จบ ปวส การจัดการ ทํางานอะไร

อาชีพ ประกอบธุรกิจส่วนตัว

อาชีพ ประกอบธุรกิจส่วนตัว

  คุณเคยสำรวจตัวเองบ้างหรือไม่ ก่อนมาบริหารกิจการส่วน ว่าเรามีคุณสมบัติเหมาะสมในการประกอบธุรกิจส่วนตัวมากพอ และมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด

     มีผู้คนจำนวนมากที่ผันตัวเองจากพนักงานประจำกินเงินเดือน เบื่อกับงานประจำ ออกมาบริหารเป็นเจ้าของกิจการส่วนตัว เริ่มต้นด้วยใจที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นและเป้าหมายแห่งความสำเร็จ

     แต่ความสำเร็จไม่ใช่ว่าจะได้มาโดยง่าย เส้นทางเดินไม่ได้โรยด้วยกลีบดอกไม้เสมอไป สิ่งที่ต้องเจอมีแต่อุปสรรค และปัญหาให้เราคอยแก้ไขอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นคุณมีความพร้อมมากพอหรือยังที่จะก้าวเป็น “เถ้าแก่ในวันข้างหน้า”

แนะนำอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว ว่าต้องทำอะไรบ้าง มีการทำงานอย่างไร เพื่อนๆจะได้เอาไปเป็นความรู้ประกอบการเลือกอาชีพที่เหมาะสมและสนใจ ซึ่งการเลือกเรียน สาขาการจัดการ เป็นหนึ่งในสาขาของ คณะบริหารธุรกิจ ในที่นี้เราพูดถึง ม.เอกชน ก็คือ ม.รังสิต หรือ มหาวิทยาลัยรังสิตนั่นเอง นับว่าสาขาการจัดการ ของคณะบริหารธุรกิจเป็นสาขาที่มีคนเรียนเยอะมากเลยทีเดียว

สำรวจคุณสมบัติก่อนเริ่มทำธุรกิจส่วนตัว

สำหรับท่านใดที่คิดหรือกำลังลงมือสร้างกิจการของตัวเอง ทางเว็บไซต์ไทยอาชีพมีแบบสำรวจคุณสมบัติว่า “คุณ” เหมาะสมในการเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ หรือไม่

กล้าได้ กล้าเสีย ใจต้องใหญ่กล้าที่จะได้ และต้องกล้าที่จะเสียโดยมีพื้นฐานในการตัดสินใจที่เด็ดขาด ผ่านการคิดวิเคราะห์ มองเห็นโอกาสต้องกล้าเข้าไปลงทุน หยิบยื่นโอกาสให้กับธุระกิจของตัวเอง ให้มีการขยายการเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ


จบ ปวส การจัดการ ทํางานอะไร
การจัดการ


ไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ หนทางในการทำธุระกิจผู้เป็นเจ้าของกิจการกว่าจะประสบความสำเร็จได้ ล้วนแล้วผ่านอุปสรรค และปัญหาต่างๆ นาๆ มานับไม่ถ้วน คนสู้ชีวิตเท่านั้นที่ไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ ล้มแล้วรู้จักที่จะยืนขึ้นมาใหม่เสมอ คือคุณสมบัติที่ดีของคนที่จะประสบความสำเร็จ

ความเชื่อมั่นในตัวเอง คือ ความมั่นใจหรือความกล้า ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล ความเชื่อมั่นในตนเองคือสิ่งที่คอยกระตุ้นความคิดที่จะทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จได้อย่างที่เป้าหมายกำหนด หรือต้องทำให้ได้ตามที่ตนเองได้ตั้งใจเอาไว้ แม้ว่าจะมีอุปสรรคก็ยังไม่ทำให้เกิดความย่อท้อ ยังคงสามารถทำสิ่งนั้น ๆ ต่อไปได้ โดยมีความมั่นใจว่าตนสามารถที่จะกระทำสิ่งนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความถูกต้อง

Read more »

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Pinterest

อาชีพ ที่ปรึกษาด้านการจัดการ

อาชีพ ที่ปรึกษาด้านการจัดการ

แนะนำอาชีพที่ปรึกษาด้านการจัดการ ว่าต้องทำอะไรบ้าง มีการทำงานอย่างไร เพื่อนๆจะได้เอาไปเป็นความรู้ประกอบการเลือกอาชีพที่เหมาะสมและสนใจ ซึ่งการเลือกเรียน สาขาการจัดการ เป็นหนึ่งในสาขาของ คณะบริหารธุรกิจ ป็นสาขาที่มีคนเรียนเยอะมากเลยทีเดียว



เป็นที่ยอมรับว่าธุรกิจมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ปัจจัยสำเร็จประการหนึ่งก็คือ ใครเร็วกว่าก็มีสิทธิชนะ

