ค่าจ้าง มีความ สํา คั ญ อย่างไร

ปี2015-07-08
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ผู้ที่อยู่ในแวดวงแรงงานคงทราบแล้วว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์โดยกระทรวงแรงงานได้มีประกาศจากคณะกรรมการค่าจ้างเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ข้อ 2 ว่า “ให้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 300 บาท ไปพื้นที่ 77 จังหวัด โดยมีผลใช้บังคับเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ.2556 และในปี 2557 และ 2558 ให้คงไว้ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศหากภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีความผันผวนมากและส่งผลรุนแรงต่อค่าครองชีพของลูกจ้าง คณะกรรมการค่าจ้างสามารถพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2557 และ 2558 ได้ตามความเหมาะสม” แต่เท่าที่ผ่านมาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็มิได้พิจารณาอะไรเพิ่มเติมถึงแม้จะมีแรงกระเพื่อมอยู่บ้างทุกครั้งที่ถึงวันแรงงาน แต่ฝ่ายลูกจ้างก็ทราบดีว่า ค่าจ้างที่ได้รับไปนั้นส่งผลต่อต้นทุนและผลกำไรมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเป็นสถานประกอบการประเภทใดและขนาดของธุรกิจแตกต่างกันเพียงใดโดยรัฐมีนโยบายค่อนข้างจำกัดในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการแต่ในที่สุดเพื่อให้สถานประกอบการอยู่รอดหรือเดินหน้าต่อไปได้ในธุรกิจ จำเป็นต้องทำให้ธุรกิจของตัวเองสามารถรักษาระดับการแข่งขันเอาไว้ให้ได้ มิฉะนั้นก็จะต้องปิดตัวเองลง

เท่าที่ผ่านมา 2 ปีเศษนี้ต้องยอมรับว่าประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีค่าจ้าง(ขั้นต่ำ)สูงในชั้นแนวหน้าของประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นรองเพียงสิงคโปร์และบรูไน ดารุซาราม ซึ่งล้วนแต่มีระดับการพัฒนาและรายได้ต่อหัวสูงกว่าประเทศไทยทั้งสิ้น แต่ที่น่าเป็นห่วงเห็นจะเป็นค่าจ้างขั้นต่ำของไทยที่น่าจะสูงกว่าประเทศมาเลเซียซึ่งมีค่าจ้างขั้นต่ำในบางรัฐเพียง 280 บาทต่อวัน ในขณะที่ประเทศไทยค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 300 บาท และที่สำคัญคือ ไม่เหมือนใครคือ เท่ากันทั่วประเทศ ทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำในจังหวัดที่เคยได้รับน้อยที่สุดคือ 159 บาทต่อวันนั้นปรับขึ้นมาเป็น 300 บาทต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 88 % ซึ่งเป็นการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย อย่างไรก็ตามเราคงไม่เสียเวลาไปกับอดีตเนื่องจากผู้ประกอบการได้ใช้เวลา 2 ปีที่ผ่านมาพยายามปรับปรุงธุรกิจของตัวเองให้อยู่ได้มาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้เศรษฐกิจยังขยายตัวต่อเนื่องและการว่างงานมิได้เป็นปัญหาต่อสังคมไทยมากนัก

ขณะนี้ฤดูปรับค่าจ้างขั้นต่ำได้เวียนกลับมาอีกครั้ง ซึ่งมีการเรียกร้องจากผู้แทนของแรงงานโดยเฉพาะจากกลุ่มสมานฉันท์แรงงานไทย ซึ่งได้เรียกร้องให้มีการพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2559 เป็นอย่างน้อย 360 บาทต่อวัน โดยได้อ้างถึงการสำรวจข้อมูลจากแรงงานซึ่งส่วนมากจะเป็นจากส่วนกลางของประเทศโดยพบว่าต้องเผชิญกับปัญหาค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้นมากจนแรงงานที่เคยได้รับค่าจ้างขั้นต่ำที่ 300 บาท แทบจะไม่สามารถอยู่ได้ซึ่งทำให้ทางรัฐบาลต้องกลับมาสนใจว่าในช่วงต้นปี 2559 นั้นจำเป็นต้องมีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ ถ้าต้องขึ้นจะขึ้นอย่างไร และเป็นจำนวนเงินเท่าไรจึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์

