ตัวอย่างขั้นตอนการแก้ปัญหา

ตัวอย่างขั้นตอนการแก้ปัญหา

ปัญหาบางปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นเราอาจต้องวางแผนการแก้ปัญหาบางปัญหาอาจมีวิธีแก้ได้หลายวิธี การวางแผนการแก้ปัญหาจะต้องพิจารณาด้วยเหตุผลต่างๆ ให้ครบทุกกรณีที่อาจเป็นไปได้
การใช้เหตุผล (reasoning) เป็นการคิดและอธิบายความคิดออกมาเป็นแผนงาน โดยแสดงวิธีการแก้ปัญหาออกมาเป็นลำดับขั้นตอน ทำให้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน ในแต่ละขั้นตอนต้องพิจารณาเงื่อนไขหรือเหตุผลประกอบด้วย การแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหาทำได้โดยการเขียนบอกเล่า วาดภาพหรือใช้สัญลักษณ์

ตัวอย่าง การอาบน้ำในฤดูหนาวอย่างไรไม่ให้หนาว
เริ่มต้น
1. ต้มน้ำร้อน
2. นำน้ำร้อนที่ต้มเสร็จไปผสมกับน้ำที่อุณหภูมิปกติตามความเหมาะสม
3. อาบน้ำ
4. เช็ดตัวให้แห้ง แล้วใส่เสื้อผ้า
จบ

แต่ละบุคคลอาจมีวิธีการแก้ปัญหาเหมือนกันหรืออาจแตกต่างกันขึ้นกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล แต่หากพิจารณาให้ละเอียด จะพบว่าการแก้ปัญหามีหลักการและกระบวนการที่คล้ายกัน หลักการแก้ปัญหาโดยทั่วไปมีกระบวนการ ดังนี้

1. การพิจารณาปัญหา คือ การทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่าง
ละเอียด แล้วพิจารณาว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง เช่น ปัญหานี้เกิดจากอะไรปัญหานี้มีผลต่อใคร ผลที่เกิดจากปัญหาคืออะไร สิ่งที่ต้องการแก้ปัญหาคืออะไร

2. การวางแผนแก้ปัญหา คือ การกำหนดขั้นตอน วิธีการ อุปกรณ์
เครื่องมือ และระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้แก้ปัญหาเข้าใจตรงกันและปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน อาจแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา โดยการบอกเล่าเป็นข้อความ การวาดภาพ หรือใช้สัญลักษณ์

ตัวอย่าง ปัญหาเกี่ยวกับการจัดลำดับการทำงานบ้านในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมานักเรียนต้องไปโรงเรียน อาจมีการบ้านและงานส่วนตัวต้องทำในวันหยุดซึ่งมีเพียงสองวัน ดังนั้นนักเรียนจะต้องวางแผนจัดลำดับการทำงานให้เหมาะสมและคุ้มค่ากับเวลาถ้าวันหยุดนักเรียนต้องซักผ้าและทำการบ้าน หากนักเรียนตื่นแต่เช้าแล้วซักผ้า แต่วันนั้นฝนตก จะทำให้นักเรียนเสียเวลาในการซักผ้าดังนั้นเราอาจวางแผนลำดับขั้นตอนโดยเพิ่มเงื่อนไข ดังนี้

เริ่มต้น
1. ฝนตกหรือไม่
2. ถ้าฝนตกจริง ทำการบ้านก่อน แล้วจึงซักผ้าและนำไปตาก
3. ถ้าฝนไม่ตก ซักผ้าแล้วตาก จากนั้นจึงทำการบ้าน
จบ

สำหรับการแสดงขั้นตอนโดยใช้สัญลักษณ์จะต้องเลือกใช้สัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น

หมายถึง การเริ่มต้นหรือจบ

หมายถึง การตัดสินใจ

หมายถึง การทำงานหรือกระบวนการ

หมายถึง จุดเชื่อมต่อ

ตัวอย่างขั้นตอนการแก้ปัญหา

3. วิธีการแก้ปัญหาคือ การดำเนินการแก้ปัญหาตามแนวทางที่วางไว้ถ้าพบวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกว่าสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการได้ การแก้ปัญหาอาจทำได้หลายวิธี เช่น
1) การลองผิดลองถูก เป็นการแก้ปัญหาง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เช่น การเล่นเกมย้ายก้านไม้ขีด การเล่นเกมตัวต่อ เกมคัดแยกกลุ่มของหนักเบา เกมต่อจิกซอว์

ตัวอย่างขั้นตอนการแก้ปัญหา

2) ใช้ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีเหตุผลซึ่งกันและกัน เป็นการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยต้องมีข้อมูลพื้นฐานก่อนเพื่อนำมาวิเคราะห์ สรุปผลแล้วนำไปแก้ปัญหา

ตัวอย่าง ตัวเลขในช่องว่าง คือตัวเลขอะไร ถ้าทุกแถวในแนวนอนและแนวตั้งต้องมีตัวเลข 1 2 3 4 โดยตัวเลขในแต่ละแถวต้องบวกกันแล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับ 10

ตัวอย่างขั้นตอนการแก้ปัญหา

3) การขจัดเป็นการแก้ปัญหาโดยหาความสัมพันธ์ของข้อมูลให้มากที่สุดแล้วพยายามขจัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป จนได้คำตอบที่ต้องการ

ตัวอย่าง มีนักเรียน 3 คน มด โหน่ง หนุ่ย แต่ละคนมีของอยู่ 2 อย่างที่ไม่ซ้ำกัน คือ ดินสอ ไม้บรรทัด ยางลบ กระดาษวาดเขียน สีไม้ และกบเหลาดินสอ แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นเจ้าของอะไรบ้าง และเรามีข้อมูล ดังนี้

  1. มดขอยืมยางลบจากเพื่อนเสมอ
  2. โหน่งไม่ชอบใช้ไม้บรรทัดขีดเส้น
  3. หนุ่ยชอบใช้สีน้ำระบายสีภาพ
  4. โหน่งแบ่งกระดาษวาดเขียนให้มด
  5. หนุ่ยไม่เคยยืมกบเหลาดินสอของเพื่อนเลย
  6. มดให้หนุ่ยยิ้มไม้บรรทัดขีดเส้น
  7. โหน่งขอยืมสีไม้จากมด
  8. โหน่งเขียนชื่อตัวเองลงในยางลบ

จากข้อมูลที่ทราบ ถ้าทำตารางการแจกแจง แล้วนำข้อมูลแต่ละข้อมาพิจารณาแล้วเขียนลงในตารางจะได้ ดังนี้

ตัวอย่างขั้นตอนการแก้ปัญหา

จากตารางและข้อมูลที่เขียนขึ้น ทำให้พิจารณาได้ว่าใครเป็นเจ้าของอุปกรณ์ชื่นใดบ้าง

4. ประโยชน์ในการใช้หลักการแก้ปัญหา

  1. ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ
  2. ฝึกการหาคำตอบอย่างมีเหตุผล
  3. แก้ปัญหาได้โดยมีข้อบกพร่องน้อยที่สุด
  4. เป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือ และยอมรับได้เมื่อสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง โดยใช้หลักการและเหตุผล

5. เกมการแก้ปัญหา
การฝึกการแก้ปัญหาเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบได้เป็นอย่างดี แต่เราอาจยังไม่ต้องแก้ปัญหาจริง เพียงแค่ฝึกจากเกมที่มีอยู่ก็ได้ซึ่งมีทั้งเกมในลักษณะของสื่อต่าง ๆ หรือเกมคอมพิวเตอร์เกมย้ายก้านไม้ขีดไฟเป็นอีกเกมหนึ่งที่นิยมเล่นในการทายจำนวนจากตัวเลข และทายรูปทรงต่างๆ

ตัวอย่างขั้นตอนการแก้ปัญหา

คำศัพท์ที่ต้องรู้

คำศัพท์คำอ่านคำแปล
message เมส ซิจ ข้อความ
painting เพน ทิ้ง การวาดภาพ
symbol ซิม เบิล สัญลักษณ์
tell เทล บอก

ตัวอย่างขั้นตอนการแก้ปัญหา

  • Kruaof
  • การแก้ปัญหาา
  • การแก้ไขปัญหา
  • ครูออฟ
  • ป.5
  • วิธีการ
  • วิธีการแก้ไข
  • เว็บครูออฟ

กระบวนการเเก้ปัญหามี7ขั้นตอนคืออะไรบ้าง

ขันตอนที1 เข้าใจสภาพการณ์ ขันตอนที2 กําหนดปัญหาให้ถูกต้องชัดเจน ขันตอนที3 วิเคราะห์สาเหตุสําคัญ ขันตอนที4 หาวิธีแก้ทีเป็นไปได้ Page 7 7 ขันตอน ของการแก้ปัญหา ขันตอนที5 เลือกวิธีแก้ทีดีทีสุด ขันตอนที6 วางแผนการปฏิบัติ ขันตอนที7 ติดตามและประเมินผล เข้าใจ สถานการณ์

กระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหามี6ขั้นตอนอะไรบ้าง

ระบุและอธิบายรายละเอียดของปัญหา (Identify and Define) ... .
วิเคราะห์ปัญหา (Analyze) ... .
พัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหา (Develop Alternate Solutions) ... .
ประเมินแนวทางที่ได้มา (Evaluate Alternatives) ... .
ลงมือปฏิบัติตามแนวทาง (Implement the Solution) ... .
ประเมินผลปฏิบัติการ (Mesure the Result).

ขั้นตอน การออกแบบและวิธีการแก้ปัญหา คืออะไร

3การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (solution desing) คือการนำความรู้ที่ได้รวบรวมมาประยุกต์เพื่อการออกแบบวิธีการ กำหนดองค์ประกอบของวิธีการหรือผลผลิต ทั้งนี้ต้องอ้างอิง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่รวบรวมได้ ประเมิน ตัดสินใจเลือและใช้ความรู้ที่ได้มาในการสร้างภาพร่างของชิ้นงาน ต้นแบบ หรือกำหนดเค้าโครงของวิธีการ

สิ่งสําคัญในการแก้ปัญหา คืออะไร

สิ่งสำคัญอันดับแรกในการจะแก้ปัญหาให้ได้ผลนั้น คือการยอมรับว่าปัญหานั้นเป็นปัญหา 2. กำจัดขอบเขตของปัญหา คือการหาให้เจอว่าปัญหานั้นคืออะไร มีมากน้อยขนาดไหน เป็นปัญหาเล็ก ปัญหาใหญ่ เกิดบ่อยหรือนานๆเกิดทีปัญหาเล็กปัญหาใหญ่มีวิธีการแก้ไม่เหมือนกัน 3. กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา