ข้อสอบอารยธรรมกรีก พร้อมเฉลย

Category Archives: :: ตัวอย่างข้อสอบประวัติศาสตร์::

15/07/2012 · 3:53 am

:: ข้อสอบประวัติศาสตร์ ม.3 ::

  1. พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมของยุโรปแบ่งได้เป็นกี่ยุค
    1. ยุคโบราณ ยุคคลาสิก  ยุคกลาง ยุคสมัยใหม่
    2. ยุคโบราณ  ยุคกลาง ยุคคลาสิก ยุคสมัยใหม่
    3. ยุคโบราณ ยุคกลาง ยุคสมัยใหม่ ยุคปัจจุบัน
    4. ยุคโบราณ ยุคกลาง ยุคคลาสิก ยุคปัจจุบัน
  2. อารยธรรมที่เกี่ยวข้องกับยุคคลาสิกคืออารยธรรมใด
    1. อารยธรรมโครินธ์
    2. อารยธรรมเอเธนส์
    3. อารยธรรมสปาร์ตา
    4. อารยธรรมกรีก -โรมัน
  3. ดินแดนในอารยธรรมกรีกโบราณประกอบด้วยอะไร
    1. Nations
    2. City-States
    3. Provinces
    4. Territories
  4. นครรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดของกรีกได้แก่นครรัฐใด
    1. เอเธนส์
    2. โครินธ์
    3. ซีแรคิวส์
    4. สปาร์ตา
  5. นครรัฐเอเธนส์เป็นดินแดนแห่งแรกของโลกที่มีการปกครองในระบอบใด
    1. เผด็จการ
    2. คอมมิวนิสต์
    3. ประชาธิปไตย
    4. สมบูรณาญาสิทธิราช
  6. นักประพันธ์สำคัญที่มีชื่อเสียงของกรีกได้แก่
    1. อีเลียด
    2. โอดีสซี
    3. โสกราตีส
    4. มหากวีโฮเมอร์
  7. รากฐานสำคัญของกฎหมายที่ใช้ในทวีปยุโรปมาจากกฎหมายใด
    1. กฏหมายธรรมศาสตร์โบราณ
    2. กฏหมายสิบสองโต๊ะ
    3. กฏหมายจัสติเนียน
    4. กฎหมายโรมัน
  8. สถาปัตยกรรมที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมคืออะไร
    1. โคลอสเซียม
    2. มหาวิหาร
    3. บาซิลลีกา
    4. เทวสถานกรีก
  9. สาเหตุสำคัญที่ทำให้คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกได้เผยแผ่ไปทั่วยุโรปเพราะเหตุใด
    1. จักรพรรดิโรมันยอมรับคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
    2. คริสต์ศาสนาได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ของยุโรป
    3. อิทธิพลการเผยแผ่คริสต์ศาสนาของหมอสอนศาสนา
    4. คริสต์ศาสนามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชาวยุโรป
  10. ยุโรปสมัยกลางเริ่มต้นเมื่อใด
    1. การแยกจักรวรรดิโรมัน
    2. อาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลาย
    3. อาณาจักรโรมันตะวันออกล่มสลาย
    4. อาณาจักรโรมันได้รับการฟื้นฟูใหม่
  11. ลักษณะสำคัญของระบอบศักดินาสวามิภักดิ์คือข้อใด
    1.  ประชาชนไม่ต้องผูกพันติดกับที่ดิน
    2. การกระจายอำนาจลดหลั่นลงเป็นชนชั้น
    3. การรวมอำนาจการปกครองอยู่ที่เมืองหลวง
    4. การให้อำนาจประชาชนปกครองดูแลกันเอง
  12. เขตที่ดินภายใต้ปกครองของขุนนางที่เป็นนายของตนเรียกว่าอะไร
    1. ลอร์ด
    2. สลาฟ
    3. แมนเนอร์
    4. ทาสติดที่ดิน
  13. ความมุ่งหมายของฝ่ายที่นับถือศาสนาคริสต์ในช่วงสงครามครูเสดคือข้อใด
    1. เผยแผ่ศาสนาคริสต์ให้กว้างขวาง
    2. ยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนจากผู้นับถือศาสนาอิสลาม
    3. ต่อต้านการขยายอำนาจของมุสลิมเซลจุกเติร์ก
    4. ทำสงครามเพื่อช่วยเหลือจากพวกโรมันตะวันตก
  14. ชาวยุโรปผู้เดินทางตามเส้นทางสายไหมไปกับกองคาราวานจนถึงประเทศจีนคือใคร
    1. มาโคโบโล
    2. วาสโกดากามา
    3. คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
    4. เฟอร์ดินาน เมกเจลแลนด์
  15. การที่โลกตะวันตกติดต่อกับโลกตะวันออกหลังสงครามครูเสดส่งผลอย่างไร
    1. การค้าตะวันออกและตะวันตกกว้างขวาง
    2. เกิดการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการในยุโรป
    3. ศิลปวิทยากรกรีกโบราณที่ไปอยู่กับมุสลิมกลับมายังยุโรป
    4. ถูกทุกข้อ
  16. ภัยร้ายแรงที่นำไปสู่ความเสื่อมถอยในสมัยกลางคือ
    1. สงคราม
    2. ทุกขภิกภัย
    3. โรคระบาด
    4. ภัยธรรมชาติ
  17. ยุโรปสมัยกลางได้ชื่อว่าเป็นยุคแห่งศรัทธาเพราะ
    1. มีงานประพันธ์เกี่ยวกับศาสนา
    2. มีงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะเกี่ยวกับศาสนา
    3. มีงานสร้างสรรค์ด้านสถาปัตยกรรมศาสนา
    4. ถูกทุกข้อ
  18. ภาพจิตรกรรมโมนาลิซา เป็นผลงานของใคร
    1.  แวนโก๊ะ
    2. ดียโก เบลัซเกซ
    3. ปีเตอร์ พอล รูเบนส์
    4. เลโอนาร์โด ดาวินซี