จากการประชุมของกระทรวงแรงงาน เมื่อวันศุกร์ ที่ 5 มิถุนายน 2558 โดยได้เชิญคณะกรรมการค่าจ้างที่ได้รับแต่งตั้งชุดใหม่ในปัจจุบันเข้าประชุมเพื่อรับทราบนโยบายของรัฐบาล และร่วมกันในการระดมความคิดเพื่อหาแนวทางในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งที่ประชุมก็ได้เสนอแนะแนวทางในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำไว้ดังนี้[1]

1. ให้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำแบบเดิมกล่าวคือ อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดเสนอการปรับค่าจ้างต่อคณะกรรมการค่าจ้างแห่งชาติ พิจารณาเพื่อประกาศขึ้นค่าจ้างไปตามปกติเหมือนก่อนการขึ้นค่าจ้างเท่ากันทั่วประเทศเมื่อกลางปี 2556 และตอนต้นปี 2557

2. ให้กำหนดค่าจ้างแบบลอยตัว ยกเลิกการขึ้นค่าจ้างแบบที่ 1 และปล่อยให้ค่าจ้างเป็นไปตามกลไกของสภาวะตลาดแรงงานซึ่งส่งผลให้ค่าจ้างขั้นต่ำไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่

3. ให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามการพัฒนาเศรษฐกิจกล่าวคือ ให้น้ำหนักกับการเปลี่ยนแปลงด้านอุปสงค์หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือขึ้นกับความสามารถในการจ่ายของประเทศ เช่น เศรษฐกิจไทยเติบโตร้อยละ 4 ก็อาจจะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 4 เท่ากันทั่วประเทศ เป็นต้น

4. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นการปรับตามความสามารถในการทำกำไรของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งแน่นอนเมื่อนำมาเป็นเกณท์ในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำก็จะทำให้ค่าจ้างแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมไม่เท่ากันซึ่งจุดอ่อนที่ชัดเจน คือ SMEs จะถูกกระทบมากเพราะมีกำไรไม่มาก

5. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำโดยวิธีผสมผสานหลายรูปแบบ

อย่างไรก็ตามอาจจะเป็นความพลั้งเผลอของคณะกรรมการค่าจ้างแห่งชาติซึ่งปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานจนเหลือเวลาอีกเพียง 3-4 เดือนก่อนเดือนตุลาคม 2558 ซึ่งปกติควรจะเริ่มดำเนินการพิจารณาหารูปแบบของการจ่ายค่าจ้างเอาไว้แต่แรกแล้วโดยใช้หลักวิชาการเข้ามาช่วย แต่กระนั้นเมื่อ พ.ร.บ.ค่าจ้างขั้นต่ำก็ยังไม่ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการมี คสช. (เมื่อพฤษภาคม 2557) ดังนั้นการพิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจึงยังต้องเป็นไปตามมาตรา 87 ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นปัจจัยที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณา คือ 1. การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ 2. การขยายตัวของภาคการส่งออกของประเทศ 3. การขยายตัวของการค้าการลงทุนในประเทศ 4. ดัชนีผลิตภาพแรงงาน 5. ต้นทุนและองค์ประกอบของค่าจ้างในต้นทุน 6. ดัชนีค่าครองชีพ (CPI) 7. อัตราเงินเฟ้อ 8. ดัชนีราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น

