ให้นักเรียนอธิบายรูปแบบของไฟล์ภาพกราฟิก 5.tif หรือ tiff

  • Photoshop  หรือ .psd  เป็นไฟล์พื้นฐานของโปรแกรม Photoshop ที่เก็บคุณลักษณะที่ใช้ในPhotoshop เช่น เลเยอร์ สี เอฟเฟ็กต์ เพื่อเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขภาพได้แต่มีข้อเสีย คือใช้ได้กับโปรแกรม Photoshop  เท่านั้น

  • BMP หรือ .BMP เป็นไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ Windows ที่เก็บจุดของภาพแบบจุดต่อจุดตรงๆ เรียกว่าไฟล์แบบ บิตแมพ( Bitmap ) ไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่แต่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างสมบูรณ์ แต่เนื่องจากการเก็บแบบ Bitmap ใช้เนื้อที่ในการเก็บจำนวนมาก จึงได้มีการคิดค้นวิธีการเก็บภาพให้มีขนาดเล็กลงโดยยังคงสามารถเก็บภาพได้เช่นเดิม ขึ้นมาหลายวิธีการ เช่น JPEG และ GIF

  • Camara RAW หรือ .TIF  เป็นไฟล์ภาพที่ได้จากการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล

  • Cineon หรือ .CIN  ถูกพัฒนาโดยบริษัทโซนี่ จะใช้ในงานภาพยนตร์ดิจิตอลฟิล์ม

  • CompuServe GIF  หรือ GIF   เป็นไฟล์ภาพที่ถูกบีบอัดให้มีขนาดเล็ก เหมาะกับการแสดงภาพบนเวปในลักษณะของภาพที่โปร่งใสและภาพเคลื่อนไหว

  • Photoshop EPS  หรือ .EPS  เป็นไฟล์ที่บรรจุข้อมูลได้ทั้งแบบแวคเตอร์และบิตแมพ ทำให้ไฟล์ชนิดนี้สามารถข้ามโปรแกรมไปยังโปรแกรม lllustrtor, Dimensions

  • Photoshop  DCS 1.0 and 2.0 เป็นไฟล์ในมาตรฐานเดียวกับไฟล์ EPS  โดยจะทำหน้าที่ช่วยบันทึกค่าสีเป็นโหมด CMYK แยกกันต่างหากและเราสามารถมองเห็นภาพตัวอย่างได้จากไฟล์นี้ได้แต่ภาพจะไม่ชัดมาก

  • Filmstrip เป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหวที่ใช้โหมดสี RGB  หรือไฟล์ภาพที่ถูกสร้างโดยโปรแกรมPremiere เราสามารถนำไฟล์นี้มาใช้ใน Photoshop ได้

  • JPEG  ( Joint Graphics Expert Group ) หรือ .JPG  เป็นอีกไฟล์หนึ่งที่ถูกบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กแล้วเก็บบันทึกไว้และเนื่องจากเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จึงนิยมใช้ในการสร้างเวปบนเครือข่าย Internet

  • Large Document Format หรือ .PSB เป็นไฟล์ Photoshop ที่มีขนาดใหญ่เกิน 2 GB
    เพราะมีความละเอียดกว่า สามหมื่น พิกเซล ประกอบด้วยหลายเลเยอร์ใช้เอฟเฟ็กส์และเลเยอร์จำนวนมาก

  • Generic PDF หรือ .PDF เป็นไฟล์ ที่ถูกสร้างจากโปรแกรมอื่นที่ไม่ใช่ Photoshop อาจจะเป็นAcrobat หรือ lllustrator เมื่อเปิดไฟล์ขึ้นมาจพเป็นภาพแบบ Raster หรือ Bitmap

  • PCX   เป็นไฟล์ที่ใช้กันเป็นมาตรฐานเครื่อง PC ทั่วไป โดยจะสนับสนุนงานในโหมดสี RGB ,Indexed,Grayscale และ Bitmap แต่จะไม่สนับสนุนการทำงานกับ Alpha Channel

  • Photoshop PDF หรือ .PDF  เป็นไฟล์ PDF ที่ถูกสร้างและเซฟจากโปรแกรม Photoshop

  • Acrobat TouchUp Image หรือ .PDF เป็นไฟล์ PDF ที่สามารถแก้ไขได้เมื่อถูกเปิดทำงานอยู่ในAdobe Acrobat

