ข้อสอบพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก ม.4 พร้อมเฉลย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นเวลาไม่น้อยกว่ากี่ปี
  1. 6 ปี
  2. 9 ปี
  3. 12 ปี
  4. 15 ปี
  • การที่นายดำหลีกเลี่ยงการเสียภาษีแสดงว่านายดำขาดความตระหนักถึงสิ่งใด
    1. สิทธิของพลเมือง
    2. หน้าที่ของพลเมือง
    3. เสรีภาพของพลเมือง
    4. ความเสมอภาคของพลเมือง
  • พฤติกรรมของบุคคลใดมีลักษณะเป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
    1. สมพงษ์เคารพเหตุผลของผู้อื่น
    2. สมพลยึดมั่นในเหตุผลที่ถูกต้อง
    3. สมพรใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
    4. สมพิศคำนึงถึงเหตุผลก่อนตัดสินใจ
  • กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดเป็นสำคัญ
    1. การใช้อำนาจอธิปไตย
    2. การจัดระเบียบบริหารราชการ
    3. การถ่วงดุลอำนาจทางการเมือง
    4. การคุ้มครองสิทธิของประชาชน
  • ข้อใดเป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ที่แตกต่างจากสัตว์อื่น
    1. การใช้สัญลักษณ์
    2. การใช้สัญชาตญาณ
    3. การตอบสนองสิ่งเร้าโดยอัตโนมัติ
    4. การตอบสนองสิ่งเร้าตามพันธุกรรม
  • คนไทยในสังคมเมืองและชนบทมีค่านิยมที่สอดคล้องกันในเรื่องใด
    1. รักความเป็นอิสระ
    2. ไม่ชอบการแข่งขัน
    3. ไม่ชอบคนแปลกหน้า
    4. ชอบความสะดวกรวดเร็ว
  • ครูเกลียว เสร็จกิจ (ขวัญจิต ศรีประจันต์) ได้รับยกย่องให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย ในฐานะที่เป็นผู้ฟื้นฟู เพลงพื้นบ้านประเภทใด
    1. เพลงเรือ
    2. เพลงฉ่อย
    3. เพลงอีแซว
    4. เพลงรำโทน
  • ข้อใดเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าประเทศมีลักษณะเป็นสาธารณรัฐหรือไม่
    1.  ประชากรในรัฐ
    2. ระบบเศรษฐกิจ
    3.  ประมุขของประเทศ
    4. ระบอบการปกครอง
  • กิจกรรมใดมีส่วนสำคัญในการปูพื้นฐานประชาธิปไตยในประเทศไทย
    1. การจัดตั้งมณฑล
    2. การจัดระบบภาษี
    3. การจัดตั้งสุขาภิบาล
    4. การจัดระบบเทศาภิบาล
  •  ส่วนราชการใดมีฐานะเป็นกระทรวง
    1. สำนักงบประมาณ
    2. สำนักนายกรัฐมนตรี
    3. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    4. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • รัฐธรรมนูญฉบับใดได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ
    1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
    2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
    3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
    4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
  • ผู้ปกครองประเทศควรยึดหลักใด สังคมจึงจะสงบสุขและมีสันติ
    1. เบญจศีล
    2. อริยวัฑฒิ
    3. อปริหานิยธรรม
    4. ทศพิธราชธรรม
  • ข้อใดไม่ใช่ กฎหมายสารบัญญัติ
    1. กฎหมายอาญา
    2. กฎหมายลักษณะพยาน
    3. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    4. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
  • ทรัพย์ในข้อใดเป็นอสังหาริมทรัพย์
    1. บ้าน
    2. รถยนต์
    3. สิทธิจำนำ
    4. สิทธิจำนอง
  • สภาพบังคับตามข้อใดเป็นการลงโทษทางอาญา
    1. การปรับ
    2. การยึดทรัพย์ 
    3. การริบทรัพย์สิน
    4. การชดใช้ค่าเสียหาย
  • ครอบครัวในข้อใดเป็นครอบครัวเดี่ยว
    1. โต้งอยู่กับลุงและป้า
    2. ตุ้มอยู่กับพ่อและแม่
    3. แต้วอยู่กับแม่และยาย
    4. ต้อยอยู่กับพ่อและพี่ชาย
  • ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกามีความแตกด่างกันในเรื่องใด
    1. รูปแบบของรัฐ
    2. ที่มาของรัฐบาล
    3. ระบอบการปกครอง
    4. เจ้าของอำนาจอธิปไตย
  • หลักการใดสอดคล้องกับการปกครองแบบประชาธิปไตย
    1. หลักเอกภาพ
    2. หลักนิติธรรม
    3. หลักเหตุผลแห่งรัฐ
    4. หลักการกระจายอำนาจ
  • กิจกรรมใดเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร
    1.  การประกาศสงคราม
    2.  การตราพระราชกำหนด
    3. การยุบสภาผู้แทนราษฎร
    4. การแต่งตั้งตุลาการศาลปกครอง
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ 2550 กำหนดเรื่องใดไว้ตรงกัน
    1. ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
    2. ขนาดของคณะรัฐมนตรี
    3. ผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา
    4. จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กลุ่มบุคคลใดมีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
    1. รัฐมนตรี 10 คน
    2. สมาชิกวุฒิสภา15คน
    3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 คน
    4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 20 คน
  • Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    รูปแบบการเมืองการปกครองของสังคมโลกนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน

    รูปแบบการปกครองในอดีต ในสมัยอดีตการการที่จะวิเคราะห์ว่าบ้านเมืองใดมีการปกครองแบบใด เราสามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 2 องค์ประกอบคือ

    1. การปกครองนั้นเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม
    2. การปกครองนั้นรับใช้ผลประโยชน์ของคนๆ เดียว กลุ่มคนหรือพรรค

    ทั้งนี้ อาจแบ่งแยกรูปแบบการปกครองตามลักษณะของผู้รับผลประโยชน์ และจำนวนผู้ที่ปกครองตามที่อริสโตเติ้ลแบ่งเอาไว้ได้ 6 รูปแบบ ดังนี้

    ปกครองโดย

    เพื่อประโยชน์/ผู้รับประโยชน์

    ชื่อรูปแบบ

    คนเดียว

    ส่วนรวม

    ราชาธิปไตย

    คนเดียว

    ส่วนตน

    ทรราช

    กลุ่ม/คณะบุคคล

    ส่วนรวม

    อภิชนาธิปไตย

    กลุ่ม/คณะบุคคล

    ส่วนตน

    คณาธิปไตย

    ประชาชน

    ส่วนรวม

    ระบอบรัฐธรรมนูญ

    ประชาชน

    พรรค

    ประชาธิปไตย

    รูปแบบการปกครองในปัจจุบัน มี 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ

    ระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย หมายถึง ระบบการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองอย่างแท้จริง ทั้งทางตรงและทางอ้อม

    1. ประชาธิปไตยทางตรง คือ ประชาชนร่วมกันลงประชามติ กำหนดแนวทาง หรือตัดสินใจในทางการเมืองการปกครอง เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์และสิทธิ เสรีภาพของตนได้โดยตรงซึ่งมักใช้ในสังคมที่มีขนาดเล็ก
    2. ประชาธิปไตยทางอ้อม คือ การที่ประชาชนคัดเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตน โดยการใช้สิทธิออกเสียงในสภาเพื่อพิทักษ์ ผลประโยชน์ สิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยรวม

    ประเทศที่ปกครองแบบประชาธิปไตย ประชาชนในประเทศจะมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองด้วยการเลือกตั้งผู้แทนราษฏรเข้ามาใช้อำนาจปกครองประเทศ เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม หน่วยการปกครองประกอบด้วยสภานิติบัญญัติ และคณะรัฐมนตรี ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนของประชาชน ที่ได้รับเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งอย่างในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อครบวาระจะมีการเลือกตั้งใหม่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปกครองประเทศตามความต้องการของประชาชน

    ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการ หมายถึง ระบบการปกครองที่ให้ความสำคัญกับอำนาจและผลประโยชน์ของรัฐ หรือชนชั้นผู้นำการปกครองมากกว่าคำนึงถึงประโยชน์และสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยผู้นำการปกครองอาจเป็นคนเดียวหรือกลุ่มคน
    ปกติประเทศที่มีการปกครองแบบเผด็จการ จะมีการจัดตั้งรัฐบาลที่มีอำนาจปกครองประเทศอย่างเต็มที่และครองอำนาจอย่างยาวนาน การสืบทอดอำนาจหรือตำแหน่ง มักดำเนินการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากพ่อสู่ลูก บุคลลในครอบครัวหรือพวกพ้องใกล้ชิด เป็นต้น
    ระบบการเมืองการปกครองทั้ง 2 ระบบนี้ สามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบการปกครองแบบย่อยๆ ที่มีลักษณะเฉพาะได้ ดังนี้

    รูปแบบการปกครองในระบบประชาธิปไตย

    • การปกครองแบบรัฐสภา การปกครองแบบนี้เริ่มเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษและได้แพร่หลายในทวีปยุโรป เอเซียและแอฟริกา หลักการสำคัญก็คือ ให้รัฐสภา กับคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ โดยกำหนดให้รัฐสภามีฐานะอำนาจและความสำคัญเหนือกว่าคณะรัฐมนตรี คือ คณะรัฐมนตรีจะเข้าดำรงตำแหน่งได้ต่อเมื่อได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาและจะอยู่ในตำแหน่งเท่าที่สภายังให้ความไว้วางใจ ถ้ารัฐสภาไม่ให้ความไว้วางใจ คณะรัฐมนตรีจะต้องลาออกจากตำแหน่ง รัฐสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรีจะต้องนำเอากฏหมายที่รัฐสภาได้บัญญัติขึ้นไว้ไปปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีอาจจะยุบสภาได้ในบางกรณี กล่าวโดยสรุป การปกครองแบบนี้รัฐสภาอยู่ในฐานะพิเศษ คือ เป็นทั้งฝ่ายที่ให้ความยินยอมในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ด้วย ดังนั้น จึงถือว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่ไม่มีการแบ่งแยกอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร แต่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งรวมเป็นคณะรัฐมนตรีจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ประเทศที่เป็นต้นแบบการปกครองแบบรัฐสภา คือ ประเทศอังกฤษ ตัวอย่างของประเทศที่ปกครองแบบนี้ ได้แก่ อังกฤษ นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ อิตาลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น
    • การปกครองแบบประธานาธิบดี เป็นการปกครองที่มีการแยกอำนาจบริหารและนิติบัญญัติออกจากกัน โดยให้ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนและมีอำนาจบริหารให้สภานิติบัญญัติได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนเช่นกันและมีอำนาจนิติบัญญัติ โดยทฤษฏีแล้วทั้งสองฝ่ายสามารถคนอำนาจกันได้

    กล่าวคือ การปกครองแบบประธานาธิบดี จะมีการแบ่งแยกอำนาจปกครองออกจากกันอย่างอิสระ คือ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และอำนาจนิติบัญญัติ มีประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง โดยมีรัฐสภา อันประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งมีอำนาจทางด้านนิติบัญญัติ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกกฏหมายต่างๆ ทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฏร ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเช่นกัน

    สำหรับอำนาจตุลาการ มีศาลซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษา ทำหน้าที่ตีความตามรัฐธรรมนูญของประเทศและกำกับดูแล การใช้อำนาจยุติธรรมตามกฏหมาย ทั้งนี้ ผู้พิพากษามิได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี โดยความยินยอมเห็นชอบของวุฒิสภา ประเทศที่มีการปกครองแบบประธานาธิบดี ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

    • การปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา หลักการปกครองที่สำคัญ คือให้ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของชาติและเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร ขณะเดียวกันก็มีนายกรัฐมนตรีกับคณะรัฐมนตรีร่วมใช้อำนาจบริหารด้วยส่วนหนึ่ง นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา รัฐสภามีอำนาจในการออกกฏหมายและควบคุมคณะรัฐบาล ถ้าสภาลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาลต้องลาออก แต่ประธานาธิบดีไม่ต้องลาออก ประเทศที่ให้กำเนิดรูปแบบการปกครองแบบนี้ คือ ประเทศฝรั่งเศส ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองแบบนี้ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน และบางประเทศในยุโรป เช่น กรีซ เป็นต้น

    รูปแบบการปกครองในระบบเผด็จการ

    1. เผด็จการแบบทหารมีอำนาจปกครอง โดยทหารดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของประเทศ ทหารเป็นผู้ใช้อำนาจในการบริหารประเทศทุกด้าน รวมทั้งใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยการออกกฏหมายต่างๆ รวมทั้งแต่งตั้งรัฐบาล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนายทหารหรือผู้ใกล้ชิด และอาจมีการตั้งสภาทหารหรือสภาปฏิวัติ ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เช่น พม่า อิรัก และปากีสถาน เป็นต้น
    2. เผด็จการแบบประธานาธิบดี ประเทศที่มีการปกครองในรูปแบบเผด็จการแบบมีประธานาธิบดี มีการจัดระบบการปกครองแบบนี้ให้ประธานาธิบดี ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารมีอำนาจสูงสุดและสามารถดำรงตำแหน่งอยู่ได้ตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะสละอำนาจแก่ทายาททางการเมืองที่ตนเป็นผู้เลือก ประเทศที่มีการปกครองแบบนี้ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในโลกที่สามหรือประเทศยากจนในแถบแอฟริกา และบางประเทศในเอเซีย
    3. เผด็จการแบบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองแคว้น มีพระราชอำนาจเด็ดขาดในการปกครองประเทศ โดยพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขประเทศ และควบคุมอำนาจทางการบริหารตุลาการและนิติบัญญัติ ตลอดจนเป็นผู้กำหนดนโยบายของประเทศ รวมถึงแบบแผนการดำเนินชีวิตของประชาชน ตัวอย่างประเทศที่มีการปกครองแบบนี้ ได้แก่ ประเทศสวาซีแลนด์ ในแอฟริกา รวมทั้งไทยและลาวในอดีตก็มีการปกครองแบบนี้เช่นกัน
    4. เผด็จการแบบพรรคการเมืองพรรคเดียวมีอำนาจปกครองสูงสุด ประเทศที่มีการปกครองแบบนี้มักมีพรรคการเมืองที่ยึดอุดมการณ์แบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยมีพรรคการเมืองที่มีอำนาจสูงสุด คือ พรรคคอมมิวนิสต์ ตัวอย่างประเทศที่มีการปกครองแบบนี้ ได้แก่ จีน เกาหลีเหนือ ลาว เวียดนาม และสหภาพโซเวียต(ก่อนล่มสลาย) เป็นต้น

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    วัฒนธรรม หมายถึง วีถีการดำรงชีวิตที่ดีงาม ได้รับการสืบทอดจากอดีตสู่ปัจจุบันเป็นผลผลิตของมนุษย์ที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ทั้งด้านวัตถุ แนวคิดจิตใจ วัฒนธรรมในท้องถิ่นจะเป็นเอกลักษณ์ของสังคมท้องถิ่นนั้นๆ วัฒนธรรมคงอยู่ได้เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และสร้างสรรค์พัฒนาขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง

    วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ

    วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ จนกลายเป็นวัฒนธรรมซึ่งนานาชาติยกย่อง และคนไทยมีความภาคภูมิใจมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ได้แก่

    1. ภาษาไทย ไทยเรามีภาษาและตัวอักษรเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้ใน พ.ศ.1826 และได้มีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ เนื่องจากเราได้มีการติดต่อเกี่ยวกับนานาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จึงได้รับวัฒนธรรมภาษาต่างชาติเข้ามาปะปนใช้อยู่ในภาษาไทย แต่ก็ได้มีการดัดแปลงจนกลายเป็นภาษาไทยในที่สุด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
    2. ศาสนา พลเมืองไทยส่วนใหญ่ของประเทศเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนาที่อยู่คู่บ้านบ้านมาช้านานแล้ว ศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมด้านอื่นๆ คนไทยได้ยึดถือเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ทั้งส่วนรวมและส่วนบุคคล จะมีพิธีทางศาสนาพุทธเกี่ยวข้องอยู่เสมอ
    3. การแต่งกาย การแต่งกายของคนไทยมีแบบฉบับ และมีวิวัฒนาการมานานแล้ว โดยจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน ตามสมัยและโอกาสต่างๆ โดยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่แต่งกายตามสากลอย่างชาวตะวันตก หรือตามแฟชั่นที่แพร่หลายเข้ามา แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีจิตใจที่รักในวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยแบบดั้งเดิมอยู่ ดังจะเห็นได้จากในงานพิธีกรรมต่างๆ จะมีการรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทย หรือชุดไทย หรือรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทยในชีวิตประจำวัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ชาติอื่นให้ความชื่นชม
    4. ศิลปกรรม ถือเป็นภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ โดยเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงามก่อให้เกิดความสุขทางใจ ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา และเป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ผลงานที่ปรากฏตามวัดวาอารามต่างๆ เรือนไทยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ ศิลปกรรมไทยที่สำคัญได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณกรรม

    ประเพณีไทย
    ประเพณี หมายถึง สิ่งที่แต่ละสังคมนิยมยึดถือประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจนเป็นแบบแผนที่ดีงาม ทั้งนี้การปฏฺบัติตามประเพณีย่อมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้าง คงไว้บ้าง ประเพณีเป็นสิ่งที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของชาติ ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด ต้องมีประเพณีประจำท้องถิ่นหรือชุมชน ประจำชาติของตน สามารถจำแนกประเพณีออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ

    จารีตประเพณี ได้แก่ ประเพณีที่สังคม ปฏิบัติกันมานานตั้งแต่บรรพชน ถ้าใครฝ่าฝืน งดเว้นไม่ประพฤติปฏิบัติตามถือว่าเป็นความผิด
    ขนบธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ ประเพณีที่สังคมที่เป็นระเบียบแบบแผนที่ต้องปฏิบัติตามเป็นที่รับรู้ต้นทางสังคม เช่น ระเบียบของโรงเรียน ชุมชน เป็นต้น
    ธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ ประเพณีที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ใครจะฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ไม่ถือว่าผิดศีลธรรม เป็นแต่เพียงสิ่งที่นิยมกันว่ามีคนประพฤติปฏิบัติ มิได้วางไว้เป็นแบบแผนเป็นแต่เพียงการเห็นว่าดี เห็นสมควรปฏิบัติตามต่อๆ กันมา เช่น การต้อนรับแขก การปฏิบัติตนในฐานะเจ้าของบ้าน การพูดจาทักทาย เป็นต้น

    เราอาจแบ่งประเภทของประเพณีไทยออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

    1. ประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิตหรือประเพณีครอบครัว ได้แก่ประเพณีการเกิด ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีงานศพ
    2. ประเพณีท้องถิ่นของชุมชนหรือประเพณีส่วนรวมตามเทศกาล ประเพณีการชักพระ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีงานบุญบั้งไฟ ประเพณีการรับประทานอาหาร
    3. ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีที่เกียวกับอาชีพ เช่น ภาคใต้ ได้แก่ การลงขันลงหิน การทำขันและเครื่องลงยา การทำผ้าบาติก การทำโสร่งปาเต๊ะ ประเพณีการแต่งกาย ประเพณีการแต่งกาย ประเพณีการละเล่นในงานนักขัตฤกษ์ เช่น การละเล่นหนังตะลุง มโนราห์ เป็นต้น
    4. ประเพณีราชการ คือประเพณีที่ทางราชการเป็นผู้กำหนดขึ้น จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ รัฐพิธีและพระราชพิธี
      รัฐพิธี เป็นพิธีประจำปีที่ทางราชการกำหนดขั้น โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธาน หรือโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์เสด็จไปแทนพระองค์ ได้แก่ รัฐพิธีที่ระลึกวันจักรี ตรงกับวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี รัฐพิธีวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี

    พระราชพิธี หมายถึง พิธีที่จัดขึ้นอันเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ เป็นพิธีหลวง ได้แก่ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก(วโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539)
    ภูมิปัญญาไทย

    ตัวอย่างภูมิปัญญาไทยที่ควรรู้

    1. ด้านภาษา และวรรณธรรม ได้แก่ สุภาษิต คำพังเพย เพลงพื้นบ้าน ปริศนาคำทายต่างๆ
    2. ด้านประเพณี ได้แก่ กิจกรรมที่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ชุมชน โดยการแสดงออกทางประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านในท้องถิ่นต่างๆ เช่น การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีวันลอยกระทง วันเข้าพรรษา วันสงกรานต์ การละเล่นพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น เช่น การระบำรำฟ้อนประเภทต่างๆ เซิ้ง กลองยาว เพลงอีแซว หมอลำ มโนราห์ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกัน
    3. ด้านศิลปวัตถุและศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ การทำเครื่องปั้นดินเผาไปแกะสลัก หนังตะลุง เป็นต้น
    4. ด้านการแต่งกาย ได้แก่ การทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะและความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น
    5. ด้านอาหาร ได้แก่ การจัดประดับตกแต่งอาหารให้มีความสวยงาม ด้วยการแกะสลักด้วยความประณีต การจัดเลี้ยงอาหารแบบขันโตกของทางเหนือ ด้านอาหารที่ขึ้นชื่อของไทย คือ ต้มยำกุ้ง ผัดไทย แกงเลียง ข้าวยำปักษ์ใต้ ข้าวซอย ส้มตำ เป็นต้น
    6. ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิน ได้แก่ การทำระหัดน้ำ การประดิษฐ์กระเดื่องสำหรับตำข้าว การทำเครื่องมือจับสัตว์ เช่น แห อวน ยอ เป็นต้น
    7. ด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ การคิดรูปแบบและวัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้านที่สัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศ และลักษณะภูมิอากาศ เช่น รูปแบบบ้านทรงไทยโบราณ ซึ่งมีใต้ถุนสูง และหลังคามีหน้าจั่วสูง ซึ่งเหมาะกับภูมิอากาศในประเทศไทย เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
    8. ด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย ได้แก่ การคิดค้นนำส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพร นอกจากมาเป็นอาหารแล้ว ยังนำมาใชสกัดเป็นยารักษาโรค เช่น ขิง กระชายดำ พริกไทย เป็นต้น นอกจากนี้พืชสมุนไพรยังนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลง เช่น เปลือก ใบและผลสะเดา ตะไคร้หอม นอกจากนี้การแพทย์แผนไทยแต่ดั้งเดิมมามีการนวดจุดเพื่อรักษาโรคต่างๆ หรือแม้แต่ท่าฤาษีดัดตน เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เป็นต้น

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีสิทธิที่กฏหมายกำหนดและสิทธิที่ไม่ระบุไว้เป็นกฏหมาย

    ความหมายของสิทธิมนุษยชน
    หมายถึง สิทธิที่ทุกคนมีอยู่ในฐานะเป็นมนุษย์ ทั้งสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่ในส่วนบุคคลและสิทธิในการอยู่ร่วมกันในสังคม สิทธิในความเป็นมนุษย์นั้น มีทั้งสิทธิตามกฏหมายและสิทธิที่มีอยู่โดยไม่ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฏหมาย แต่เป็นสิทธิที่เกิดจากมาตรฐานเพื่อความถูกต้อง ความเป็นธรรม หรือความยุติธรรม แต่เดิมสิทธิมนุษยชนจะกล่าวถึงในชื่ออื่น เช่น สิทธิในธรรม สิทธิในธรรมชาติ เป็นต้น

    สิทธิมนุษยชนจะครอบคลุมสิทธิต่างๆ ในการดำรงชีวิตของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตที่ดีในสังคมดังนี้

    1. สิทธิในชีวิต ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้และได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัยได้รับการตอบสนองตามความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ทุกชีวิตล้วนมีคุณค่าด้วยกันทั้งสิ้น ไม่วาจะเป็นบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิตอยู่เป็นพิเศษจากผู้อื่น เช่น คนพิการ คนชรา ฯลฯ ดังนั้นทุกคนควรปฏิบัติต่อบุคคลด้อยโอกาส ให้ความสำคัญ ให้โอกาสและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เพื่อให้ทุกชีวิตมีความเท่าเทียมกันมากที่สุด
    2. สิทธิในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ถูกต้อง คนในสังคมต้องให้โอกาสกับคนที่เคยกระทำไม่ถูกต้อง ให้โอกาสคนเหล่านี้ได้รับการอบรมแก้ไขและพัฒนาตนเองใหม่ ให้สามารถมีชีวิตที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น
    3. สิทธิในการยอมรับนับถือ หมายถึง การที่บุคคลพึงปฏิบัติต่อกันด้วยการยอมรับซึ่งกันและกัน ให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีและคุณค่าของชีวิตด้วยความเท่าเทียมกัน

    ประเทศไทยได้เข้าร่วมรับรอง “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ดังนั้นบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงได้กำหนดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนตระหนักในความสำคัญของสิทธิมนุษยชน และเป็นแนวทางปฏิบัติต่อกันในฐานะเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน โดยตระหนักว่าทุกคนมีสิทธิในชีวิต มีสิทธิในการยอมรับนับถือ และมีสิทธิในการดำรงชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ถูกต้องนั้นเอง

    บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

    1. เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฏหมาย กฏ หรือข้อบังคับ ต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
    2. ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเสมอมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าว เพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
    3. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
    4. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชน
    5. สรุปได้ว่า ทุกคนมีสถานภาพและบทบาทของตนเอง บุคคลต้องแสดงบทบาทให้สอดคล้องประสานกับสถานภาพของตนเอง

    นอกจากนี้ทุกคนยังมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ต้องปฏิบัติซึ่งกฏหมายจะกำหนดไว้ ทุกคนควรให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เพื่อจะได้ปกป้องคุ้มครองตนเองและผู้อื่นให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข

    การละเมิดสิทธิมนุษยชน

    แม้ว่าจะได้มีการให้สัตยาบันตามปฏิญญาณสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อที่จะปกป้องคุ้มครองพลเมืองในแต่ละประเทศให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกันก็ตาม ก็ยังคงมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ ปรากฏอยู่ตลอดเวลา เช่น

    หลายประเทศยอมให้มีการตรวจสอบ ว่าได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นในประเทศของตน เช่น อิสราเอลที่ยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และอีกหลายประเทศจากการสำรวจเมื่อปี 1994 องค์กรเอกชนที่มีชื่อว่า Amnesty International (องค์การอภัยโทษนานาชาติ) พบว่าในปี ค.ศ1993 นั้นใน 53 ประเทศมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมาก กล่าวคือ มีการกักขังนักโทษทางการเมือง หรือที่ขยายความให้มีขอบข่ายกว้างขวางมากกว่าเดิมคือ นักโทษแห่งจิตสำนึกที่แตกต่างออกไป มีเกินกว่า 1,000,000 คน ที่เสียอิสรภาพโดยไม่มีข้อกล่าวหาหรือไม่นำขึ้นไปสู่การพิพากษาในศาลสถิตยุติธรรม

    ตัวอย่างในยุโรปคือ การสังหารโหดในบอสเนีย เฮอร์เซโกวินาจนต้องแยกออกมาจากยูโกสลาเวีย ในปี ค.ศ.1992 มีประชากร 4.6 ล้านคน เป็นคนมุสลิม ร้อยละ 44 ชาวเซอร์บ ร้อยละ 31 ชาวโครท ร้อยละ 17 นอกจากนั้นเป็นเชื้อชาติอื่น (ประเด็นการสู้รบคือ ชาวเซอร์บต้องการสร้างรัฐอิสระเชื้อชาตินิยมขึ้นมา)

    ในทวีปเอเซียนั้นได้มีกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นจำนวนมาก สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีจำนวนประชากรมาก (จีนมีมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก 1200 ล้านคน ) อันดับสอง คือ อินเดีย ประมาณ 950 ล้านคน

    ตัวอย่างในกัมพูชา อัฟกานิสถาน จีน อินโดนีเซีย (กรณีติมอร์ตะวันออก)

    ในอินเดียมีปัญหาศาสนาในแคชเมียร์และปันจาบ ส่วนในพม่า หรือเมียนม่า (Myanmar) มีปัญหากับชนกลุ่มน้อย 27 กลุ่ม

    ในกลุ่มประเทศอเมริกากลางและอเมริกาใต้ก็มีปัญหามาก เช่น ในบราซิล เอลซัลวาดอร์ เปรู เม็กซิโก และคิวบา

    นอกเหนือจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยรัฐบาลหรือกลุ่มทางสังคมและการเมืองแล้วยังมีการละเมิดภายในครอบครัว และกลุ่มหรือหน่วยทางเศรษฐกิจอีกด้วย ภายในครอบครัวมีกรณีการละเมิดสิทธิเด็ก หรือการใช้ความรุนแรงในครอบครัว

    การกักขังหน่วงเหนี่ยวหรือบังคับให้ทำงานมากเกินขอบเขตในโรงงานต่างๆ ก็มีปรากฏอยู่เสมอ เช่น กรณีที่เกิดขึ้นในโรงงานของคนไทยในมลรัฐแคลิฟอเนีย และผู้ตกเป็นเหยื่อคือคนไทยด้วยกันเอง

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
    พุทธศักราช 2540

    • สิทธิของปวงชนชาวไทย
    • เสรีภาพของปวงชนชาวไทย
    • หน้าที่ของปวงชนชาวไทย

    สิทธิของปวงชนชาวไทย ตามกฏหมายได้บัญญัติไว้ ดังนี้

    สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายโดยเท่าเทียมกัน หมายถึง การที่ประชาชนชาวไทยมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฏหมาย โดยไม่คำนึงถึง เพศ วัย ศาสนา
    สิทธิทางการเมือง หมายถึง ประชาชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง
    สิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน หมายถึง ประชาชนมีสิทธิที่เจ้าของทรัพย์สินส่วนบุคคลได้ เช่น ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของตนได้ตามต้องการ ซึ่งบุคคลอื่นจะล่วงละเมิดทรัพย์สินส่วนบุคคลไม่ได้
    สิทธิในครอบครัว หมายถึง การที่ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐในเรื่องเกียรติยศ ชื่อเสียง และการดำรงชีวิตในสังคม
    สิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ หมายถึง การที่ประชาชนเมื่อได้รับความไม่เป็นธรรมหรือถูกละเมิด ไม่ว่าในกรณีใดๆ ประชาชนมีสิทธิที่จะเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อทางราชการได้
    สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโทษอย่างเป็นธรรม โดยได้รับสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้สุจริต
    สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน หากศาลพิพากษาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
    บุคคลจะใช้สิทธิตามอำเภอใจไม่ได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตและหลักการที่กฏหมายกำหนด โดยใช้โดยสุจริตและไม่ขัดต่อหลักศีลธรรมและความสงบเรียบร้อย ไม่ขัดต่อกฏหมาย ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น การใช้สิทธิสามารถทำได้ด้วยตนเองและแต่งตั้งมอบอำนาจ เป็นลายลักษณ์อักษรหรือเรียกว่ามอบฉันทะ ให้ไปทำแทนผู้มีสิทธินั้นๆ ก็ได้ แต่สำหรับสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฏรนั้น ไม่สามารถใช้แทนกันได้ หรือการใช้สิทธิแทนผู้เยาว์ หรือบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ตามกฏหมายก่อนนจึงจะใช้สิทธินั้นได้

    เสรีภาพของปวงชนชาวไทย ตามกฏหมายได้บัญญัติไว้ ดังนี้

    เสรีภาพในการนับถือศาสนา ปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อของตน
    เสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นๆ ทั้งนี้จะต้องไม่ใช้เสรีภาพนั้นไปละเมิดความมั่นคงของชาติหรือเกียรติยศชื่อเสียงของบุคคลอื่น
    เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
    เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร

    หน้าที่ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่

    หน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    หน้าที่ในการป้องกันประเทศ ได้แก่ การช่วยสอดส่องดูแลและแจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองทราบถึงภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศชาติ เช่น การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการค้ายาเสพติด การสมัครเป็นอาสาสมัครรักษาดินแดน เป็นต้น
    หน้าที่ในการรับราชการทหารตามกฏหมาย โดยชายไทยทุกคนเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องไปตรวจเข้ารับการเกณฑ์เพื่อเป็นทหารประจำการเป็นเวลา 2 ปี เพื่อเป็นกำลังสำคัญเมื่อเกิดภาวะสงคราม
    หน้าที่ในการปฏิบัติตนตามกฏหมายกำหนด ทั้งนี้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้สังคมมีความสงบสุข และสมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
    หน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามที่กฏหมายกำหนด เพื่อรัฐจะได้มีรายได้ เพื่อนำมาใช้จ่ายภายในประเทศ รวมทั้งจัดสวัสดิการต่างๆ ให้กับประชาชนและชุมชนในประเทศ
    หน้าที่ในการรับการศึกษาภาคบังคับตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฏหมายกำหนด เพื่อช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศต่อไป
    หน้าที่ในการช่วยเหลือราชการตามกฏหมายกำหนด เพื่อประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม
    หน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริต ในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศ เป็นการจรรโลงการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยให้ยั่งยืนสืบต่อไป
    หน้าที่ในการพิทักษ์และปกป้องศิลปวัฒนธรรมของชาติ เนื่องจากศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติไทย ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยต้องดูแลและปกป้องรักษาไว้ให้คงอยู่สืบไป
    หน้าที่ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    สรุป

    สิทธิ คือ อำนาจหรือประโยชน์ของบุคคลที่มีกฏหมายให้ความคุ้มครองโดยบุคคลอื่นจะละเมิดไม่ได้

    เสรีภาพ คือ อิสระในการกระทำของบุคคลภายในขอบเขตกฏหมาย

    หน้าที่ คือ ภาระหรือความรับผิดชอบที่บุคคลจะปฏิบัติตามกฏหมาย

    สิทธิเสรีภาพเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีหน้าที่คอยกำกับมิให้การใช้สิทธิ เสรีภาพจนเกินขอบเขตที่กฏหมายกำหนด

    สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยมีบัญญัติไว้ในกฏหมายรัฐธรรมนูญอย่างแจ้งชัด พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยต้องปฏิบัติตามหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฏหมาย ทั้งนี้ในสังคมประชาธิปไตย ให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรี อิสรภาพและความสามารถของมนุษย์ โดยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนจะต้องมีความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิในชีวิต ทรัพย์สินและการแสวงหาความสุข ซึ่งมิได้หมายความว่า ทุกคนจะมีความสุขเท่ากัน แต่หมายถึง ทุกคนมีสิทธิ์เลือกหาความสุขตามวีถีทางที่ต้องการ โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

    นอกจากนี้ มนุษย์พึงได้รับความเสมอภาคแห่งโอกาส ซึ่ง หมายความว่า ทุกคนควรมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะมีชีวิตที่ดี มีความสุขตามที่ตนปรารถนา แม้ว่าความสามารถของแต่ละคน จะไม่เท่ากัน แต่เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องพยายามสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่ประชาชนให้มากที่สุด เช่น จัดบริการสาธารณูปโภค ขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระจายอำนาจในการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ

    ความหมาย

    สถานภาพ หมายถึง ฐานะหรือเกียรติภูมิของบุคคลหรือกลุ่ม เป็นตำแหน่งของบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งทีได้รับความนับถือจากสาธารณชน

    กล่าวโดยสรุป สถานภาพเป็นสิ่งที่สังคมกำหนดขึ้น เป็นสิ่งกำหนดเฉพาะตัวบุคคลที่ทำให้แตกต่างจากผู้อื่น

    สถานภาพแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

    สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ได้แก่
    สถานภาพทางวงศาคณาญาติ เช่น เป็นลูก หลาน พี่น้อง
    สถานภาพทางเพศ เช่น เพศหญิง เพศชาย
    สถานภาพทางอายุ เช่น เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่
    สถานภาพทางเชื้อชาติ เช่น คนไทย คนอังกฤษ
    สถานภาพทางถิ่นกำเนิด เช่น คนในภาคเหนือ คนในภาคใต้
    สถานภาพทางชนชั้นในสังคม เช่น เชื้อพระวงศ์ คหบดี หรือชนชั้นต่างๆ ในกลุ่มชนที่นับถือศาสนาฮินดู เช่น ชนชั้นพราหมณ์
    สถานภาพที่ได้มาภายหลัง หมายถึง สถานภาพที่ได้จากการแสวงหาหรือได้มาจากความสามารถของตนเอง ได้แก่
    สถานภาพทางการศึกษา เช่น จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
    สถานภาพทางอาชีพ เช่น เป็นครู เป็นหมอ หรือนักการเมือง
    สถานภาพทางการเมือง เช่น เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร เป็นนายกรัฐมนตรี
    สถานภาพทางการสมรส เช่น โสด สมรส ม่าย
    บทบาท
    บทบาท หมายถึง การทำหน้าที่หรือพฤติกรรมตามที่สังคมกำหนดสถานภาพและบทบาทที่จะเกียวข้องสัมพันธ์กัน บุคคลใดจะดำเนินตนตามบทบาทใดนั้นขึ้นอยู่กับสถานภาพเป็นตัวกำหนด เช่น ผู้ที่มีสถานภาพความเป็นพ่อ ต้องดำเนินบทบาทในการให้การอบรมเลี้ยงดู สั่งสอนบุตรให้เป็นคนดี ส่งเสียบุตรให้ได้รับการศึกษาที่สมควรตามวัย ส่วนสถานภาพการเป็นบุตรต้องดำเนินบทบาทเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา ตั้งใจหมั่นเพียรในการศึกษา ช่วยเหลือบิดามารดาในการทำงานบ้านตามควรแก่วัย

    สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่
    สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่มีกฏหมายให้ความคุ้มครอง โดยบุคคลอื่นจะต้องให้ความเคารพ จะละเมิดล่วงเกินหรือกระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลไม่ได้

    เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำของบุคคล ซึ่งการกระทำนั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฏหมาย

    หน้าที่ หมายถึง ภาระหรือความรับผิดชอบที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย

    สิทธิและเสรีภาพ เป็นรากฐานสำคัญในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย การที่จะรู้ว่าการปกครองของประเทศใดมีความเป็นประชาธิปไตยได้มากน้อยเพียงใด ต้องดูที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนในประเทศนั้นๆ เป็นสำคัญ ถ้าประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมาก ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศนั้นก็มีมาก หากสิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกจำกัดหรือถูกริดรอนโดยผู้มีอำนาจในการปกครอง ประชาธิปไตยก็จะมีไม่ได้ ด้วยเหตุนี้กฏหมายรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับ จึงได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างแจ้งชัด

    ส่วนหน้าที่นั้นเป็นกรอบหรือมาตรฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะว่า การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องอาศัยกฏหมายเป็นหลักในการดำเนินการ หากประชาชนไม่รู้จักหน้าที่ของตน ไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย ระบอบประชาธิปไตยก็จะดำรงอยู่ต่อไปไม่ได้

    ดังนั้น สิทธิเสรีภาพและหน้าที่จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะขาดเสียไม่ได้เป็นอันขาด

    ความสำคัญของสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่

    การที่รัฐได้บัญญัติ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของบุคคลใช้ในรัฐธรรมนูญ ทำให้ประชาชน ได้รับความคุ้มครองและปฏิบัติอย่างเท่าเทียม เสมอภาคและยุติธรรม
    บุคคลทุกคนจะต้องรับทราบและพึงปฏิบัติตามขอบเขตของสิทธิ เสรีภาพ และหน้าทีที่ได้บัญญัติใช้ในรัฐธรรมนูญ
    การใช้อำนาจรัฐ จะต้องคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน
    ทั้งรัฐและประชาชนพึงปฏิบัติตามหน้าที่ที่บัญญัติใช้ในรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดย่อมก่อให้เกิดความสงบ ร่มเย็น ผาสุกในชาติ

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    การจะเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยนั้น ประชาชนจะต้องเข้าใจและมีวิถีชีวิตในลักษณะประชาธิปไตย โดยจะต้องอยู่ร่วมกันอย่างสันติภาพ สันติสุข และเสรีภาพ คือประชาชนในสังคมมีความสงบสุข ปลอดภัยและมีอิสระที่จะกระทำการใดๆ ภายใต้ขอบเขตกฏหมาย โดยไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

    ทั้งนี้จะต้องทำความเข้าใจในลักษณะของประชาธิปไตยว่ามี 3 ลักษณะ คือ

    1. ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ ซึ่งหมายถึง การมีศรัทธาและความเชื่อมั่นในเหตุผลความสามารถ อิสรภาพและเสรีภาพของมนุษย์
    2. ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมือง และวิธีการจัดระเบียบการปกครอง ซึ่งหมายถึง ระบบการเมืองที่ถือว่าอำนาจสุงสุดเป็นของประชาชนหรือการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
    3. ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวีถีชีวิต หรือการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งหมายถึง การอยู่รวมกันและปฏิบัติต่อกันด้วยความเสมอภาคในสิทธิและเสรีภาพของสมาชิกทุกคนไม่ก้าวก่ายในสิทธิของผู้อื่น เคารพกฏเกณฑ์ของสังคม ร่วมกันรับผิดชอบและทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ตลอดจนใช้สติปัญญาแก้ปัญหาโดยสันติวิธี

    ความหมายของประชาธิปไตย

    • ประชาธิปไตย มาจากคำว่า ประชา+อธิปไตย ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า Demukratia อันประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ demos (ประชาชน) และCratos (การปกครอง) ฉะนั้น ประชาธิปไตย จึงหมายถึง ประชาชนปกครอง หรือการปกครองโดยประชาชน
    • ความหมายของประชาธิปไตย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง “ระบอบการปกครองที่ถือมติของปวงชนเป็นส่วนใหญ่หรือการถือเสียงข้างมากเป็นส่วนใหญ่”
    • ศ.ดร.กมล ทองธรรมชาติ ได้ให้ความหมายของประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน”

