ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ผ่าน มือ ถือ

ไลฟ์สไตล์

14 เม.ย. 2563 เวลา 19:15 น.434.0k

"เกษตรกร" ต้องรู้ แอพพลิเคชั่น Farmbook ตัวช่วยเข้าถึงมาตรการเยียวยาของรัฐ รวมถึงคำนิยามของเกษตรกร ต้องเพาะปลูกอะไร จำนวนเท่าไร ถึงจะเป็นเกษตรกรได้

ในวันที่ทุกอย่างต้องดำเนินไปด้วยเทคโนโลยีแบบ (แทบ) ไม่ทันตั้งตัวโดยเฉพาะในช่วงที่โคโรน่าไวรัสหรือโรคโควิด-19 แพร่ระบาดเป็นวงกว้างไม่เพียงแต่พนักงานออฟฟิศที่ต้องปรับการทำงานเป็นที่บ้านหรือ Work From Home เท่านั้นหน่วยงานราชการก็ต้องปฏิบัติตามระยะห่างสังคม Social Distancing ด้วยเช่นกันทำให้การให้บริการประชาชนจึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านี้เท่ากับว่าเวลานี้ทุกคนต้องเร่งปรับตัวให้ทันท่วงที

เช่นเดียวกับกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่ต้องพลิกวิธีการทำงานใหม่ ในส่วนของการบริการเกษตรกรนั้นหนึ่งในมาตรการที่ออกมาคือสนับสนุนให้เกษตรกรปรับปรุงทะเบียนเกษตรผ่าน Farmbook ซึ่งหลายคนอาจจะงงว่า Farmbook คืออะไร?

ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ผ่าน มือ ถือ

ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่านี่ไม่ใช่มาตรการใหม่หรือเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นเพราะ "Farmbook" คือสมุดทะเบียนเกษตรกรนั่นเองเพียงแต่มาในรูปของแอพพลิเคชั่น ซึ่งใครที่เป็นเกษตรกรต้องเข้าไปดาวน์โหลดไว้ในโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟนซึ่งขณะนี้รองรับทำระบบโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์และ iOS ที่สำคัญคือฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

จากเดิมเป็นสมุดทะเบียนเกษตรกร เล่มสีเขียว ที่เกษตรกรคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ที่จะบอกข้อมูลรหัสทะเบียนเกษตรกร วันที่ขึ้นทะเบียน ชื่อเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน เลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด รหัสประจำบ้าน ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน และรูปภาพเกษตรกร รวมถึงการถือครองที่ดินที่ไหน มีเอกสารสิทธิ์หรือไม่ เนื้อที่เท่าไร และการถือครอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ใน "แอพพลิเคชั่น Farmbook" นั่นเอง 

ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ผ่าน มือ ถือ

โดยกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ทำขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรสามารถปรับปรุงข้อมูลการเกษตรของตัวเองได้ด้วยตัวเองผ่านโทรศัพท์มือถือ รวมถึงสามารถตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรของตนเองว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่และสามารถตรวจสอบการเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือของรัฐได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่สำนักงานเกษตรตำบลอำเภอหรือจังหวัดที่ตัวเองทำการเกษตรอยู่

เมื่อดาวน์โหลดแล้วจะต้องใส่รหัสทะเบียนเกษตรกร หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนเกษตรกรไว้ รวมถึงรหัสผ่าน ภายในก็จะปรากฏข้อมูลขึ้นมา หากต้องการแก้ไขปรับปรุงข้อมูลก็สามารถทำได้

ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ผ่าน มือ ถือ

ทั้งนี้หากเกษตรกรท่านใดที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน และต้องการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรสามารถใช้งานแอพพลิเคชัน Farmbook ผ่านโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟนเพื่อแจ้งข้อมูล 4 ประเภทคือ

1.การแจ้งปรับปรุงข้อมูลกิจกรรมการเพาะปลูกเฉพาะแปลงเดิมที่ได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ในปีการผลิตที่ผ่านมา คือข้อมูลเอกสารสิทธิ์เช่น เนื้อที่ที่ตั้งพิกัดกิจกรรมการเกษตรประกอบด้วยชนิดพันธุ์พืชวันที่ปลูกวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวเนื้อที่ปลูกปีเพาะปลูกและประเภทการทำการเกษตรกรรมยั่งยืน

2.การติดตามผลการแจ้งปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร แสดงรายละเอียดแปลงที่มีการแจ้งปลูกเพื่อติดตามสถานะการแจ้งปลูกทั้งนี้แปลงที่แจ้งปลูกผ่านแอพพลิเคชันสามารถลบแก้ไขกรณีแจ้งปลูกผิดแต่สถานะการแจ้งปลูกต้องยังไม่จัดชุดส่วนแปลงที่แจ้งปลูกผ่านเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งลบ แก้ไขที่สำนักงานเกษตรอำเภอเท่านั้น

3.การติดตามผลการเข้าร่วมโครงการภาครัฐด้านการเกษตรโดยแสดงรายการโครงการที่เข้าร่วมและผลการโอนเงินตามเงื่อนไขโครงการ

4.การคาดการณ์ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยแสดงรายละเอียดช่วงวันที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คาดการณ์ผลผลิต คาดการณ์กำไรและราคาขาย

ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ผ่าน มือ ถือ

นอกจากนี้ยังมีเรื่องน่ารู้คือ หากมาดูหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรต้องมี 3 ข้อ ดังนี้

  • ครัวเรือนเกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นผู้ประกอบการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพรองก็ได้
  • ครัวเรือนเกษตรกร 1 ครัวเรือนจะมีตัวแทนมาขอขึ้นทะเบียนได้เพียง 1 คนเท่านั้น
  • เกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องบรรลุนิติภาวะและมีสัญชาติไทยกรณีที่เป็นนิติบุคคลจะต้องมีการมอบหมายผู้แทนมาขึ้นทะเบียน

  • แล้วใครบ้างคือ "เกษตรกร" ?

เรื่องนี้กรมส่งเสริการเกษตรมีคำตอบ โดยนิยามคำว่าเกษตรกรไว้ว่าเป็นบุคคลที่ประกอบการเกษตรหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการเกษตรและได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนตามระเบียบฯขณะที่คำว่าครัวเรือนหมายถึงบุคคลเดียว หรือหลายคนที่อาศัยอยู่ในบ้านหรือสถานที่อยู่เดียวกันและจัดหาหรือใช้สิ่งอุปโภคบริโภคอันจำเป็นแก่การครองชีพร่วมกัน

ทั้งนี้ที่ผ่านมาฐานทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตรถูกนำไปใช้เพื่อให้ความช่วยเหลือตามมาตรการภาครัฐต่างๆตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ซึ่งกำหนดให้ 1 ทะเบียนบ้านเท่ากับ 1 ครัวเรือน 

ดังนั้นคำว่าครัวเรือนเกษตรหมายถึงบุคคลในครัวเรือนคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนที่ประกอบการเกษตรโดยการประกอบการเกษตรนั้นหมายความว่าการปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำการทำนาเหลือสมุทรการปลูกหม่อนการเลี้ยงไหมการเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและเกษตรอื่นๆโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภคหรือจำหน่ายหรือใช้งานในฟาร์มอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ ดังนี้

1.ทำนาหรือทำไร่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันบนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป

2.การปลูกผักหรือการปลูกไม้ดอกไม้ประดับหรือการเพาะเห็ดหรือการปลูกพืชอาหารสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันบนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 งานขึ้นไป

3.การปลูกไม้ผลยืนต้นหรือการปลูกสวนป่าหรือปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันบนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่และมีจำนวนต้นตั้งแต่ 15 ต้นขึ้นไป

4.การปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันบนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่และมีมีจำนวนต้นตั้งแต่ 15 ต้นขึ้นไป

5.การเลี้ยงโคนมตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป

6.การเลี้ยงโคหรือกระบืออย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป

7.การเลี้ยงสุกรแพะหรือแกะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันตั้งแต่ 5 ตัวขึ้นไป

8.การเลี้ยงสัตว์ปีกตั้งแต่ 50 ตัวขึ้นไป

9.การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

10.การทำนาเกลือสมุทรา บนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป

11.การปลูกหม่อนการเลี้ยงไหมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน

12.การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและเกษตรอื่นๆซึ่งหมายถึงการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ผึ้งโพรงชันโรงครั่ง จิ้งหรีดด้วงสาคูไส้เดือนดินชีวภัณฑ์และอื่นๆที่มีลักษณะเดียวกัน

13.ประกอบการเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามข้อ 1-12 และมีรายได้ตั้งแต่ 8,000 บาทต่อปีขึ้นไป

ทั้งนี้ยังมีการกำหนดอัตราแปลงไม้ผลไม้ยืนต้นต่อเนื้อที่ปลูกด้วยว่าแต่ละชนิดจะมีผลผลิตจำนวนเท่าใดต่อหนึ่งไร่ดังตารางด้านล่างต่อไปนี้

ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ผ่าน มือ ถือ

อย่างไรก็ตามการที่ให้เกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนทางแอพพลิเคชั่นถือเป็นการปรับปรุงการทำงานที่อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรโดยที่เกษตรกรไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานเกษตรในพื้นที่โดยไม่ต้องเปลืองค่าเดินทาง แต่ทั้งนี้เกษตรกรจะต้องปรับตัวตามให้ทันด้วยเช่นกันซึ่งกรมจะมีการช่วยเหลืออย่างไรบ้างในกลุ่มที่เข้าไม่ถึงบางส่วน

ที่มา : farmer