ถ้าเป็นเช่นนี้ก็เป็นการยืนยันว่าทางเลือกที่ 1 คือ การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำแบบเดิมนั้นเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากที่สุด กล่าวคือ มีขั้นตอนในการพิจารณาที่ชัดเจน มีผู้ทรงคุณวุฒิที่น่าเชื่อถือ เช่น จากธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการเป็นแหล่งข้อมูลให้กับคณะกรรมการค่าจ้างเสมอมาในอดีต แต่จุดอ่อนของทางเลือกที่ 1 มี 2 ประการคือ ประการแรกคือ ความไม่พร้อมด้านผู้ประกอบการซึ่งมีความหนาแน่นหรือจำนวนสถานประกอบการไม่มากโดยเฉพาะในจังหวัดที่ห่างไกลและมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำก็จะหาตัวแทนนายจ้างไม่ได้มากและมีความหลากหลายในอาชีพน้อยและจะเป็นสถานประกอบการขนาดเล็กเป็นส่วนมากส่งผลให้มีตัวเลือกในการคัดเลือกเป็นตัวแทนฝ่ายนายจ้างไม่ดีเท่าที่ควรซึ่งจะส่งผลไปยังปัญหาในประการที่ 2 คือ ขาดความพร้อมของอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดในส่วนของลูกจ้างซึ่งเกิดจากปัญหามีตัวแทนของฝ่ายลูกจ้างให้เลือกน้อยเช่นกัน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างจากการที่สหภาพแรงงานไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังมาเป็นเวลานานทำให้ไม่สามารถคัดเลือกตัวแทนที่แท้จริงในแต่ละจังหวัดได้ครบถ้วน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศไทยเรามีตัวแทนของแรงงาน 2 ระบบคือ “ระบบเป็นทางการ” คือ ระบบที่สหภาพแรงงานจดทะเบียนกับกระทรวงแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย และ “ระบบไม่เป็นทางการ” คือ ไม่ได้จดทะเบียนกับกระทรวงแรงงาน แต่เป็นในรูปนิติบุคคลที่ถูกต้อง มีสมาชิกใกล้เคียงกันประมาณกลุ่มละ 4 แสนคน ถึงกระนั้นก็ตามยังมีสมาชิกของทั้ง 2 กลุ่มไม่ครบถ้วนทุกจังหวัด

ดังนั้นจุดอ่อนของวิธีนี้คงแก้ไขลำบาก เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ซึ่งมีจำนวนน้อยมากในจังหวัดที่อยู่ห่างไกล เช่น ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ ข้อจำกัดดังกล่าวทำให้การหา “ตัวเลือก” ในการที่จะเป็นตัวแทนที่ทุกฝ่ายยอมรับ (legitimate) ในคณะกรรมการค่าจ้างจังหวัดจึงเป็นปัญหาโดยเฉพาะเกี่ยวกับอำนาจต่อรองของลูกจ้างซึ่งเสียเปรียบนายจ้าง อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการถ่วงดุลจากตัวแทนกรรมการฝ่ายรัฐบาล (5คนเช่นกัน) ซึ่งต้องเป็นผู้สร้างความชอบธรรมให้กับข้อเสนอของคณะกรรมการค่าจ้างจังหวัดโดยการจัดหาข้อมูลที่สำคัญต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบในการเจรจาให้กับทั้ง 2 ฝ่ายโดยยึดหลักที่ว่า “การเจรจาอยู่บนบรรทัดฐานของข้อเท็จจริงเท่าเทียมกันทั้ง 2 ฝ่าย” ข้อมูลเหล่านี้ เช่น ดัชนีค่าครองชีพ (CPI) ของจังหวัด ราคาสินค้าที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพของลูกจ้าง(แรกเข้าทำงาน) ดัชนีความเชื่อมั่นในการบริหารของจังหวัด ผลิตภาพของแรงงานของจังหวัด การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นรายสาขาของจังหวัด สภาพการค้าการลงทุนของจังหวัด เป็นต้น และที่สำคัญคณะกรรมการค่าจ้างกลางจะต้องจัดเตรียมสำรวจข้อมูลรายได้รายจ่ายของแรงงานแรกเข้าทั่วประเทศทุกปีเว้นปีเพื่อเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญให้ลูกจ้างและนายจ้างใช้ในการประกอบการพิจารณา