    สรุปได้ว่า ประชาธิปไตยนั้นมีความหมายได้สองนัย ได้แก่ ประชาธิปไตยในการดำรงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม หมายถึง รูปแบบของพฤิตกรรมมนุษย์ที่สอคดล้องกับหลักการของประชาธิปไตย และความหมายโดยนัยทางการปกครองในสังคม จะหมายถึง การปกครองที่ประชาชนมีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง ในการกำหนดนโยบายในการปกครองประเทศ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมเป็นหลัก

    หลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

    1. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หมายถึง ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
    2. หลักเสมอภาค ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกันภายใต้กฏหมาย ความเท่าเทียมกันทางการเมือง
    3. หลักสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ได้แก่ การที่ประชาชนมีอำนาจอันชอบทำในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน มีอิสระในการกระทำในขอบเขต                  ของกฏหมายและมีแนวทางปฏิบัติตนที่เป็นอิสระภายใต้ขอบเขตของกฏหมาย
    4. หลักนิติธรรม การปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีหลักกฏหมายเป็นกฏเกณฑ์และกติกาของประเทศ คือ การที่ประชาชนใช้กฏหมายเป็นหลักในการทำงานเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและเกิดความยุติธรรมในสังคม
    5. หลักการยอมรับเสียงข้างมาก คือ การที่ประชาชนในรัฐใช้มติของประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลักในการทำงาน
    6. หลักการใช้เหตุผล คือ การที่ประชาชนใช้หลักเหตุผลเป็นหลักในการหาข้อสรุปเพื่อทำงานรวมกันหรือการอยู่ร่วมกัน
    7. หลักประนีประนอม คือ การที่ประชาชนไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา แต่ใช้การตกลงร่วมกันในการขจัดข้อขัดแย้งที่ไม่เห็นด้วย
    8. หลักการยินยอม คือ การที่ประชาชนใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเป็นตัวของตัวเองโดยปราศจากการบังคับ มีความเห็นตรงกันจึงตัดสินใจผ่านตัวแทนของประชาชนในการดำเนินงานทางการเมืองและการปกครอง

    ลักษณะของสังคมประชาธิปไตย

    ในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนจะปฏิบัติต่อกัน ดังนี้

    1. การเคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ตามขอบเขตที่บัญญัติไว้ในกฏหมาย
    2. การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินปัญหา ข้อขัดแย้ง
    3. การเคารพในกฏ กติกาของสังคมเพื่อความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
    4. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของส่วนรวมและสังคม
    5. การมีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
    6. การยึดมั่นในหลักความยุติธรรม และการปฏิบัติต่อกันอย่างสม่ำเสมอภาคเท่าเทียมกันของสมาชิกทุกคนในสังคม

    คุณลักษณะที่สำคัญของสมาชิกในสังคมประชาธิปไตย

    1. มีความยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย
    2. มีการรู้จักใช้ปัญญา เหตุผลในการแก้ปัญหา
    3. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งมีเหตุผลและมีการประนีประนอมกันในทางความคิด
    4. เคารพในสิทธิและการตัดสินใจของผู้อื่น
    5. มีความเสียสละและเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
    6. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น
    7. ใช้เสียงข้างมากโดยไม่ละเมิดสิทธิเสียงข้างน้อย
    8. ยึดถือหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกันของสมาชิก
    9. ปฏิบัติตนตามกฏข้อบังคับของสังคม
    10. ปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม ยึดมั่นในวัฒนธรรม ประเพณี
    11. รู้จักแก้ปัญหาโดยสันติวิธี
    12. เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
    13. มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวีถีประชาธิปไตย

    1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง
    2. เกิดความรักและความสามัคคีในหมู่คณะ
    3. สังคมมีความเป็นระเบียบ สงบเรียบร้อย
    4. สมาชิกทุกคนได้รับสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ จากกฏหมายความเท่าเทียมกัน เกิดความเป็นธรรมในสังคม
    5. สมาชิกในสังคมมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำใจต่อกัน

    คุณค่าของประชาธิปไตย

    คุณค่าทางการเมือง

    1. ประชาชนมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
    2. ประชาชนมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงตัวผู้ปกครองรัฐ เมื่อนำการบริหารงานผิดพลาด
    3. คุณค่าทางเศรษฐกิจ
    4. ประชาชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้
    5. ประชาชนมีเสรีภาพในการผลิต การบริการ การลงทุนต่างๆ
    6. ประชาชนมีอำนาจในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า
    7. ประชาชนได้รับการคุ้มครองจากรัฐอย่างเป็นธรรมในการรับบริการทางเศรษฐกิจ

    คุณค่าทางสังคม

    1. ประชาชนมีโอกาสได้รับความคุ้มครองจากรัฐในด้านสิทธิมนุษยชน
    2. ประชาชนมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์
    3. ประชาชนมีความเท่าเทียมกันในโอกาสและสิทธิในการดำเนินชีวิตภายใต้บทบัญญัติแห่งกฏหมาย
    4. ประชาชนรู้จักอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธี
    5. ประชาชนร่วมมือกันทำงานเพื่อความสงบสุขในรัฐ

    คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยระดับประเทศชาติ

    คนดี หมายถึง การเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศีลธรรมและค่านิยมที่ดีงามในสังคม การเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยมีความหมายและขอบเขตข้อจำกัดมากกว่าการเป็นคนดีโดยทั่วไป พลเมืองดี นอกจากจะเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรมแล้ว ยังต้องประกอบด้วยคุณลักษณะของระบบการปกครองตามอุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐนั้นๆ

    การเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตย หมายถึง การที่พลเมืองมีหลักการดำเนินชีวิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีบทบาทในการกระทำที่มีคุณลักษณะทางประชาธิปไตยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการดำเนินชีวิต คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยมีดังนี้

    ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หมายถึง การที่บุคคลมีความสำนึกถึงความสำคัญของความเป็นคนไทย มีจิตใจฝักใฝ่ศาสนา และตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติตนในการผดุงรักษาสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป

    • การยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ ทุกศาสนามีหลักศีลธรรมที่ช่วยสร้างจิตใจของคนให้กระทำดี ไม่เบียดเบียนกัน มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กัน สมาชิกในสังคมสมควรศรัทธาในศาสนาที่ตนนับถือ แล้วปฏิบัติตามหลักศีลธรรมของศาสนาที่ตนนับถืออย่างสม่ำเสมอ
    • ความซื่อสัตย์ หมายถึง การกระทำที่ถูกต้อง ตรงไปตรงมา ไม่ยึดเอาสิ่งของผู้อื่นมาเป็นของตน บุคคลควรซื่อสัตย์ต่อตนเอง คือ กระทำตนให้เป็นคนดี และบุคคลควรซื่อสัตย์ต่อบุคคลอื่นๆ หมายถึงกระทำดีและถูกต้องตามหน้าที่ต่อผู้อื่น
    • ความเสียสละ หมายถึง การคำนึงถึงประโยชน์ของสังคมส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นและส่วนรวม
    • ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมรับการกระทำของตนเองหรือการทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วง
    • การมีระเบียบวินัย หมายถึง การกระทำที่ถูกต้องตามกฏเกณฑ์ที่สังคมกำหนดไว้
    • การตรงต่อเวลา หมายถึง การทำงานหรือทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงทันตรงตามเวลาที่กำหนดโดยใช้เวลาอย่างคุ้มค่า
    • ความกล้าหาญทางจริยธรรม หมายถึง การกระทำที่แสดงออกในทางที่ถูกที่ควรโดยไม่เกรงกลัวอิทธิพลใดๆ ความกล้านี้ไม่ใช่การอวดดี แต่เป็นการแสดงออกอย่างมีเหตุผล เพื่อความถูกต้อง

    Rate this:

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    Like Loading...

    ความหมายของประชาธิปไตย

    ประชาธิปไตย มาจากคำว่า ประชา+อธิปไตย ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า Demukratia อันประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ demos (ประชาชน) และCratos (การปกครอง) ฉะนั้น ประชาธิปไตย จึงหมายถึง ประชาชนปกครอง หรือการปกครองโดยประชาชน

    ความหมายของ ประชาธิปไตย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง “ระบอบการปกครองที่ถือมติของปวงชนเป็นส่วนใหญ่หรือการถือเสียงข้างมากเป็น ส่วนใหญ่”

    ศ.ดร.กมล ทองธรรมชาติ ได้ให้ความหมายของประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน”

    สรุปได้ว่า ประชาธิปไตยนั้นมีความหมายได้สองนัย ได้แก่ ประชาธิปไตยในการดำรงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม หมายถึง รูปแบบของพฤิตกรรมมนุษย์ที่สอคดล้องกับหลักการของประชาธิปไตย และความหมายโดยนัยทางการปกครองในสังคม จะหมายถึง การปกครองที่ประชาชนมีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง ในการกำหนดนโยบายในการปกครองประเทศ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมเป็นหลัก

     

    หลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

    * หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หมายถึง ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
    * หลักเสมอภาค ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกันภายใต้กฏหมาย ความเท่าเทียมกันทางการเมือง
    * หลักสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ได้แก่ การที่ประชาชนมีอำนาจอันชอบทำในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน มีอิสระในการกระทำในขอบเขตของกฏหมายและมีแนวทางปฏิบัติตนที่เป็นอิสระภายใต้ ขอบเขตของกฏหมาย
    * หลักนิติธรรม การปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีหลักกฏหมายเป็นกฏเกณฑ์และกติกาของประเทศ คือ การที่ประชาชนใช้กฏหมายเป็นหลักในการทำงานเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และเกิดความยุติธรรมในสังคม
    * หลักการยอมรับเสียงข้างมาก คือ การที่ประชาชนในรัฐใช้มติของประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลักในการทำงาน
    * หลักการใช้เหตุผล คือ การที่ประชาชนใช้หลักเหตุผลเป็นหลักในการหาข้อสรุปเพื่อทำงานรวมกันหรือการอยู่ร่วมกัน
    * หลักประนีประนอม คือ การที่ประชาชนไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา แต่ใช้การตกลงร่วมกันในการขจัดข้อขัดแย้งที่ไม่เห็นด้วย
    * หลักการยินยอม คือ การที่ประชาชนใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเป็นตัวของตัวเองโดยปราศจากการบังคับ มีความเห็นตรงกันจึงตัดสินใจผ่านตัวแทนของประชาชนในการดำเนินงานทางการเมืองและการปกครอง

     

    ลักษณะของสังคมประชาธิปไตย

    ในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนจะปฏิบัติต่อกัน ดังนี้

    * การเคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ตามขอบเขตที่บัญญัติไว้ในกฏหมาย
    * การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินปัญหา ข้อขัดแย้ง
    * การเคารพในกฏ กติกาของสังคมเพื่อความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
    * การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของส่วนรวมและสังคม
    * การมีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
    * การยึดมั่นในหลักความยุติธรรม และการปฏิบัติต่อกันอย่างสม่ำเสมอภาคเท่าเทียมกันของสมาชิกทุกคนในสังคม

     

    คุณลักษณะที่สำคัญของสมาชิกในสังคมประชาธิปไตย

    * มีความยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย
    * มีการรู้จักใช้ปัญญา เหตุผลในการแก้ปัญหา
    * รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งมีเหตุผลและมีการประนีประนอมกันในทางความคิด
    * เคารพในสิทธิและการตัดสินใจของผู้อื่น
    * มีความเสียสละและเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
    * สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น
    * ใช้เสียงข้างมากโดยไม่ละเมิดสิทธิเสียงข้างน้อย
    * ยึดถือหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกันของสมาชิก
    * ปฏิบัติตนตามกฏข้อบังคับของสังคม
    * ปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม ยึดมั่นในวัฒนธรรม ประเพณี
    * รู้จักแก้ปัญหาโดยสันติวิธี
    * เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
    * มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

     

    ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวีถีประชาธิปไตย

    * ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง
    * เกิดความรักและความสามัคคีในหมู่คณะ
    * สังคมมีความเป็นระเบียบ สงบเรียบร้อย
    * สมาชิกทุกคนได้รับสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ จากกฏหมายความเท่าเทียมกัน เกิดความเป็นธรรมในสังคม
    * สมาชิกในสังคมมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำใจต่อกัน

    คุณค่าของประชาธิปไตย

    1. คุณค่าทางการเมือง

    * ประชาชนมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
    * ประชาชนมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงตัวผู้ปกครองรัฐ เมื่อนำการบริหารงานผิดพลาด

    2. คุณค่าทางเศรษฐกิจ

    * ประชาชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้
    * ประชาชนมีเสรีภาพในการผลิต การบริการ การลงทุนต่างๆ
    * ประชาชนมีอำนาจในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า
    * ประชาชนได้รับการคุ้มครองจากรัฐอย่างเป็นธรรมในการรับบริการทางเศรษฐกิจ

    3. คุณค่าทางสังคม

    * ประชาชนมีโอกาสได้รับความคุ้มครองจากรัฐในด้านสิทธิมนุษยชน
    * ประชาชนมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์
    * ประชาชนมีความเท่าเทียมกันในโอกาสและสิทธิในการดำเนินชีวิตภายใต้บทบัญญัติแห่งกฏหมาย
    * ประชาชนรู้จักอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธี
    * ประชาชนร่วมมือกันทำงานเพื่อความสงบสุขในรัฐ

     

    คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยระดับประเทศชาติ

    คนดี หมายถึง การเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศีลธรรมและค่านิยมที่ดีงามในสังคม การเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยมีความหมายและขอบเขตข้อจำกัดมากกว่าการ เป็นคนดีโดยทั่วไป พลเมืองดี นอกจากจะเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรมแล้ว ยังต้องประกอบด้วยคุณลักษณะของระบบการปกครองตามอุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐ นั้นๆ

    การเป็นพลเมืองดี ในสังคมประชาธิปไตย หมายถึง การที่พลเมืองมีหลักการดำเนินชีวิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีบทบาทในการกระทำที่มีคุณลักษณะทางประชาธิปไตยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญใน การดำเนินชีวิต คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยมีดังนี้