แนวทางการอนุรักษ์ประเพณีไทย

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางและมาตรการรณรงค์เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรม เนื่องในประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2563 ภายใต้แนวคิด ?ลอยกระทงวิถีใหม่ สืบสานวัฒนธรรมไทย? ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ดังนี้

1. กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้จัดการประชุมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการรณรงค์ในการสืบสานประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2563 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายอิทธิพล คุณปลื้ม) เป็นประธานฯ ทั้งนี้ มีหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานและกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงประเพณีลอยกระทง การดูแลรักษาความปลอดภัยการรักษาทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมฯ จำนวน 14 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) กระทรวงมหาดไทย (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า และกรมการขนส่งทางบก) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) กระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค) สำนักนายกรัฐมนตรี (กรมประชาสัมพันธ์) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร (สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว และสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร) มูลนิธิ เมาไม่ขับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยที่ประชุมมีแนวคิดบูรณาการความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ซึ่งทุกหน่วยงานเห็นพ้องต้องกันในแนวคิด ?ลอยกระทงวิถีใหม่ สืบสานวัฒนธรรมไทย? ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ด้วยเป็นแนวคิดที่ครอบคลุมการดำเนินงานที่เหมาะสม เนื่องในประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2563 ดังนั้น หน่วยงานต่าง ๆ จึงได้ร่วมกันวางแนวทาง และมาตรการรณรงค์การสืบสานประเพณีที่ดีงามเหมาะสม เป็นไปตามคุณค่าสาระที่แท้จริง รวมถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงประเพณีลอยกระทง ประจำปีพุทธศักราช 2563

2. ที่ประชุมบูรณาการการกำหนดแนวทางและมาตรการรณรงค์ ในการสืบสานประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2563 มีมติเห็นชอบแนวทางและมาตรการรณรงค์เนื่องในประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2563 ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง 14 หน่วยงาน มีความเชื่อมั่นว่า การประสานความร่วมมือในการบูรณาการแนวทางและมาตรการรณรงค์ ตามแนวคิด ?ลอยกระทงวิถีใหม่ สืบสานวัฒนธรรมไทย? จะก่อให้เกิดการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย ควบคู่ไปกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ตามแนวทางเดียวกับมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่ออนุรักษ์ สืบสานประเพณีลอยกระทง ให้คงคุณค่า สาระและความงดงาม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ที่สามารถแสดง ให้ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับรู้ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมการเพื่อป้องกันอุบัติภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งการดูแลทรัพย์สิน สุขอนามัยและความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ต่อไป

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาประเพณีปอยส่างลองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาคุณค่าประเพณีปอยส่างลองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและการอนุรักษ์ประเพณีปอยส่างลองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นเครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย ชุมชนป่าเป้า และชุมชนกู่เต้าพัฒนา รวม 16 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาประเพณีปอยส่างลอง การจัดประเพณีส่างลองมีเวลาในการเตรียมตัวน้อย เนื่องจากใช้เวลาช่วงปิดภาคฤดูร้อน พระวิทยากรไม่เพียงพอต่อจำนวนส่างลอง ประกอบพิธีนานเกินไป เกิดความล่าช้า เกิดเสียงรบกวนชุมชนข้างเคียง สถานที่ความคับแคบ และไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย 2) คุณค่าของประเพณีปอยส่างลอง เป็นกิจกรรมที่ขัดเกลาจิตใจส่างลองให้เป็นคนดี มีวินัย ประพฤติตนถูกต้องและเหมาะสม เป็นการอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมของชาวไทใหญ่ดำรงไว้ซึ่งพิธีการบวชที่ถูกต้อง และให้เยาวชนไทใหญ่ได้ตะหนักถึงคุณค่าประเพณีปอยส่างลอง และยังช่วยส่งเสริมให้วัดเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป
3) แนวทางการแก้ปัญหาและการอนุรักษ์ประเพณีปอยส่างลอง องค์กรต่างๆ ควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและอนุรักษ์ มีการสัมมนาให้ความรู้ ศาสนพิธีควรมีการจัดงานบวชส่างลองแบบดั้งเดิม และควรมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่การจัดงานบวชประเพณีปอยส่างลอง

Downloads

Download data is not yet available.

References

เฉลิมชัย ดงจันทร์. (2556). ความเข้าใจแนวทางการจัดงานศาสนพิธีกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ของ ข้าราชการ กองศาสนูปถัมภ์ กรมศาสนา. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.

ณัฐนรี รัตนสวัสดิ์. (2556). ผลกระทบของประเพณีปอยส่างลองต่อวิถีชีวิตชุมชน ในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). มหาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ดนัย สิทธิเจริญ. (2535). สาระทางการศึกษาในกระบวนการส่างลองของชาวไทยใหญ่ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธิตินัดดา มณีวรรณ์ และยุทธการ ขันชัย. (2552). ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระครูปลัดชินกร จริยเมธี. (2550). การเปลี่ยนแปลงความหมายและคุณค่าของปอยส่างลองในสังคมไทยใหญ่ปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระครูศรีปริยัตยานุกิจ และคณะ. (2559). การศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และปัญหาการบรรพชาอุปสมบท ขอคณะสงฆ์ภาค 7. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพฑูรย์ อารัมภรัตน์. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกิจกรรมทางพุทธศาสนา: กรณีศึกษาเขตทวี วัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

พระมหาหรรษา นิธิบุณยากร. (2545). วิกฤติพุทธศาสนา: ศึกษากรณีการบรรพชาเป็นสามเณรในประเทศไทย 2523 – 2543. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิโรจน์ พรหมสุด. (2547). การบวช: กระบวนการขัดเกลาความเป็นศาสนทายาทคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. (2542). ประเพณีพื้นเมือง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพานิชย์.

อานันท์ กาญจนพันธ์. (2537). สถานภาพการวิจัยพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมไทใหญ่. กรุงเทพมหานคร: มิตร นราการพิมพ์.

แนวทางการอนุรักษ์ประเพณีไทย

Downloads

  • PDF

เผยแพร่แล้ว

2020-06-26

How to Cite

More Citation Formats

  • ACM
  • ACS
  • APA
  • ABNT
  • Chicago
  • Harvard
  • IEEE
  • MLA
  • Turabian
  • Vancouver

Download Citation

  • Endnote/Zotero/Mendeley (RIS)
  • BibTeX

ฉบับ

ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (2020): ฉบับที่ 1 (2020): วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 l มกราคม - มิถุนายน l 2563

เราจะอนุรักษ์ประเพณีไทยอย่างไร

ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่ากับความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการส่งเสริมเพื่อจัดกิจกรรมตามประเพณีวัฒนธรรมโบราณต่างๆ กระตุ้นจิตสำนึกแก่คนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งจะต้องร่วมกันในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงถึง ...

จะอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์อย่างไร

๑.๒ ขอความร่วมมือจากประชาชนในการสืบสานคุณค่าสาระและสิ่งที่ควรทำของประเพณี สงกรานต์แบบไทย เช่น ทำความสะอาดบ้านเรือน วัด สถานที่สาธารณะ ทำบุญตักบาตร ปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ เล่นน้ำอย่างพองาม

เราจะอนุรักษ์และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีไทยได้อย่างไร

1) การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มารยาทไทย 2) การปฏิบัติตนเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม 3) การเห็นคุณค่า อนุรักษ์ สืบสาน ประยุกต์ และเผยแพร่ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย 4) ความมีวินัยในตนเองเกี่ยวกับการใฝ่หาความรู้

วัฒนธรรมไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้มีอะไรบ้าง

วัฒนธรรมที่ควรอนุรักษ์ สหธรรม เนติธรรม วัตถุ ธรรม มารยาทไทย การไหว้ ยิ้มสยาม ความ เอื้อเฟื้อ ความไมตรี จิต ภาษาไทย วรรณคดีดนตรี- นาฏศิลป์ไทย สถาปัตยกรรมไทย โบราณสถาน โบราณวัฒถุ การ แต่งกาย เครื่องมือ เครื่องใช้ ยาไทย การเคารพ กฎระเบียบ ประเพณี