ปลูกผัก ไฮ โดร โป นิ ก ส์ ต้นทุน

ปลูกผักไฮโดรพอนิกส์กินเอง ประหยัด ปลอดภัย ไร้สารพิษ

เมื่อกล่าวถึงผักไฮโดรพอนิกส์ อย่างแรกที่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงคือ ราคาที่ค่อนข้างสูง (ประมาณ 100-120 บาท/กิโลกรัม) แต่ถึงจะมีราคาที่สูงแต่ปัจจุบันกระแสสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้คนหันมาให้ความสนใจในการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยเพื่อมาบริโภคมากขึ้น ผักไฮโดรพอนิกส์จึงยังเป็นตัวเลือกต้นๆ ของกลุ่มผู้บริโภคผู้ใส่ใจในคุณภาพของสินค้าซึ่งมีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ราคาที่สูงก็ยังเป็นข้อจำกัดสำหรับใครหลายๆคนที่มีงบไม่พอแต่อยากบริโภคผักไฮโดรพอนิกส์ แนวทางแก้ไขก็คือ การปลูกผักไฮโดรพอนิกส์กินเองในครัวเรือนซึ่งไม่ยากอย่างที่คิด อีกทั้งยังประหยัด ปลอดภัย ไร้สารพิษ และถือเป็นกิจกรรมเสริมภายในครอบครัวได้อีกด้วย


ผักไฮโดรพอนิกส์ที่มีขายเป็นการค้า มีต้นทุนการผลิตที่สูง เนื่องจากระบบปลูก โรงเรือน คนงาน การขนส่ง ฯลฯ แต่ในกรณีที่เราปลูกกินเองในครัวเรือนแบบง่ายๆปริมาณไม่มาก ต้นทุนหลายๆตัวก็จะถูกตัดไปทำให้ประหยัดมากขึ้น สิ่งสำคัญในการปลูกพืชแบบไฮโดรพอนิกส์นั้น ผู้ปลูกต้องเข้าใจถึงหลักการผลิตก่อน ซึ่งเหมือนกับการปลูกพืชทั่วไป คือการควบคุมและจัดหาปัจจัยต่างๆอาทิ น้ำ อากาศ แสงแดด และ ธาตุอาหาร ให้พืชได้อย่างเหมาะสม ในกรณีที่ปลูกพืชในดิน ดินจะเป็นตัวให้ น้ำ อากาศ และธาตุอาหารกับพืช ดังนั้น เมื่อเราปลูกแบบไม่ใช้ดิน เราก็ต้องจัดหาปัจจัยเหล่านี้ทดแทนให้กับพืช เท่านี้พืชก็สามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่ใช้ดิน


วัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนการผลิตผักไฮโดรโพนิกส์แบบง่ายๆ ในครัวเรือน

ขั้นตอนการผลิตผักไฮโดรพอนิกส์

  1. การเตรียมระบบปลูก: สามารถทำเองได้ถ้าต้องการประหยัดงบ หรือหาซื้อเป็นชุดสำเร็จรูปสำหรับครัวเรือนที่มีขายอยู่ทั่วไปได้ ซึ่งราคาจะแปรผันตามวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิต
  2. การเพาะเมล็ด: เพาะเมล็ดในถ้วยเพาะเมล็ดที่มีรูให้น้ำซึมผ่านได้อยู่ด้านล่างถ้วย หรืออาจปรับใช้วัสดุที่เหมาะสมได้ สำหรับวัสดุเพาะเมล็ดสามารถใช้ได้หลายชนิดตามความสะดวกเหมาะสมเช่น ทรายกับขี้เถ้าแกลบ (อัตราส่วน 1:1) หรือ เวอร์มิคูไลท์ กับ เพอร์ไลท์ (อัตราส่วน 1:10) หรือใช้ฟองน้ำ เป็นต้น เมื่อเพาะเมล็ดเสร็จแล้ว นำถาดเพาะไปวางไว้ในกระบะหรือถาดที่ใส่น้ำเปล่าไว้ วัสดุปลูกจะทำการดูดน้ำจากก้นถ้วยขึ้นมา ทำให้เมล็ดได้รับความชื้นและงอก โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 วันในการงอก หลังจากนั้นเพิ่มสารละลายธาตุอาหารให้กับพืชในเข้มข้นต่ำๆ (EC หรือค่าความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหาร ประมาณ 0.5 ms/cm) จนรากเริ่มยึดยาวประมาณ 2 สัปดาห์ จึงย้ายลงสู่ระบบปลูกต่อไป
  3. เตรียมสารละลายธาตุอาหาร: หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านที่ขายอุปกรณ์สำหรับการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ ในการใช้งานต้องทำการปรับ ค่า EC และ pH (ค่าความเป็นกรด-ด่าง) ให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูกด้วย ซึ่งโดยปกติ ค่า pH ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 5.8-6.5 ส่วนค่า EC อยู่ที่ 1.8-2.0 ms/cm
  4. ระยะเวลาการปลูก: ผักสลัดทั่วไป จะมีอายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 45 วัน นับจากวันเพาะเมล็ด ถ้าเก็บเกินเวลานี้ ผักจะมีรสชาติขมไม่อร่อย

ปลูกผัก ไฮ โดร โป นิ ก ส์ ต้นทุน

รูปที่ 1 ระบบผลิตอย่างง่ายแบบ DFT; Deep Flow Technique (ระบบน้ำลึก มีสะดือปรับระดับน้ำ)


ส่วนประกอบของระบบ ได้แก่

  1. โครงโต๊ะขนาด 1.2 x 2.4 เมตร
  2. สะดือปรับระดับน้ำ
  3. ท่อต่อระบบน้ำหมุนวน
  4. ปั๊มน้ำ
  5. แผ่นโฟม เจาะรู
  6. พลาสติกสำหรับปูโต๊ะ
  7. ถังพลาสติกสำหรับใส่สารละลาย

ราคาประมาณ 2,500 บาท ปลูกได้ 30 ต้น/โต๊ะ


ส่วนประกอบในการผลิต ได้แก่

  1. ถ้วยเพาะเมล็ด ( 0.4 x 30 = 12 บาท)
  2. เมล็ดพันธุ์แบบเคลือบ (0.5 X 30 = 15 บาท)
  3. วัสดุเพาะเมล็ด (0.5 X 30 = 15 บาท), (ใช้เวอร์มิคูไลท์ กับเพอร์ไลท์ 1:10)
  4. สารละลายธาตุอาหาร 20 บาทได้ 100 ลิตร (20 X 2 = 40 บาท) , (รอบหนึ่งใช้เวลา 45 วัน ใช้สารละลายประมาณ 200 ลิตร)

ราคารวมต่อรอบการผลิต ต่อหนึ่งโต๊ะ = 82 บาท/โต๊ะ/รอบ
(ไม่รวมค่าไฟ ค่าแรงงาน และค่าโรงเรือน)



ร่วมแสดงความคิดเห็น



เมื่อผู้บริโภคหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น 🥦🥬ผักไฮโดรโปนิกส์ ก็นับเป็นอีกหนึ่งกระแสของคนรักสุขภาพที่หันมาบริโภค ปัจจุบันกลายเป็นอาชีพยอดนิยมที่คนไทยนิยมทำกัน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพเสริมหรือรายได้หลัก เหมาะกับผู้คิดเริ่มต้นธุรกิจ เพราะไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงนัก มีเงินเพียงหลักร้อย ก็สามารถลงทุนเริ่มต้นธุรกิจได้แล้ว

ปลูกผัก ไฮ โดร โป นิ ก ส์ ต้นทุน

🥦🥬ผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) คือ การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน แต่เป็นการปลูกพืชโดยใช้น้ำ โดยให้แร่ธาตุอาหารต่างๆ ของพืชละลายอยู่ในน้ำ นอกจากจะทำให้เราได้รับประทานพืชผักที่สะอาด ปลอดสารพิษแล้ว ยังเป็นการประหยัดเนื้อที่ในการเพาะปลูก และไม่เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีต่าง ๆ ที่อยู่ในดิน

