ประวัติและผลงานของบุคคล สําคัญ ใน สมัยสุโขทัย ป. 4

  – ทรงออกผนวช เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น   ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่างๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย  ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรมในเมืองเชียงใหม่   พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท       มีมเหสีชื่อพระนางศรีธรรม ทรงมีโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อมา  คือ  พระมหาธรรมราชาที่สอง           ปีสวรรคตของกษัตริย์  พระองค์นี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คงอยู่ในระยะเวลาระหว่างปี     พ.ศ. ๑๙๒๑-๑๙๒๗

เพื่อน ๆ จะอ่านบทเรียนออนไลน์อย่างเดียว หรือดาวน์โหลดคลิปสนุก ๆ จากแอปพลิเคชัน StartDee คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง แล้วไปเรียนกับครูเอกได้เลย

ประวัติและผลงานของบุคคล สําคัญ ใน สมัยสุโขทัย ป. 4

 

ปฐมบทแห่งชาติไทย...การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย ถือเป็นอาณาจักรแห่งแรกของคนไทย โดยกว่าจะมาเป็นอาณาจักรแห่งนี้ได้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย เพราะในช่วงเวลานั้น อาณาจักรเขมรโบราณหรือขอมยิ่งใหญ่มาก อีกทั้งยังขยายอิทธิพลมายังชุมชนชาวสยาม มอญ และลาว ทำให้พื้นที่บริเวณอาณาจักรสุโขทัยตกอยู่ภายใต้การปกครองของขอม ซึ่งปรากฏหลักฐานด้านสถานที่ต่าง ๆ มาถึงปัจจุบัน เช่น ศาลตาผาแดง พระปรางค์วัดศรีสวาย พระปรางค์วันพระพายหลวง โดยทั้งหมดอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน

ณ ช่วงเวลานั้น สหายชาวไทย 2 ท่านคือ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมมือกันขับไล่ขอมออกไปจากดินแดนได้สำเร็จ จากนั้นจึงได้สถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ของกรุงสุโขทัยในปี พ.ศ. 1792 โดยได้เฉลิมพระนามใหม่ว่า “พ่อขุนศรีอินราทิตย์” ถือเป็นพระปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์พระร่วง และยังถือเป็นต้นกำเนิดราชวงศ์พระร่วงอีกด้วย

หลังจากนั้น ราชวงศ์พระร่วงก็ปกครองอาณาจักรสุโขทัยมาอย่างยาวนานเพียงราชวงศ์เดียว โดยมีกษัตริย์ทั้งสิ้น 9 พระองค์ ตามตารางด้านล่างนี้เลย

ลำดับ

พระนาม

ปีครองราชย์

1

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

ราว พ.ศ. 1792 ถึงปีใดไม่ปรากฏ

2

พ่อขุนบานเมือง

ปีใดไม่ปรากฏ ถึง พ.ศ. 1822

3

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ.ศ. 1822 - พ.ศ. 1841

4

พระยาเลอไทย

พ.ศ. 1841 ถึงปีใดไม่ปรากฏ

5

พระยางั่วนำถม

ปีใดไม่ปรากฏ ถึง พ.ศ. 1890

6

พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย)*

พ.ศ. 1890 -  พ.ศ. 1911

7

พระมหาธรรมราชาที่ 2 

พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1942

8

พระมหาธรรมราชาที่ 3 (พระยาไสลือไทย หรือ พระยาไสลิไทย)

พ.ศ. 1942 - พ.ศ. 1962

9

พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)**

พ.ศ. 1962 - พ.ศ. 1981

*ผู้แต่งไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นเนื้อหาของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อาจจะยากเกินไปสักหน่อย แต่เพื่อน ๆ ก็สามารถไปอ่านกันได้ที่ลิงก์นี้เลย
**ปกครองเมืองพิษณุโลก ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย

 

ในช่วงที่มีอาณาจักรสุโขทัยอยู่นั้น ยังมีอาณาจักรของคนไทยอีกหนึ่งอาณาจักรคืออาณาจักรอยุธยา ซึ่งค่อย ๆ มีอำนาจและขยายอิทธิพลมายังอาณาจักรสุโขทัย ทำให้ใน พ.ศ. 1981 กรุงสุโขทัยได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา และไม่มีกษัตริย์ปกครองนับจากนั้น ซึ่งสุดท้ายแล้ว อาณาจักรสุโขทัยก็ได้ถูกผนวกเป็นหนึ่งเดียวกับอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 2006

Did you know แล้วพ่อขุนผาเมืองหายไปไหน ?

เพื่อน ๆ อาจจะเกิดความสงสัยว่า หลังจากที่ขับไล่ขอมออกไปแล้ว ผู้นำทั้ง 2 ท่านตกลงกันยังไงว่าใครจะขึ้นเป็นกษัตริย์ มีการทะเลาะเบาะแว้ง แย่งชิงกันหรือไม่ แล้วทำไมพ่อขุนผาเมืองถึงไม่อยู่ดูแลอาณาจักรที่ตัวเองลงมือลงแรงช่วยให้เป็นเอกราชต่อ

จริง ๆ แล้ว ไม่มีใครรู้คำตอบที่แท้จริงหรอก แต่ก็มีการสันนิษฐานกันว่าพ่อขุนผาเมืองคงจะกลับไปปกครองเมืองราด (นักประวัติศาสตร์คาดว่าน่าจะเป็นจังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน) ซึ่งแม้จะไม่ได้ถูกยกย่องเป็นเมืองหลวง (ซึ่งจริงๆ แล้วเราคนไทยในปัจจุบันเป็นคนยกย่องอาณาจักรสุโขทัยเป็นเมืองหลวงเอง ไม่ใช่คนสมัยนั้น) แต่ก็เป็นอีกเมืองที่ประชาชนพูดภาษาไทย (อาจมีพูดมอญและเขมรด้วย) และมีขนาดที่ใหญ่ไม่น้อยกว่าอาณาจักรสุโขทัยเลย (บางข้อสันนิษฐานระบุว่า อาณาจักรสุโขทัยไม่ได้ใหญ่โต กินพื้นที่แค่ อ.เมือง และอ.ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กับอ.เมือง จังหวัดพิษณุโลกเท่านั้นเอง) ดังนั้น เมืองราดย่อมมีความสำคัญหรืออาจจะเป็นปึกแผ่นมานานกว่าอาณาจักรสุโขทัยที่เพิ่งเริ่มต้นก็ได้

นอกจากนั้น อีกหนึ่งข้อสันนิษฐานถึงเหตุผลที่ท่านไม่ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ก็เพราะว่าท่านเองสืบเชื้อสายมาจากเขมร และยังมีพระชายาเป็นเจ้าหญิงชาวเขมร พระธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อีก การจะขึ้นครองอาณาจักรสุโขทัยและปกครองคนไทยคงจะไม่ราบรื่นแน่ ๆ ท่านจึงเสียสละให้พ่อขุนบางกลางหาวขึ้นครองราชย์ไปเลยดีกว่า

ไม่ว่าสาเหตุจะเป็นอย่างไร แต่พ่อขุนผาเมืองเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กรุงสุโขไทยได้มีเอกราช และเป็นราชธานีแห่งแรกของพวกเรา

 

การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย

แม้ว่าพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวจะสามารถขับไล่ขอมไปได้แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าอาณาจักรสุโขทัยจะรุ่งเรืองได้ในทันที ยังต้องอาศัยหลายปัจจัยในการผลักดันให้ยิ่งใหญ่ ดังนี้

การทำศึกสงคราม

อาณาจักรสุโขทัยต้องเผชิญกับศึกสงครามหลายครั้ง เพราะมีบ้านเมืองหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียงต้องการแย่งชิงความเป็นใหญ่ ทำให้ในช่วงแรก ๆ ที่สถาปนา สุโขทัยจึงต้องทำศึกสงครามเพื่อขยายอำนาจออกไป โดยมีศึกที่สำคัญคือ ศึกขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ที่ยกทัพมาตีเมืองตากที่อยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งศึกครั้งนี้ได้มีวีรกรรมอันกล้าหาญของพระราชโอรสองค์เล็กของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่สามารถทำศึกชนช้าง เอาชนะขุนสามชนได้สำเร็จ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงทรงตั้งพระนามให้พระราชโอรสว่า “พระรามคำแหง” หมายถึง รามผู้กล้าหาญ ซึ่งต่อมาได้ครองราชย์เป็นพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สำคัญที่ช่วยให้อาณาจักรสุโขทัยมั่นคง สามารถขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง 

พ่อขุนรามคำแหง ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปกครองและนักรบที่กล้าหาญ อีกทั้งยังมีกองทัพที่เข้มแข็ง ทำให้เมืองเล็กเมืองน้อยยอมเข้ามาสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรสุโขทัย

 

การผูกไมตรีกับเพื่อนบ้าน

ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง ได้มีการผูกมิตรผูกไมตรีกับเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นล้านนา พะเยา นครศรีธรรมราช มอญ และยังส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับดินแดนที่อยู่ไกลออกไปอย่างจีน ซึ่งทำให้ได้รับวิทยาการความรู้บางอย่างมาพัฒนาบ้านเมืองอีกด้วย