ทางเลือกที่ 2: การกำหนดให้ค่าจ้างลอยตัว

วิธีนี้อาจมีปัญหาอยู่ค่อนข้างมากเนื่องจากจะต้องประเมินผลกระทบจากการที่ได้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งที่ผ่านมาแบบไม่ปกติเสียก่อนว่า “ค่าจ้างต่ำสุด” ที่ได้รับในครั้งที่ผ่านมาแต่ละจังหวัดแรงงานทุกคนได้รับค่าจ้าง 300 บาท ตามกฎหมายกันทุกคนหรือยัง ซึ่งจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติสำหรับแรงงานเอกชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 12 ล้านคน ยังมีอีกประมาณ 2.6 ล้านคน หรือร้อยละ 18 ของลูกจ้างกลุ่มนี้ที่ยังไม่ได้รับค่าจ้าง 300 บาท โดยประมาณร้อยละ 41 ตกอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแรงงานต่ำกว่า 50 คน อย่างไรก็ตามถ้าตัดสินใจปล่อยให้ค่าจ้างลอยตัวจริงก็อาจจะไม่ต้องสนใจข้อมูลว่าใครได้หรือไม่ได้ค่าจ้าง 300 บาทอีกต่อไป เพราะค่าจ้างนี้ได้รับการปรับตัวมาแล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจนเข้าสู่ดุลยภาพระดับหนึ่งไปแล้ว

หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการปล่อยให้ค่าจ้างลอยตัว

หลักเกณฑ์ที่ 1 ปล่อยให้ค่าจ้างดังกล่าวเป็นไปตามกลไกของตลาดแรงงาน โดยไม่มีการควบคุมซึ่งประเด็นนี้ดูเหมือนว่าจะยุติธรรมสำหรับทุกฝ่ายบนสมมติฐานที่ว่าตลาดแรงงานมีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์คือ ทุกฝ่ายมีความรู้เหมือนกัน(Perfect knowledge) แรงงานสามารถตอบสนองอุปสงค์ได้ทันทีทุกที่ (Perfect information) ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงไม่มีจริงในประเทศไทยเนื่องจากแต่ละพื้นที่(จังหวัด) มีทั้งปัญหา disparities and inequalities ทั้งด้านของนายจ้าง(ด้านอุปสงค์) และด้านของลูกจ้าง(ด้านอุปทาน) ทำให้เกิดสภาพของตลาดไม่สมบูรณ์(Imperfect market)

แนวทางการแก้ไขก็คือ ทางราชการจะต้องเป็นผู้ให้ข้อมูลและองค์ความรู้กับทุกฝ่ายโดยเฉพาะนายจ้างกับลูกจ้างให้เข้าใจสถานการณ์ของตลาดแรงงานตลอดเวลาอย่างสม่ำเสมอ แล้วปล่อยให้กลไกตลาดเป็นตัวกำหนด “ค่าจ้าง” แรงงานไร้ฝีมือ(แรกเข้า) โดยรัฐหรือคณะกรรมการค่าจ้างเป็นผู้กำกับนโยบาย(regulator)

หลักเกณฑ์ที่ 2 ปล่อยให้ค่าจ้างขึ้นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของแรงงาน ซึ่งนายจ้างหรือผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการจัดทำมาตรฐานสมรรถนะของอาชีพต่างๆอย่างครบถ้วน เมื่อแรงงานสามารถสอบมาตรฐานสมรรถนะด้านที่ตัวเองทำงานอยู่ได้แล้ว กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตามนั้น (Performance-based Pay) ซึ่งวิธีการนี้ยังไม่พร้อมเนื่องจากหน่วยงานของรัฐเพิ่งประกาศให้มีมาตรฐานสมรรถนะเพียงประมาณ 40 กว่าอาชีพหรือตำแหน่งงานเฉพาะที่สำคัญๆเท่านั้น ซึ่งยังไม่ครบถ้วนทุกอาชีพหรือตำแหน่งงาน ซึ่งมีอยู่ประมาณอย่างน้อย 400-500 อาชีพ ดังนั้นทางเลือกนี้ยังไม่พร้อมที่จะให้เพื่อกำหนดทิศทางค่าจ้างทั่วประเทศแต่สามารถปรับใช้กับระบบสมรรถนะซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการแล้วไปพลางก่อนก็ได้