  • Photo CD   เป็นไฟล์ภาพที่จำหน่ายอยู่ในรูปแบบ  CD ของบริษัทโซนี่

  • Photoshop Raw หรือ .Raw  เป็นไฟล์ภาพที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำงานเข้ากับโปรแกรมในWindows หรือ Mac ได้

  • PICT File  หรือ .PCT  เป็นไฟล์ที่ใช้งานพิมพ์บนเครื่อง Mac เท่านั้น เนื่องจากมีขนาดใหญ่มากเกินกว่าประสิทธิภาพเครื่อง PC  จะรับได้

  • Pixar หรือ .PXR  เป็นไฟล์ที่ถูกออกแบบให้ทำงานโดยให้ทำงานโดยการแลกเปลี่ยนไฟล์ภาพกับคอมพิวเตอร์แบบ Pixar ที่ใช้ในการทำงานกราฟิกระดับสูง เช่น การสร้างภาพ 3 มิติ และภาพเคลื่อนไหว อีกทั้งยังสนับสนุน กับภาพในโหมดสีRGB และ Grayscale ที่ประกอบด้วย  Alpha Chanel  เพียงตัวเดียวเท่านั้น

  • PNG หรือ .PNG  เป็นไฟล์ภาพที่ถูกบีบอัดให้เล็กโดยสูญเสียรายละเอียดของภาพน้อยมาก นิยมใช้เว็บเพจ ทั้งภาพทั่วไป ภาพโปร่งใส และภาพเคลื่อนไหว

  • Scitex CT   หรือ .SCT   ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Scitex ซึ่งจะทำงานกับกราฟิกระดับสูง สนับสนุนกับการทำงานในภาพโหมดสี CMYK  RGB   Grayscale แต่ไม่สนับสนุน  Alpha Channel

  • Targa    TGA  เป็นไฟล์ภาพที่เกิดจากระบบ Truevision ที่สนันสนุนโปรแกรมบน DOS

  • TIFF  หรือ .TIF  เป็นไฟล์ที่สามารถใช้ได้ทั้งในเครื่อง PC และ Mac ส่วนใหญ่ใช้ในงานโปรแกรมเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ เนื่องจากไฟล์มีคุณภาพและความคมชัดสูง

  • Wireless Bitmap  หรือ  WBMP เป็นภาพที่ใช้บนโทรศัพท์มือถือรุ่นที่ใช้แสดงภาพ 1 บิท คือสีขาว และ สีดำ

ที่มา  https://www.l3nr.org/posts/163756

คุณอยู่ที่: หน้าหลัก บทความไอที 24 ชั่วโมง › ไฟล์ภาพแแบบ Raster และ Vector ต่างกันอย่างไร รู้จักกับรูปแบบไฟล์ภาพทั้ง 10 นามสกุล

ไฟล์ภาพแแบบ Raster และ Vector ต่างกันอย่างไร –  “ต้องการไฟล์อะไร เซฟไฟล์มาแบบไหน” เป็นคำถามยอดฮิตที่เกือบทุกครั้งเราจะได้ยินเวลาต้องทำงานเกี่ยวกับ Artwork หรือทำงานร่วมกับ กราฟฟิก ดีไซน์ หรือ นักออกแบบ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะรู้จักเพียงแค่ JPEG เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีรูปแบบของไฟล์อีกหลายชนิด ที่มีทั้งข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันออกไป บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักรูปแบบของไฟล์ภาพพร้อมศึกษาข้อดี ข้อเสียของแต่ละชนิดไฟล์กัน เพื่อให้เราสามารถเลือกใช้ไฟล์ภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดตามรูปแบบงานที่เราต้องทำ แต่ก่อนจะไปทำความรู้จักกับรูปแบบไฟล์ทั้ง 10 ชนิด เรามาดูความต่างของรูปแบบไฟล์ภาพ Raster กับ Vector ก่อน

ในเบื้องต้นสามารแยกไฟล์ออกได้เป็นสองรูปแบบใหญ่ๆคือ Raster กับ Vector โดยทั้งสองรูปแบบไฟล์คือการสร้างขึ้นมาจากคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ทั้งสองมีความนิยมใช้งานพอๆกัน

Raster (Bitmap)เป็นแบบตัว Pixel ที่รวมกันเป็นภาพขนาดใหญ่ วิธีสังเกตง่ายๆคือ เมื่อเราขยายหรือซูมภาพเยอะ ๆ จะเห็นเป็นสี่เหลี่ยมสีจำนวนมากต่อกัน Raster จึงเป็นไฟล์ภาพที่ซับซ้อนที่มีการไล่ระดับสีได้อย่างราบลื่น แต่หากใช้การย่อ หรือ เพิ่มขนาด จะเริ่มเห็นความแตกของ Pixel ไฟล์ประเภท Raster เช่น JPEG, PSD, PNG และ TIFF

Vector images เป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่แสดงในรูปแบบของรูปทรงเรขาคณิต ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรมกราฟฟิก รูปแบบภาพจะถูกกำหนดโดยชุดของพารามิเตอร์ทางคณิตศาสตร์จึงสามารถปรับขนาดขึ้นหรือลงได้โดยไม่เสียคุณภาพ ตัวอย่างของไฟล์ Vector เช่น AI, EPS และ SVG

ให้นักเรียนอธิบายรูปแบบของไฟล์ภาพกราฟิก 5.tif หรือ tiff
ภาพ – iT24Hrs

ชนิดไฟล์ที่เป็นที่รู้จัก

  • JPEG หรือ JPG เป็นรูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะไฟล์ภาพที่มาจากกล้องถ่ายรูป หรือสามารถอัปโหลดใน social media ต่าง ๆ รวมถึงสามารถปริ้นท์ได้เช่น

จุดเด่น : ใช้กันแพร่หลายเป็นที่นิยม โปรแกรมเกือบทุกโปรแกรมรองรับ JPG และที่สำคัญมีขนาดไฟล์ที่น้อย ทำให้ประหยัดพื้นที่จัดเก็บ

จุดด้อย : ถ้าเซฟรูปมาแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ คุณภาพไฟล์ค่อนข้างมีข้อจำกัด ดังนั้นเวลานำไปใช้งาน อาจพบเจอปัญหาภาพแตก

  • TIFF เป็นรูปแบบไฟล์คุณภาพสูง นิยมใช้การอุตสาหกรรมการพิมพ์งานที่ต้องใช้ความละเอียดสูง หรือ ขนาดใหญ่

จุดเด่น : ด้วยความที่มีการบีบอัดภาพที่น้อย ทำให้ไฟล์มีคุณภาพมาก รองรับโปรแกรมเกือบทุกโปรแกรม ที่สำคัญคือสามารถทำพื้นหลังให้โปร่งใสได้

จุดด้อย : ตัวไฟล์จะมีขนาดใหญ่มาก ทำให้ในบางครั้งอาจจะใหญ่กว่าไฟล์ Raw และ JPEG

  • PNG เป็นรูปแบบไฟล์ที่นิยมที่สุด มักนิยมในการใช้งานบนเว็บไซต์ ไม่เหมาะกับงานพิมพ์ ไฟล์ PNG ถูกออกแบบมาเพื่อแทนที่ไฟล์ GIF ด้วยการบีบอัดที่ไม่เสียคุณภาพ ทำให้มีความนิยมมากกว่าไฟล์ GIF

จุดเด่น : รองรับสีมากกว่าไฟล์ GIF มีการบีบอัดโดยไม่สูญเสียคุณภาพ สามารถบันทึกภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้

จุดด้อย :​ เนื่องจากเหมาะกับไฟล์ สี RGB มากกว่า ทำให้ไม่เหมาะกับการพิมพ์

  • GIFเป็นรูปแบบไฟล์ที่มักจะถูกทำให้เป็นภาพเคลื่อนไหว และแบนเนอร์เว็บไซต์ มักจะถูกใช้ในสื่อโซเชียล

จุดเด่น : โหลดได้อย่างเร็ว สามารถเคลื่อนไหวได้ ขนาดไฟล์เล็กมาก และยังทำพื้นหลังโปร่งใสได้

จุดด้อย :​ ความจำกัดเรื่องสีของภาพ (Max 256) ไม่รองรับ CMYK

  • PSD เป็นรูปแบบไฟล์ที่เกิดจากโปรแกรม Photoshop นิยมใช้การพิมพ์ เพราะสามารถจัดการไฟล์ได้อย่างยืดหยุ่นสำหรับโรงพิมพ์ 

จุดเด่น :  รองรับพื้นหลังโปร่งใส สามารถปรับแต่งไฟล์ได้อิสระ และยังสามารถทำงานได้ทั้ง Raster และ Vector

จุดด้อย :​   ไม่เหมาะกับงานที่ภาพขนาดเล็กเพาะไฟล์จะใหญ่มาก เหมาะเฉพาะสำหรับงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น บิลบอร์ดบนทางด่วน เนื่องจากต้องใช้ไฟล์ที่มีความละเอียดสูง

  • RAWเป็นรูปแบบไฟล์ที่นิยมสำหรับวงการช่างถ่ายภาพมืออาชีพ เพราะสามารถจัดการไฟล์ภาพและสามารถแก้ไขภาพได้อย่างสูงสุด

จุดเด่น :  การแก้ไขไฟล์ชนิดนี้มีประสิทธิภาพมาก เพราะการจัดเก็บข้อมูลของไฟล์ มีคุณภาพที่สูงมากแม้ถูกแก้ไขหรือปรับแต่ง

จุดด้อย :​  ไฟล์มีขนาดใหญ่มาก และในบางโปรแกรมไม่รองรับไฟล์ชนิดนี้ อาจต้องเสียเวลาแปลงไฟล์ให้เป็นรูปแบบอื่นก่อนถึงจะสามารถใช้งานได้

  • EPS เป็นรูปแบบไฟล์หนึง่ของ Vector ที่มักจะถูกใช้กับ Logo หรือ Icon

จุดเด่น :  สามารถใช้ได้ทุกขนาดไม่ว่าจะเล็ก กลาง ใหญ่ โปรแกรมส่วนใหญ่รองรับไฟล์ชนิดนี้ อีกทั้งยังสามารถแปลงเป็น Raster ได้ง่ายอีกด้วย

จุดด้อย :  ถึงแม้จะสามารถแก้ไขได้ แต่ก็มีเพียงแค่โปรแกรมไม่กี่โปรแกรมที่สามารถจัดการหรือแก้ไขไฟล์นี้ได้ เช่น Illustrator

ให้นักเรียนอธิบายรูปแบบของไฟล์ภาพกราฟิก 5.tif หรือ tiff
ภาพ – iT24Hrs
  • SVG เป็นรูปแบบไฟล์เหมาะกับการทำเว็บไซต์ Responsive อย่างมาก 

จุดเด่น : สามารถใช้งานเป็น Raster หรือ Vector ก็ได้ สามารถปรับขนาดได้ โดยไม่เสียความคุณภาพและความละเอียดของภาพ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มโดยตรงไปยัง HTML โดยไม่ต้องลิงค์รูปภาพและสำหรับ CSS ค้นหาและบีบอัดได้ง่าย

จุดด้อย :​  ไม่เหมาะกับงานภาพที่มีความลึกสีสูงๆ หรือ งานพิมพ์

  • PDF เป็นรูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้อย่างมากในงานที่เกี่ยวกับเอกสาร แต่บ่อยครั้งจะพบเห็นในการใช้พิมพ์ไฟล์ภาพขนาดใหญ่ 

จุดเด่น : สามารถแสดงผลได้ทั้ง Vector, Raster และข้อความ รองรับโปรแกรมที่หลากหลาย อีกทั้งยังสามารถมีรูปภาพหรือข้อมูลมากกว่าหนึ่งหน้า

จุดด้อย :​  เป็นเรื่องที่ยากถ้าอยากจะแก้ไขงาน และไม่เหมาะกับการใช้งานบนเว็บ

  • BMP ไม่ค่อยนิยมใช้งานในปัจจุบัน เนื่องจากจำกัดเฉพาะ Windows OS

จุดเด่น : คุณภาพสูงมาก เนื่องจากไม่มีการบีบอัดเลย 

จุดด้อย :  ขนาดไฟล์ค่อนข้างใหญ่ และไม่รองรับงาน CMYK เลย ทำให้ไม่เหมาะกับการพิมพ์ อีกทั้งยังจำกัดใช้ได้แค่เพียง Windows OS เท่านั้น เพราะรูปแบบไฟล์นี้ ถูกพัฒนามาจากบริษัท Microsoft นั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างกับรูปแบบไฟล์ทั้งหมดที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ต่อไปนี้ถ้าเราต้องทำงานร่วมกับ กราฟฟิกดีไซน์หรือนักออกแบบมืออาชีพ เราจะได้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลลัพธ์ที่ออกมาดีที่สุด ตรงกับความต้องการมากที่สุด และถ้าใครที่อยากได้แหล่งรวมรูปภาพและ Vector อ่านต่อได้ที่ รวมเว็บไซต์โหลดฟรีภาพประกอบ และ vector

อ้างอิง – creativebloq.com

Cover – iT24Hrs