  19. แนวความคิดของแมคคิเวลลีมีอิทธิพลต่อการปกครองระบอบใด
    1. เผด็จการ
    2. ประชาธิปไตย
    3. สมบูรณาญาสิทธิราช
    4. คอมมิวนิสต์
  20. ลักษณะเด่นของการเมืองแบบอำนาจคือ
    1. มุ่งแต่ชัยชนะเท่านั้น
    2. เต็มไปด้วยการแข่งขัน
    3. ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง
    4. ถูกทุกข้อ
  21. ยุโรปช่วงปลายยุคกลางเป็นยุคสมัยแห่งการค้นพบสำคัญคือการค้นพบทวีปอะไร
    ใช้ตัวเลือกตอบคำถามข้อ 22-25
    1. วาสโกดา กามา
    2. อเมริโก เวสปุซซ
    3. คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
    4. เฟอร์ดินาน  แมกเจลแลนด์
  22. ผู้คนพบทวีปอเมริกา   คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
  23. ผู้เดินทางรอบโลกได้สำเร็จ เฟอร์ดินาน  แมกเจลแลนด์
  24. ทวีปอเมริกาตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติ์แก่  อเมริโก เวสปุซซ
  25. ผู้เดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปของทวีปแอฟริกาได้สำเร็จ วาสโกดา กามา
  26. ผู้ตั้งนิกายใหม่ Church of England คือใคร
    1. จอห์น คาลวิน
    2. มาร์ติน ลูเธอร์
    3. พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8
    4. พระนางวิกตอเรีย
  27. การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศใด
    1. สเปน
    2. อังกฤษ
    3. ฝรั่งเศส
    4. โปรตุเกส
  28. ข้อใดกล่าวถึงสงครามเย็นไม่ถูกต้อง
    1. โซเวียตต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
    2. อุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน
    3. เป็นความขัดแย้งระหว่างอเมริกาและโซเวียต
    4. อเมริกาพยายามขยายอำนาจในยุโรปตะวันตก
  29.  มหาอำนาจที่เข้มแข้งที่สุดในช่วงสงครามเย็นคือ
    1. อังกฤษและฝรั่งเศส
    2. จีนและสหภาพโซเวียต
    3. สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
    4. สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
  30. หลักการทรูแมนตรงกับข้อใด
    1. สกัดกั้นอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา
    2. สกัดกั้นอิทธิพลของยุโรปตะวันตก
    3. สกัดกั้นการขยายอำนาจของฝ่ายคอมมิวนิสต์
    4. สกั้ดกั้นการขยายอำนาจของฝ่ายประชาธิปไตย
  31. ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายตะวันตกและตะวันออกตึงเครียดมากขึ้นหลังจากเหตุการณ์ใด
    1. สหรัฐอเมริกาตั้งองค์การนาโต
    2.  เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ
    3. โซเวียตถูกแบ่งออกเป็น 15 ประเทศ
    4. สหภาพโซเวียตตั้งองค์การวอร์ซอร์
  32. แผนการชูมานเกี่ยวข้องกับทรัพยากรใด
    1. ถ่านหิน เหล็ก
    2. น้ำมัน ถ่านหิน
    3. เหล็ก ก๊าซธรรมชาติ
    4. ถ่านหิน พลังงานไฟฟ้า
  33. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าที่สุดของยุโรปคือข้อใด
    1. ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าของยุโรป
    2. เขตการค้าเสรียุโรป
    3. ประชาคมยุโรป
    4. สหภาพยุโรป
  34. ทวีปอเมริกาเหนือเป็นที่ตั้งของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญของโลกคือ
    1. เม็กซิโก
    2. แคนาดา
    3. สหรัฐอเมริกา
    4. ข้อ ก และ ข ถูก
  35. โลกใหม่หมายถึงทวีปใด
    1.  เอเชีย
    2. อเมริกาใต้
    3. อเมริกาเหนือ
    4. ออสเตรเลีย
  36. ชนพื้นเมืองอเมริกาเหนืออพยพมาจากไซบีเรียมาจากใด
    1. เอเชีย
    2. ยูเรเซีย
    3. แอฟริกา
    4. ออสเตรเลีย
  37. ข้อใดกล่าวถึงอารยธรรมของอเมริกาเหนือไม่ถูกต้อง
    1.  แอซเทก
    2. มายา
    3. อินคา
    4.  เมารี
  38. ชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมาถึงทวีปอเมริกาเหนือก่อนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส คือใคร
    1.   เมารี
    2. ไวกิ้ง
    3.  อินเดียน
    4. อะบอริจิน
  39. ดินแดนแห่งแรกที่ชาวยุโรปค้นพบคือ
    1. เกาะบาฮามาส
    2. นิวฟันด์แลนด์
    3.  เกาะฮิลปันโญลา
    4. เกาะซานซันวาดอ
  40. ในระยะแรกที่ชาวยุโรปเข้ามาในอเมริกาเหนือเพื่อจุดมุ่งหมายอะไร
    1.  เพื่อหาแรงงาน
    2.  เพื่อสำรวจและค้าขาย
    3. เพื่อแสวงหาอาณานิคม
    4. เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์
  41.  พวกแรกที่เข้ามายึดดินแดนในอเมริกาเหนือด้วยการเข่นฆ่าชาวพื้นเมืองเป็นจำนวนมากคือ
    1. สเปน
    2. อังกฤษ
    3. ฝรั่งเศส
    4. โปรตุเกส
  42. ประเทศที่ให้สิทธิอาณานิคมปกครองตัวเองส่งต่อการหล่อหลอมลักษณะบุคลิกให้ต่างไปจากบรรพบุรุษคือ
    1.  สเปน
    2. อังกฤษ
    3. ฝรั่งเศส
    4. โปรตุเกส
  43.  เหตุใดจึงกล่าวว่าวันที่ 4 กรกฏาคม เป็นวันชาติอเมริกา
    1. มีการปฏิวัติอเมริกัน
    2. มีการรวมประเทศได้สำเร็จ
    3. ชาวอเมริกันประกาศเอกราช
    4. ขับไล่อังกฤษออกจากประเทศได้สำเร็จ
  44. สหรัฐอเมริกาสถาปนาระบอบการปกครองแบบใด
    1.  รัฐเดี่ยว
    2. สหพันธ์รัฐ
    3. สหพันธ์สาธารณรัฐ
    4. สมบูรณาญาสิทธิราช
  45.  ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาคือใคร
    1. ยอร์จ วอชิงตัน
    2. อับราฮัม ลินคอร์น
    3. โทมัส เจฟเฟอร์สัน
    4. แฟรงคลิน รุสเวลต์
  46. ข้อใดกล่าวถึงการซื้อดินแดนของอเมริกาไม่ถูกต้อง
    1.  ฟลอริดา-สเปน
    2. อลาสกา-รัสเซีย
    3. แคลิฟอเนีย-เม็กซิโก
    4. หลุยเซียนา-ฝรั่งเศส
  47. สาระสำคัญของหลักการมอนโรคือข้อใด
    1. การขยายดินแดนไปทางตะวันตกมากขึ้น
    2. ต่อต้านการขยายดินแดนของสหภาพโซเวียต
    3. ต่อต้านการขยายดินแดนของยุโรปในอเมริกา
    4.  ถูกทุกข้อ
  48.  ความขัดแย้งสำคัญของสงครามกลางเมืองคือข้อใด
    1. ทาส
    2. น้ำมัน
    3. ศาสนา
    4. แรงงาน
  49. ข้อใดกล่าวถึงสงครามกลางเมืองไม่ถูกต้อง
    1. รัฐบาลเลิกทาสได้รับการสนับสนุนจากรัฐเหนือ
    2. สงครามยุติลงเพราะความพ่ายแพ้ของรัฐเหนือ
    3. รัฐทางใต้ลาออกจากสมาชิกของรัฐบาลกลาง
    4. การนำแรงงานทาสจากแอฟริกามาทำงาน
  50. ประชากรเลือดผสมส่วนใหญ่ของอเมริกาคือพวกใด
    1. แซมโบ
    2. เมสติโซ
    3. มูแลตโตง
    4. อินเดียน
  51. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการอพยพบุกเบิกดินแดนตะวันตก
    1.  มีการต่อสู้กับชาวอินเดียนชาวพื้นเมืองเดิม
    2. รัฐบาลปรับปรุงกฎหมายที่ดินเพื่อให้คนอาศัย
    3. สนับสนุนให้เอกชนสร้างทางรถไฟข้ามทวีป
    4. ชาวผิวขาวถูกบังคับให้ไปอยู่เขตป่าสงวน
  52. การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งผลต่ออเมริกาอย่างไร
    1. อเมริกาหันไปเข้าข้างฝ่ายอักษะ
    2. อเมริการ่วมจัดตั้งสนธิสัญญาแวร์ซายด์
    3. อเมริกากลายเป็นมหาอำนาจทางทหารเท่านั้น
    4.  อเมริกาดำเนินบทบาทของตนอย่างเป็นเอกเทศ
  53. อเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเหตุใด
    1. รัสเซียเข้าร่วมกับญี่ปุ่น
    2. อเมริกาต้องการความเป็นใหญ่
    3. อังกฤษขอความร่วมมือจากอเมริกา
    4. ญี่ปุ่นบุกโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาเบอร์
  54. ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามหลังเหตุการณ์ใด
    1. กองทัพอเมริการุกคืบไปถึงจีน
    2. ญี่ปุ่นพ่ายแพ้การรบที่เกาะมิดเวย์
    3. อเมริกายึดเกาะกวมและเกาะเวกได้สำเร็จ
    4. อเมริกาใช้ระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา-นางาซากิ
  55. องค์การสหประชาชาติมีสำนักงานเลขาธิการที่ใด
    1. นิวยอร์ค
    2. วอชิงตันดีซี
    3. ฟิลาเดลเฟีย
    4. โคโลลาโด
  56. ผู้นำของฝ่ายคอมมิวนิสต์หมายถึงประเทศใด
    1. จีน
    2. คิวบา
    3. โซเวียต
    4.  เกาหลีเหนือ
  57. องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือมีวัตถุประสงค์
    1. ผลักดันการรวมตัวของยุโรป
    2. ขยายดินแดนในยุโรปตะวันออก
    3. ให้ความคุ้มครองพันธมิตรตะวันตก
    4.  เพื่อต่อต้านการคุกคามของคอมมิวนิสต์
  58. สงครามในข้อใดที่อเมริกาพ่ายแพ้เป็นครั้งแรก
    1. สงครามคิวบา
    2. สงครามเกาหลี
    3. สงครามเวียดนาม
    4.  สงครามอินโดจีน
  59. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับมาร์ตินลูเธอร์คิง
    1.  ผู้ตั้งนิกายลูเธอร์
    2. ผู้นำสังคมบริโภคนิยม
    3.  สิทธิเสรีภาพของคนผิวดำ
    4. ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์
  60.  เหตุใดจึงกล่าวว่าอเมริกาเป็นสังคมบริโภคขนาดใหญ่
    1. อเมริกากลายเป็นประเทศมั่งคั่งสมบูรณ์
    2. พัฒนาการทางการตลาดเข้าถึงมวลชนได้เร็ว
    3. ชนชั้นกลางจับจ่ายใช้สอยสินค้าได้นานาชนิด
    4. ถูกทุกข้อ

