แนวทางการคุ้มครอง สุขภาพ ผู้บริโภค

ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (consumer protection system in health)

บทคัดย่อ

แม้การมีสุขภาพที่ดีเป็นสิทธิพื้นฐานที่สำคัญของสิทธิมนุษยชนแต่การบริโภคสินค้าและบริการด้านสุขภาพทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการที่จะไม่ได้รับความเป็นธรรมทั้งในเรื่องคุณภาพและราคาของสินค้าและบริการ มากกว่าสินค้าและบริการทั่วไปการจัดระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพจึงควรให้ความสำคัญในปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่นโยบายการค้า ระบบกฎหมาย ผู้บริโภค ผู้ประกอบวิชาชีพ กระบวนการเยียวยาผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าและงบประมาณสำหรับการจัดทำระบบคุ้มครองผู้บริโภค หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความสำคัญของระบบที่บูรณาการความร่วมมือในการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ,สินค้าและบริการด้านสุขภาพ

วิธีสมัครสมาชิก

หากท่านใดยังไม่ได้เป็นสมาชิกสามารถสมัครสมาชิกเพื่อรับสิทธิ์ทำแบบทดสอบได้ที่ นางสาวจิราพร บุญชู โดยมีอัตราค่าใช้จ่ายการสมัครสมาชิก เมื่อท่านได้ตอบรับการตอบรับเป็นสมาชิกแล้วทางเราจะจัดส่งกระดาษคำตอบเพื่อให้สมาชิกทำแบบทดสอบ



เกี่ยวกับ คคส.

  • ประวัติ และความเป็นมา
  • แนวคิด และการดำเนินการ
  • เป้าหมาย และวัตถุประสงค์
  • คณะทำงาน

ข่าว

  • แจ้งเตือนภัย
  • กิจกรรม
  • ประชาสัมพันธ์

ติดต่อ คคส.

02-218-8445

ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ ชั้น 2 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Copyright © 2017 Health Consumer Protection Program

ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การปกป้องสิทธิผู้บริโภค

1. สนใจศึกษาหาความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่จะบริโภค เช่น การอ่านฉลากสินค้าก่อนการบริโภค
2. หมั่นติดตามความก้าวหน้าของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการบริโภค
3. สอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ต้องการจากหลาย ๆ ร้านจากผู้รู้หรือคนที่รู้จัก
4. ก่อนซื้อควรเปรียบเทียบดูประโยชน์ ปริมาณ และราคา
5. มีการวางแผนในการซื้อสินค้าและบริการ ซื้อสินค้าและบริการด้วยความประหยัดคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับเป็นสำคัญ ไม่ควรซื้อสินค้าเพราะเห็นแก่ของแถมหรือลดราคา
6. รู้จักใช้สินค้าและบริการทดแทนเมื่อสินค้าและบริการนั้นมีราคาแพง
7. ตรวจสอบใบเสร็จทุกครั้งเมื่อจ่ายเงิน เพื่อความถูกต้องทั้งปริมาณ จำนวนสินค้าและราคา และเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคไว้ เพื่อใช้ประกอบการร้องเรียน หากได้รับอันตรายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้สินค้าและบริการ
8. ไม่ควรซื้อหรือใช้บริการจากผู้ประกอบกิจการที่เอาเปรียบผู้บริโภค
9. อย่าเพิกเฉยหรือนิ่งเงียบเมื่อถูกเอารัดเอาเปรียบ ควรร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและควรบอกต่อให้ผู้อื่นได้ทราบ เพื่อที่เขาจะได้ไม่เป็นเหยื่อรายต่อไป

การคุ้มครองผู้บริโภคโดยรัฐ

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) 

    เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ปัจจุบันมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารบี ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ

หน่วยงานภายใน

    สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แบ่งหน่วยงานภายใน ดังนี้
    สำนักงานเลขานุการกรม
    กองกฎหมายและคดี
    กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา
    กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก
    กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง
    กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา
    กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
    สำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

    เป็นส่วนราชการระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชน

หน่วยงานในสังกัด
    สำนักงานเลขานุการกรม
    สำนักอาหาร
    สำนักยา
    สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย
    กองควบคุมเครื่องมือแพทย์
    กองควบคุมวัตถุเสพติด
    สำนักด่านอาหารและยา
    กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
    กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
    กองแผนงานและวิชาการ
    กลุ่มกฎหมายอาหารและยา
    สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ
    ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี
    ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ
    ศูนย์เผ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ

แนวทางการป้องกันการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างไร

1. สนใจศึกษาหาความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่จะบริโภค เช่น การอ่านฉลากสินค้าก่อนการบริโภค 2. หมั่นติดตามความก้าวหน้าของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการบริโภค 3. สอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ต้องการจากหลาย ๆ ร้านจากผู้รู้หรือคนที่รู้จัก 4. ก่อนซื้อควรเปรียบเทียบดูประโยชน์ ปริมาณ และราคา

เป้าหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค มี 3 ข้อ อะไรบ้าง

1. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้เสียเปรียบผู้ผลิต 2. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา 3. เพื่อควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

การคุุ้้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หมายถึงอะไร

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมายถึง การระวัง หรืออารักขา ผู้ที่กิน เสพ จับจ่าย ใช้สอย อาหาร ยา วัตถุเสพติด เครื่องสําอางค์ เครื่องมือแพทย์ วัตถุมีพิษ เพื่อให้มีความปลอดภัย รวมถึงให้มีความคุ้มค่าและสมประโยชน์กับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขหมายถึงอะไร

เป็นฝ่ายที่รับผิดชอบ การดำเนินงานคุ้มครองความปลอดภัยประชาชนผู้บริโภคจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ และบริการสุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษ สถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงสาธารณสุข โดยอาศัยหลักวิชาการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ...