แบบฟอร์มค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ 2565

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คืออะไร ?

     ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ เงินสินไหมที่ทางบริษัทประกันภัยของผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิดจะมีหน้าที่รับผิดชอบแทนตัวผู้ขับขี่ต่อคู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูก ในระหว่างที่รถยนต์ต้องเข้าซ่อมหรือไม่สามารถใช้งานรถยนต์ได้โดยผู้ที่เป็นฝ่ายถูกสามารถนำบิล ใบเสร็จค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น ค่าแท็กซี่, ค่ารถเมล์ หรือค่ารถไฟฟ้า ในระหว่างที่ใช้งานรถยนต์ไม่ได้ มาทำเรื่องเบิกกับบริษัทประกันของคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้ ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ 2565 ของรถยนต์แต่ละประเภทไว้ ซึ่งหากเราเป็นฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องจากประกันภาคสมัครใจ (ประกันชั้น 1-3) ได้ดังนี้

ขั้นตอนการขอค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

1. ติดต่อบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (ฝ่ายผิด) จากนั้นให้ยืนยันคำเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ในช่วงเวลาที่รถของคุณกำลังซ่อมอยู่

2. เมื่อบริษัทของคู่กรณีแจ้งเอกสารที่ต้องการมา ให้คุณนำเอกสารต่างๆ จัดส่งไปยังบริษัทของคู่กรณีเพื่อดำเนินการต่อ

3. รอบริษัทคู่กรณีติดต่อกลับมา เนื่องจากต้องเช็กข้อมูลเพื่อพิจารณาว่าต้องชดเชยให้กับคุณเท่าไร ทำการประเมิน และเจรจาต่อรอง

4. หลังจากตกลงกันเสร็จเรียบร้อย ก็รอรับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ภายใน 7 วัน 

เอกสารที่จำเป็นในการเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

1. ใบเสนอรายการความเสียหายของรถยนต์

2. ใบเคลม (ใบรับรองความเสียหายต่อทรัพย์สิน)

3. สำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์

4. สำเนาทะเบียนรถยนต์

5. สำเนาใบขับขี่รถยนต์

6. สำเนาบัตรประชาชน

7. ใบรับรถ หรือหนังสือส่งมอบรถเสร็จ

8. รูปถ่ายตอนซ่อม

9. รูปถ่ายความเสียหาย

10. หนังสือเรียกร้องสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม

11. สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารของผู้เอาประกัน

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ เรียกได้เท่าไร

การเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถมีอัตราขั้นต่ำของการเรียกค่าชดใช้ ตามประกาศ คปภ. วันที่ 1 มกราคม 2562 เพื่อไม่ให้บริษัทประกันภัยเจรจาจ่ายในจำนวนที่ต่ำเกินไป ดังนี้


1. รถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รวมผู้ขับขี่) อัตราชดเชยไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท

2. รถยนต์รับจ้างสาธารณะที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รวมผู้ขับขี่) อัตราชดเชยไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท

3. รถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน 7 คน (รวมผู้ขับขี่) อัตราชดเชยไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท 

* รถประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่รถยนต์ในข้อ 1-3 เช่น “รถจักรยานยนต์” ให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องและตกลงกันได้ โดยพิจารณาหลักฐานเป็นกรณีไป
** ซึ่งการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ สามารถเรียกร้องได้เฉพาะรถยนต์ที่ทำประกันภัยรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เท่านั้น

      อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องต้องไม่ลืมว่าค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถสามารถดำเนินการได้สำหรับผู้ที่เป็นฝ่ายถูกเมื่อเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น ผู้ที่เป็นฝ่ายผิดไม่สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากบริษัทประกันภัยของอีกฝ่ายได้ และหากใครที่แจ้งความประสงค์เรียกร้องค่าขาดประโยชน์จาการใช้รถ แล้วถูกบริษัทประกันภัยบ่ายเบี่ยงหรือปฏิเสธการจ่ายสินไหม สามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงาน คปภ.