06/11/2011 · 6:07 pm

:: ประวัติศาสตร์ ชุดที่ 4 ::

1) สาเหตุสำคัญที่สุดของการเสียกรุงครั้งที่ 2 คือข้อใด?

  1. ขาดแม่ทัพที่มีความสามารถ
  2. ขุนนางไทยแตกความสามัคคี.
  3. คนไทยเกรงกลัวอิทธิพลของพม่า
  4. ความอ่อนแอของพระมหากษัตริย์ไทย.

2) พระเจ้าตากใช้เมืองใดเป็นฐานในการกอบกู้เอกราชจากพม่า

  1. ตราด
  2. ระยอง
  3. ชลบุรี
  4. จันทบุรี

3)สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตัดสินพระทัยไม่เลือกเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง เพราะเหตุใด ?

  1. กรุงศรีอยุธยาเก่าแก่เกินไป
  2. กรุงศรีอยุธยามีขนาดเล็กเกินไป
  3. กรุงศรีอยุธยาขาดความอุดมสมบูรณ์
  4. กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายทรุดโทรมมาก

4) ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

  1. กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่ใช้ป้องกันข้าศึก
  2. กรุงธนบุรีตั้งอยู่ใกล้ปากน้ำค้าขายสะดวก
  3. กรุงธนบุรีมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
  4. กรุงธนบุรีมีขนาดใหญ่เหมาะสมกับไพร่พลของไทยขณะนั้น

5) ภายหลังการกู้เอกราชสำเร็จ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกที่จะกระทำสิ่งใดก่อน ?

  1. ปราบจลาจลในเขมร
  2. ปราบชุมนุมที่ตั้งตนเป็นอิสระ
  3. เตรียมทัพตั้งรับหากพม่าโจมตี
  4. แก้ไขปัญหาความอดอยากของราษฏร

6) การปราบชุมนุมต่างๆ ในสมัยกรุงธนบุรีของพระเจ้าตากสินมหาราชมีจุดประสงค์สำคัญตามข้อใด ?

  1. เพื่อรวบรวมดินแดนให้เป็นปึกแผ่น
  2. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ราษฏร
  3. เพื่อให้คนไทยยอมรับในฝีมือการรบของพระองค์
  4. เพื่อสร้างบารมีและอำนาจให้เป็นที่เกรงขามแก่ประเทศเพื่อนบ้าน

7) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของกรุงธนบุรีในระยะแรกด้วยวิธีการอย่างไร ?

  1. เพิ่มเนื้อที่การปลูกข้าวให้มากขึ้นกว่าเดิม
  2. เร่งรัดการทำนาเพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอ
  3. ส่งเสริมให้มีการค้าขายข้าวกับต่างประเทศมากขึ้น
  4. สละพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารราคาแพงจากต่างชาติมาแจกจ่ายให้ราษฏร

8) ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนภูมิภาค ?

  1. จตุสดมภ์
  2. หัวเมืองชั้นใน
  3. หัวเมืองชั้นนอก
  4. เมืองประเทศราช

9) ข้อใดกล่าวถึงลักษณะการปกครองในสมัยกรุงธนบุรีได้ถูกต้องที่สุด ?

  1. พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง
  2. มีการกระจายอำนาจการปกครองไปยังหัวเมืองต่างๆ
  3. พระมหาอุปราชทรงมีอำนาจเทียบเท่าพระมหากษัตริย์
  4. ใช้การปกครองแบบพ่อปกครองลูกตามอย่างสมัยสุโขทัย

10) ข้อใดมิใช่การฟื้นฟูด้านศาสนาในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ?

  1. บูรณะปฏิสังขรณ์วัด
  2. การรวบรวมพระไตรปิฏก
  3. สังคายนาพระไตรปิฏกฉบับทอง
  4. คัดเลือกพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่เพื่อแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช

11) ข้อใดกล่าวถึงสภาพสังคมในกรุงธนบุรีไม่ถูกต้อง?

  1. มีการแบ่งชนชั้นทางสังคม
  2. สภาพสังคมคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา
  3. ไพร่เป็นชนกลุ่มน้อยที่สุดในราชอาณาจักร
  4. พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน

12) วรรณกรรมเรื่องใดเป็นพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าตากสินมหาราช?

  1. อิเหนา
  2. รามเกียรติ์
  3. ลิลิตเพชรมงกุฏ
  4. โคลงยอพระเกียรติ์พระเจ้าตากสิน

13) ผลงานด้านศิลปและวรรณกรรมสมัยธนบุรีไม่โดดเด่นเท่าที่ควรเนื่องจากสาเหตุใด ?

  1. สมัยกรุงธนบุรีมีระยะเวลาสั้นๆ เพียง 15 ปีเท่านั้น
  2. ช่างฝีมือและช่างศิลป์ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก
  3. ช่างฝีมือในสมัยธนุบุรีหวงวิชาไม่ยอมถ่ายทอดให้กับชนรุ่นหลัง
  4. สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงให้ความสำคัญกับด้านเศรษฐกิจมากกว่าด้านนี้

14) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศใดต่อไปนี้ที่ไม่เคยทำสงครามกัน ?

  1. จีน
  2. ลาว
  3. เขมร
  4. มลายู

15) ข้อใดเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกรุงธนบุรีกับประเทศเพื่อนบ้าน?

  1. การค้า
  2. การฑูต
  3. สงคราม
  4. วัฒนธรรม

16) ข้อใดคือสถานภาพของหัวเมืองมลายูในสมัยธนบุรี?

  1. เมืองอิสระ
  2. เมืองหน้าด่าน
  3. เมืองประเทศราช
  4. เมืองพระยามหานคร

17) ไทยได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ในแผ่นดินไทยจากดินแดนใด?

  1. ปัตตานี
  2. จำปาศักดิ์
  3. พระตะบอง
  4. เวียงจันทน์

18) วิกฤตการณ์ตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี เริ่มจากเหตุการณ์ใด?

  1. พระยาสรรค์เป็นกบฏ
  2. ราษฎรและขุนนางก่อกบฏ
  3. พระเจ้าตากสินทรงมีสติฟั่นเฟือน
  4. พระเจ้าตากสินมหาราชออกผนวช

19) ผู้ที่สามารถแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ ในเหตุการณ์ตอนปลายสมัยธนบุรีได้สำเร็จ คือ บุคคลท่านใด?

  1. หลวงสรวิชิต
  2. เจ้าพระยาพิชัย
  3. เจ้าพระยาสุรสีห์
  4. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

20) ข้อใดกล่าวผิดจากความเป็นจริง?

  1. กรุงธนบุรีมีความเจริญรุ่งเรืองเพียง 15 ปี
  2. กรุงธนบุรีมีกษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว
  3. สงครามระหว่างไทยกับพม่าสิ้นสุดในสมัยธนบุรี
  4. สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนสมัยธนบุรีคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา

06/11/2011 · 6:04 pm

:: ประวัติศาสตร์ ชุดที่ 3 ::

1) ข้อใดสรุปโครงสร้างสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ถูกต้อง?

  1. เป็นสังคมชนบทหรือสังคมเกษตรกรรม
  2. มีความแตกต่างในฐานะของบุคคลในสังคม
  3. มีรูปแบบลักษณะสังคมเหมือนสมัยอยุธยาตอนปลาย
  4. ฐานะของบุคคลในสังคมถูกกำหนดไว้ตายตัวเปลี่ยนแปลงไม่ได้

2) ชนชั้นใดมีมากที่สุดในสังคมไทย

  1. ไพร่
  2. ทาส
  3. พระสงฆ์
  4. ขุนนางข้าราชการ

3)การก่อตั้งธรรมยุติกนิกายของเจ้าฟ้ามงกุฏเกิดขึ้นในสมัยใด

  1. รัชกาลที่ 1
  2. รัชกาลที่ 2
  3. รัชกาลที่ 3
  4. รัชกาลที่ 4

4) วรรณกรรมข้อใดไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1

  1. สามก๊ก
  2. อิเหนา
  3. ราชาธิราช
  4. รามเกียรติ์

5) ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงให้การสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมแขนงใดมากเป็นพิเศษ จนได้รับสมญาว่าเป็น”ยุคทองศิลปกรรม”?

  1. จิตรกรรม
  2. วรรณกรรม
  3. ปฏิมากรรม
  4. สถาปัตยกรรม

6) ข้อใดไม่ใช่การปรับปรุงด้านสังคมสมัยรัชกาลที่ 4 ?

  1. ให้สตรีที่บรรลุนิติภาวะแล้วมีสิทธิเลือกสามีได้
  2. อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน
  3. จัดส่งข้าราชการไปศึกษาและดูงานในต่างประเทศ
  4. ส่งเสริมเฉพาะวัฒนธรรมไทยแต่ดั้งเดิมดำรงอยู่ต่อไป

7) ข้อใดการปรับปรุงทางด้านวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 4?

  1. ต่อเรืออนันตนาคราช
  2. บูรณะก่อสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ได้จนสำเร็จ
  3. ทรงสร้างวังสราญรมย์ตามแบบศิลปะตะวันตก
  4. ต่อเรือกลไฟตามแบบตะวันตกเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการค้าขาย

8) การเปลี่ยนแปลงด้านประเพณีวัฒนธรรมใดในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่มิให้ชาวต่างประเทศดูถูกข้าราชการไทยว่าเป็นคนป่าเถื่อน ?

  1. ชาวตะวันตกยืนตรงถวายคำนับได้
  2. ข้าราชการสวมเสื้อในเวลามาเข้าเฝ้าทุกคน
  3. พระราชทานเลี้ยงแก่ชาวต่างประเทศ พร้อมทั้งแจกของที่ระลึก
  4. ให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

9) การเปลี่ยนแปลงทางด้านประเพณีวัฒนธรรมข้อใดไม่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

  1. การจัดให้มีธงประจำชาติ
  2. ให้พระมหากษัตริย์เสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
  3. การเรียกพระนามพระมหากษัตริย์ตามแบบยุโรป
  4. ให้ชาวต่างประเทศสามารถแสดงความเคารพได้ตามธรรมเนียมไทย

10) ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของการเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5?

