เนื้อ วัว เนื้อหมูและสัตว์ปีกนำมาฉายรังสีเพื่อ จุด ประสงค์ ใด

“อาหารฉายรังสี ตอนที่ 1: ฉายทำไม ฉายด้วยรังสีอะไร?”

         หลายท่านเมื่อได้ยินคำว่า “ฉายรังสี” ก็มักจะนึกไปถึงวิธีการรักษาโรคร้ายหรือนึกถึงเรื่องอันตรายจากการรั่วไหลปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะตั้งข้อสงสัยและกังวลกับการรับประทานอาหารฉายรังสี

เนื้อ วัว เนื้อหมูและสัตว์ปีกนำมาฉายรังสีเพื่อ จุด ประสงค์ ใด

          ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับคำว่า “อาหารฉายรังสี” กันก่อน อาหารฉายรังสี (Irradiated Food) คืออาหารที่ผ่านกรรมวิธีการฉายรังสีเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการฉายรังสี ซึ่งวัตถุประสงค์ในการนำอาหารไปฉายรังสีมีด้วยกัน 6 ข้อคือ

          1. ยับยั้งการงอกระหว่างการเก็บรักษา ในพืชประเภท หอมแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม มันฝรั่ง ขิง เมื่อเกิดการงอกระหว่างการเก็บจะทำให้สูญเสียน้ำหนัก ฝ่อ สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ กลิ่นและรสชาติเปลี่ยนไป การฉายรังสีด้วยปริมาณที่เหมาะสมและเก็บในที่เย็น จะช่วยชะลอการงอกได้ เช่น มันฝรั่ง ถ้าเกิดการงอกจะมีน้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) ทำให้เมื่อนำไปทำเป็นมันฝรั่งทอดจะไหม้เป็นจุดสีดำ หรือหอมหัวใหญ่ โดยปกติจะเก็บได้นาน 3 เดือนจะเริ่มงอก แต่เมื่อผ่านการฉายรังสีจะสามารถยับยั้งการงอกได้นาน 5-6 เดือนผลิตผลที่จะนำมาฉายรังสีต้องมีคุณภาพดี บรรจุในภาชนะที่โปร่งแสงและมีอายุหลังการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 2 สัปดาห์ – 1 เดือน
         2. ชะลอการสุกของผักและผลไม้ เช่นการฉายรังสีกล้วยหอมทองสามารถชะลอการสุกออกไปได้ 3-5 วัน หรือการฉายรังสีเห็ดฟางและนำไปเก็บที่อุณหภูมิ 17 องศาเซลเซียส สามารถชะลอการบานของเห็ดได้นาน 4 วัน
         3. ควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลง โดยทำได้ 2 วิธีคือการฉายรังสีแมลงวันทองให้เป็นหมันเพื่อควบคุมปริมาณแมลงวันทอง หรือการฉายรังสีอาหารเพื่อทำลายแมลง ไข่ หนอน และดักแด้ ในผลไม้เช่น ลำไย มังคุด เงาะ สับปะรด ลิ้นจี่และแก้วมังกร ซึ่งการการควบคุมการแพร่พันธุ์แมลงด้วยการฉายรังสีนี้ทำให้ไทยสามารถส่งผลไม้เหล่านี้ไปจำหน่ายยังประเทศที่มีมาตรการควบคุมการนำเข้าผักและผลไม้ที่เข้มงวดได้ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ได้ นอกจากนี้ยังสามารถจำกัดแมลงในผลิตภัณฑ์อาหารแห้ง เช่น ปลาแห้ง หอมผง เครื่องเทศ และเครื่องปรุงรสชนิดผง เป็นต้น 
         4. ลดปริมาณปรสิต การฉายรังสีสามารถกำจัดพยาธิในเนื้อสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำได้ เช่น พยาธิตัวกลมและพยาธิตืดหมู รังสีสามารถทำลายพยาธิและเชื้อก่อโรคโดยไม่ทำให้อุณหภูมิของเนื้อสัตว์เปลี่ยนแปลง เนื้อสัตว์ยังคงเป็นเนื้อดิบเหมือนเดิม แต่ปลอดพยาธิและปลอดภัย 
         5. ยืดอายุการเก็บรักษา รังสีสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหารได้เพราะรังสีจะไปกำจัดจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย เป็นเหมือนการพาสเจอร์ไรเซชั่น เมื่อใช้ร่วมกับการเก็บรักษาอาหารในห้องเย็น จะสามารถยืดอายุการเก็บรักษาอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทะเลได้นานขึ้น 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับการไม่ฉายรังสี
         6. ลดปริมาณจุลินทรีย์และกำจัดจุลินทรีย์ก่อเกิดโรค ในผลิตภัณฑ์อาหารโดยไม่ทำให้สีรสเปลี่ยนแปลงและยังคงคุณค่าทางโภชนาการไว้ได้ เช่น แหนมฉายรังสีจะสามารถกำจัดเชื้อซาลโมเนลล่าและพยาธิได้ หรือนำไข่ไปฉายรังสีเพื่อกำจัดเชื้อซาลโมแนลล่า

เนื้อ วัว เนื้อหมูและสัตว์ปีกนำมาฉายรังสีเพื่อ จุด ประสงค์ ใด

         

รังสีเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้เซลล์เกิดการแตกตัวเป็นไอออนและอนุมูลอิสระ เมื่อฉายรังสีไปในอาหารแล้วเซลล์หรือส่วนประกอบของเซลล์จะถูกทำลายโดยตรงด้วยรังสี และเมื่อรังสีทะลุผ่านอาหารรังสีจะถ่ายเทพลังงานไปยังน้ำที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร น้ำเกิดเป็นอนุมูลอิสระขึ้นมา แล้วไปทำปฏิกิริยากับเซลล์ของจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ตายรังสีที่นำมาใช้ฉายอาหารได้นั้นมี 3 ชนิดได้แก่

           1. รังสีแกมม่า จากเครื่องฉายรังสีที่มีโคบอลต์-60 หรือ ซีเซียม-137 รังสีแกมม่ามีความสามารถในการทะลุทะลวงผ่านอาหารได้ดี เหมาะกับอาหารขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากเป็นการปล่อยรังสีตลอดเวลาจึงเหมาะกับการฉายรังสีผลิตภัณฑ์จำนวนมาก
         2. รังสีเอกซ์ จากเครื่องผลิตรังสีเอกซ์ที่ทำงานด้วยระดับพลังงานที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ 
         3. รังสีอิเล็กตรอน จากเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนทำงานด้วยระดับพลังงานต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ซึ่งรังสีเอกซ์นั้นมีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ จึงไม่เหมาะกับอาหารที่มีความหนามาก แต่สามารถเปิดปิดเครื่องได้ตามต้องการจึงเหมาะกับการฉายรังสีอาหารปริมาณไม่มาก

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- เอกสารเผยแพร่บริการฉายรังสีและบริการตรวจวิเคราะห์ทางจุลินทรีย์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) www.tint.or.th
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาหารฉายรังสี

         ถ้าท่านมีไอเดีย มีความตั้งใจ อยากมีผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง หรือต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม เพิ่มยอดขายสร้างกำไรให้มากขึ้น แต่ติดปัญหาไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ท่านสามารถเริ่มได้ง่ายๆ แค่เพียงกรอกข้อมูลขอรับบริการ ที่นี่