ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ สุขศึกษา ม. 6

แอพแชร์โน้ตสรุป Clearnote มีโน้ตสรุปมากกว่า 300,000 เล่ม ทั้งระดับ ม.ต้น ม.ปลาย และมหาวิทยาลัย

ให้โน้ตสรุปจาก Clearnote เป็นตัวช่วยในการเรียน ไม่ว่าจะเตรียมสอบที่โรงเรียน หรือสอบเข้ามหาลัย

และยังสามารถถามคำถามเกี่ยวกับการเรียนได้ที่ Q&A อีกด้วย

                                                

  ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ

                  สุขภาพของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ สุขศึกษา ม. 6

                   1.ปัจจัยภายใน หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับบุคคลโดยตรงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้                                                                                                                             1.1 องค์ประกอบทางกาย ได้แก่ องค์ประกอบที่เป็นมาตั้งแต่เกิดไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้                   ได้แก่

  • พันธุกรรม การถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้นเป็นที่ยอมรับว่าทําให้มีผลต่อ สุขภาพของวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุมาก ทั้งในทางบวก เช่น การมีอายุยืนยาวเชื่อว่าเป็นพันธุกรรม และส่วนผลในทางลบคือทําให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ได้แก่ โรคที่ถ่ายทอดมาทางยื่น เช่น ธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้โรคมะเร็งก็อยู่ในระยะพิสูจน์ว่าถ่ายทอดทาง พันธุกรรมหรือไม่
  • เชื้อชาติ เชื้อชาติบางเชื้อชาติป่วยเป็นโรคบางโรคมากกว่าเชื้อชาติอื่นๆ เช่น โรคโลหิตจางบางชนิด เป็นในคนผิวดํามากกว่าผิวขาว
  • เพศ โรคบางโรคพบบ่อยในเพศใดเพศหนึ่ง โรคที่พบบ่อยในเพศหญิง เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ นิ่วในถุงน้ําดี โรคกระดูกพรุน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคที่พบบ่อยในเพศชาย เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคทางเดินหายใจ โรคริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อน เป็นต้น        
  • อายุและระดับพัฒนาการ โรคเป็นจํานวนมากแตกตา  โรคเป็นจํานวนมากแตกต่างกันตามอายุ เช่น วัยกลางคนเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากกว่าวัยหนุ่มสาวพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจพัฒนาการของแต่ละวัยจะมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งสขภาพกายและสุขภาพจิตเช่นวัยรุนเป็นวัย ที่อยู่ในวัยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ทําให้ตัดสินใจปฏิบัติสิ่งต่างๆ ผิดพลาดไปโดยไม่ทนองคา ต่อสุขภาพได้ เช่น การวิวาท ยกพวกตีกัน การติดยาเสพติด การติดเชื้อจากการร่วมเพศ เบนดิน ในวัยผู้ใหญ่เป็นวัยที่ต้องเลือกอาชีพ เลือกคู่ครอง การปรับตัวในชีวิตสมรส ปรับตัวเพื่อทาหนาทบดา มารดาทําให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และอาจได้รับอันตรายจากการประกอบอาชีพอีกด้วย                            

             1.2 องค์ประกอบทางจิต ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กัน หากร่างกาย เจ็บป่วยก็จะกระทบกระเทือนต่อจิตใจด้วย หรือหากจิตใจมีความวิตกกังวลก็จะส่งผลให้ร่างกาย เจ็บป่วยได้ นอกจากนี้องค์ประกอบทางจิตยังเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมต่างๆ อีกด้วย

  • อัตมโนทัศน์ (Self Concept) เป็นผลรวมของความรู้สึกนึกคิดและการรับรู้ ที่ลึกซึ้งและซับซ้อนที่บุคคลมีต่อตนเอง และมีอิทธิพลอย่างมากในการกําหนดพฤติกรรมคือ ยารที่บุคคลจะแสดงพฤติกรรมอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นรับรู้เกี่ยวกับตนเองอย่างไร       ถ้าบุคคลนั้นมองว่าตนเป็นคนมีรูปร่างหน้าตาดี เป็นคนสวย หรือเป็นคนรูปหล่อ ก็จะมีอิทธิพลให้ บุคคลนั้นพยายามบํารุงสุขภาพและร่างกายของตนให้อยู่ในสภาพดีต่อไป หรือหากมีอัตมโนทัศน์ ด้านการยอมรับนับถือตนเอง (Self-esteem) การยอมรับนับถือตนเองเป็นการรับรู้เกี่ยวกับคุณค่าของ ตนเองจะทําให้สามารถเปลี่ยนอัตมโนทัศน์ด้านต่างๆ ได้ ถ้าสิ่งที่แสวงหานั้นเป็นเรื่องของสุขภาพ บุคคลนั้นก็จะมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ในอนาคต เช่น วัยรุ่นที่ประเมินตนเองว่าอ้วน แต่อยากให้ตนเองผอม จะพยายามแสวงหาความรู้เพื่อนํามาปฏิบัติให้ตนเองผอมลง
  • การรับรู้ (Perception) การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมเช่นใดนั้นขึ้นอยู่กับ การรับรู้ของตนต่อสิ่งต่างๆ การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพคือรับรู้ตนเองมีสุขภาพเช่นไร ก็จะมีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมที่คนคนนั้นจะกระทํา แต่ละคนจะมีการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพแตกต่างกัน โดยเฉพาะถ้าฐานะ ทางเศรษฐกิจต่างกัน ก็จะรับรู้เกี่ยวกับอาการป่วยและตัดสินใจรับการรักษาต่างกัน บางคนเมื่อรู้สึก ครั้นเนื้อครั่นตัวก็จะรู้ว่าตนกําลังไม่สบาย ในขณะที่บางคนทํางานไม่ไหวจึงจะรับรู้ว่าไม่สบาย ซึ่งการรับรู้เหล่านี้จะเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมที่ปฏิบัติในเวลาต่อมา
  • ความเชื่อ (Belief) ปกติคนเรามักจะได้ความเชื่อมาจากพ่อแม่ปู่ย่าตายาย หรือ ผู้ที่เราเคารพนับถือ ความเชื่อเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินชีวิต ความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief) คือความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพที่แต่ละคนยึดถือว่าเป็นความจริง และปฏิบัติตามความเชื่อ อย่างเคร่งครัด ถึงแม้ว่าความเชื่อนั้นจะไม่จริงก็ตาม เช่น เชื่อว่าถ้ารับประทานไข่ขณะที่เป็นแผล จะทําให้แผลเน่า ถ้ารับประทานข้าวเหนียวจะทําให้แผลเปื่อย ดื่มน้ํามะพร้าวขณะมีประจําเดือนจะ ทําให้เลือดประจําเดือนหยุดไหล เป็นต้น
  • เจตคติ (Attitude) เป็นความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งต่างๆ อาจเป็นบุคคล สิ่งของ หรือนามธรรมต่างๆ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์หรือเรียนรู้ตามบุคคลใกล้ตัว เจตคติมีผลกระทบต่อ เมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น สุขภาพ เช่น ถ้าประชาชนมีเจตคติต่อการรักษาแผนปัจจุบันไม่ดีก็จะไม่ยอมรับการรักษา
  • ค่านิยม (Value) คือการให้คุณค่าต่อสิ่งสิ่งหนึ่ง ค่านิยมของบุคคลได้รับมา จากอิทธิพลของสังคม ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติ เช่น ค่านิยมของการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งแสดงว่าดี เท่ หรือมีฐานะทางสังคมสูง ค่านิยมของการเที่ยวหญิงบริการว่าแสดงถึงความเป็น ชายชาตรี หรือค่านิยมของความมีสุขภาพดี จะช่วยสร้างเสริมสุขภาพ
  • ความเครียด (Stress) ภาวะเครียดมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางบวกและทางลบ ทางด้านบวกหากเกิดความเครียดว่าตนเองจะทดสอบสมรรถภาพทางกายไม่ผ่านเกณฑ์ ก็จะ ทําให้บุคคลจะฝึกวิ่งออกกําลังกาย ดันพื้น ลุกนั่ง (Sit-up) ในครั้งแรกซึ่งเต็มไปด้วยความเครียดนั้น จะทําให้แต่ละคนได้พัฒนาความสามารถ เกิดความมั่นใจ สามารถพัฒนาความสามารถ และสมรรถภาพทางกายได้ แต่ถ้าหากเครียดมากจนเกินไปก็ก่อให้เกิดผลทางด้านลบต่อสุขภาพได้ ด้วยเช่นกัน

              1.3 องค์ประกอบทางพฤติกรรม หรือแบบแผนการดําเนินชีวิต (Life style) เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะเป็นองค์ประกอบที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แบบแผนการดําเนินชีวิต ได้แก่

  •  พฤติกรรมเกี่ยวกับอนามัยส่วนบุคคล เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเพื่อการมีอนามัย ที่ดี ได้แก่ การแปรงฟัน การอาบน้ํา ความสะอาดของเสื้อผ้า การสระผม การดูแลสุขภาพของผิวหนัง การดูแลรักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ หากมีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามการรับรู้ของแต่ละคน จะส่งผลต่อสุขภาพได้ เช่น ถ้าแปรงฟันไม่ถูกวิธีอาจทําให้เหงือกร่น ถ้าทําความสะอาดอวัยวะเพศ ในขณะมีประจําเดือนไม่ดีพอ อาจเป็นเหตุให้มีการติดเชื้อของมดลูกได้
  •  พฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก บางคนชอบ ทานอาหารขบเคี้ยว อมทอฟฟี่ ซึ่งจะมีผลทําให้ฟันผุ คนที่ไม่ชอบทานผักและผลไม้ ทําให้เสี่ยงต่อ การป่วยเป็นมะเร็งลําไส้ คนที่ชอบทานอาหารที่มีรสหวาน มีไขมันสูงและมีรสเค็ม อาจทําให้เป็น โรคอ้วนหรือโรคหลอดเลือด คนที่ชอบทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ก็อาจทําให้เป็นโรคพยาธิ
  •  พฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ผู้ที่ถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา ถ่ายลําบาก มีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวารสูงกว่าคนที่มีการขับถ่ายเป็นเวลา และถ่าย สะดวก ผู้ที่กลั้นปัสสาวะทําให้เกิดเป็นโรคติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
  • การพักผ่อนและการนอนหลับ ผู้ที่พักผ่อนหรือนอนหลับไม่เพียงพอจะมี ผลเสียต่อสุขภาพ ถ้าอดนอน 48 ชั่งโมง จะทาท มึนศีรษะ ควบคุมสติไม่ได้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ถ้าอดนอน 4วัน ทําให้ร่างกายอ่อนเพลีย ต่อมาเกิด อาการสับสน ประสาทหลอนและปรากฏอาการทางจิต
  • พฤติกรรมทางเพศ การตอบ สนองความต้องการทางเพศเป็นความต้องการพื้นฐานของ มนุษย์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ถ้าบุคคลนั้นมีพฤติกรรมพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เช่น สําส่อนทางเพศพฤติกรรมมีผลต่อสุขภาพ ควรรับประทานผัก รักร่วมเพศ จะมีผลกระทบต่อสุขภาพจากโรคติดเชื้อทางผลไม้เป็นประจํา เพื่อสุขภาพที่ดี เพศสัมพันธ์และเอดส์ได้
  •  พฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ พฤติกรรมที่คนทําเชื่อว่าทําให้มีสุขภาพดี เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เช่น การออกกําลังกาย การชั่งน้ําหนักเป็นประจํา การตรวจสุขภาพ ร่างกายเป็นประจําทุกปี เป็นต้น
  • พฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ พฤติกรรมที่ปฏิบัติแล้วทําให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ หรือเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ร่างกาย เช่น                                                                                                 – การสูบบุหรี่ ทําให้ป่วยเป็นโรคหัวใจ มะเร็งปอด สูงกว่าบุคคลทั่วไป                                  – การดื่มสุรา ทําให้ป่วยเป็นโรคตับแข็งมากกว่าบุคคลทั่วไป เกิดกรณี ทะเลาะวิวาทและทําร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ทําให้สูญเสียการควบคุมสติตนเอง จนทําให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการหรือข่มขืนกระทําชําเรา เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา               – การเสพยาเสพติด ทําให้เกิดประสาทหลอน เกิดอุบัติเหตุและความรุนแรง ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของตนเองและผู้อื่น                                                                                      – การขับรถโดยประมาท ขับรถเร็ว มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูง และอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นมักจะรุนแรง

    ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ สุขศึกษา ม. 6

    โฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่น

                 2. ปัจจัยภายนอก หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับบุคคลที่เป็นปัจจัยภายนอก ที่ส่งผล กระทบต่อสุขภาพ แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

    2.1 องค์ประกอบทางสังคม แต่ละสังคมประกอบด้วยระบบย่อยหรือสถาบัน สังคมที่สําคัญ 6 ระบบ คือ ระบบครอบครัวและเครือญาติ ระบบการศึกษา ระบบการสาธารณสุข ระบบเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ระบบการเมืองและการปกครอง ระบบความเชื่อหรือ สถาบันศาสนา                                     2.2 องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนจะกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่                  • สภาพทางภูมิศาสตร์ ฤดูกาลและอุณหภูมิของแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคลโดยตรง                                                                                                                   • สภาพที่อยู่อาศัย ลักษณะบ้านที่ ช่วยส่งเสริมสุขภาพดีคือ มีการระบายอากาศได้ดี อยู่ห่างไกล จากแหล่งอุตสาหกรรม ไม่มีเสียงรบกวน มีสุขาภิบาลที่ดี มีท่อระบายน้ําและมีการระบายน้ํา ไม่มีน้ําท่วมขัง มีการกําจัด ขยะที่ถูกวิธี มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ มีน้ําดื่มน้ําใช้ที่สะอาด ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย มีการดูแลรักษาความสะอาด ลักษณะบ้านที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพดี คือ เป็นระเบียบเรียบร้อย ทําให้เกิดความปลอดภัยจากมีการระบายอากาศได้ดี อยู่ห่างไกลจากแหล่งอุตสาหกรรม อุบัติเหตุ                          • สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น มลพิษทางน้ํา ทางดิน ทางอากาศ และทางเสียง ทําให้เกิดโรคและอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้ เช่น น้ําที่ถูกปนเปื้อนด้วย เชื้อโรค จะทําให้ผู้บริโภคเป็นโรคระบบทางเดินอาหาร การได้ยินเสียงดังมากๆ นานๆ ทําให้ประสาทเสื่อมการหายใจที่มีอากาศเป็นพิษหรือฝุ่นละอองทําให้เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือการรับประทานอาหารซึ่งปลูกในดินที่มีสารพิษร่างกายก็จะเกิดโรคจากสารพิษเหล่านั้นด้วย

อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=AxBy40uWGpo&t=27s                                 อ้างอิง หนังสือสุขศึกษา 6