  1. เพื่อปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระ
  2. เพื่อให้ทัดเทียมอารยประเทศ
  3. เพื่อให้ราษฏรทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
  4. เพื่อพัฒนาคนในระดับพื้นฐานอย่างแท้จริง

11) จุดมุ่งหมายประการแรกของการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 คือข้อใด?

  1. ไม่ให้ชาวต่างชาติดูถูก
  2. ผลิตคนเข้ารับราชการ
  3. ลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคมไทย
  4. ให้ทาสที่ได้รับอิสระมีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน

12)การศึกษาภาคบังคับของไทยเริ่มใช้ในสมัยใด?

  1. รัชกาลที่ 4
  2. รัชกาลที่ 5
  3. รัชกาลที่ 6
  4. รัชกาลที่ 7

13) โรงเรียนใดที่รัชกาลที่ 6 โปรดยกให้เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  1. โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
  2. โรงเรียนข้าราชการพลเรือน
  3. โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก
  4. โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

14) เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย เป็นนโยบายของรัฐบาลใด?

  1. นายควง อภัยวงศ์
  2. จอมพล ป.พิบูลสงคราม
  3. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
  4. จอมพลถนอม กิตติตขจร

15) ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม?

  1. การยกเลิกบรรดาศักดิ์
  2. การเปลี่ยนชื่อจากสยามมาเป็นไทย
  3. การยกเลิกพยัญชนะและสระไทยที่มีเสียงซ้ำกัน
  4. การออกระเบียบว่าด้วยการแสดงความเคารพของคนไทย

16) การกำหนดวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของรัชกาลที่ 9 ให้เป็นวันชาติเกิดขึ้นในสมัยใครเป็นนายกรัฐมนตรี?

  1. ม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช
  2. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
  3. จอมพลถนอม กิตติขจร
  4. จอมพล ป.พิบูลสงคราม

17)ผู้นำท่านใดที่ยกฐานะและบทบาทของสตรีเป็นคนแรก ?

  1. จอมพล ป.พิบูลสงคราม
  2. นายควง อภัยวงศ์
  3. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
  4. จอมพลถนอม กิตติขจร

18) การที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาสร้างฐานทัพในไทยสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ส่งผลเสียต่อสังคมไทยหลายประการ ยกเว้นข้อใด?

  1. การสำส่อนทางเพศ
  2. การขยายตัวของอาชีพหญิงบริการ
  3. การแพร่ระบาดของยาเสพติด
  4. การยอมรับนับถือลัทธิศาสนาใหม่ๆ

19) ข้อใดไม่มีความสัมพันธ์กัน?

  1. จอมพล ป.พิบูลสงคราม-นโยบายชาตินิยม
  2. นายควง อภัยวงศ์-กำหนดคำทักทายว่า สวัสดี
  3. จอมพลถนอม กิตติขจร-พิธีเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์
  4. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์-ฟื้นฟูพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

20) จุดมุ่งหมายสำคัญของมูลนิธิศิลปาชีพคืออะไร?

  1. ตัดปัญหาพ่อค้าคนกลาง
  2. เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง
  3. ฝึกสอนคนไทยด้านศิลปหัตถกรรม
  4. มุ่งเผยแพร่สินค้าไทยออกสู่ตลาดโลก

06/11/2011 · 6:01 pm

:: ประวัติศาสตร์ ชุดที่ 2 ::

1) กิจกรรมทางเศรษฐกิจใดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ทำรายได้ให้มากที่สุด?

  1. การค้าระหว่างหมู่บ้าน
  2. การทำเหมืองแร่และการเพาะปลูก
  3. การหาของป่าและการเพาะปลูก
  4. การเพาะปลูกและการค้าสำเภาหลวง

2) ข้อใดไม่ใช่ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

  1. ข้าว
  2. อ้อย
  3. พริกไทย
  4. ปาล์มน้ำมัน

3)ข้อใดไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติที่ทำรายได้ให้กับแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

  1. ไม้สัก
  2. ไม้ฝาง
  3. เหล็ก
  4. ถ่านหิน

4) ผู้ที่สามารถประมูลการเก็บภาษีอากรได้เรียกว่าอะไร

  1. พอ่ค้าขายปลีก
  2. นายอากรบ่อนเบี้ย
  3. เจ้าภาษีนายอากร
  4. ต้นหนเดินเรือสำเภา

5) ชาติที่เข้ามามีบทบาททางการค้าที่สำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือชาติใด?

  1. จีน
  2. อังกฤษ
  3. อินเดีย
  4. อเมริกา

6) ประเทศไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริงกับชาติใด ?

  1. อังกฤษ
  2. ฝรั่งเศส
  3. ฮอลันดา
  4. สหรัฐอเมริกา

7) สนธิสัญญาเบาริงมีผลเสียต่อไทยในด้านใดมากที่สุด?

  1. การสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
  2. การสูญเสียผลประโยชน์ทางการเมือง
  3. การสูญเสียเอกภาพในด้านการปกครอง
  4. การสูญเสียสิทธิขั้นมูลฐานของประชาชน

8) สนธิสัญญาเบาริงมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจไทยอย่างไร ?

