นายทุนต่างชาติซื้อที่ดิน 2564

วันที่ : 16 พฤศจิกายน 2564

ต่างชาติถือครองอสังหาฯ ไทยได้มากแค่ไหน มีเงื่อนไขอะไรบ้าง?

ในวันที่เศรษฐกิจหยุดชะงักเพราะผลกระทบจาก COVID -19 การดึงดูดให้นักลงทุน หรือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศถือเป็นหนึ่งในทางออกสำคัญที่จะช่วยดึงเอาเม็ดเงินมากระตุ้นพลิกฟื้นทุกภาคส่วนได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองอสังหาฯ ได้นั้น ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก แต่การถือครองอสังหาฯ ของคนต่างชาติในประเทศไทย ก็มีเงื่อนไข และข้อจำกัดที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้

  1. เงื่อนไขการเป็นเจ้าของคอนโดในไทยของชาวต่างชาติ

    ปัจจุบันชาวต่างชาติสามารถซื้อเพื่อเป็นเจ้าของคอนโดในประเทศไทยได้ แต่จะต้องเป็นชาวต่างชาติหรือนิติบุคคลที่เข้าเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น อาทิ เป็นชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้มีที่อยู่อาศัยในไทยได้ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้ามือง เป็นชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในไทยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือ เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นชาวต่างชาติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และได้รับการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขใด การถือครองกรรมสิทธิ์ในคอนโดของชาวต่างชาติที่กฎหมายอนุญาตนั้น จะต้องไม่เกิน 49% ของเนื้อที่คอนโดทั้งหมดในโครงการนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าโครงการคอนโดนั้นมีทั้งหมด 1,000 ห้อง ก็จะสามารถขายให้ชาวต่างชาติได้เพียงแค่ 490 ห้องเท่านั้น หรือ ถ้าจะมีชาวต่างชาติสักคนจะมาเหมาคอนโดทั้งตึก ก็ไม่สามารถทำได้ จะซื้อได้เพียงแค่ 490 ห้องเท่านั้น

  2. เงื่อนไขการเป็นเจ้าของที่ดินในไทยของชาวต่างชาติ

    นอกจากคอนโดแล้วชาวต่างชาติสามารถเข้ามาครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินในไทยได้เช่นกัน แต่มีเงื่อนไขและข้อกำหนดที่เข้มงวดกว่า ดังต่อไปนี้

    • สามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้เพียงแค่ไม่เกิน 1 ไร่ เท่านั้น
    • จะต้องซื้อกับเจ้าของที่ดินที่ที่มีชื่ออยู่ในเอกสารแสดงสิทธิ์เท่านั้น และหากมีการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ผู้ขายก็ต้องมีเอกสารหลักฐานการเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างนั้นด้วย
    • ชาวต่างชาติที่จะซื้อที่ดินในไทย จะต้องเป็นชาวต่างชาติที่เข้าเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ ต้องนำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และลงทุนอยู่นานไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยต้องนำเงินมาลงทุนในธุรกิจหรือกิจการตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย ในกองทุนรวมอสังหาฯ เป็นต้น และที่สำคัญยังต้องเป็นชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น
    • ที่ดินที่ชาวต่างชาติจะซื้อ จะต้องอยู่ในเขต กทม. เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล หรืออยู่ภายในบริเวณที่กำหนดเป็นเขตอยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง และต้องอยู่นอกเขตปลอดภัยในราชการทหาร
    • ชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้ถือครองที่ดินได้ จะต้องใช้ที่ดินนั้นเพื่อการอยู่อาศัยสำหรับตนเองเท่านั้น
    • หากมีการตรวจสอบว่าทำผิดตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้จะต้องขายคืน
    • หากนำที่ดินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นก็มีสิทธิ์ถูกดำเนินการให้ขายคืนได้

ปัจจุบันมีแนวโน้มว่ากฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้นี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองอสังหาฯ ในไทยได้ง่ายมากขึ้น อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็ยังคงอยู่ในขั้นตอนการไตร่ตรองและพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งสำหรับคนไทยซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน คอนโด หรือสิ่งปลูกสร้าง ถือว่าควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถวางแผนในการลงทุนต่อไป ทั้งในแง่การซื้อเพิ่มเพื่อถือครอง และในแง่ของการขายต่อให้กับชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

กรมที่ดิน

Prachachat

Smartfinn

Workpoint

สมัครเป็นสมาชิกเว็บ REIC

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

รู้ข้อมูลอสังหาฯ ก่อนใคร

สมัครได้ฟรี ไม่มีเงื่อนไข

เพื่อให้การซื้อ-ลงทุนที่อยู่อาศัย

เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด

.

.

สมัครเลยที่

https://www.reic.or.th/Member/RegisterGeneral

.

.

------------------------

ติดตามศูนย์ข้อมูลฯ เพิ่มเติมได้ที่

 Website : www.reic.or.th

 Twitter : www.twitter.com/REICFan

 Youtube : www.youtube.com/user/REICPR

 Line : @REICFan

#ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ #REIC

โดยมีสาระสำคัญคือ การกำหนดกลุ่มคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูง 4 ประเภท ที่สามารถได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ 1.กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง 2.กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ 3.กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย 4.กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ

เป็นการจุดประเด็นร้อนทางการเมืองขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อถูกนำไปเปรียบเทียบกับนโยบายยุค โทนี่” ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่เคยแก้ไขร่างกฎกระทรวงนี้ เพื่อปิดทางให้ต่างชาติสามารถครอบครองที่ดินในไทยได้ กับข้อครหาว่าเป็นการขายชาติขายแผ่นดินหรือไม่ และยิ่งหนักไปกว่าเมื่อขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้ามที่เคยต่อต้านนโยบายนี้กลับนำมาดำเนินการเสียเองในยุครัฐบาลเรือแป๊ะของ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แม้จะเพิ่มเงื่อนไขกำหนดบุคคลต่างชาติ 4 ประเภทข้างต้น

นายทุนต่างชาติซื้อที่ดิน 2564

ขณะที่ กรมที่ดิน ระบุว่า ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ประกาศใช้กฎกระทรวงปี 2545 มีข้อมูลคนต่างชาติขอใช้สิทธิถือครองที่ดิน 1 ไร่เพื่อการอยู่อาศัย กรมที่ดินรายงานว่า มีจำนวนเพียง 8 ราย จึงเป็นเรื่องน่ากังขาว่า เหตุใดรัฐบาลจึงเดินเครื่องเรื่องนี้ในช่วงปลายเทอม

ประจวบเหมาะกับล่าสุด “สมศักดิ์ เทพสุทิน” รมว.ยุติธรรม แอ่นอกยอมรับว่า นายทุนจีนที่ได้รับสัญชาติไทย มีชื่อถูกจับกุมกรณีเปิดผับฉาวย่านยานนาวา มั่วยาเสพติดและการพนัน เคยมีชื่อบริจาคเงิน 3 ล้าน ให้พรรคพลังประชารัฐ เมื่อปี 2564 พร้อมยืนยันว่า พรรคไม่รู้รายละเอียดส่วนลึกของผู้บริจาค

ฟากฝ่ายค้านโดย ธีรัจชัย พันธุมาศ..บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล  ระบุว่า พรรคฝ่ายค้านเตรียมถกเรื่องนี้ในวันที่ 1 พ.ย. พร้อมกับเตรียมรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจผับ ซึ่งคล้ายกับทัวร์ศูนย์เหรียญและอาจจะต้องโยงกับกรณีให้ต่างชาติมาซื้อที่ดินในไทยได้ด้วย

นายทุนต่างชาติซื้อที่ดิน 2564

ส่วน เต้นณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. และ ผอ.ครอบครัวเพื่อไทย มองว่า การลุกขึ้นมาทำเรื่องนี้ในช่วงปลายรัฐบาล เป็นการขายทอดตลาดประเทศไทยทิ้งทวนเพราะจะไม่ได้กลับมาบริหารประเทศอีก กลุ่มแรกที่จะอวตารมาซื้อที่ดินคือ กลุ่มทุนต่างชาติที่เข้ามาแฝงตัวก่ออาชญากรรม ทั้งพนันออนไลน์ ผับ บาร์ ยาเสพติด คอลเซ็นเตอร์ ซึ่งน่าสังเกตว่าบานเป็นดอกเห็ดในยุคนี้

สุดท้ายจึงน่าคิดว่านอกจากคนที่ตั้งใจเข้ามาทำธุรกิจโดยสุจริตแล้ว ยังมีกลุ่มธุรกิจสีเทาที่จะได้ประโยชน์จากกฎหมายนี้ และทำให้ประเทศไทยกลายเป็นรังของอาชญากร อาชญากรรมข้ามชาติทั้งหลายหรือไม่ หากไม่มีมาตรการตรวจสอบที่รัดกุมพอ ที่สำคัญยังจะกระทบต่อคนไทยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพื่อเป็นที่พักอาศัยหรือที่ทำกินได้ อีกเป็นจำนวนมหาศาล.