   

วิธีเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

แบบฟอร์มค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ 2565

เชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่เข้าใจถึง ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ จริง ๆ ศัพท์นี้อาจดูเหมือนเข้าใจยากไปแต่ถ้าลองแปลความหมายตามรายละเอียดจะพอเดาได้ไม่ยากอย่างที่คิด อธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ผู้ขับขี่ที่รถเกิดอุบัติเหตุโดยเป็นฝ่ายถูก ไม่สามารถใช้งานรถของตนเองได้ ตรงนี้ทำให้พวกเขาเสียประโยชน์ไป เช่น จากเดิมควรได้ขับรถออกไปทำงานสบาย ๆ กลายเป็นต้องใช้บริการขนส่งสาธารณะแทน นั่นทำให้เสียเงิน เสียเวลามากกว่า

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ สิ่งที่คนขับรถทุกคนต้องรู้

เคยสังเกตหรือไม่ เวลาที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น สมมุติกรณีเราเป็นฝ่ายถูก เมื่อประกันของอีกฝ่ายมาถึงพวกเขาจะตรวจเช็คสภาพนั่นนี่ต่าง ๆ จากนั้นก็เซ็นเอกสารทำตามขั้นตอน หากรถเสียหายก็ต้องนำไปซ่อมแซม ซึ่งระหว่างการซ่อมนี่เองที่คุณไม่สามารถใช้งานรถของตนเองตามปกติได้ ตรงนี้ประกันฝ่ายคู่กรณีจะไม่มีใครพูดถึง ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ เลย เพราะพวกเขาต้องเสียเงินเพิ่ม แต่มันคือสิ่งที่ทุก ๆ คนต้องรู้ เนื่องจากเป็นสิทธิ์พึงได้ของตนเอง

ดังนั้น ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ จึงเป็นเสมือนเงินสินไหมอีกประเภทหนึ่งที่ฝ่ายถูกต้องได้รับจากฝ่ายผิด ในช่วงเวลาที่คุณไม่สามารถใช้งานรถตนเองได้เนื่องจากกำลังเข้าสู่กระบวนการซ่อมแซม ทำให้เสียเวลาต้องใช้บริการขนส่งสาธารณะ จ่ายเงินเยอะกว่า (ดังที่กล่าวเอาไว้ตอนต้น) ทั้งหมดนี้จึงสามารถเรียกร้องเพื่อเอาค่าชดเชยดังกล่าวได้นั่นเอง

วิธีเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ทำอย่างไรบ้าง

  1. ติดต่อบริษัทคู่กรณี (ฝ่ายผิด) จากนั้นให้ยืนยันคำเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ในช่วงเวลาที่รถของคุณกำลังซ่อมอยู่
  2. เมื่อบริษัทคู่กรณีแจ้งเอกสารที่ต้องการมาก็ให้คุณนำเอกสารต่าง ๆ ส่งไปยังบริษัทของเขาโดยแยกคร่าว ๆ ได้ดังนี้
    • ใบเสนอรายการด้านความเสียหายของรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ
    • ใบรับรองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน (ใบเคลม)
    • สำเนาเล่มทะเบียนรถยนต์
    • สำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
    • สำเนาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
    • หนังสือส่งมอบรถเมื่อเสร็จ / ใบรับรถ
    • รูปถ่ายในขณะที่รถกำลังถูกซ่อม
    • หนังสือเรียกร้องเกี่ยวกับสินไหม ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
    • สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร
  3. เจ้าหน้าที่บริษัทฝ่ายคู่กรณีจะทำการตรวจสอบ เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยก็มีการติดต่อกลับมา (อาจขอต่อรองเกี่ยวกับค่าขาดประโยชน์ว่าคุณใช้จ่ายวันละเท่าไหร่ ต้องการเท่าไหร่ต่อวัน เป็นต้น)
  4. หลังการตกลงต่าง ๆ จบลงใช้เวลาราว 7 วัน ก็จะได้ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ได้เท่าไหร่?

คปภ. มีการกำหนด ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ระบุเอาไว้ชัดเจน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

  • รถยนต์ส่วนบุคคลแบบไม่เกิน 7 ที่นั่ง ไม่ต่ำกว่า 500 บาท / วัน
  • รถยนต์รับจ้างสาธารณะแบบไม่เกิน 7 ที่นั่ง ไม่ต่ำกว่า 700 บาท / วัน
  • รถยนต์ทุกประเภทแบบเกิน 7 ที่นั่ง ไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท / วัน

เมื่อเข้าใจแบบนี้แล้วหากรถคุณเกิดอุบัติเหตุโดยตนเองเป็นฝ่ายถูกก็อย่าลืมเรียกร้องสิทธิ์ของตนเองด้วย และหากใครกำลังต้องการเปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์ สอบถามข้อมูล รายละเอียด รวมถึงประกันประเภทอื่น ๆ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.everydayinsure.com/