รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูปแบบความร่วมมือ, สภาพความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก, รูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเขตภาคเหนือตอนบน และพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเขตภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและมีส่วนได้ส่วนเสียกับผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน จำนวน 1,932 คน จาก 322 โรงเรียน ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการสนทนากลุ่มย่อยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเขตภาคเหนือตอนบน ด้านร่วมคิด ด้านร่วมวางแผน ด้านร่วมดำเนินการ และด้านติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน สำหรับความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเกิดจากคุณลักษณะที่ดีของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนลักษณะสำคัญของชุมชน 2. รูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเขตภาคเหนือตอนบน มีองค์ประกอบต่าง ๆ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการของรูปแบบใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน หลักความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน หลักการพึ่งตนเองของโรงเรียน และหลักการพัฒนาตนเองของโรงเรียน ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการให้ชุมชน เข้ามาให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน ในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก และเพื่อนำเสนอแนวทาง ในการนำรูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไปใช้ในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตภาคเหนือตอนบน ส่วนที่ 3 สาระสำคัญของรูปแบบ ประกอบด้วย มิติด้านหน้าที่ทางการบริหาร ได้แก่ การวางแผนการจัดองค์การ การนำ และการควบคุม กำกับ ติดตาม ในมิติด้านภารกิจการบริหารสถานศึกษา ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคลากรและการบริหารงานทั่วไป และในมิติคุณลักษณะของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือ ส่วนที่ 4 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ โดยหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้บริหารสถานศึกษาและครู ส่วนชุมชน ขึ้นอยู่กับความตระหนักเห็นความสำคัญ และประโยชน์ที่ได้รับจากการให้ความร่วมมือ รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

GotoKnow คือชุมชนออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ของคนทำงานภาครัฐและภาคสังคมของไทย สมาชิกถ่ายทอดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) อันเกิดจากประสบการณ์ทั้งจากการทำงานและชีวิตลงบันทึก (Post) ในสมุด (Blog) แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกคนอื่น และเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชนเพื่อเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์แก่ชนรุ่นหลังต่อไป

อนุทินล่าสุด


รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน

รูป แบบ ความร่วมมือของ โรงเรียน และชุมชน