรจะพูดอย่างไร เช่น ไม่ควรพูดเล่นในขณะที่พูดเป็นการเป็นงาน ไม่พูดเย้าแหย่ในขณะที่มีอารมณ์โกธร
         4. พูดในโอกาสใด : การพูดคุยในโอกาสต่างๆ ควรมีความแตกต่างกัน เช่น ในงานสังสรรค์อาจพูดคุยกันอย่างเต็มที่สนุกสนาน  ใน งานศพควรสำรวมกิริยาไม่หัวเราะ ไม่พูดตลกขบขัน ในงานแต่งงานควรใช้คำพูดที่เป็นสิริมงคล ไม่ควรพูดล้อเล่นให้คู่บ่าวสาวเกิดความระแวงแคลงใจกัน
          5. พูดอย่างไร : เป็นการพูดให้ผู้ฟัง รู้สึกชอบใจ ซึ่งต้องใช้คำพูดที่สุภาพ นุ่มนวล ไม่หยาบคาย เป็นคำพูดในเชิงบวก ไม่พูดติเตียนให้ร้ายผู้อื่น ใช้คำพูดที่ไพเราะพูดด้วยความจริงใจไม่เสแสร้ง ถ้าทำได้ เช่นนี้ ก็จะทำให้ผู้ฟังหรือคู่สนทนาพอใจ

5. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล  เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว

      การสร้างและการรักษาสัมพันธภาพในครอบครัว : ครอบครัวซึ่งประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก หรือบางครอบครัวที่เป็นครอบครัวใหญ่อาจรวม ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา ที่รวมกันอย่างมีความสุข และมีหลักการสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีดังนี้

        1.ทุกคนต้องปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของครอบครัว สม่ำเสมอ
        2.เคารพเชื่อฟังและให้เกียติซึ่งกันและกัน เด็กต้องเคารพผู้ใหญ่
        3.ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่าง
เต็มความสามารถ
        4.รักและซื่อสัตย์ต่อครอบครัว
        5.มีความเอื้ออาทรต่อกันละกันภายในครอบครัว

การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อน : เพื่อนคือคนที่ชอบพอรักใคร่กัน คนที่คบกันเป็นเพื่อนส่วนใหญ่จะมีความชอบ ความคิดเห็นตรงกัน และพฤติกรรมเหมือนๆหรือใกล้เคียงกัน หลักการสร้างภาพระหว่างเพื่อนคือ
      1.รักและช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในเวลาปกติและในเวลาที่เดือดร้อน
      2.สามารถปรับทุกข์และร่วมกันแก้ปัญหาให้กับเพื่อนได้
      3.ยอมรับฟังความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะที่ดีต่อกัน
      4.สนใจและเอาใจใส่ความรู้สึกของเพื่อนเสมอ
     5.ไม่เห็นแก่ตัวและไม่เอาเปรียบเพื่อน

การสร้างและการรักษาสัมพันธภาพในสังคม : การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข จะเกิดขึ้นได้โดยมีหลักปฏิบัติ ดังนี้
      1.พัฒนาบุคคลิกภาพ ให้ผู้พบเห็นเกิดความชื่นชมและประทับใจด้วยการพูดกิริยาท่าทางต่างๆและการ
วางตัวอย่างเหมาะสม
       2.การแสดงออกด้วยความใจกว้างและใจดี
       3.การให้ความช่วยเหลือเอาใจใส่ในกิจกรรมละงานส่วนรวม
       4.ให้คำแนะนำและเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
       5.ร่วมกันแก้ปัญหาในสังคมให้ดีขึ้น

 6. ทักษะการปฏิเสธ เป็นทักษะการปฏิเสธเป็นทักษะสื่อสารเพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้และยอมรับว่าตนเองไม่เห็นด้วย โดยไม่เสียสัมพันธภาพอันดีต่อกัน องค์ประกอบของการปฏิเสธ มีดังนี้ 
๖.๑ คุณลักษณะของการปฏิเสธ 
       ๑) การปฏิเสธเป็นสิทธิและความต้องการโดยชอบธรรมที่จะปฏิเสธ 
       ๒).การที่จะปฏิเสธหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เพราะในเรื่องเดียวกันแต่ถ้าคนละสถานการณ์ ก็อาจปฏิเสธได้ทั้งที่ในสถานการณ์ครั้งก่อนไม่ปฏิเสธ 
       ๓) .มีการพิจารณาถึงพฤติกรรม ว่าพฤติกรรมนั้นควรปฏิเสธหรือไม่ 
       ๔).มีองค์ประกอบในด้านความรู้สึก การแสดงพฤติกรรมที่ต้องการ และความคิดเห็นส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง

๖.๒ หลักการปฏิเสธ 
     ๑) ควรปฏิเสธด้วยคำพูด น้ำเสียง ท่าทางที่จริงจังแต่มีความสุภาพ เพื่อแสดงความตั้งใจอย่างชัดเจนในการปฏิเสธ 
     ๒) แสดงความรู้สึกและพฤติกรรมประกอบไปกับเหตุผล 
     ๓) การขอความเห็นส่วนร่วมกับการแสดงการขอบคุณ การขอโทษ เพื่อรักษาน้ำใจและสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน 
      ๔) มีสมาธิในการปฏิเสธเมื่อถูกรบเร้าไม่ควรหวั่นไหวหรือลังเล ควรยืนยันการปฏิเสธ และหาทางออกโดยวิธีการดังนี้ 
      -ควรปฏิเสธซ้ำโดยไม่ต้องใช้ข้ออ้าง พร้อมทั้งกล่าวคำอำลา โดยไม่ฟังคำพูดอื่นใดอีก เพื่อไม่ให้เกิดความลังเลใจ หรือขาดความเชื่อมั่นในตนเอง 
      -มีการต่อรองหรือผัดผ่อน โดยการหากิจกรรมอื่นมาทดแทน 
      -มีการผัดผ่อน โดยยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนใจ 

๖.๓ การเลือกใช้ทักษะการปฏิเสธ 
       ๑) ไม่ชอบหรือไม่ต้องร่วมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความอึดอัดหรือคับข้องใจก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธ 
       ๒) เมื่อรู้สึกลังเลใจต่อการเลือกสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งเสีย 
       ๓) เมื่อรู้สึกว่าสถานการณ์นั้นเสี่ยงต่อตนเอง ก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธในสถานการณ์ ดังกล่าวนั้น 

๖.๔ ประโยชน์ของการปฏิเสธ 
       ๑) เป็นการแสดงสิทธิอันชอบธรรมของบุคคลต่อการแสดงความรู้สึกไม่พอใจความขัดแย้งของตนเอง ต่อผู้อื่นโดยไม่เสียสัมพันธภาพ 
       ๒) ทำให้เกิดความปลอดภัยหรือป้องกันการเกิดความสูญเสียซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ 
       ๓) เป็นการระงับความขัดแย้งหรือเพื่อการรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันให้คงอยู่ 
       ๔) ใช้ในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งสถานการณ์เสี่ยงต่อสุขภาพและเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน 

การป้องกันความขัดแย้งมีวิธีอย่างไร

1. ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติและอาจเกิดขึ้นได้เสมอ 2. ทั้ง 2 ฝ่าย มีทัศนคติในการช่วยกันแก้ปัญหามากกว่ามุ่งเอาชนะกันและกัน 3. มีความจริงใจที่แสดงความต้องการที่แท้จริงออกมา 4. หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อช่วยการตัดสินใจ 5. หลีกเลี่ยงการใช้คะแนนเสียงข้างมากเป็นข้อยุติ 6. เอาใจใส่ซึ่งกันและกันและไม่เห็นแก่ตัว

นักเรียนมีแนวทางป้องกันแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัวอย่างไร

ใช้เวลาร่วมกันเป็นครอบครัว การใช้เวลาที่ดีร่วมกัน จะช่วยสานสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้แน่นแฟ้น และลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น โดยสามารถใช้ช่วงเวลานี้ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังความทุกข์หรือความกังวลใจของคนในครอบครัว อาจให้คำปรึกษาหรือแนวทางแก้ปัญหาอย่างเข้าใจและไม่ตัดสิน เพื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกวางใจ รู้สึก ...

นักเรียนมีวิธีลดความขัดแย้งในครอบครัวอย่างสร้างสรรค์อย่างไร

นักจิตวิทยาแนะนำ 6 วิธีลดความขัดแย้งในครอบครัวอย่างยั่งยืน.
1. รับฟังกันให้มากขึ้น ... .
2. อย่าด่วนตัดสินคนในครอบครัว ... .
3. ระลึกไว้ว่าคนในครอบครัวไม่ใช่ที่ระบายอารมณ์ ... .
4. มีปัญหากันให้รีบพูด ... .
5. หาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน ... .
6. ใส่ใจกันให้มากขึ้น.

นักเรียนจะป้องกันปัญหาความขัดแย้งในวัยรุ่นได้อย่างไร

ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดในวัยรุ่นส่งผลทำให้มีความรุนแรงเกิดขึ้นตามมาในโรงเรียน สถาบันศึกษา และในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นความขัดแย่งภายในโรงเรียนและการทะเลาะวิวาท นอกสถาบัน แนวทางการแก้ไขปัญหาควรปฏิบัติดังนี้ 1. ฝึกตนเองให้สามารถรู้จักแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิดดี เหตุผล หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์และความรุนแรง รู้จัก ประนีประนอม ...