  1. การค้ากับประเทศตะวันตกหดแคบเหลือไม่กี่ประเทศ
  2. การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างเชื่องช้า การส่งออกลดลง
  3. เศรษฐกิจไทยทรุดโทรมหนัก เพราะเก็บภาษีได้น้อยลง
  4. เศรษฐกิจไทยขยายตัว ผลผลิตทางการเกษตรมุ่งส่งเป็นสินค้าออก

9) ข้อใดแสดงให้เห็นว่าไทยเสียเปรียบในการทำสนธิสัญญาเบาริง

  1. เก็บภาษีได้ร้อยละ 3
  2. ไทยต้องยกปินังให้อังกฤษ
  3. เป็นสนธิสัญญาที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาแน่นอน
  4. ไทยไม่ต้องติดต่อการค้ากับชาติตะวันตกอื่นนอกจากอังกฤษ

10) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ปรับปรุงระบบเงินตรา และการจัดเก็บภาษีอากร เพื่อจุดมุ่งหมายใด?

  1. รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน
  2. ป้องกันการฉ้อราษฏร์บังหลวง
  3. พัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
  4. ปรับตัวให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก

11) พระคลังข้างที่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เทียบได้กับหน่วยงานใดในปัจจุบัน?

  1. กระทรวงการคลัง
  2. สำนักงบประมาณ
  3. สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
  4. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

12) ข้อใดเป็นการปฏิรูประบบเงินตราในสมัยรัขกาลที่ 5?

  1. การพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เอง
  2. การใช้ธนบัตรแทนเหรียญกษาปณ์
  3. ยกเลิกเงินพดด้วง และใช้หน่วยเงินบาท
  4. การจัดตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อให้สินเชื่อในการลงทุน

13) ข้อใดเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 6

  1. กิจการรถไฟ และการประปา
  2. กิจการรถราง และการไปรษณียโทรเลข
  3. การจัดตั้งธนาคารออมสินและเขื่อนพระรามหก
  4. การขุดคลองรังสิตและตั้งแบงค์สยามกัมมาจลทุนจำกัด

14) สมุดปกเหลืองของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เน้นให้รัฐเข้าดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจเสียเองโดยวิธีใด?

  1. ระบบสหกรณ์
  2. ระบบคอมมูน
  3. รัฐวิสาหกิจ
  4. รัฐบริษัท

15) สิ่งที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมกำหนดไว้ในเค้าโครงเศรษฐกิจ ซึ่งกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของชนชั้นสูงมากที่สุด คือข้อใด?

  1. รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ที่ดิน แรงงาน ทุน
  2. การเก็บภาษีมรดก และเพิ่มภาษีรายได้อื่นๆ
  3. การประกันรัฐสวัสดิการสังคมให้ราษฏร
  4. การให้ราษฏรทำงานกินเงินเดือนของรัฐ

16) นโยบายเศรษฐกิจแบบไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ เกิดขึ้นในสมัยใด?

  1. ม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช
  2. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
  3. จอมพลถนอม กิตติขจร
  4. จอมพล ป.พิบูลสงคราม

17) เพราะเหตุใดในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงจำเป็นต้องให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ?

  1. เพื่อให้รัฐบาลใช้เงินงบประมาณได้อย่างถูกต้อง
  2. เพื่อยกฐานะของประเทศให้สูงขึ้นในสังคมชาวโลก
  3. เพื่อสนองตอบความต้องการของธนาคารโลกในฐานะเจ้าหนี้เงินกู้
  4. เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีเป้าหมายที่แน่นอนและประสบความสำเร็จ

18) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ส่งผลให้เห็นชัดเจนในข้อใด?

  1. ประเทศไทยพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ
  2. สินค้าออกทางด้านอุตสาหกรรมมีปริมาณสูงขึ้น
  3. ประชาชนในเมืองและชนบทมีรายได้สูงใกล้เคียงกัน
  4. การสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่างๆ เกิดขึ้นมาก

19) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันเน้นการพัฒนาอะไร ?

  1. มนุษย์
  2. สิ่งแวดล้อม
  3. การศึกษา
  4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

20) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันคือฉบับที่เท่าใด?

  1. 8
  2. 9
  3. 10
  4. 11

06/11/2011 · 5:58 pm

:: ประวัติศาสตร์ ชุดที่ 1 ::

1) การที่รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 6 เมษายนของทุกปีเป็นวันจักรีเนื่องมาจากสาเหตุใด?

  1. เป็นวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
  2. เป็นวันที่ย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
  3. เป็นวันคล้ายวันประสูติของรัชกาลที่ 1
  4. เป็นวันเสด็จขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 1

2) ที่ตั้งราชธานีใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีความเหมาะสมอย่างไร

  1. มีป้อมปราการพร้อมอยู่แล้ว
  2. มีประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก
  3. มีลักษณะเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง
  4. เป็นบริเวณท้องทุ่งโล่งสามารถขยายอาณาเขตไปได้กว้างขวาง

3)ข้อใดกล่าวถึงการสร้างราชธานีในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ถูกต้องที่สุด

  1. สร้างเลียนแบบสมัยสุโขทัย
  2. สร้างเลียนแบบสมัยอยุธยา
  3. สร้างเสียนแบบสมัยธนบุรี
  4. เป็นการผสมผสานการก่อสร้างราชธานีเดิมของไทยทุกสมัย

4) ตำแหน่งสมุหนายกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอำนาจหน้าที่เทียบเท่ากระทรวงใดในปัจจุบัน

  1. กระทรวงกลาโหม
  2. กระทรวงการคลัง
  3. กระทรวงยุติธรรม
  4. กระทรวงมหาดไทย

5) ข้อใดไม่สัมพันธ์กัน ?

