นวัตกรรมและเทคโนโลยี แตก ต่างกันอย่างไร

ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ความหมายของนวัตกรรม

“นวัตกรรม” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)

ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึง ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (boonpan edt01.htm) เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)

ที่มา http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=2 สืบค้น 22 ก.พ. 53

เขียนโดย Nichaon ที่00:17

นวัตกรรมและเทคโนโลยี แตก ต่างกันอย่างไร

ผู้ให้ความหมายของนวัตกรรม มีดังนี้

ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ

มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับนวัตกรรม

แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย

ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการ

ทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)

ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์การพัฒนามา

เป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูป

ของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจาก

การปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

นวัตกรรม และ เทคโนโลยี แตกต่างกันอย่างไร??

Akara Tutor

17 ม.ค. 2021

1127

share tweet share

https://youtu.be/gb29Trhjip0

นวัตกรรม และ เทคโนโลยี ต่างกันอย่างไร? | การออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
#นวัตกรรม #เทคโนโลยี #AkaraTutor
สอนออนไลน์ อาจารย์ อัครเดช สังสมศักดิ์

00:00 intro
00:36 ความหมายของเทคโนโลยี
01:24 ความหมายของนวัตกรรม
03:17 การเกิดนวัตกรรม
04:09 ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรม
04:31 การสร้างนวัตกรรม


เรื่องมาใหม่

นวัตกรรมและเทคโนโลยี แตก ต่างกันอย่างไร

Black Panther

Lists

Movies

การกลับมาของ Black Panther ในอนาคต และความเชื่อมโยงสำคัญของ MCU

นวัตกรรมและเทคโนโลยี แตก ต่างกันอย่างไร

Black Panther

Lists

13 ประเด็นและคำถามสำคัญหลังดูจบ Black Panther: Wakanda Forever

นวัตกรรมและเทคโนโลยี แตก ต่างกันอย่างไร

House of the Dragon

Reviews

Spoil

รีวิว+คุยกันหลังดู+รีแคป House of the Dragon EP.10 ตอนจบ SS.1 | มังกรพร้อมเริงระบำ (สปอยล์)

นวัตกรรมและเทคโนโลยี แตก ต่างกันอย่างไร

House of the Dragon

Reviews

Spoil

รีวิว+คุยกันหลังดู+รีแคป House of the Dragon EP.9 | นี่มันเพิ่งจะเริ่มต้น (สปอยล์)

จากความหมายของนวัตกรรม เป็นสิ่งใหม่ที่กระทำซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์  สิ่งใหม่ในที่นี้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา  

คำว่าเทคโนโลยี หมายถึงการประยุกต์เอาความรู้มาใช้และก่อให้เกิดประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ

ดังนั้นจึงน่าจะสรุปได้ว่านวัตกรรมกับเทคโนโลยีแตกต่างกันในประเด็นดังนี้

  1. จุดกำเนิด นวัตกรรมเกิดจากแนวคิดและความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีเกิดจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์และถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ
  2.  นิยาม นวัตกรรมคือแนวคิดแนวปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ ๆ  ส่วนเทคโนโลยีเป็นนวัตกรรมที่เป็นที่ยอมรับและใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิต
  3. การนำไปใช้ นวัตกรรมถูกนำไปใช้ในกลุ่มย่อย ส่วนเทคโนโลยีนำไปใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน

ในการดำรงชีวิตของมนุษย์จะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาแนวคิดกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่นวัตกรรม และจะต้องใช้เทคโนโลยีในการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต

นวัตกรรมกับเทคโนโลยีอันไหนเกิดขึ้นก่อน

นวัตกรรมคือจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี เพราะนวัตกรรมหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ที่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา วิจัย ที่ยังไม่ได้นำเข้ามาใช้ในระบบงานอย่างจริงจัง และเทคโนโลยีก็คือ เครื่องมือวัสดุต่างๆ ที่นำมาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญในเรื่องของวิธีการ การจัดระบบจึงอาจแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี ...

เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีอะไรบ้าง

7 นวัตกรรมไฮเทคสุดล้ำ ส่องเทรนด์เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวัน 2020.
1. ลำโพงอัจฉริยะ Amazon Echo 3rd Generation. ... .
2. โทรทัศน์ภาพและเสียงเหนือระดับ LG 8K OLED. ... .
3. เร็วและแรงกว่ากับ อินเทอร์เน็ต 5G. ... .
4. แปรงสีฟันไฟฟ้าอัจฉริยะ Quip. ... .
5. เครื่องล้างจานขนาดเล็กเทคโนโลยีล้ำ Xiaomi Mijia Dishwasher. ... .
6. กริ่งประตูไฮเทค Nest Hello..

นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์มีความแตกต่างกันอย่างไร

Invention = สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อนบนโลกใบนี้ เช่น หลอดไฟ ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเมื่อหลายร้อยปีก่อนโน้นนนนน Innovation = นวัตกรรม การต่อยอด เอาสิ่งประดิษฐ์ (ที่มีอยู่แล้ว) มาต่อยอดให้เกิดคุณค่า เกิดประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น หลอดไฟหรี่ หลอดไฟที่สามารถเปิด-ปิด ผ่านบลูทูช

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาหมายถึงอะไร

นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำแนวคิด วิธีการปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการพัฒนา ปรับปรุงหรือดัดแปลงให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการนำมาใช้ในการจัดการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล และก่อให้เกิดความสำเร็จสูงสุดแก่ผู้เรียน อัญชลี โพธิ์ทอง และอัปษรศรี ปลอดเปลี่ยว (2542 : 9) ...