  สาเหตุที่คนรุ่นใหม่ เกษตรกรรุ่นใหม่ Smart Farmer ตลอดจนคนทั่วไปหันมาให้ความสนใจการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เพราะธุรกิจนี้มีข้อดีหลายอย่าง นอกจากช่วยประหยัดการลงทุนในเรื่องที่ดินในการเพาะปลูก ยังสามารถใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อยอย่างโรงเรือนขนาดเล็กที่สวนหลังบ้าน ระเบียงบ้าน หรือแม้แต่ดาดฟ้าหรือระเบียงคอนโด ก็สามารถปลูกได้สบาย

  ทั้งยังช่วยประหยัดการลงทุนในเรื่องแรงงาน ถ้าปลูกในโรงเรือนขนาดเล็กถึงกลาง ใช้แรงงานเพียง 1 – 2 คนในการเพาะและดูแลก็เพียงพอ ดูแลรักษาทำได้ไม่ยาก สามารถทำได้จากการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะลงทุนน้อย เพียงหลักร้อยก็ทำได้

สร้างรายได้ได้จริง เพราะผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะคนหันมาดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น ยอมจ่ายแพงกว่า เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีกว่า

ปลูกผัก ไฮ โดร โป นิ ก ส์ ต้นทุน

คุณบอล-ชรัช ทองหยาด มนุษย์ออฟฟิศวัย 34 ปี มองว่า ผักไฮโดรโปนิกส์น่าสนใจ ไม่ต้องปลูกด้วยดินก็ได้ โดยไปศึกษาแล้วมาลองปลูก กะเอาไว้ทานเอง แต่ทำไปทำมามองเห็นช่องทางการตลาด น่าจะเอามาขายได้ สีสวย ไม่มีสารเคมี ก็เลยลองขาย จนตอนนี้ปลูกขายมาได้ 1 ปีแล้ว

  โดยผักที่คุณบอลปลูก จะเป็นผักสลัดที่คนกำลังนิยมทานๆ กัน อย่าง กรีนโอ๊ก เรดโอ๊ก กรีนคอส บัตเตอร์เฮด เป็นต้น ซึ่งข้อดีของการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ คือ สามารถควบคุมสารละลายอย่าง ปุ๋ย ได้ง่าย ตัดความเสี่ยงเรื่องต่างๆ ที่มาจากดินได้ รวมถึงระยะการเก็บเกี่ยวที่สั้น เพียง 40 วันก็สามารถเก็บขายได้แล้ว รายได้จากการขายผักก็อยู่ที่หลักพันถึงหมื่นต่อเดือน

  ทั้งยัง เปิดสอนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ฟรี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก Happy Hydro Farm หัด ปลูกผักสลัด กันเถอะ

    🥦🥬การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องลงทุนอะไรบ้าง?🥦🥬

  ในช่วงเริ่มต้น หาทำเลเหมาะ ๆ ที่จะใช้ในการเพาะปลูก จากนั้นเพียงแค่ลงทุนซื้ออุปกรณ์การทำเกษตรโรงเรือน คือ พลาสติกคลุมโรงเรือน หรือ สแลนการเกษตร หรือเลือกใช้โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สำเร็จรูป ออกแบบมาให้ติดตั้งง่าย สามารถทำได้ด้วยตัวเอง น้ำหนักเบา ยกเคลื่อนย้ายได้สะดวก ราคาก็มีตั้งแต่ 1,500 บาท ไปจนถึงหลักหมื่น

  เมื่องได้โรงเรือนแล้ว ลำดับต่อมาเป็นการมองหาซื้อเมล็ดพันธุ์ของผักที่ต้องการปลูก โดยคำนึงถึงอายุเก็บเกี่ยวเป็นหลัก ในช่วงแรกของการลงทุนต้องเลือกที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นหน่อย เพื่อให้สามารถนำไปขายและมีเงินทุนหมุนเวียนให้มากขึ้น รวมถึงแร่ธาตุที่เป็นอาหารของพืช คัดสรรเลือกให้ตรงกับชนิดของพืชผักที่ปลูก จะช่วยให้ผลผลิตงอกงาม และขายได้กำไรดี

  นับว่าเป็นธุรกิจที่สามารถทำได้ทั้งเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม และยังเป็นแนวโน้มที่ดีต่อเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่สนใจทำธุรกิจการปลูกพืชไร้ดินมากขึ้น