Big Data สามารถนำมาใช้ภาคธุรกิจอย่างไร

ใครมุ่งเน้นในเรื่องข้อมูลขนาดใหญ่?

ข้อมูลขนาดใหญ่มีความสำคัญสำหรับหลายอุตสาหกรรม การมาถึงของ IoT และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออื่นๆ ทำให้การเก็บรวบรวม การจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กรมีปริมาณเพิ่มขึ้นมหาศาล ข้อมูลขนาดใหญ่มาพร้อมกับศักยภาพในการปลดล็อกข้อมูลเชิงลึกในข้อมูลขนาดใหญ่ – สำหรับทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็ก

  • เลือกอุตสาหกรรม
  • ธุรกิจค้าปลีก
  • ภาคอุตสาหกรรมการผลิต
  • ภาคการธนาคาร
  • ภาคการแพทย์และบริการด้านสุขภาพ
  • การศึกษา
  • ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
  • ภาครัฐ
  • ภาคการประกันภัย

ธุรกิจค้าปลีก

การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ามีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกและวิธีที่ดีที่สุดในการบริหารก็คือการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ ผู้ค้าปลีกจำเป็นต้องรู้วิธีที่ดีที่สุดในการทำตลาดกับลูกค้า วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการจัดการธุรกรรม และกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูธุรกิจที่ซบเซา ข้อมูลขนาดใหญ่ยังคงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับเรื่องเหล่านี้

ภาคอุตสาหกรรมการผลิต

การมีความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่สามารถช่วยให้ผู้ผลิตสามารถเพิ่มคุณภาพและผลผลิตได้ในขณะที่ลดของเสียลง ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นหัวใจสำคัญในตลาดที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน มีผู้ผลิตจำนวนมากขึ้นกำลังทำงานในวัฒนธรรมที่ยึดตามการวิเคราะห์ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาสามารถแก้ปัญหาได้เร็วขึ้นและตัดสินใจทางธุรกิจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ภาคการธนาคาร

ด้วยการสตรีมข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งที่มาที่นับไม่ถ้วน ธนาคารต้องเผชิญกับการค้นหาวิธีการใหม่ๆ และเป็นนวัตกรรมในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ ในขณะที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าและเพิ่มความพึงพอใจของพวกเขา สิ่งที่มีความสำคัญเท่ากันก็คือการลดความเสี่ยงและการทุจริตในขณะที่ยังคงปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อมูลขนาดใหญ่นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่ใหญ่ยิ่ง แต่สถาบันการเงินก็ยังต้องยืนอยู่ข้างหน้าการแข่งขันหนึ่งก้าวด้วยการวิเคราะห์ขั้นสูง

ภาคการแพทย์และบริการด้านสุขภาพ

ระเบียนผู้ป่วย แผนการรักษา ข้อมูลการจ่ายยา เมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพ ทุกอย่างจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และในบางกรณีต้องมีความโปร่งใสมากพอเพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่เข้มงวดของอุตสาหกรรม หากมีการขัดการข้อมูลขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพจะสามารถค้นพบข้อมูลเชิงลึกที่ซ่อนอยู่ได้ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น

การศึกษา

นักวิชาการที่มีข้อมูลเชิงลึกสามารถสร้างผลกระทบต่อระบบโรงเรียน นักเรียน และหลักสูตรได้อย่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จะช่วยให้สามารถทราบเกี่ยวกับนักเรียนที่มีความเสี่ยง ทำให้มั่นใจได้ว่านักเรียนมีความคืบหน้าที่ดีพอ และสามารถใช้ระบบที่ดีขึ้นในการประเมินผลและการสนับสนุนครูอาจารย์และผู้อำนวยการ

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก

เนื่องจากมีความง่ายมากขึ้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่และยังตัวมีเลือกมากขึ้นที่มีราคาถูกลงในการจัดการ การจัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูล SMB จึงมีโอกาสที่ดีขึ้นในการแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่กว่า SMB สามารถใช้ข้อมูลขนาดใหญ่พร้อมการวิเคราะห์เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และลดความเสี่ยงและการฉ้อโกงลง

ภาครัฐ

หากหน่วยงานของรัฐสามารถควบคุมและนำการวิเคราะห์ไปใช้กับข้อมูลขนาดใหญ่ หน่วยงานเหล่านี้จะได้รับข้อมูลที่สำคัญในเรื่องการจัดการระบบสาธารณูปโภค การบริหารหน่วยงาน การรับมือกับปัญหาการจราจรติดขัดหรือป้องกันอาชญากรรม แต่ในขณะที่ข้อมูลขนาดใหญ่มีข้อดีมากมาย รัฐบาลจะต้องแก้ไขปัญหาความโปร่งใสและความเป็นส่วนตัวควบคู่ไปด้วย

ภาคการประกันภัย

Telematics, ข้อมูลเซ็นเซอร์, ข้อมูลสภาพอากาศ, โดรน และข้อมูลภาพทางอากาศ – ผู้รับประกันได้รับการไหลเข้าจนเอ่อล้นของข้อมูลขนาดใหญ่ การรวมข้อมูลขนาดใหญ่เข้ากับการวิเคราะห์เป็นการให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ที่สามารถผลักดันการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลได้ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลขนาดใหญ่ช่วยให้บริษัทประกันภัยประเมินความเสี่ยง ได้ดียิ่งขึ้นกำหนดราคากรมธรรม์ใหม่ ทำข้อเสนอที่เป็นส่วนตัวสูงได้ดียิ่งขึ้น และมีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการป้องกันการสูญเสีย

Big Data การประยุกต์ใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในภาคราชการ

 

Big Data สามารถนำมาใช้ภาคธุรกิจอย่างไร

Big data ปรากฏขึ้นในบทความเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1997 เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซ่า ได้มีการกล่าวถึงปัญหาที่พบเกิดเนื่องมากจากการมีข้อมูลมากมายมหาศาล ที่ใหญ่เกินกว่าจะจัดเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ความหมายที่กล่าวกันโดยทั่วไปของคำว่า Big data ก็คือ ข้อมูลขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการก้าวไกลของเทคโนโลยี จึงเกิดปัญหาการเก็บข้อมูลต่าง ๆ จำนวนมาก เกินขอบเขตหรือความสามารถของการจัดการข้อมูลแบบเดิมจะบันทึก จัดการและประมวลได้ภายในเวลาที่สมควร

การประยุกต์ใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในภาคราชการ

การใช้ประโยชน์จากงานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในภาคธุรกิจนั้น มีการนำมาใช้มากมายเกิดเป็นประโยชน์โดยตรง ในการนำข้อมูลมาหาค่าเชิงสถิติ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภค และเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ (Enabling New Products) ในส่วนของภาครัฐหรือราชการนั้นยังมีการใช้ป่ระโยชน์จากงานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับภาคธุรกิจ

การใช้ประโยชน์จากงานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของภาครัฐ คือ การนำมาพัฒนาการบริการภาครัฐให้ตรงต่อความต้องการของประชาชน ให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และใช้งบประมาณน้อยลง เช่น นำมาวิเคราะห์ (Analytical Use) ข้อมูลสภาพอากาศ ที่มีปริมาณมหาศาล เพื่อให้เห็นความรู้ที่ซ่อนอยู่ลึกจากเครื่องตรวจวัดจำนวนมากบนโลก ทั้งดาวเทียม เรดาร์ บอลลูน ยานตรวจอากาศ และทุ่นลอยในมหาสมุทร ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ได้รับเหล่านี้ นำมาสู่การพยากรณ์อากาศที่แม่นยำเป็นรายชั่วโมง ในด้านพันธุศาสตร์นักวิทยาศาสตร์พยายามถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อทำแผนที่ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บนโลก ซึ่งนำไปสู่การค้นพบยาใหม่ ๆ เป็นต้น

การนำไปใช้ประโยชน์ด้านการบริหารจัดการภัยธรรมชาติ เช่น

1) การนำข้อมูลภัยพิบัติจากธรรมชาติ เพื่อการวิเคราะห์ที่ก้าวหน้การจัดทำโมเดล และการสร้างขีดความสามารถทางคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ เช่น โมเดลของสถานการณ์ที่คาดว่าจะเป็นอันตราย เป็นต้น

2) การนำข้อมูล เหล่านั้น มาปรับปรุงวิธีการฟื้นฟูแก้ไขให้กลับไปสู่สภาพเดิม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการตรวจวัดด้วยข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน การแปลงข้อมูลเป็นภาพ การวิเคราะห์ การทดลองและการทำนายเพื่อการตัดสินใจในช่วงวิกฤติ

3) การนำข้อมูลมาสร้างนวัตกรรมและความรู้พื้นฐานขั้นสูงพื่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การฟื้นฟูแก้ไขให้กลับสู่สภาพเดิม และความยั่งยืนรวมถึงเครือข่ายพื้นฐานในการเผยแพร่ข้อมูลข้างต้น

4) การนำข้อมูลเหล่านั้นมารวบรวมสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่และการปรับปรุง ฐานความรู้ ทีกว้างขวาง เพื่อเตรียมรับและตอบสนองของสังคม และความต้องการของโลก รวมถึงมิติต่าง ๆ ในด้านสิ่งแวดล้อม เศษฐกิจ สัดมและมนุษยชาติ เป็นตัน จะเห็นได้ว่า ประโยชน์ของการนำงานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาใช้ยังมีอีกมากมายมหาศาล ดังนั้น จึงต้องเตรียมพร้อมนำงานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาใช้ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด

การประยุกต์ใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในภาครัฐนั้นสามารถนำมาใช้งานได้ในหลาย ๆ หน่วยงาน เช่น ด้านสาธารณสุข ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านความมั่นคง ด้านการเงิน ด้นการบริการประชาชน ด้านเกษตรกรรม ด้านสาธารณูปโภค หรือด้านคมนาคม อาทิเช่น วิเคราะห์ข้อมูลการจราจร วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อลดปัญหาและป้องกันการเกิดอาชญากรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้านสาธารณสุข เช่น แนวโน้มของผู้ปวย การรักษาพยาบาล หรือการเกิดโรคระบาด วิเคราะห์ข้อมูลค้นน้ำ แหล่งน้ำ ปริมาณฝน และการใช้น้ำ วีเคราะห์ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ค่าการใช้พลังงาน วิเคราะห์ข้อมูลการทหารและความมั่นคงต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบการเสียภาษีของประชาชนหรือบริษัทห้างร้านต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาใช้ในด้านการใช้เงินงบประมณและเงินรายได้ต่าง ๆ ของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อีกด้วยงานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จะช่วยคาดการณ์หรือวิเคราะห์ให้มีความแม่นยำมากขึ้น ภาครัฐสามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลการใชังบประมาณได้ดียิ่งขึ้น ทำนฐะมีรายได้มากขึ้นหากมีการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลการเสียภาษีด้านต่าง ๆ ว่ามีความถูกต้องเพียงใด ประชาชนจะได้รับการบริการที่ดีขึ้นในทุกด้าน เช่น สามารถแก้ปัญหาจราจร การให้บริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง การให้บริการสาธารณูปโภคทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น พิ่มความปลอดภัยโดยการวิเคราะห์แนวโน้มอาชญากรรม การมีสุขภาพที่ดีขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลสาธารณสุข และเกิดความร่วมมือกับภาคเอกชนมากขึ้นจากการนำข้อมูลไปใช้ จะมีข้อมูลใหม่ ๆ มากขึ้นจากประชาชน (Crowdsourcing) หรือ
ข้อมูลจากอุปกรณ์ nternet of Things เป็นการสร้างทักษะและผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลมากขึ้น

นโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) 

รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ผลักดันภาครัฐสู่ความเป็นเลิศ ตามวิสัยทัศน์ประเทศไทยปี พศ. 2558-2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งนั้นความ "มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" ของประเทศมีการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดีจิทัล ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของ แผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับงานบริการภาครัฐสู่ความเป็นเลิศ ทำให้มีความจำเป็นต้องผลักดันภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีการดำเนินงานแบบอัจฉริยะให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ Electronic Government Agency (Public Organization) (EGA) เป็นองค์การมหาชนของประเทศไทยภายใต้การกำกับดูแลของ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกาศแผนทำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยวางสถาปัตยกรรมเสร็จแล้ว เตรียมติดตั้งระบบ พ.ศ.2560 เปิด Big Data as a Service ให้หน่วยงานภาครัฐได้ใช้ และภายใต้นโยบายนี้ภาครัฐไทยจะมีมาตรฐานข้อมูลชุดเดียวกัน ในการให้บริการประชาชนการพัฒนาให้เกิดการใช้ข้อมูลมหาศาลหรือ Big Data ของภาครัฐ จะนำไปสู่การบูรณาการด้านโครงสร้างข้อมูล การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์หาคุณค่าจากข้อมูล การเลือกใช้เครื่องมือที่มีความเหมาะสม และส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการข้อมูลของภาครัฐให้ได้ประโยชน์สูงสุดอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานภาครัฐพร้อมจะมุ่งสู่การปฏิรูประบบข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล เพื่อสร้างเครื่องมือในการบริการสาธารณะใหม่ ๆ ที่สำคัญคือเพื่อช่วยสร้างความโปร่งใสและธรรมาภิบาลของหน่วยงาน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอแนะด้านนโยบาย และตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ รัฐบาลเล็งเห็นประโยชน์ เพื่อมองเห็นภาพรวมของเศรษฐกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาความสามารถทางด้านต่าง ๆ เพื่อใช้ในการแข่งขันกับต่างประเทศในเวที่โลกต่อไป (หรงพร โกมลสุรเดช, 2558) 

จากการเยือนประเทศเกาหลีใต้ของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกับ ศูนย์คอมพิวเตอร์และบริการด้านข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ เกาหลีใต้ (National Computing and Information Service: NCIS) ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันในหัวข้อ การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับภาครัฐ (Big Data for e-Government) โดยสัญญาผูกพันเป็นระยะgวลา 3 ปี ความร่วมมือของสองหน่วยงานจากไทยและเกาหลีใต้ครั้งนี้ จะทำให้ Bg Data ของภาครัฐไทยมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะเกาหลีใต้มีหลายโครงการที่เริ่มดำเนินการแล้วและ EGA ก็นำโครงการเหล่านั้นมาทดลองใช้กับประเทศไทย โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ซึ่งจะทำให้หน่วยงานรัฐของไทยจัดการกับเทคโนโลยีใหม่

ที่มา www.iok2u.com