หลักเกณฑ์ที่ 3 การใช้ค่าจ้างลอยตัวด้านอุปทาน คือ การที่อิงกับตัวผู้ใช้แรงงานโดยตรงนั่นก็คือ ในเรื่องของค่าครองชีพของแรงงานซึ่งปกติใช้ Indicator หรือตัวบ่งชี้จากดัชนีค่าครองชีพ (CPI) และไม่ว่ารูปแบบของการกำหนดค่าจ้างในปีใหม่ 2559 นี้จะเป็นอย่างไร การปรับค่าจ้างจะต้องไม่น้อยกว่าดัชนีค่าครองชีพของแต่ละพื้นที่ เช่น กรุงเทพมหานคร ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท แต่ในปี 2559 อย่างน้อยค่าจ้างต้องเพิ่มอีก 12 บาท เป็น 312 บาท เพื่อป้องกันมิให้แรงงานมีปัญหาค่าครองชีพและความยากจน

ทางเลือกที่ 3: การกำหนดค่าจ้างตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

คงจำกันได้ว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นใช้เป็นปัจจัยหนึ่งเท่านั้นในการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำหรือใช้เป็นตัวบ่งชี้ว่าค่าจ้างขั้นต่ำควรจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด ซึ่งปัจจัยตัวนี้นักเศรษฐศาสตร์แรงงานมักใช้เป็นตัวแทนฝ่ายนายจ้างในลักษณะของความสามารถในการจ่ายของนายจ้างนั่นก็คือ แรงงานในฐานะเป็นปัจจัยหนึ่งในการผลิตของเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นเมื่อผู้ประกอบการได้ผลผลิต (ในรูปของ Value added) มาแล้วสามารถขยายตัวได้สูง ผู้ประกอบการควรจะต้องเพิ่มค่าจ้างให้กับลูกจ้างเป็นการตอบแทนซึ่งก็ถือว่าเป็นการพิจารณา “ด้านเดียว” แต่อย่างไรก็ตามวิธีการนี้มีจุดอ่อนมากมาย เช่น

1. เศรษฐกิจผันผวนมิได้เกิดจากปัจจัยภายในสถานประกอบการเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยภายนอกอีกมากมายที่มากระทบมูลค่าของสินค้าและบริการที่ผลิตได้ เช่น เหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำในประเทศผู้นำเข้าสินค้าไทย เป็นต้น ซึ่งอาจจะทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำอิงเศรษฐกิจติดลบหรือขึ้นน้อยมาก

2. สถานประกอบการมีขีดความสามารถในการสร้างรายได้และผลกำไรไม่เหมือนกัน สถานประกอบการขนาดใหญ่และสถานประกอบการขนาดย่อมซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของประเทศมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และสร้างผลิตภาพของแรงงานได้ไม่เท่ากัน การนำการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจไปเป็นตัวกำหนดค่าจ้างจึงไม่เหมาะสมในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจตกต่ำยาวนานค่าจ้างอาจจะไม่ขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งฝ่ายลูกจ้างยอมรับสภาพดังกล่าวไม่ได้เนื่องจากค่าครองชีพจะเพิ่มขึ้นทุกปี

3. ในสภาพที่เศรษฐกิจของไทยของภูมิภาคและของโลกมีการแข่งขันที่สูงมากเช่นนี้ โอกาสที่ประเทศไทยจะหลุดกับดักของประเทศกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วย่อมเป็นไปได้ยาก ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจผูกพันกับความสามารถในการจ่ายค่าจ้างของแรงงาน โดยมีตัวอย่างเช่น เกาหลี จีน หรือไต้หวัน สามารถจ่ายค่าจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันกับไทยได้สูงกว่า 3-4 เท่า เป็นต้น สำหรับไทยคงไม่มีโอกาสจะใช้ประสบการณ์ที่ดีจากประเทศดังกล่าวมาใช้กับไทย สรุปก็คือ ทางเลือกที่ 3 ไม่น่าจะเป็นรูปแบบการปรับค่าจ้างที่เป็นไปได้สำหรับประเทศไทย

ทางเลือกที่ 4: ปรับตามกลุ่มอุตสาหกรรม(การผลิตและบริการ)

ทางเลือกนี้ดูเหมือนจะเป็นไปได้ค่อนข้างมากก็จริง แต่ก็ต้องทำการวิจัยอีกเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะทางเลือกนี้มีคำถามว่าจะต้องครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมบริการและอุตสาหกรรมการผลิตใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ก็หมายความว่าข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแต่ละประเภทจะต้องได้รับการศึกษาวิจัยเอาไว้ก่อน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ มีจำนวนมากน้อยเพียงใด ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ (tier 1 ถึง tier 3) องค์ประกอบของต้นทุนของแต่ละประเภทอุตสาหกรรม และแต่ละขนาดมีมากน้อยเพียงใด สัดส่วนของค่าแรงในต้นทุนทั้งหมดเป็นเท่าไร ความสามารถในการทำกำไรของสถานประกอบการประเภทต่างๆตามขนาดของอุตสาหกรรมเป็นเท่าไรแล้ว จึงนำมากำหนดเป็นค่าจ้างสำหรับแรงงาน (ไร้ฝีมือหรือกึ่งฝีมือ) ที่แรกรับเข้ามาตามความสามารถในการจ่ายของสถานประกอบการ

ทางเลือกนี้อยู่ในวิสัยที่ทำได้แต่ก็น่าจะจำกัดอยู่ได้เฉพาะสถานประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างค่าจ้างชัดเจน โดยไม่สามารถครอบคลุมกลุ่มสถานประกอบการที่มีคนงานต่ำกว่า 50 คน หรือธุรกิจขนาดจิ๋วได้ เนื่องจากไม่มีโครงสร้างค่าจ้างและความสามารถในการจ่ายสู้ SMEs ไม่ได้ นอกจากนั้นยังอาจจะสรุปข้อเสียของทางเลือกที่ 4 บางประการได้ดังนี้

1. ใช้ทุนสูงในการสำรวจต้นทุน (ต้นทุนค่าแรง) และผลประกอบการของอุตสาหกรรมแต่ละกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปีเว้นปี เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการทุกประเภทและทุกขนาดจริงๆ

2. มีต้นทุนในการบริหารจัดการและกำกับดูแลสถานประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมาย เนื่องจากอุตสาหกรรมและบริการมีจำนวนมากอาจจะมีบางส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามได้ (free rider)

3. มีผลกระทบต่อการเข้า-ออก ของแรงงานขนาดย่อม (ต่ำกว่า 50 คน) ที่ต้องสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับ SMEs ในการแย่งคนงานเพื่อให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานของสถานประกอบการ

ส่วนข้อดีของทางเลือกที่ 4 ก็คือ การมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่สะท้อนความเป็นจริงของสถานประกอบการทุกประเภทและทุกขนาดได้มากขึ้นทำให้ทุกฝ่าย (นายจ้าง-ลูกจ้าง) รับรู้สถานของตัวเองและสามารถนำข้อมูลมาบริหารจัดการแรงงานให้มีประสิทธิภาพได้

หมายเหตุ: แนวทางนี้อาจจะต้องปรับแก้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551 ให้กำกับดูแลเฉพาะกลุ่มที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมทุกประเภทและทุกขนาดของอุตสาหกรรม

ทางเลือกที่ 5: แบบผสมผสาน

จากการพิจารณาทั้ง 4 แนวทางข้างต้นที่เสนอเพื่อใช้ประกอบในการขึ้นค่าจ้างปี 2559 ยังไม่มีทางเลือกใดที่มีความสมบูรณ์และสามารถที่จะเลือกมาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือผสมผสานหลายๆทางเลือกเป็นตัวแทนได้ทั้งประเทศ แต่ที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุดคือ ทางเลือกที่ 1 ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยปรับแก้เพิ่มเติมการบริหารจัดการบางประการ โดยมีความเป็นไปได้เนื่องจาก

1. เป็นรูปแบบที่คุ้นเคย และสอดคล้องกับการบริหารจัดการแรงงานในรูปของไตรภาคีซึ่งคณะกรรมการเกี่ยวกับแรงงานของไทยส่วนมากบริหารในรูปแบบนี้ ไม่เพียงแต่คณะกรรมการค่าจ้างเท่านั้น

2. ผลงานในอดีตก่อนที่จะมีการปรับใช้ค่าจ้างขั้นต่ำที่ 300 บาทในทุกจังหวัด ถึงแม้ว่าจะเป็นการปรับเพื่อชดเชย “ความไม่มีประสิทธิภาพ” ของคณะกรรมการค่าจ้างในอดีตที่ไม่สามารถขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำได้ทันกับผลิตภาพและค่าครองชีพของแรงงานเกือบ 20% แต่การขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ได้ชดเชยในส่วนของค่าจ้างขั้นต่ำที่ต่ำเกินไปในอดีตไปแล้ว และยังมีส่วนที่เพิ่มรายได้ให้กับแรงงานที่เพียงพอที่จะทำให้แรงงานทุกคนหลุดพ้นจาก “เส้นยากจน” ทั่วประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานที่ดีเพียงพอในการหาวิธีการกำหนดค่าจ้างที่เหมาะสมในปี 2559 ต่อไปได้

3. การกำหนดค่าจ้างในปี 2559 น่าจะสามารถนำเอารูปแบบอื่นๆที่ปกติส่วนใหญ่ก็เป็นหลักเกณท์ของการพิจารณาประกอบการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้วเป็นข้อดีมาประกอบด้วย เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ และระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน ประเภทและขนาดของสถานประกอบการ ความจำเป็นในการใช้แรงงานที่มีมาตรฐานสมรรถนะมากน้อยแตกต่างกัน เป็นต้น

—————-

[1]ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

ค่าจ้างมีความสำคัญต่อองค์การและบุคลากรอย่างไร

ดังนั้นจึงสรุปได้ง่ายๆ ว่า ค่าตอบแทนนั้นมีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่ดึงดูดพนักงานให้เข้ามาทำงานกับบริษัทได้ กล่าวคือ บริษัทใดที่มีการจ่ายค่าตอบแทนที่สูง ก็มักจะได้รับความสนใจจากผู้สมัครมากหน่อย ส่วนเรื่องของการรักษาพนักงาน และการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรนั้น ค่าตอบแทนแทบจะไม่มีผลอะไรมากมายเลย แม้ว่าองค์กรเราจะมี ...

การกําหนดค่าตอบแทน มีกี่วิธี

รูปแบบการบริหารค่าตอบแทน แบ่งเป็น 1. ค่าตอบแทนหลัก (Base-Pay ) คือเงินเดือนที่อาจกำหนดตามความเหมาะสมเช่นรายวัน ราย 15 วัน และ รายเดือน 2. ค่าตอบแทนผันแปร (Variable Pay) คือเงินเดือนผันแปรตามงานที่ทำ เช่น โบนัส ค่า commission. 3. ผลประโยชน์เกื้อกูล (Fringe Benefit) เช่นประกันสุขภาพ เงินบำนาญ ค่าเดินทาง น้ำมันรถ เป็นต้น

ค่าจ้างมีความหมายว่าอย่างไร

ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินหรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้โดย คำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินหรือเงินและสิ่งของที่จ่าย ให้ในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานและในวันลาด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ

ค่าจ้างตาม พรบ มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างเช่น 1.จ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการ หมายถึง นายจ้างจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างในด้านต่างๆ เช่น ค่าอาหาร ค่าเครื่องแบบ ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก ค่ารักษาพยาบาล ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเล่าเรียนบุตร เงินฌาปนกิจศพ ค่าคลอดบุตร ค่าประกันอุบัติเหตุ เงินโบนัส ค่าภาษี ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าค่าโทรศัพท์ เป็นต้น