 

สถานะของผู้ปกครอง

ด้วยความที่ในช่วงแรกอาณาจักรสุโขทัยมีดินแดนที่ไม่กว้างใหญ่มากนัก ทำให้ผู้ปกครองอาณาจักรสุโขทัย มีความใกล้ชิดกับประชาชน เปรียบเสมือน “พ่อกับลูก” โดยพระมหากษัตริย์จะถูกเรียกว่า “พ่อขุน” มีหน้าที่ดูแลสารทุกข์สุกดิบให้แก่ราษฎรทุกคนที่มีสถานะเป็น “ลูก” 

เรื่องเกี่ยวกับสถานะผู้ปกครอง ได้ปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 โดยได้บรรยายสภาพสังคมในสมัยของพ่อขุนรามคำแหง โดยมีใจความว่า เพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่ราษฎร จึงทรงให้แขวนกระดิ่งไว้ที่หน้าประตูวัง เพื่อให้ประชาชนที่เดือดร้อนมาร้องทุกข์ได้ และยังอบรมสั่งสอนขุนนางและราษฎรให้รู้บาปบุญคุณโทษอีกด้วย

 

การใช้พระพุทธศาสนาในการปกครอง

หลังจากหมดรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงไปแล้ว อาณาจักรสุโขทัยได้รับเอาพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ จากนครพันและนครศรีธรรมราชเข้ามา เพื่อเป็นเครื่องขัดเกลาและยึดเหนี่ยวจิตใจให้แก่ทั้งตัวผู้ปกครอง ขุนนางและราษฎรทั่วไป และยังได้รับเอาแนวคิด “ธรรมราชา” มาใช้ โดยกษัตริย์ทรงปกครองตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองจึงได้รับการเรียกขานพระนามใหม่ว่า “พระมหาธรรมราชา” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อ ๆ มานั่นเอง

สำหรับหลักธรรมที่ใช้ในการปกครอง คือ หลักทศพิธราชธรรม หรือ หลักธรรม 10 ประการสำหรับผู้ปกครอง เช่น การบริจาค การให้ทาน การมีความซื่อสัตย์ การยึดมั่นในศีลธรรม การไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นต้น

 

รูปแบบการปกครองสมัยสุโขทัย

มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเมืองหลวง เมืองลูกหลวง เมืองพระยามหานคร และเมืองออกหรือเมืองประเทศราช 

 

  • เมืองหลวง 

เป็นศูนย์กลางการปกครอง และวัฒนธรรม โดยในบางช่วงมีการย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัยไปที่เมืองพิษณุโลก

 

  • เมืองลูกหลวง 

เป็นเมืองที่อยู่ถัดออกไปไม่ไกลจากเมืองหลวง ปกครองโดยบรรดาเชื้อพระวงศ์หรือพระญาติที่สนิทใกล้ชิด เพราะได้รับความไว้วางใจว่าจะไม่ยกทัพมาตีเมืองหลวงนั่นเอง 

เมืองลูกหลวงทำหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่าน และสะสมเสบียงอาหาร รวมถึงกำลังคนอีกด้วย โดยประกอบไปด้วยเมืองศรีสัชนาลัย อยู่ทางทิศเหนือ เมืองสระหลวง อยู่ทางทิศใต้ เมืองสองแคว (พิษณุโลก) อยู่ทางทิศตะวันออก และเมืองชากังราว (กำแพงเพชร) อยู่ทางทิศตะวันตก โดยทั้ง 4 เมืองอยู่ล้อมรอบเมืองหลวงทุกทิศทาง เพื่อเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ข้าศึกประชิดเมืองหลวงได้

 

ประวัติและผลงานของบุคคล สําคัญ ใน สมัยสุโขทัย ป. 4

  • เมืองพระยามหานคร

เช่น เมืองตาก เป็นเมืองที่ตั้งห่างจากเมืองลูกหลวงออกไปอีก โดยอาจส่งขุนนางไปเป็นเจ้าเมืองปกครอง หรืออาจเป็นบุคคลที่มีเชื้อสายเจ้าเมืองนั้น ๆ ปกครองสืบไปก็ได้ เมืองพระยามหานครนี้มีอำนาจปกครองตนเอง แต่ก็ต้องขึ้นตรงกับเมืองหลวงด้วยเช่นกัน

 

  • เมืองออกหรือเมืองประเทศราช 

เช่น เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเมาะตะมะ เป็นต้น ตั้งห่างจากเมืองหลวงที่สุด เป็นเมืองที่มีกษัตริย์ของตนเองปกครองอยู่ แต่ยอมอ่อนน้อมต่ออาณาจักรสุโขทัยด้วยการถวายเครื่องบรรณาการ

