ประเพณีมีความเป็นมาอย่างไร

พุทธศาสนามีความสำคัญกับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน หลอมรวมกับความเชื่อท้องถิ่นมาเป็น ประเพณี วัฒนธรรม ของสังคมไทยในแต่ละภาคแบบทุกวันนี้🙏

วันนี้ Trip.com จะมาเล่าประวัติประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญโดยสังเขปว่าแต่ละประเพณีมีความสำคัญอย่างไร มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมอะไรบ้าง มาดูกันเลย😁

ท็อป 17 โรงแรมห้องวิลล่าดีที่สุดในภูเก็ต

ต้องการความเป็นส่วนตัวสักหน่อย? มาเอนหลัง ผ่อยคลาย สบายๆ กับวิลล่าน่าพัก

ประเพณีมีความเป็นมาอย่างไร

ประเพณีไหว้พระธาตุ

ประเพณีมีความเป็นมาอย่างไร

ประเพณีไหว้พระธาตุ มีอีกชื่อก็คือประเพณีขึ้นธาตุ เป็นประเพณีประจำปีของภาคเหนือที่มีความสำคัญมาก มักจะจัดในวันเพ็ญเดือนแปด มีความสำคัญคือเป็นวันที่ตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งในปี 2564 วันหยุดพิเศษภาคเหนือนี้ตรงกับวันที่ 26 มีนาคมโดยในวันสำคัญนี้ ชาวเหนือนิยมไปสักการะเจดีย์พระธาตุที่ตรงกับปีนักษัตรของตนเอง เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ประเพณีมีความเป็นมาอย่างไร

Credit Facebook สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร

ประเพณีต่อมาคือประเพณีบุญบั้งไฟ จะจัดขึ้นใน ดือนหกของปี ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม เป็นประเพณีที่มีความสำคัญกับชาวอีสานมาก โดยจุดมุ่งหมายของประเพณีคือการบูชาพระยาแถน เพื่อขอฝนให้ตกตามฤดูกาล จะได้มีนำ้มาทำการเกษตร

ชาวอีสานจะจัดขบวนแห่บั้งไฟหัวของขบวนมักเป็นรูปพญานาคในการทำพิธีขอฝน

ประเพณีสารทเดือนสิบ

ประเพณีมีความเป็นมาอย่างไร

ขนมลา เป็นขนมประจำประเพณีสารทเดือนสิบ

ประเพณีมีความเป็นมาอย่างไร

Credit Facebook ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประเพณีสารทเดือนสิบซึ่งตรงกับวันที่ 6 ตุลาคมในปีนี้ เป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความสำคัญกับชาวภาคใต้อย่างมาก ในทุก ๆ ปี ชาวบ้านจะนิยมไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยจะนำขนมกระยาสารท ข้าวปลาอาหารต่าง ๆ ไปทำบุญตักบาตรที่วัดท้องถิ่นและช่วงนี้ยังตรงกับฤดูเก็บเกี่ยว ช่วงพืชพรรณออกดอกออกผล การไหว้จึงจะเป็นไปพื่อขอผลผลิตทางการเกษตรและเป็นความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ

ออกพรรษา

ประเพณีมีความเป็นมาอย่างไร

Credit Facebook ททท.สำนักงานอุทัยธานี

วันออกพรรษาในปีนี้ตรงกับวันที่ 26 ตุลาคม ถือเป็นการสิ้นสุดระยะเวลาสามเดือนที่พระสงฆ์จำพรรรษาที่วัดในช่วงฤดูฝน อีกชื่อของวันออกพรรษาคือวันมหาปวารณา จะมีการทำบุญ ฟังเทศน์ และตักบาตรเทโว โดยชาวบ้านจะนำ ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรพระเพื่อเป็นการรำลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากทรงแสดงธรรมเทศนาแก่พระมารดา

มีใครเคยไปร่วมประเพณีท้องถิ่นที่ไหนบ้างไหมคะ มาเล่าต่อกันฟังได้น้า😆❤️

ส่วนใครที่กำลังอยากหาเที่ยวบินราคาดี ๆ เผื่อเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ก็ขอฝาก Trip.com ด้วยนะค้า ราคาน่ารักแน่นอน✈️

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเพณี (อังกฤษ: tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ

ความหมายของประเพณี[แก้]

พระยาอนุมานราชธน ได้ให้ความหมายของคำว่าประเพณีไว้ว่า ประเพณี คือ ความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียวกัน และสืบต่อกันมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออกนอกแบบก็ผิดประเพณี หรือผิดจารีตประเพณี [1]

คำว่าประเพณี ตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป

โดยสรุปแล้ว ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้นๆฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม ลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแปลกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากย่อมมีจุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่งหรือตัดทอนไปในแต่ละท้องถิ่น สำหรับประเพณีไทยมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในพระพุทธศาสนาและพราหมณ์มาแต่โบราณ

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อประเพณีไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. พระยาอนุมานราชธน. วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆของไทย. พระนคร : คลังวิทยา, 2514,หน้า 37.