     การบริหารธุรกิจจึงมักใช้บริการ "ที่ปรึกษาด้านการจัดการ" (Management Consultant) กันอย่างกว้างขวาง

     เหตุผลที่ธุรกิจนิยมใช้ ก็คือ ความจำเป็นที่ธุรกิจต้องการใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่ง ในการให้คำปรึกษาหรือปฏิบัติการ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญสามารถประเมินภาพกว้าง และยังช่วยลดภาระงานของฝ่ายจัดการลงได้มาก ภายใต้มาตรฐานของความเป็นวิชาชีพ และ จรรยาบรรณในการทำงานที่รับประกันความน่าเชื่อถือของผลงาน

จบ ปวส การจัดการ ทํางานอะไร
การจัดการ


กระบวนการของการให้คำปรึกษา มีลำดับขั้นตอนดังนี้

      1. ประเมินความต้องการของลูกค้า และ ความสามารถของที่ปรึกษาด้านการจัดการ หากมีความสามารถดำเนินการ ก็จัดทำข้อตกลงการให้บริการ และบริการที่ต้องส่งมอบให้กับลูกค้า พร้อมเสนอราคาค่าบริการ

      2. ที่ปรึกษาทำการวิเคราะห์ และเข้าใจปัญหาของลูกค้าอย่างละเอียด

      3. จัดทำแนวทางแก้ไขปัญหา หรือออกแบบงานเพื่อดำเนินงาน โดยเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดโดยคำนึงถึงคุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบงานให้ตรงเวลา และตามเงื่อนไขในข้อตกลง

      4. นำแนวทางที่ดีที่สุด ในการแก้ไขปัญหา หรืองานที่ถูกออกแบบ  ไปใช้ในจุดที่ต้องการแก้ไข หรือจุดที่ต้องการใช้งาน โดยการออกแบบกระบวนการเปลี่ยนแปลง

      5. ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเป้าหมายของงาน

      6.จัดอบรม สอนงานตัวแทนของลูกค้า ทั้งในเชิงการถ่ายทอดความรู้ และทักษะ อย่างครอบคลุม

     7.ปิดงาน โดยส่งมอบงานตามข้อตกลงอย่างเป็นทางการ แต่ยังคงรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อโอกาสในภารกิจในอนาคต     


ใคร ? ที่มีคุณสมบัติสำคัญของ ที่ปรึกษาด้านการจัดการ พบว่า คุณสมบัติหลักสำคัญ 3 ประการ คือ 

          1.ประสบการณ์ตรงที่มีต่อการดำเนินการเฉพาะเรื่องนั้นๆ 

          2.มีทักษะการจัดการอย่างเป็นระบบ 

          3.มีภาวะผู้นำ

Read more »

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Pinterest

อาชีพนักบริหาร

อาชีพ นักบริหาร

เราจะแนะนำอาชีพนักบริหาร ว่าต้องทำอะไรบ้าง มีการทำงานอย่างไร เพื่อนๆจะได้เอาไปเป็นความรู้ประกอบการเลือกอาชีพที่เหมาะสมและสนใจ ซึ่งการเลือกเรียน สาขาการจัดการ เป็นหนึ่งในสาขาของ คณะบริหารธุรกิจ ในที่นี้เราพูดถึง ม.เอกชน ก็คือ ม.รังสิต หรือ มหาวิทยาลัยรังสิตนั่นเอง นับว่าสาขาการจัดการ ของคณะบริหารธุรกิจเป็นสาขาที่มีคนเรียนเยอะมากเลยทีเดียว


จบ ปวส การจัดการ ทํางานอะไร
การจัดการ


ผู้บริหารมืออาชีพจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้

1. มีบุคลิกภาพที่ดี ( Personality )ผู้บริหารมืออาชีพต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี คนที่มีบุคลิกภาพดีจะเป็นบันไดสู่ความสำเร็จได้เป็นอย่างดีจึงมักจะมีคำกล่าว “มาดดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” 

2. มีความรู้ดี ( Knowledge ) นักบริหารมืออาชีพจะต้องเป็นผู้มีความรู้ดี ผู้มีความรู้ดีจะเป็นผู้มีบารมีเป็นที่ยอมรับ มีคำกล่าวว่า “Knowledge is Power ความรู้คืออำนาจ” ผู้ที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารจะเป็นผู้ที่รู้กว้าง และรู้ลึก สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

3. มีวิสัยทัศน์ ( Vision )ผู้บริหารมืออาชีพ ต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ดังนั้นผู้บริหารมืออาชีพจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และมุ่งมั่นนำวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ 

4. มีมนุษย์สัมพันธ์ ( Human relationship )  นักบริหารมืออาชีพจึงต้องเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับทุกคนทั้ง นาย ลูกน้อง เพื่อนและคนทั่วไป เพราะความสำเร็จในการบริหารไม่ได้เกิดจากการทำงานเพียงลำพังของผู้บริหาร แต่เกิดจากการที่ทุกฝ่ายให้การช่วยเหลือสนับสนุน ผู้บริหารที่สามารถนั่งในใจคนอื่นได้ คือผู้ที่สามารถที่พิชิตความสำเร็จได้อย่างน่าชื่นชม 

5. มีภาวะผู้นำ ( Leadership ) มีคำกล่าวว่า “ผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหารแต่ผู้บริหารจำเป็นต้องเป็นผู้นำ” นักบริหารมืออาชีพจะต้องเป็นผู้มีภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง อยู่เสมอ เพราะเมื่อใดผู้บริหารสูญเสียความเป็นผู้นำ ความเสื่อม ความอ่อนแอ ความล้มเหลว และความขัดแย้งจะเกิดขึ้นในองค์การโอกาสของการเป็นผู้บริหารมืออาชีพก็จะหลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย 

6. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( chief change officer ) ที่ใดไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่นั่นไม่มีการพัฒนา การเปลี่ยน แปลง คือการพัฒนา (changing is development) ผู้บริหารที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ 3 ประการคือ “มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรู้ลึกและรู้รอบ มีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง” 

Read more »

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Pinterest

อาชีพ พนักงานธนาคาร

อาชีพ พนักงานธนาคาร

เราจะแนะนำแต่ละอาชีพของการเรียนสาขาการจัดการ ว่าแต่ละอาชีพต้องทำอะไรบ้าง มีการทำงานอย่างไร เพื่อนๆจะได้เอาไปเป็นความรู้ประกอบการเลือกอาชีพที่เหมาะสมและสนใจ ซึ่งกาเลือกเรียน สาขาการจัดการ เป็นหนึ่งในสาขาของ คณะบริหารธุรกิจ ในที่นี้เราพูดถึง ม.เอกชน ก็คือ ม.รังสิต หรือ มหาวิทยาลัยรังสิตนั่นเอง นับว่าสาขาการจัดการ ของคณะบริหารธุรกิจเป็นสาขาที่มีคนเรียนเยอะเลยทีเดียว

จบ ปวส การจัดการ ทํางานอะไร

การจัดการ

รายละเอียดของอาชีพ

อาชีพพนักงานธนาคาร เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่สนใจประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งปัจจุบันอาชีพนี้มีความต้องการอยู่ เนื่องจากมีการแข่งขันของหลายๆ ธนาคารสูง มีธนาคารเกิดใหม่ และธนาคารเดิมเปลี่ยนกลยุทธการแข่งขันสูงขึ้น จึงเป็นอีกอาชีพที่ต้องอาศัยความสามารถของพนักงานในการดึงดูดลูกค้าให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น และสนใจลงทุนกับธนาคาร ทั้งการฝากเงิน การกู้เงิน และการลงทุนต่าง ๆ ที่ธนาคารมี

สาขาการจัดการสามารถทำงานอะไรได้บ้าง

แนวทางการประกอบอาชีพ อาชีพเลขานุการ รับราชการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ พนักงานบันทึกข้อความ ฯลฯ หน่วยงานเอกชน เช่น พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ เลขานุการส่วนตัว ประกอบอาชีพอิสระ เช่น เจ้าของกิจการ ร้านถ่ายเอกสาร รับพิมพ์รายงาน

บัญชีการจัดการ ทํางานอะไร

อาชีพในอนาคต : นักบัญชี, นักบริหารภาษี, นักตรวจสอบบัญชี, ที่ปรึกษาทางบัญชี, ผู้สอบภาษี, ผู้วางระบบการเขียนโปรแกรมบัญชี, เจ้าหน้าที่ทางการเงิน เป็นต้น

การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ทํางานอะไร

บริษัท นำเข้า / ส่งออกในประเทศและต่างประเทศ ฝ่ายธุรกิจต่างประเทศของบริษัทข้ามชาติ ตำแหน่งในการให้คำปรึกษาทางธุรกิจและการวิจัย พนักงานในหน่วยงานสาธารณะและรัฐวิสาหกิจ

การจัดการเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

สาขาการจัดการ (Management) เรียนเกี่ยวกับกระบวนการบริหารการจัดการความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพการพัฒนาองค์การ การจัดการเชิงกลยุทธ์ หลักการบริหารองค์กร การตัดสินใจทางธุรกิจ การวางยุทธศาสตร์ขององค์กรและทักษะสำหรับผู้ต้องการมีกิจการเป็นของตนเอง