สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน วัสดุที่ใช้ สมบัติของวัสดุ

สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน วัสดุที่ใช้ สมบัติของวัสดุ

Advertisement

หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่อยู่อาศัย และสิ่งก่อสร้าง วัสดุอาจได้มาจากธรรมชาติหรือมนุษย์สังเคราะห์ขึ้น ในชีวิตประจำวันมีการนำวัสดุมาทำสิ่งของเครื่องใช้มากมาย เช่น นำมาหุ้มเก้าอี้ โซฟา สามารถนำมาทำเป็นรั้วบ้าน  ใช้ตัดทำเป็นเสื้อ กระโปรง ผ้าพันคอ ตุ๊กตา ใช้ทำหม้อ ช้อน ส้อม ใช้ทำดอกไม้ เก้าอี้พลาสติก กล่องใส่ของ กล่องดินสอ กล่องสบู่ และอื่นๆ

สิ่งของเครื่องใช้ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันอาจทำมาจากวัสดุชนิดเดียว เช่น ยางลบทำจากยาง หรือบางอย่างก็ทำมาจากวัสดุหลายชนิด เช่น กระทะ ทำมาจากวัสดุ 2 ชนิด คือ โลหะกับพลาสติก เป็นต้น วัสดุที่ใช้ในชีวิตประจำวันนั้นมีสมบัติแตกต่างกัน และสามารถนำไปใช้ทำ สิ่งของได้แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้ได้ ประโยชน์สูงสุด

วัสดุธรรมชาติ

ได้มาจากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ทั้งจากสิ่งมีชีวิต เช่น ไม้ เปลือกหอย ขนสัตว์ ใยไหม ใยฝ้าย หนังสัตว์ ยาง ธรรมชาติ และจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ดินเหนียว หินปูน ศิลาแลง กรวด ทราย เหล็ก ซึ่งอาจนำมาใช้โดยตรงหรือนำมาแปรรูป เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน 

วัสดุสังเคราะห์

เป็นวัสดุที่เกิดจากกระบวนการทางเคมี เช่น พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ยางสังเดราะห์ โฟม กระเบื้อง วัสดุทั้งหลายเหล่านี้นำมาใช้ ทดแทนวัสดุธรรมชาติ ซึ่งอาจมีปริมาณไม่เพียงพอหรือคุณภาพไม่เหมาะสม

วัสดุ คือ สิ่งที่นำมาทำสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ วัสดุรอบตัวเรามีทั้งวัสดุธรรมชาติ ซึ่งได้มาจากสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น ไม้ ขนสัตว์ ไยไหม เปลือกหอย ดินเหนียว หิน ทราย และวัสดุสังเคราะห์ เช่น พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์

สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน วัสดุที่ใช้ สมบัติของวัสดุ

1.สมบัติความยืดหยุ่น

  • ความยืดหยุ่น หมายถึง ลักษณะที่วัตถุนั้นสามารถกลับคืนรูปร่างทรงเดิมได้ หลังจากแรงที่มากระทำต่อวัตถุหยุดกระทำต่อวัตถุนั้น
  • วัสดุที่ถูกแรงกระทำแล้วสามารถเปลี่ยนรูปร่างหรือขนาดของวัสดุ และเมื่อเราหยุดออกแรงวัสดุนั้นจะกลับคืนสู่สภาพเดิม เรียกว่า วัสดุนั้นมีสภาพความยืดหยุ่น เช่น ถุงมือยาง ยางยืด ฟองน้ำ

วัสดุแต่ละชนิดมีสภาพยืดหยุ่นไม่เท่ากัน บางชนิดต้องออกแรงมากๆ สภาพยืดหยุ่นยังคงอยู่ แต่บางชนิดเมื่อออกแรงมากเกินไปก็หมดสภาพยืดหยุ่นได้

ส่วนวัสดุที่เราออกแรงกระทำแล้ว วัสดุเกิดการเปลี่ยนรูปร่างหรือขนาด แต่เมื่อหยุดออกแรง วัสดุไม่คืนสภาพเดิม เราเรียกวัสดุนั้นว่า วัสดุไม่มีความยืดหยุ่น เช่น ดินน้ำมัน ไม้ แผ่นพลาสติก กระดาษ

การใช้ความยืดหยุ่นในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ยางรัดผม การใช้ยางยืดทำขอบกางเกง ใช้เส้นเอ็นทำไม้แบดมินตันหรือไม้เทนนิส

2.ความแข็งของวัสดุ

ความแข็ง  หมายถึง ความทนทานต่อกรตัดและการขูดขีด  วัสดุที่มีความแข็งมากจะทนทานต่อการขูดขีดมาก เช่น ตะปูกับไม้ เมื่อเราเอาตะปูไปขูดกับไม้ จะพบว่า ไม้เกิดรอย นั้นแสดงว่า วัสดุใดที่เกิดรอยจะมีความแข็งน้อยกว่าวัสดุที่ไม่เกิดรอย แสดงว่า ตะปูมีความแข็งมากกว่าไม้

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงมีดังนี้

  • 1. วัสดุที่ถูกขูดเกิดรอย แสดงว่า ความแข็งน้อยกว่าวัสดุที่ใช้ขูด
  • 2. วัสดุที่ถูกขูดไม่เกิดรอย แสดงว่า ความแข็งมากกว่าวัสดุที่ใช้ขูด

การใช้ความยืดหยุ่นในชีวิตประจำวัน  ให้เหมาะแก่การใช้ประโยชน์และใช้งานได้ เช่น กล่องสำหรับเก็บของ โต๊ะ เก้าอี้ แก้ว กระเบื้อง ม้านั่ง

3.ความเหนียวของวัสดุ

  • ความเหนียวหมายถึง ความสามารถในการรับน้ำหนักของวัสดุ ดึงขาดยาก  ถ้าเราทำการพิจารณาด้านความเหนียวสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
  • 1.ความสามารถในการดึงเป็นเส้น
  • 2.ความสามารถในการตีเป็นแผ่นบางได้

การใช้ความยืดหยุ่นในชีวิตประจำวันเช่น ใช้เชือกในการผูกสิ่งของ เบ็ดตกปลา วัสดุในการทำสะพานแขวน

4.การนำความร้อนของวัสดุ

การนำความร้อน หมายถึง การถ่ายเทพลังงานความร้อนจากอนุภาคหนึ่งสู่อนุภาคหนึ่ง และถ่ายทอดกันไปเรื่อยๆ ภายในเนื้อของวัตถุ วัสดุแต่ละชนิดสามารถนำความร้อนได้แตกต่างกัน วัสดุที่นำความร้อนได้ดีจะถ่ายเทพลังงานความร้อนได้เร็ว และมาก เมื่อวัสดุชนิดนั้นได้รับความร้อนที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง จะถ่ายโอนความร้อนไปสู่บริเวณอื่นด้วย  วัสดุบางชนิดไม่นำความร้อน เราจึงสามารถจำแนกสมบัติการนำความร้อนของวัสดุได้ 2 ประเภท คือตัวนำความร้อน และฉนวนความร้อน

1.ตัวนำความร้อน

คือวัสดุที่ความร้อนผ่านได้ดี ส่วนใหญ่เป็นโลหะ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม เงิน ทอง ทองแดง นิยมมาใช้ทำภาชนะหุงข้าว เช่น หม้อ กาต้มน้ำ กระทะ

2.ฉนวนความร้อน

คือ วัสดุที่ความร้อนผ่านได้ไม่ดี หรือไม่สามารถผ่านได้ ส่วนใหญ่เป็นอโลหะ เช่น ผ้า ไม้ ยาง พลาสติก กระเบื้อง นิยมนำมาทำ ด้ามตะหลิว ด้ามหม้อ หูหม้อ ที่จับหม้อ เพื่อป้องกันความร้อน

5.การนำไฟฟ้า

การนำไฟฟ้า หมายถึง สมบัติยอมให้ประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ และสามารถแสดงอำนาจไฟฟ้าออกมา  ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติการนำไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ดังนี้

ตัวนำไฟฟ้า วัสดุที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ ได้แก่ โลหะต่างๆ เช่น ทองแดง เงิน เหล็ก อะลูมิเนียม

ตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด คือ เงิน (แต่ไม่นิยม เพราะราคาแพง)

อโลหะที่สามารถนำไฟฟ้าได้ คือ แกรไฟต์

ฉนวนไฟฟ้า

วัสดุที่ไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหรือผ่านได้น้อยมาก เช่น ไม้ แก้ว กระดาษ ยาง พลาสติก

แหล่งอ้างอิงผศ.พิมพ์พร  อสัมภินพงศ์.คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ ป.5 .กรุงเทพ:เจ้าพระยาระบบการพิมพ์.2551

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ.สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ป.5.กรุงเทพ:อักษรเจริญทัศน์ อจท.2551

วิดีโอที่เกี่ยวกับ สมบัติของวัสดุ

โพสที่เกี่ยวข้อง

สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน วัสดุที่ใช้ สมบัติของวัสดุ