จบ ปวส ก่อสร้าง ทํางานอะไร

  1. Home
  2. หลักสูตรที่เปิดสอน
  3. สาขาวิชาวิศวกรรมก่อสร้าง

1. ชื่อหลักสูตร

                ชื่อภาษาไทย              :  อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต  (วิศวกรรมก่อสร้าง)
                ชื่อภาษาอังกฤษ          :  Bachelor of Industrial Technology (Construction Engineering)

2. ชื่อปริญญา

                ชื่อเต็มภาษาไทย         :  อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต  (วิศวกรรมก่อสร้าง)
                ชื่อย่อภาษาไทย          :  อส.บ. (วิศวกรรมก่อสร้าง)
                ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ     :  Bachelor of Industrial Technology (Construction Engineering)
                ชื่อย่อภาษาไทย          :  B. Ind. Tech.  (Construction Engineering)

3. จำนวนหน่วยกิจที่เรียนตลอดหลักสูตร

                ไม่น้อยกว่า     136  หน่วยกิต

4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • ผู้ช่วยวิศวกรในหน่วยงานรัฐและเอกชน เช่น ผู้ช่วยวิศวกร ผู้คุมงานก่อสร้างประจำโครงการนักออกแบบระบบเครือข่าย
  • นักวิชาการหรือนักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างในบริษัทเอกชน
  • ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง

5. ปรัชญาและความสำคัญ

5.1 ปรัชญา

               ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้านทางด้านวิศวกรรมก่อสร้าง และเทคโนโลยีก่อสร้าง ทั้งด้านทฤษฎีและทักษะปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

5.2 ความสำคัญ

               หลักสูตรนี้มุ่งให้การศึกษาทางสาขาวิชาวิศวกรรมก่อสร้าง โดยมุ่งเน้นทางด้านเทคโนโลยีก่อสร้าง เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ ออกแบบและก่อสร้างทางวิศวกรรมโยธา และการประยุกต์เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมก่อสร้างและเทคโนโลยีก่อสร้าง เพื่อใช้งานด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจ และอื่นๆ ได้ มีความคิดสร้างสรรค์อย่างมีระบบ สามารถนำองค์ความรู้ไปบูรณาการและประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งสามารถสร้างงานพัฒนาและวิจัยในระดับที่สูงยิ่งขึ้น เพื่อก่อให้เกิดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ อันถือเป็นวิวัฒนาการที่ยั่งยืนและไม่หยุดยั้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

6. วัตถุประสงค์

  • ผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม วิชาชีพ และปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ
  • ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิศวกรรมก่อสร้าง ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อการประกอบวิชาชีพของตน และการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปได้
  • ผลิตบัณฑิตให้มีความใฝ่รู้ในการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไป เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาสังคมและประเทศชาติและให้คิดเป็น ทำเป็น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรสามารถเลือกวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  • ผลิตบัณฑิตให้มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในด้านการทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และเป็นผู้มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศและศัพท์เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี

7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างก่อสร้าง   สาขาวิชาช่างโยธา  สาขาวิชาช่างสำรวจ สาขาวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ
  • ​เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างก่อสร้าง   สาขาวิชาช่างโยธา หรือสาขาวิชาช่างสำรวจ โดยวิธีเทียบโอนผลการเรียน
  • ผู้เข้าศึกษาทั้ง 2 ข้อข้างต้น ต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557

8. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  • โดยวิธีการรับตรงในระบบโควตา
  • โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
  • โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านกลุ่ม 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
  • โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

เรียนสายอาชีพตอนช่างก่อสร้าง

สาขาวิชาช่างก่อสร้าง

สาขาก่อสร้างเป็นสาขาวิชาที่น่าสนใจและได้รับความสนใจจากผู้สมัครเรียนสายอาชีพอีกสาขาเนื่องจากงานก่อสร้างสามารถสร้างรายได้คุ้มค่ากับแรงงานการก่อสร้างมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งเป็นปัจจัย 4ที่มนุษย์ทุกคนต้องการ คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหารายได้มาเพื่อเก็บออมซื้อบ้านซื้อรถ

บ้านคือสิ่งปลูกสร้างอีกประเภทที่ต้องอาศัยช่างก่อสร้างช่วยปลูกสร้างวางแผน กำหนดโครงสร้าง กำหนดแบบบ้าน และประเมินราคาอีกทั้งสาขาช่างก่อสร้างยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับพัฒนาการศึกษาระดับสูงขึ้นไปคือ การเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งมีค่าตอบแทนที่สูงขึ้นไปอีก จึงทำให้สาขาช่างก่อสร้างมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

รายละเอียดของสาขาวิชา

สาขาช่างก่อสร้างคือสาขาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เช่นบ้านอาคาร โรงงานและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เป็นต้น

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาขาช่างก่อสร้างให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานไม้ งานปูนงานเขียนแบบงานงานสำรวจงานประเมินราคาความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์

โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สายอาชีพทุกสาขาให้ความสำคัญการการฝึกปฏิบัติจริงควบคู่กับทฤษฎี

คุณสมบัติของศึกษาสาขาวิชา

1.ชื่นชอบสาขาวิชาช่างก่อสร้าง

2. งานการเรียนรู้ภาคปฏิบัติและทฤษฎี

3.มีความละเอียดรอบคอบ

4.ชอบการเขียนแบบ

5.ชอบการเรียนรู้นอกสถานที่

6.ชอบงานไม้

7.ชอบวิชาคณิตศาสตร์

8. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

9.อื่นๆ

แนวทางการศึกษาในระดับสูง

1. ปวช. สาขาช่างก่อสร้าง

2. ปวส. สาขาช่างก่อสร้าง

3.ปริญญาตรี/สาขาวิศวกรรมโยธา/ คณะวิศวกรรมสาขาที่เกี่ยวข้อง / ครุศาสตร์เกี่ยวกับการสอนสายอาชีพ และสายอื่น ๆที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไปสมัครเรียน

4. ปริญญาโท

5. ปริญญาเอก

ลักษณะของงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

1.งานก่อสร้าง

2.งานไม้

3.งานสำรวจ

4.งานประเมินราคาค่าก่อสร้าง

5.จัดซื้ออุปกรณ์ก่อสร้าง

6.อื่น ๆ

แนวทางการประกอบอาชีพ

1.งานก่อสร้าง

2.ผู้ช่วยวิศวกร

3.พนักงานรัฐและพนักงานเอกชน

4.ผู้รับเหมาก่อสร้าง

5.เจ้าของกิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง

6.อื่น ๆ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

1. วิทยาลัยเทคนิค

2.ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน

3.วิทยาลัยสารพัดช่าง

4.มหาวิทยาลัยราชมงคลต่าง ๆ

5.ห้องแนะแนวประจำโรงเรียนต่าง ๆ

6.วิทยาลัยสายอาชีพเอกชน

7.ห้องสมุด

8.อินเตอร์เน็ต

9.เว็บ newnaew.net และnaenaew.blogspot.com

10.อื่น ๆ

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากเว็บมาสเตอร์

สาขาวิชาช่างก่อสร้างเป็นอีกสาขาวิชาที่น่าสนใจในการเลือกเรียนสายอาชีพเนื่องจากโอกาสเจริญก้าวหน้ามีสูงสามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปได้โดยตรงจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้นหรือคณะวิชาอื่น ๆ ที่เปิดรับสมัครทั่วไปได้อีกทั้งสาขาวิชาช่างก่อสร้างเป็นสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการทางด้านการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนซึ่งมีความต้องการอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากเป็นหนึ่งในปัจจัย 4ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

น้อง ๆ ที่สนใจควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ

งานก่อสร้างทำอะไรบ้าง

การก่อสร้างเป็นการปฏิบัติวิชาชีพแขนงหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยงานไม้ งานคอนกรีต งานปูนก่อฉาบ งานเหล็ก ช่างซึ่งปฏิบัติงานในงานแขนงนั้นๆ ก็จะเรียกตามประเภทของงานนั้นๆ เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ คำที่เรียกโดยรวมก็คือ ช่างก่อสร้าง และผู้ที่มีอาชีพลงทุนรับจ้างทำงานก่อสร้างจะเรียกทั่วๆ ไปว่า ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียน ...

วุฒิปวส.โยธา ทํางานอะไรได้บ้าง

งาน ปวส โยธา.
โฟร์แมนโยธา, โฟร์แมนสำรวจ , โฟร์แมนเครื่องกล, โฟร์แมนไฟฟ้า ใหม่ ... .
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัสดุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ... .
โฟร์แมนระบบไฟฟ้า/โยธา/เครื่องกล ใหม่ ... .
เจ้าหน้าที่จัดซื้อวัสดุก่อสร้าง ใหม่ ... .
Fore Man. บริษัท สหคิมมอเตอร์ จำกัด ... .
โฟร์แมนก่อสร้าง ... .
ช่างเทคนิคโยธา ... .
โฟร์แมน/วิศวกร.

ช่างก่อสร้างทำงานที่ไหน

งานก่อสร้างอาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ งานก่อสร้างทางด้านอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน โรงเก็บของต่าง ๆ งานก่อสร้างอาคารทางศาสนา เช่น วัด โบสถ์ เมรุเผาศพ ศาลเจ้า เป็นต้น งานก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ หอสมุด อาคารที่พักผู้โดยสาร สนามกีฬา เป็นต้น

เทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา ทํางานอะไร

งานปูนคอนกรีต, การบริหารงานก่อสร้าง, การควบคุมและการตรวจงานก่อสร้าง, การวิเคราะห์โครงสร้าง, การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก, ปฏิบัติการก่อสร้าง, วิศวกรรมการทาง, ปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์, การประมาณราคางานก่อสร้าง, การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปกับงานก่อสร้าง