  1. กรมเวียง-ปราบปรามโจรผู้ร้าย
  2. กรมวัง-หารายได้ให้กับแผ่นดิน
  3. กรมนา-เก็บภาษีหางข้าว
  4. กรมคลัง-ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ

6) เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 4 จึงทรงปรับเปลี่ยนนโยบายในการบริหารประเทศ?

  1. ไม่ต้องการตกเป็นอาณานิคม
  2. ต้องการให้เป็นที่ยอมรับของต่างชาติ
  3. ให้ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี
  4. สนองความต้องการของชาติมหาอำนาจ

7) นโยบายสุดท้ายเพื่อรักษาความเป็นเอกราชของชาติคือข้อใด?

  1. ยอมเสียดินแดน
  2. การเจรจาทางการฑูต
  3. ยอมเสียสิทธิเรื่องภาษี
  4. ยอมเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

8) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการบริหารราชการแผ่นดินได้แก่สภาใด ?

  1. สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์และสภาองคมนตรี
  2. สภาผู้แทนพระองค์และสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์
  3. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาผู้แทนพระองค์
  4. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์

9) จุดประสงค์ในการรวมหัวเมืองเพื่อจัดตั้งเป็นมณฑลในสมัยรัชกาลที่ 5 คือข้อใด

  1. โยงอำนาจการปกครองเข้าสู่ราชธานี
  2. ทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย
  3. กระจายอำนาจการปกครองไปยังส่วนภูมิภาค
  4. เปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการปกครอง

10) ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงมีแนวคิดที่จะนำรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในการปกครองประเทศแต่มีอุปสรรคที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือข้อใด?

  1. อิทธิพลของชาติตะวันตกที่แพร่เข้ามาในหมู่คนไทยมีน้อยมาก
  2. สังคมไทยยังนิยมการมีทาส จึงไม่นิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตย
  3. ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
  4. ขุนนางและพระบรมวงศานุวงศ์ทำการต่อต้านเพราะเห็นว่าเป็นการปกครองที่ล้าสมัย

11) การจัดตั้งดุสิตธานีมีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในด้านใด?

  1. ต้องการเผยแพร่ประชาธิปไตยในหมู่ทหาร
  2. ต้องการเผยแพร่ประชาธิปไตยในหมู่ข้าราชการ
  3. ต้องการเผยแพร่ประชาธิปไตยในหมู่ประชาชน
  4. ต้องการเผยแพร่ประชาธิปไตยในหมู่กองเสือป่า

12) บุคคลกลุ่มใดที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง?

  1. คณะราษฏร
  2. ขบวนการเสรีไทย
  3. คณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ
  4. คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

13) ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475?

  1. กิจการทหารถูกละเลย
  2. ความขัดแย้งในหมู่ราชวงศ์
  3. อิทธิพลแนวคิดทางการเมืองจากตะวันตก
  4. ความล้มเหลวของการปฏิวัติ ร.ศ. 130

14) เหตุผลสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นไปด้วยดีปราศจากการนองเลือดคือข้อใด

  1. เพราะรัชกาลที่ 7 เห็นแก่ความสงบสุขของราษฏร
  2. เพราะรัชกาลที่ 7 คิดว่าจะทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว
  3. เพราะรัชกาลที่ 7 คิดว่าจะได้ไม่มีปัญหาในการรับรองรัฐบาลใหม่จากนานาประเทศ
  4. เพราะรัชกาลที่ 7 มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่ก่อนแล้ว

15) เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 7 จึงทรงสละราชสมบัติ?

  1. ราษฏรไม่ยอมรับ
  2. ทรงขัดแย้งกับคณะราษฏร
  3. ทรงสูญเสียอำนาจด้านการปกครอง
  4. ไม่เห็นด้วยกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย

16) ข้อใดไม่ใช่นโยบายชาตินิยมในสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม?

  1. ขับไล่ชาวจีนและชาวตะวันตกออกนอกประเทศ
  2. ชักจูงโฆษณาให้คนไทยใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ
  3. ส่งเสริมการทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ผลิตเครื่องใช้ด้วยตนเอง
  4. ส่งเสริมให้คนไทยประกอบอาชีพค้าขายและสงวนอาชีพบางอย่าง

17) กลุ่มใดที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับว่าการที่ไทยเข้าร่วมสงครามกับญี่ปุ่นเป็นโมฆะ ?

  1. กบฏ ร.ศ.130
  2. ขบวนการเสรีไทย
  3. ขบวนการกู้บ้านกู้เมือง
  4. กลุ่มรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

18) เหตุการณ์ มหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 เป็นการแสดงออกถึงความต้องการสิ่งใดของประชาชนชาวไทย?

  1. อำนาจอธิปไตย
  2. สิทธิเสรีภาพ
  3. รัฐธรรมนูญ
  4. ความเป็นธรรมในสังคม

19) ผู้นำก่อการรัฐประหารครั้งล่าสุดของไทยคือใคร ?

  1. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
  2. พลเอกสุจินดา คราประยูร
  3. พลเอกสุนทร คงสมพงษ์
  4. พลเอกประยุทธ จันทรโอชา

20) จากอดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีมาแล้วทั้งหมดกี่คน?

  1. 26
  2. 27
  3. 28
  4. 29