 

เศรษฐกิจในสมัยสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยให้อิสระเสรีในการประกอบอาชีพ ผู้คนจึงมีสามารถเลือกอาชีพที่ตนเองถนัดและมีความรู้ความสามารถได้ แต่ด้วยความที่ยังไม่ได้มีวิทยาการสมัยใหม่เหมือนในปัจจุบัน การเลือกประกอบอาชีพจึงจำกัดอยู่เพียงไม่กี่อย่าง ซึ่งโดยมากมักเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การค้าขาย งานช่างงานฝีมือ หรืออาชีพเกี่ยวกับงานศิลปะด้านต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่ง StartDee จะพาไปเจาะลึกอาชีพด้านเกษตรกรรมและการค้าขาย ลุย !

 

เกษตรกรรมในสมัยสุโขทัย

อาชีพยอดฮิตอันดับ 1 ของชาวสุโขทัยคือเกษตรกร เพราะสภาพสังคมของสุโขทัยเป็นสังคมเกษตรกรรมแบบพึ่งพาตนเอง อีกทั้งลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศของสุโขทัยนั้นเอื้อต่อการทำเกษตรกรรมมาก ๆ ดังคำจารึกในศิลาจารึกความว่า “เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” หมายความว่า เมืองสุโขทัยนี้ดีเพราะมีความอุดมสมบูรณ์ดี

และนอกจากความสมบูรณ์ของแผ่นดิน บรรพบุรุษของชาวสุโขทัยก็ยึดการประกอบอาชีพเกษตรกรรมสืบต่อ ๆ กันมาจนเกิดเป็นภูมิปัญญาในการทำเกษตรกรรมอีกด้วย โดยพืชที่นิยมปลูกมาที่สุดคือ “ข้าว” ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยมาตั้งแต่โบราณ นอกจากนั้นยังมีมะม่วง มะพร้าว มะขาม ตาล หมาก และพลู แต่ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย จะเรียกผลไม้ที่มีชื่อขึ้นต้นว่า “มะ” ว่า “หมาก” แทน เช่น หมากม่วง หมากพร้าว เป็นต้น

และเมื่อชาวบ้านปลูกพืชผักผลไม้ได้ผลดี ก็เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนขึ้นที่ตลาด หรือที่ในสมัยนั้นเรียกว่า “ปสาน” มีลักษณะเป็นลานกว้าง ๆ เหมาะสำหรับเป็นพื้นที่ค้าขาย ผู้คนทั้งชาวเมืองสุโขทัยและชาวต่างเมืองก็มักจะมาซื้อหรือมาขายข้าวของเครื่องใช้กันที่นี่ ก่อให้เกิดเป็นการค้าขายขึ้นนั่นเอง



การค้าขายในสมัยสุโขทัย

การค้าขายในสมัยอาณาจักรสุโขทัยนั้นไม่มีการเก็บจังกอบ (หรือเรียกอีกอย่างว่า จกอบ) ซึ่งก็คือภาษีผ่านด่านที่เรียกเก็บจากพ่อค้าแม่ค้าต่างเมืองที่นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในเมืองสุโขทัย ดังหลักฐานปรากฏอยู่ในศิลาจารึกความว่า “เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ ในไพร่ลูท่าง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย” ซึ่งถ้าแปลความแล้วก็จะได้ว่า ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยมีความอุดมสมบูรณ์ดี เจ้าเมืองไม่เก็บภาษีผ่านด่าน ประชาชนเดินทางไปค้าขายได้อย่างสะดวก และค้าขายได้อย่างเสรี

ด้วยเหตุนี้การค้าขายของสุโขทัยจึงมีความเจริญรุ่งเรือง สภาพเศรษฐกิจก็ดีตามไปด้วย โดยการค้าขายในสมัยสุโขทัย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

 

  • การค้าขายภายใน

เป็นการค้าขายกันเฉพาะภายในเมืองสุโขทัย เน้นเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น ข้าว มะม่วง มะพร้าว มะขาม ตาล หมาก พลู เครื่องถ้วยชาม ผ้า เครื่องจักสาน มีด เป็นต้น

  • การค้าขายภายนอก

แบ่งออกเป็นการค้าขายกับบรรดาเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ภายในอาณาจักรสุโขทัย และการค้าขายกับต่างประเทศ โดยการค้าขายกับบรรดาเมืองต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของสุโขทัย เพราะสุโขทัยเป็นเมืองที่อยู่บนเส้นทางการค้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ และบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ของสุโขทัยเองก็มักอยู่บนเส้นทางบริเวณแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปิง และแม่น้ำป่าสัก ซึ่งสะดวกในการติดต่อกับเมืองรอบ ๆ เช่น ทางเหนือมีเส้นทางติดต่อจนถึงลุ่มแม่น้ำโขง ทางตะวันตกมี เมืองเมาะตะมะของมอญ ซึ่งเป็นเมืองท่าสู่ทะเลอันดามัน อ่าวเบงกอล และอินเดียตอนใต้ ส่วนทางใต้มีเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยา และติดต่อไปจนถึงนครศรีธรรมราช การตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าทำให้การติดต่อค้าขายกับดินแดนภายนอกมีความสะดวก และจากการที่ไม่ต้องเสียจังกอบนี้เองยิ่งช่วยส่งเสริมให้พ่อค้าต่างเมืองมาค้าขายยังสุโขทัยมากยิ่งขึ้นไปอีก

ในขณะที่การค้าขายกับต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่อาณาจักรสุโขทัยจะค้าขายกับจีน อินเดีย และอาหรับเป็นหลัก โดยเฉพาะกับ “จีน” นั้นเป็นการค้าภายใต้ระบบรัฐบรรณาการ กล่าวคือ อาณาจักรสุโขทัยจำเป็นต้องส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีและถวายเครื่องราชบรรณาการแก่จีน จีนจึงจะทำการค้าขายด้วย ซึ่งการที่คณะทูตของอาณาจักรสุโขทัยเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนนี้ส่งผลให้อาณาจักรสุโขทัยได้รับความรู้ด้านศิลปะและวิทยาการมาหลายแขนงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “เครื่องสังคโลก” ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้แก่อาณาจักรสุโขทัยเป็นอย่างมาก เพราะได้มีการส่งออกขายทั่วอาณาจักรตลอดจนต่างประเทศ เช่น มลายู อินเดีย ลังกา มอญ เป็นต้น

อ่านมาถึงตอนนี้ เพื่อน ๆ คงจะอยากย้อนเวลากลับสมัยสุโขทัยแล้วใช่มั้ยล่ะ และนอกจากบทเรียนนี้แล้ว เพื่อน ๆ ยังอินกับอาณาจักรสุโขทัยได้อีก ในบทเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเป็นบทเรียนของระดับชั้น ม.1 อาจจะยากไปสักนิด แต่อ่านดูแบบสนุก ๆ ก็ได้นะ

บุคคลสำคัญที่มีส่วนในการสถาปนาสุโขทัยคือใคร

ณ ช่วงเวลานั้น สหายชาวไทย 2 ท่านคือ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมมือกันขับไล่ขอมออกไปจากดินแดนได้สำเร็จ จากนั้นจึงได้สถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ของกรุงสุโขทัยในปี พ.ศ. 1792 โดยได้เฉลิมพระนามใหม่ว่า “พ่อขุนศรีอินราทิตย์” ถือเป็นพระปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์พระร่วง และยังถือ ...

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยได้แก่อะไรบ้าง

จารึกพ่อขุนรามคาแหง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จารึกวัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตานาน เรื่องพระร่วง อุทยานประวัติศาสตร์กาแพงเพชร ตานานจามเทวีวงศ์ เครื่องสังคโลก พงศาวดารเหนือ ประติมากรรมรูปเทพ พงศาวดารโยนก เจ้าที่ศาลตาผาแดง พระพุทธรูป เศษภาชนะ

ภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัยที่สําคัญมีอะไรบ้าง

1. ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ในสมัยสุโขทัยได้พัฒนาสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบเฉพาะของตนเอง เช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ... .
2. ขนบธรรมเนียมประเพณี ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น ประเพณีการบวช การทำบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา และประเพณีทอดกฐิน.
3. อักษรไทย ... .
4. เครื่องสังคโลก ... .
5. การชลประทาน.

คนในสมัยสุโขทัยมีใครบ้าง

รายนามกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงสมัยสุโขทัย.
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ระหว่าง พ.ศ. 1762-1781. ... .
พ่อขุนบางเมือง ไม่ปรากฏ ... .
พ่อขุนรามคำแหง ระหว่าง พ.ศ. 1822-1841. ... .
พระยาเลอไท พ.ศ. 1814. ... .
พระยางั่งนำถม ไม่ปรากฏ ... .
พระมหาธรรมราชาที่1(ลิไท) พ.ศ. 1890. ... .
พระมหาธรรมราชาที่2. ไม่ปรากฏ ... .
พระมหาธรรมราชาที่3 (ไสลือไท) ไม่ปรากฏ.