เพลง พื้นบ้าน เน้น วัฒนธรรม ของ ชุมชน นั้น ๆ เกิด ขึ้น มา จาก อะไร

เพลง พื้นบ้าน เน้น วัฒนธรรม ของ ชุมชน นั้น ๆ เกิด ขึ้น มา จาก อะไร

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นเพลงโต้ตอบหรือเพลงปฏิพากย์ เป็นเพลงที่หนุ่มสาวใช้ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน มักร้องกันเป็นกลุ่มหรือเป็นวง ประกอบด้วย ผู้ร้องนำเพลงฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่เรียกว่า พ่อเพลง แม่เพลง ส่วนคนอื่นๆ เป็นลูกคู่ร้องรับ ให้จังหวะด้วยการปรบมือ หรือใช้เครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เช่น กรับ ฉิ่ง เพลงโต้ตอบนี้ ชาวบ้านภาคกลางนำมาร้องเล่นในโอกาสต่างๆ ตามเทศกาล หรือในเวลาที่มารวมกลุ่มกัน เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบางเพลงก็ใช้ร้องเล่นไม่จำกัดเทศกาล แบ่งได้ 5 กลุ่ม คือ

1. เพลงที่นิยมร้องเล่นในฤดูน้ำหลาก เทศกาลกฐินและผ้าป่า ในช่วงเทศกาลออกพรรษา ได้แก่

- เพลงเรือ (ร้องกันทั่วไปในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี)
- เพลงครึ่งท่อน เพลงไก่ป่า (ปรากฏชื่อในหนังสือเก่าก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ ว่าร้องอยู่แถบพระนครศรีอยุธยา)
- เพลงหน้าใย เพลงยิ้มใย เพลงโซ้ (นครนายก)
- เพลงรำพาข้าวสาร (ปทุมธานี)
- เพลงร่อยภาษา (กาญจนบุรี)

2. เพลงที่นิยมเล่นในเทศกาลเก็บเกี่ยว เป็นเพลงที่ร้องเล่นในเวลาลงแขกเกี่ยวข้าว และนวดข้าว ได้แก่

- เพลงเกี่ยวข้าว เพลงก้ม (อ่างทอง สุพรรณบุรี)
- เพลงเต้นกำ (อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา)
- เพลงเต้นกำรำเคียว (นครสวรรค์)
- เพลงจาก (อ. พนมทวน กาญจนบุรี)
- เพลงสงฟาง (สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี)
- เพลงพานฟาง (สุพรรณบุรี กาญจนบุรี)
- เพลงสงคอลำพวน (กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี)
- เพลงชักกระดาน (กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สิงห์บุรี อ่างทอง)
- เพลงโอก (ราชบุรี ใช้ร้องเล่นเวลาหยุดพักระหว่างนวดข้าว)

3. เพลงที่นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ เป็นเพลงที่ร้องเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง และบางเพลงเป็นเพลงที่ใช้ประกอบการละเล่นของหนุ่มสาว ได้แก่

- เพลงพิษฐาน (พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก)
- เพลงพวงมาลัย (นครปฐม เพชรบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง นครสวรรค์)
- เพลงระบำ เพลงระบำบ้านไร่ (พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี)
- เพลงฮินเลเล (พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ สุโขทัย พิษณุโลก)
- เพลงคล้องช้าง (สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม)
- เพลงช้าเจ้าหงส์ (พระนครศรีอยุธยา)
- เพลงช้าเจ้าโลม (นครสวรรค์ อุทัยธานี)
- เพลงเหย่อย (กาญจนบุรี)
- เพลงกรุ่น (อุทัยธานี พิษณุโลก)
- เพลงชักเย่อ (อุทัยธานี)
- เพลงเข้าผี (เกือบทุกจังหวัดของภาคกลาง)
- เพลงสังกรานต์ (เป็นเพลงใช้ร้องยั่วประกอบท่ารำ ไม่มีชื่อเรียกโดยตรง ในที่นี้ เรียกตามคำของยายทองหล่อ ทำเลทอง แม่เพลงอาวุโสชาวอยุธยา)

4. เพลงที่ใช้ร้องเวลามารวมกันทำกิจกรรมอย่างหนึ่ง ได้แก่

- เพลงโขลกแป้ง (ร้องโต้ตอบกันเวลาลงแขกโขลกแป้งทำขนมจีน ในงานทำบุญ ของชาวอ่างทอง ชาวนครสวรรค์)
- เพลงแห่นาคหรือสั่งนาค (ร้องกันทั่วไปในภาคกลาง ในงานบวชนาคขณะแห่นาคไปวัดหรือรับไปทำขวัญนาค)

5. เพลงที่ร้องเล่นไม่จำกัดเทศกาล เป็นเพลงที่ร้องเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในงานบุญประเพณีต่างๆ ร้องรำพันแสดงอารมณ์ความรู้สึก ร้องประกอบการละเล่น หรือร้องโดยที่มีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่

เพลงเทพทอง (เป็นเพลงพื้นบ้านที่เก่าที่สุด ตามหลักฐานในวรรณคดีและหนังสือเก่าบันทึกไว้ว่า นิยมเล่นตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ จนถึง รัชกาลที่ ๖)
- เพลงลำตัด
- เพลงโนเนโนนาด
- เพลงแอ่วเคล้าซอ
- เพลงแห่เจ้าบ่าว
- เพลงพาดควาย
- เพลงปรบไก่
- เพลงขอทาน
- เพลงฉ่อย (มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น เพลงวง เพลงเป๋ เพลงฉ่า เพลงตะขาบ)
- เพลงทรงเครื่อง
- เพลงระบำบ้านนา
- เพลงอีแซว
- เพลงรำโทน
- เพลงสำหรับเด็ก (เพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก เพลงประกอบการละเล่นเด็ก)

เพลงพื้นบ้านภาคกลางแม้จะมีหลากหลายประเภทมากกว่าทุกภาค แต่มีเพลงจำนวนน้อยที่ยังคงร้องเล่นกันบ้างในชนบท และส่วนหนึ่งก็เป็นเพลงที่เล่นกันเฉพาะถิ่นเท่านั้น

เพลงพื้นบ้านภาคกลางที่แพร่หลายได้ยินทั่วๆ ไป และมีพ่อเพลงแม่เพลงที่ยังจดจำร้องกันได้ ๘ เพลง คือ

1. เพลงเรือ
2. เพลงเต้นกำ
3. เพลงพิษฐาน
4. เพลงระบำบ้านไร่
5. เพลงอีแซว
6. เพลงพวงมาลัย
7. เพลงเหย่อย
8. เพลงฉ่อย

เพลงเรือ

เพลงเรือเป็นเพลงที่ร้องเล่นในฤดูน้ำหลาก นิยมเล่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และลพบุรี ช่วงเทศกาลกฐิน ผ้าป่า หรืองานนมัสการ งานบุญประจำปีของวัด ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก ชาวนาว่างเว้นจากการทำนา รอน้ำลด และรวงข้าวสุก ก็จะพากันพายเรือมาทำบุญไหว้พระและเล่นเพลง เรือที่ใช้มีเรือมาดสี่แจว เรือพายม้าทุกลำจุดตะเกียงเจ้าพายุ หรือตะเกียงลานไว้กลางลำเรือ ธรรมเนียมในการเล่นมีเรือฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จำนวนผู้เล่นขึ้นอยู่กับขนาดของเรือประมาณ ๙ - ๑๐ คน มีพ่อเพลง แม่เพลง ส่วนที่เหลือเป็นลูกคู่ ใช้กลอนลงสระเสียงเดียวกันไปเรื่อยๆ ที่เรียกว่า "กลอนหัวเดียว" นิยมร้องกลอนลา และกลอนไล เพราะคิดหาคำได้ง่ายกว่าสระเสียงอื่น มีเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง และกรับ พ่อเพลงที่นั่งกลางลำเรือ จะเป็นคนตีฉิ่งดังฉับๆ ไปเรื่อยๆ ที่เหลือก็เป็นลูกคู่คอยร้องรับหรือร้องยั่วด้วยคำว่า "ฮ้า ไฮ้" และคอยกระทุ้งว่า "ชะ ชะ" ตามความคะนองปากเป็นจังหวะๆ

เมื่อชาวเพลงพายเรือมาถึงที่หมาย โดยทั่วไปก็จะมองหาเรือจับคู่ว่าเพลงกันแล้ว ฝ่ายชายจะพายเรือไปเทียบจนชิดเรือฝ่ายหญิงและเก็บพายขึ้น ในเรือแต่ละลำจะนั่งเป็นคู่ๆ นอกจากช่วงหัวเรือท้ายเรือจะนั่งคนเดียวเพราะที่แคบ เรือฝ่ายชายจะเริ่มว่าเพลงก่อน เรียกว่า "เพลงปลอบ" เพื่อขอเล่นเพลงกับฝ่ายหญิงตามมารยาท เมื่อว่าไปสัก ๒ - ๓ บท หากฝ่ายหญิงนิ่งไม่ตอบ ก็แสดงว่า ไม่สมัครใจเล่นเพลงด้วย หรือมีคู่นัดหมายอยู่แล้ว เรือฝ่ายชายต้องไปหาคู่ใหม่ แต่ถ้าฝ่ายหญิงเอื้อนเสียงตอบ แสดงว่า ตกลงปลงใจเล่นเพลงด้วย ก็เริ่มว่า "เพลงประ" โต้ตอบกันในเชิงเกี้ยวพาราสีอย่างสนุกสนาน เมื่อว่าเพลงกันสมควรแก่เวลาแล้ว เรือฝ่ายชายจะพายไปส่งเรือฝ่ายหญิง ในระหว่างนั้นก็ว่า "เพลงจาก" เพื่อเป็นการแสดงความอาลัยอาวรณ์

เพลงเต้นกำ

เพลงเต้นกำมีอยู่ทั่วไปแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นิยมเล่นในจังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และนครนายก ส่วนมากจะร้องเล่นระหว่างช่วงหยุดพักเมื่อเกี่ยวข้าวไปถึงอีกคันนาหนึ่ง หรือมักเล่นตอนเย็นหลังเลิกเกี่ยวข้าวแล้ว ผู้เล่นจะยืนล้อมเป็นวงกลม หรืออาจยืนเป็นแถวหน้ากระดาน หันหน้าเข้าหากัน มือซ้ายถือรวงข้าว มือขวาถือเคียว พ่อเพลงแม่เพลงอาจมีหลายคนช่วยกันร้องแก้ หรือร้องโต้ตอบฝ่ายตรงข้าม ส่วนคนอื่นๆ เป็นลูกคู่รับว่า "เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้"

เพลงพิษฐาน

เพลงพิษฐานนิยมเล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยเล่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี นครสวรรค์ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และสุโขทัย เมื่อหนุ่มสาวทำบุญตักบาตรที่วัดแล้ว ก็จะพากันเก็บดอกไม้เข้าไปไหว้พระในโบสถ์ หญิงและชายนั่งคนละข้าง มือถือพานดอกไม้ เพลงขึ้นต้นด้วยคำว่า "พิษฐาน" มาจากคำว่า อธิษฐาน เพื่อขอพรพระ ฝ่ายชายเริ่มว่าเพลงก่อน ฝ่ายหญิงร้องแก้ เมื่อฝ่ายใดร้อง ลูกคู่ฝ่ายนั้นร้องรับ ไม่ต้องปรบมือ เกี้ยวพาราสีกันไปในเนื้อเพลงซึ่งเป็นกลอนสั้นๆ เพียง ๔ วรรค และมักยกเอาชื่อหมู่บ้านมาสัมผัสกับชื่อดอกไม้

เพลงระบำบ้านไร่

เพลงระบำมีอยู่ ๓ แบบ คือ เพลง ระบำบ้านไร่ เพลงระบำบ้านนา และเพลงระบำ
ภาพจากปกหนังสือแสดงการร้องเล่นเพลงระบำชาวบ้านไร่ ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องโต้ตอบระหว่างชายหญิง
ภาพจากปกหนังสือแสดงการร้องเล่นเพลงระบำชาวบ้านไร่ ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องโต้ตอบระหว่างชายหญิง เพลงระบำบ้านไร่ เล่นในงานเทศกาลสงกรานต์ และงานนักขัตฤกษ์ต่างๆ เป็นเพลงร้องโต้ตอบระหว่างชายหญิง เนื้อเพลงเกี่ยวเนื่องกับการเกี้ยวพาราสี นิยมเล่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ และอุทัยธานี โดยชายและหญิงจะยืนล้อมวง ปรบมือเป็นจังหวะ และผลัดกันเป็นต้นเพลง ส่วนที่เหลือจะเป็นลูกคู่ร้องรับว่า

เพลงอีแซว

เพลงอีแซวเป็นเพลงพื้นบ้านจังหวัดสุพรรณบุรี เล่นในงานเทศกาลสงกรานต์ หรืองานบุญกุศล เดิมเป็นเพลงร้องโต้ตอบกันสั้นๆ แบบกลอนหัวเดียว ต่อมา ได้ยืมกลอนเพลงฉ่อยไปร้องให้ยาวมากขึ้น ร้องด้วยจังหวะเร็วๆ เดินจังหวะด้วยฉิ่ง กรับ พ่อเพลงแม่เพลงแต่ละฝ่ายมีลูกคู่ ๔ - ๕ คน ร้องโต้ตอบเชิงเกี้ยวพาราสีแฝงคำสองแง่สองง่าม เพื่อสร้างความครึกครื้นให้แก่ผู้ฟัง ส่วนผู้ร้องต้องมีความสามารถในการเลือกถ้อยคำมาร้อยเรียง ที่เรียกกันว่า "ด้นเพลง" ให้ทันจังหวะที่เร็วกว่าเพลงประเภทอื่นๆ ต่อมา เพลงอีแซวได้พัฒนาเป็นวงอาชีพรับจ้างแสดงตามงานต่างๆ และเป็นที่นิยมร้องกันแพร่หลายในจังหวัดใกล้เคียงด้วย

เพลงพวงมาลัย

เพลงพวงมาลัยเป็นเพลงร้องโต้ตอบระหว่างชายและหญิง นิยมเล่นกันแถบภาคกลางทั่วไปแทบทุกจังหวัด ในงานเทศกาลต่างๆ เช่น วันสงกรานต์ งานโกนจุก งานบวชนาค งานมงคลต่างๆ โดยเลือกสถานที่เล่นเพลง เป็นลานกว้างๆ ยืนล้อมเป็นวงกลม แบ่งเป็นฝ่ายชายครึ่งวงฝ่ายหญิงครึ่งวง มีพ่อเพลง แม่เพลงผลัดกันร้อง ส่วนที่เหลือจะเป็นลูกคู่ปรบมือเป็นจังหวะ และร้องรับฝ่ายของตน

เพลงเหย่อย

เพลงเหย่อยเป็นเพลงพื้นบ้านจังหวัดกาญจนบุรี นิยมเล่นในงานเทศกาล และงานมงคลต่างๆ มักมีกลองยาวมาตีเรียกชาวบ้านก่อน กลองยาวกับเพลงเหย่อยจึงเป็นของคู่กัน แบ่งเป็นฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จำนวนฝ่ายละ ๘ - ๑๐ คน มีผ้าคล้องคอคนละผืน ฝ่ายชายเริ่มรำออกไปก่อน สองมือถือผ้าออกไปด้วย จะค่อยๆ รำเข้าไปหาฝ่ายหญิง ซึ่งอยู่ในแถวตรงข้าม แล้วส่งผ้าหรือคล้องผ้าให้ ฝ่ายหญิงที่ได้รับผ้าก็ต้องออกมารำคู่ พลางร้องโต้ตอบเนื้อหาในเชิงเกี้ยวพาราสี เมื่อรำคู่พอสมควรแล้วก็ต้องให้คนอื่นรำบ้าง โดยฝ่ายหญิงเอาผ้าไปคล้องให้ฝ่ายชายคนอื่นๆ ส่วนฝ่ายชายคนเดิมก็ต้องค่อยๆ รำแยกออกมากลับไปยังที่เดิม รำสลับอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนจบเพลง อาจฟ้อนรำกันไปจนดึกด้วยความเพลิดเพลินตลอดทั้งคืน

เพลงฉ่อย เพลงวง เพลงฉ่า หรือเพลงเป๋

เพลงฉ่อยเป็นเพลงที่เล่นกันทั่วไปทุกจังหวัดในภาคกลาง โดยนิยมเล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และวันนักขัตฤกษ์อื่นๆ ภายหลังมีการตั้งวงเป็นอาชีพรับจ้างแสดงทั่วไป คณะลำตัดหวังเต๊ะนิยมนำเพลงฉ่อยมาร้องแทรกกับการเล่นเพลงลำตัดเสมอๆ เพลงฉ่อยเป็นเพลงโต้ตอบระหว่างชายหญิง มีเอกลักษณ์ตรงที่ลูกคู่จะร้องรับว่า "เอ่ชา เอ๊ชา ชา ฉาด ชา" บางคณะต่อด้วย "หน่อยแม่" ไม่ต้องมีดนตรีประกอบ ลูกคู่จะปรบมือเท่านั้น

ของคุณบทความจาก สยามโซน

เพลงพื้นบ้านมีที่มาจากอะไร

เพลงพื้นบ้าน คือ เพลงของชาวบ้านที่จดจำสืบทอดกันมาแบบปากเปล่า ใช้ ร้องเล่น เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง ใช้คำที่ง่าย ๆ เน้นเสียงสัมผัสและจังหวะการ ร้องเป็นสำคัญ ใช้เครื่องประกอบจังหวะง่าย ๆ ที่สำคัญต้องมีเสียงร้องรับของลูกคู่ ทำให้เกิดความสนุกสนานมากขึ้น ประเภทของเพลงพื้นบ้าน

จุดประสงค์ของเพลงพื้นบ้านคืออะไร

เพลงพื้นบ้าน คือ เพลงของท้องถิ่นที่ชาวบ้านจดจำสืบทอดกันมาแบบปากเปล่า ใช้ร้องเล่นเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง และถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกโดยใช้ถ้อยคำที่ง่ายๆ แต่ใช้โวหารหรือการเปรียบเทียบที่คมคาย เน้นเสียงสัมผัส และจังหวะการร้องเป็นสำคัญ ประวัติของเพลงพื้นบ้าน

เพลงชาวบ้านเกิดจากอะไร

เพลงชาวบ้านหรือเพลงพื้นเมือง คือเพลงประจำท้องถิ่นซึ่งแต่ละท้องถิ่นคิดประดิษฐ์ เนื้อร้องและทำนองขึ้นเอง ลักษณะภาษาของเพลงชาวบ้านนั้น จะใช้ภาษาถิ่น และใช้คำสั้นๆ ง่ายๆ มุ่งความไพเราะทางเสียง ใช้จังหวะรุกเร้าเพื่อความสนุกสนานเป็นสำคัญ เนื้อความก็เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน บางทีก็เป็นลักษณะเกี้ยวพาราสีกันบ้าง

แนวเพลงพื้นบ้านมีจุดเริ่มต้นมาจากที่ใด

การเล่นเพลงพื้นบ้านมีมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ได้ปรากฏมีการเล่นเพลง “เทพทอง” ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านที่ใช้ร้อง โต้ตอบกันระหว่างชายกับหญิง ซึ่งเป็นต้นแบบของเพลงพื้นบ้านภาคกลางหลายประเภทมาจน ทุกวันนี้ (พูนพิศ อมาตยกุล.2529 ) ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้ปรากฏมีการ ...