ตัวอย่าง การ กำกับ ดูแลกิจการ

บริษัทฯ มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลและ หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่บริษัทจดทะเบียนพึงปฏิบัติทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รวมทั้งการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ โดยคณะกรรมการบริษัท ได้กำหนด นโยบายต่างๆและจรรยาบรรณ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมายให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม ทำหน้าที่ในการพิจารณา ทบทวน ส่งเสริมกำกับดูแล และติดตามการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ โดยมีคณะทำงานการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารจากทุกสายงาน ทำหน้าที่และมีบทบาทในการศึกษา พิจารณา ติดตาม ทบทวน และประเมินผลการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อทำการปรับปรุง พัฒนา และยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ให้อยู่ในระดับสากลและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (Corporate Governance Code for Listed Companies 2017:CG Code 2017) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“ก.ล.ต.”) หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามเกณฑ์โครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies: CGR) ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors: IOD) และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามเกณฑ์ ASEAN Corporate Goverence Scorecard: ASEAN CG Scorecard และแนวปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลท.”) รวมทั้งมาตรฐานสากล กฎหมาย หลักเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ข้อเสนอแนะ และ/หรือข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่าง การ กำกับ ดูแลกิจการ

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

จรรยาบรรณ

คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม

ตัวอย่าง การ กำกับ ดูแลกิจการ

การคัดเลือกคณะกรรมการ

การสรรหาบุคคลเพื่อเป็นกรรมการบริษัท แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ

  • กรณีที่ 1 ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากออกตามวาระ เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาบุคคลที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนด แล้วแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลง และจะต้องได้รับมติเห็นชอบในที่ประชุมคณะกรรมการด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของกรรมการที่เหลืออยู่ การดำรงตำแหน่งกรรมการจะอยู่ได้เพียงระยะเวลาที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน
  • กรณีที่ 2 ตำแหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจากครบวาระ คณะกรรมการจะพิจารณาบุคคลที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนด แล้วนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี เพื่อพิจารณาอนุมัติ

การสรรหากรรมการเข้าใหม่แทนกรรมการที่ลาออกก่อนครบวาระ และกรรมการที่ออกตามวาระ รวมถึงการพิจารณาเสนอชื่อคณะกรรมการชุดย่อยแทนตำแหน่งที่ว่างลง ได้มีการพิจารณาตามเกณฑ์การกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการสรรหาและคัดเลือกกรรมการ (Board Skills Matrix) อันประกอบด้วย ประสบการณ์ในธุรกิจ และ/หรือ อุตสาหกรรม คุณวุฒิ ทักษะ และ/หรือ ประสบการณ์ด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

นอกเหนือจากการพิจารณาคุณสมบัติของกรรมการบริษัทฯ ที่กำหนดไว้ในระเบียบบริษัทฯ ว่าด้วย คณะกรรมการบริษัท และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด

ระเบียบ

การกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นในสรรหาคณะกรรมการ

ในกระบวนการสรรหากรรมการ คณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน จะทำหน้าที่พิจารณาสรรหา กลั่นกรอง และคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนด และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เพื่อเสนอชื่อเป็นกรรมการและกรรมการอิสระ โดย บริษัทฯ ได้จัดทำ Competency Matrix เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสรรหากรรมการ ดังนี้

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณากำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการสรรหาและคัดเลือกกรรมการบริษัทฯ หรือ Board Skills Matrix ประกอบด้วย

ประเภททักษะ/สมรรถนะความรู้/ประสบการณ์/ ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและธุรกิจ
ทักษะ/สมรรถนะที่จำเป็น ธุรกิจไฟฟ้า และพลังงาน
  ธุรกิจพลังงาน
  ธุรกิจระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
  ธุรกิจธุรกิจระหว่างประเทศ
  กิจการภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
  กิจการในภาคเอกชนอื่น
ทักษะ/สมรรถนะที่เกี่ยวข้อง การวางแผนบริหารกลยุทธ์
  การบริหารจัดการ
  การบริหารสินทรัพย์
  การบริหารทรัพยากรบุคคล และค่าตอบแทน
  การบริหารความเสี่ยง
  วิศวกรรมศาสตร์
  บัญชี/การเงิน เศรษฐศาสตร์
  กฎหมาย
  เทคโนโลยีสารสนเทศ
  การค้า/ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  การกำกับดูแลกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ คณะกรรมการได้กำหนดสัดส่วนให้มีกรรมการที่มีประสบการณ์ในธุรกิจไฟฟ้า พลังงาน และ/หรือธุรกิจสาธารณูปโภคอื่น อย่างน้อย 3 คน และกรรมการที่มีคุณวุฒิ ทักษะ และ/หรือ ประสบการณ์ด้านบัญชี/การเงิน และด้านกฎหมาย อย่างน้อยด้านละ 1 คน

ส่วนคุณวุฒิ ทักษะ และ/หรือ ประสบการณ์ด้านอื่นๆ คณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริษัทฯ จะพิจารณาตามความจำเป็น ความเหมาะสม และความสอดคล้องกับพันธกิจและเป้าหมายของบริษัทฯ

การประเมินตนเองของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาทบทวนและอนุมัติการปรับปรุงแบบประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อยทั้งคณะ และรายบุคคล ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดตอบแทน และได้ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเอง (Self Assessment) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการประเมิน ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะต่างๆ ไปพิจารณาทบทวนและ ปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน และระเบียบบริษัทฯ ว่าด้วยคณะกรรมการบริษัทฯ ที่กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อยด้วยตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในเดือนธันวาคม โดยให้มีการประเมินทั้งแบบรายคณะและรายบุคคล ทั้งนี้ คณะกรรมการจะร่วมกันพิจารณาผลงานและปรับปรุงแก้ไข และเปิดเผยหลักเกณฑ์ขั้นตอน และผลการประเมินในภาพรวมไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ นอกจากนี้ยังนำผลการประเมินไปใช้สำหรับส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ให้แก่ กรรมการรายบุคคลเพิ่มเติมด้วย

ปัจจัยในการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการบริษัทฯ “ทั้งคณะ” และ “รายบุคคล” ครอบคลุมประเด็นสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย

  • ความพร้อมของคณะกรรมการ ครอบคลุมเรื่องโครงสร้าง องค์ประกอบความเป็นอิสระ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และการพัฒนากรรมการ
  • การกำหนดกลยุทธ์ แผนธุรกิจ และงบประมาณ
  • การแบ่งแยกบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบและการมอบอำนาจหน้าที่
  • การกำกับดูแลและติดตามงาน
  • การบริหารทรัพยากรบุคคล
  • การจัดการความเสี่ยงการควบคุมภายใน และความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ และสาธารณชน
  • การประชุมคณะกรรมการ ครอบคลุมการดำเนินการ 1) ก่อนการประชุม: การนำส่งเอกสารข้อมูลประกอบการประชุมล่วงหน้าเพื่อให้มีเวลาศึกษาข้อมูลเพียงพอและขอข้อมูลเพิ่มเติมจากฝ่ายบริหาร 2) ระหว่างการประชุม:การนำเสนอข้อมูลและประเด็นสำคัญ การอภิปรายและตอบข้อซักถาม การงดเว้นการเข้าร่วมการประชุมและงดออกเสียงในระเบียบวาระที่ตนเองมีส่วนได้เสีย และการลงมติของที่ประชุม และ 3) หลังการประชุม: ดูแลให้รายงานการประชุมมีความถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ จัดทำในเวลาที่เหมาะสมมีการรับรองรายงานการประชุม และพร้อมได้รับการตรวจสอบจากผู้เกี่ยวข้อง

การประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการชุดย่อย “ทั้งคณะ” และ “รายบุคคล” มีปัจจัยการประเมินประกอบด้วย

  • ความพร้อมของคณะกรรมการชุดย่อย ครอบคลุมเรื่องโครงสร้าง องค์ประกอบ ความเป็นอิสระ บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ และการพัฒนากรรมการ
  • การประชุมคณะกรรมการชุดย่อย มีการกำหนดประชุมคณะกรรมการในแต่ละปีล่วงหน้า ความครบถ้วนของการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ และการดำเนินการประชุม 1) ก่อนการประชุม: การนำส่งเอกสารข้อมูลประกอบการประชุมล่วงหน้า เพื่อให้มีเวลาศึกษาข้อมูลเพียงพอ และขอข้อมูลเพิ่มเติมจากฝ่ายบริหาร 2) ระหว่างการประชุม: การนำเสนอข้อมูลและประเด็นสำคัญการอภิปรายและตอบข้อซักถาม และการลงมติของที่ประชุม และ 3) หลังการประชุม: ดูแลให้รายงานการประชุมมีความถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ จัดทำในเวลาที่เหมาะสม มีการรับรองรายงานการประชุม และพร้อมได้รับการตรวจสอบจากผู้เกี่ยวข้อง
  • บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดย่อย

การจัดทำเอกสารความเสี่ยงด้านทุจริต

สำหรับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริต บริษัทฯ มีการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต โดยจัดทำเอกสารด้านการทุจริตขององค์กร ซึ่งครอบคลุมถึงแผนภูมิความเสี่ยงด้านการทุจริต (Fraud Risk Profile) และทะเบียนความเสี่ยงด้านการทุจริต (Fraud Risk Register) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

  1. การเตรียมการเพื่อกำหนดเกณฑ์การวัดความเสี่ยงในด้านผลกระทบ (Impact) และโอกาสที่จะเกิด (Likelihood of Occurrence) รวมทั้งกำหนดระดับความเสี่ยงที่บริษัทยอมรับได้ (Risk Appetite)
  2. การระบุความเสี่ยงด้านการทุจริต สาเหตุหลักของความเสี่ยง และผลกระทบของความเสี่ยงตลอดจน การวิเคราะห์ความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงก่อนพิจารณาถึงมาตรการควบคุมภายในที่มีอยู่
  3. การประเมินระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่ในปัจจุบัน การวิเคราะห์ความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงหลังจากมีมาตรการควบคุมภายในปัจจุบัน
  4. การจัดหามาตรการเพื่อลดความเสี่ยงลงให้อยู่ในระดับที่บริษัทยอมรับได้ หากมาตรการควบคุมภายในที่ดำเนินงานอยู่ปัจจุบัน ไม่เพียงพอต่อการป้องกันความเสี่ยงด้านการทุจริต

ทั้งนี้ การประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต และ แผนการจัดการความเสี่ยงจะมีการติดตามและทบทวนเพื่อนำเสนอ ผู้บริหาร และ คณะกรรมการของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ

การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

บริษัทฯ ยึดมั่นในการดำเนินธุุรกิจด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียทุุกกลุ่มตามหลักบรรษัทภิบาลที่่ดีและจรรยาบรรณทางธุุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ที่มุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุุกรููปแบบ

บริษัทฯ ได้เข้าร่วมในโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุุจริต (Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption: “CAC”)” ตั้งแต่ ปี 2559 โดยการรับรองดังกล่าวจะมีอายุุ 3 ปี นับจากวันที่มีมติให้การรับรอง โดยต่อมาบริษัทฯ ได้ยื่นขอต่ออายุุการรับรอง (Re- certification) เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ในการดำเนินธุุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ และจะไม่เกี่่ยวข้องกับการทุุจริตคอร์รัปชันในทุุกรููปแบบ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินธุุรกิจกับภาครัฐหรือภาคเอกชน และห้ามบุุคลากรทุุกคนของบริษัทฯ ตั้้งแต่คณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงาน เรียกรับ ดำเนินการหรือยอมรับการทุุจริตและคอร์รัปชัันในทุุกรููปแบบ โดย บริษัทฯ ได้รับการต่ออายุุการรับรองเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่่องเป็นครั้งที่่ 1 เมื่่อวันที่ 4 กุุมภาพันธ์ 2562 และได้รับต่ออายุุการรับรอง ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายกรอบการดำเนินการต่อต้านการทุุจริต และการบริหารความเสี่ยงด้านการทุุจริต และระบบการควบคุุมภายใน รวมทั้งได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินงานของผู้เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการป้องกันการทุุจริตและคอร์รัปชันในทุุกกิจกรรมทางธุุรกิจ เพื่่อนำพาองค์กรไปสู่การพัฒนาและดำเนินธุุรกิจอย่างยั่งยืน

นโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน

การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต

ส่งเสริมนวัตกรรมการป้องความเสี่ยงด้านความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

บริษัทฯ มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการควบคุมความเสี่ยงตามกระบวนการทำงานของธุรกิจ รวมถึงมีการกำหนดโยบายด้านความปลอดภัย แผนฉุกเฉิน และการจัดหา พัฒนา ดูแลรักษาระบบ สำหรับการจัดการความเสี่ยงด้านสารสนเทศ บริษัทฯ ได้ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ตลอดจนมีการกำหนดแผนฉุกเฉินสำหรับป้องกันความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ เมื่อมีอุบัติภัยร้ายแรงจนระบบไม่สามารถปฏิบิตงานได้ รวมถึงการซ้อมแผนฉุกเฉิน นอกจากนี้ ยังมีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องย้อนหลังได้ (Audit Trial) และมีระบบข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์หรือบ่งชี้จุดที่อาจจะเกิดความเสี่ยงในเชิงสถิติได้อย่างเป็นระบบ ซี่งมีการประเมินและจัดการความเสี่ยงพร้อมทั้งบันทึกหรือรายงานผลไว้อย่างครบถ้วน

บริษัทปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับธุรกิจ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สรุปได้ดังนี้

1. สิทธิของผู้ถือหุ้น

 

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดและประกาศนโยบายเกี่ยวกับผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีการทบทวนและติดตามตรวจสอบการปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง และให้มั่นใจว่าผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน เช่น สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการเสนอระเบียบวาระ และ/หรือเสนอชื่อบุคคลเพื่อเป็นกรรมการในการประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและซักถามในการประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทน สิทธิในการได้รับเงินปันผล สิทธิในการเลือกตั้งถอดถอน และกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ สิทธิในการแต่งตั้งและกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี สิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในกิจกรรมที่มีนัยสำคัญต่างๆ สิทธิในการจดทะเบียนเป็นเจ้าของหุ้น การเปลี่ยนมือ หรือการโอนสิทธิในหุ้น และสิทธิในการรับทราบข้อมูลข่าวสารที่มีนัยสำคัญอย่างถูกต้อง เพียงพอ ทันเวลา และเท่าเทียมกันโดยบริษัทฯ ได้ส่งเสริมและดูแลปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันดังนี้

  1. สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น

    บริษัทฯ ส่งเสริมผู้ถือหุ้นในฐานะเจ้าของกิจการ ทั้งที่เป็นนักลงทุนทั่วไปและนักลงทุนสถาบันให้ได้เข้าร่วมประชุมและตัดสินใจลงมติในเรื่องสำคัญ รวมถึงรับรู้และตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่ายบริหารเป็นประจำทุกปี โดยคณะกรรมการบริษัทฯ จะกำหนดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชีของบริษัทฯ นอกจากนี้ กรณีที่บริษัทฯ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเสนอขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นเป็นกรณีพิเศษ บริษัทฯ จะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเป็นกรณีไป

  2. สิทธิในการมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทน

    บริษัทฯ ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการมอบฉันทะให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนตนได้ โดยใช้หนังสือมอบฉันทะให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด และให้ผู้รับมอบฉันทะยื่นหนังสือมอบฉันทะต่อประธานกรรมการหรือผู้ที่ประธานกรรมการกำหนดก่อนเข้าประชุม

  3. สิทธิในการได้รับเงินปันผล

    บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรตามงบการเงินรวมหลังหักเงินทุนสำรองตามกฎหมายและเงินสำรองอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดของบริษัทฯ ตามกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและรับเงินปันผล (Record Date) โดยได้ลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับบริษัทฯ เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ นอกเหนือจากวิธีการจ่ายปันผลโดยการออกเช็คให้แก่ผู้ถือหุ้น บริษัทฯยัง ได้เชิญชวนและส่งแบบฟอร์มสมัครใช้บริการโอนเงินปันผลเข้าบัญชีธนาคาร (e-Dividend) เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการรับเงินปันผลในคราวต่อไป

  4. สิทธิในการเลือกตั้ง ถอดถอน และกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ

    บริษัทฯ กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทฯนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเลือกตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลงเนื่องจากครบวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและพิจารณากำหนดค่าตอบแทนกรรมการเป็นประจำทุกปี รายละเอียดปรากฏในโครงสร้างการจัดการ

  5. สิทธิในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทน

    บริษัทฯ กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทฯ นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทนในการสอบบัญชีเป็นประจำทุกปี

  6. สิทธิในการจดทะเบียนเป็นเจ้าของหุ้น การเปลี่ยนมือหรือการโอนสิทธิในหุ้น

    บริษัทฯ มอบหมายให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ทำหน้าที่รับฝากหลักทรัพย์ของบริษัทฯ จัดเก็บและดูแลข้อมูลของผู้ถือหุ้นให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และเป็นผู้ให้บริการแก่ผู้ถือหุ้นที่ถือหลักทรัพย์ของบริษัทฯ เช่น การออกใบหลักทรัพย์ ฝาก/ถอนใบหลักทรัพย์โอน/รับโอนหลักทรัพย์ และการจ่ายสิทธิประโยชน์ต่างๆให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถติดต่อกับ TSD ได้โดยตรงที่TSD Call Center โทร. 0 2009 9999 หรือสมัครใช้บริการInvestor Portal ซึ่งเป็นระบบบริการข้อมูลผู้ถือหุ้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ที่ http://www.set.or.th/tsd/th/investorportal/investorportal.html

  7. สิทธิในการรับทราบข้อมูลข่าวสารที่มีนัยสำคัญของบริษัทฯ อย่างถูกต้อง เพียงพอ และทันเวลา

    บริษัทฯได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศและการปฏิบัติการใดๆที่เกี่ยวข้องของบริษัทจดทะเบียนอย่างถูกต้องครบถ้วนและทันกาล

2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

 

บริษัทฯ ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ถือหุ้นรายย่อยหรือผู้ถือหุ้นสถาบัน เป็นผู้ถือหุ้นชาวไทยหรือผู้ถือหุ้นต่างชาติ ซึ่งสรุปการปฏิบัติที่เป็นสาระสำคัญได้ดังนี้

  1. การเข้าถึงข้อมูลของบริษัท

    บริษัทฯ กำหนดช่องทางเผยแพร่สารสนเทศผ่าน ตลท. เป็นช่องทางหลัก และกำหนดผู้ทำหน้าที่เปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ได้แก่ ประธานกรรมการกรรมการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ นอกจากนี้ยังจัดให้มีช่องทางติดต่อสื่อสารเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ และหน่วยงานที่รับผิดชอบ อาทิ สำนักงานเลขานุการบริษัท ฝ่ายตรวจสอบภายใน ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ และส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นเข้าถึงข้อมูลของบริษัทฯ ได้อย่างเท่าเทียมกัน

  2. การจัดทำเอกสาร 2 ภาษา

    บริษัทฯ จัดทำข้อมูลและเปิดเผยสารสนเทศทุกรายการ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผ่านระบบเผยแพร่สารสนเทศของ ตลท. และเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้าถึงข้อมูลของบริษัทฯ ได้อย่างเท่าเทียมกัน

  3. การส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอเรื่องเพื่อบรรจุในระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้น และ/หรือ เสนอชื่อบุคคลเพื่อเป็นกรรมการ

    บริษัทฯ ได้ประกาศเชิญชวนผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอเรื่องเพื่อบรรจุในระเบียบวาระการประชุม และ/หรือเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้าม เพื่อเข้ารับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการของบริษัทฯ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีเป็นการล่วงหน้า โดยเผยแพร่สารสนเทศผ่านระบบของ ตลท. และเผยแพร่รายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการในการพิจารณา และช่องทางการเสนอเรื่องไว้อย่างชัดเจน ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ

  4. การมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทน

    บริษัทฯ จัดทำหนังสือมอบฉันทะตามที่กำหนดโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ ส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นพร้อมหนังสือเชิญประชุม 3 แบบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกหรือไม่สามารถเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นด้วยตนเองให้สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเข้าประชุมและออกเสียงในที่ประชุมแทนได้ ประกอบด้วย

    แบบ ก. เป็นหนังสือมอบฉันทะแบบทั่วไป

    แบบ ข. เป็นหนังสือมอบฉันทะที่กำหนดรายการต่างๆ ที่จะมอบฉันทะที่ละเอียดชัดเจนตายตัว

    แบบ ค. เป็นหนังสือมอบฉันทะที่ใช้เฉพาะกรณีถือหุ้นเป็นผู้ลงทุนต่างประเทศและแต่งตั้งให้คัสโตเดียน (Custodian) ในประเทศไทยเป็นผู้รับฝากและดูแลหุ้น

    ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นสามารถดาวน์โหลดหนังสือมอบฉันทะทั้ง 3 แบบ จากเว็บไซต์ของบริษัทฯ ได้อีกช่องทางหนึ่ง หรือผู้ถือหุ้นจะพิจารณาใช้หนังสือมอบฉันทะแบบอื่น หรือจัดทำขึ้นเองตามความสะดวกและเห็นสมควรก็ได้

    นอกจากนี้ บริษัทฯได้เสนอชื่อกรรมการอิสระ 3 คน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมข้อมูลระบุการมีหรือไม่มีส่วนได้เสียของแต่ละคนในเรื่องที่บรรจุไว้ในระเบียบวาระการประชุม เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ถือหุ้นพิจารณามอบฉันทะให้เข้าประชุมและออกเสียงแทนได้

  5. การใช้บัตรลงคะแนนเสียง

    บริษัทฯ กำหนดให้ใช้บัตรลงคะแนนเสียงในการออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้นสำหรับผู้เข้าประชุมทุกราย โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยอำนวยความสะดวกในการประมวลผลการลงคะแนนเสียงและมีที่ปรึกษากฎหมายซึ่งเป็นคนกลางร่วมตรวจสอบความถูกต้อง โดยระเบียบวาระการเลือกตั้งกรรมการได้แยกการลงคะแนนเสียงเป็นรายบุคคล และเก็บบัตรลงคะแนนเสียงทุกใบไว้ตรวจสอบและอ้างอิง เพื่อความถูกต้องและโปร่งใส

  6. การเพิ่มเรื่องเพื่อบรรจุในระเบียบวาระ การประชุม

    ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี ไม่มีการบรรจุเรื่องเพิ่มเติมในระเบียบวาระ เนื่องจากคณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ว่า ผู้ถือหุ้นต้องมีเวลาเพียงพอในการศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ จึงยึดถือหลักการที่จะไม่มีการเสนอเรื่องใดๆ ที่ไม่ได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระการประชุมเพิ่มเติมจากที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุม หากผู้ถือหุ้นมีความจำเป็นก็สามารถเสนอในระเบียบวาระเรื่องอื่นๆ เพื่อพิจารณาได้โดยปฏิบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับบริษัทฯ

  7. การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน

    บริษัทฯ ได้ดูแลและป้องกันการใช้ข้อมูลภายในตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้กำหนดนโยบาย แนวทางในการเก็บรักษาและป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่นในทางมิชอบไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในจรรยาบรรณระเบียบ คำสั่ง และประกาศของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสีย ได้รับทราบและถือปฏิบัติ โดยได้ส่งมอบให้แก่กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานลงนามรับทราบเมื่อแรกเข้าทำงานหรือวันปฐมนิเทศ รวมทั้งการทบทวนและปรับปรุงแนวปฏิบัติ โดยภาพรวมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผ่านทางคณะทำงานการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม และคณะกรรมการบริษัทฯ นอกเหนือจากการพิจารณา และกำกับดูแลภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบ ผ่านหน่วยงานตรวจสอบภายในรวมทั้งคณะทำงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย โดยบริษัทฯ ได้เผยแพร่นโยบาย แนวปฏิบัติ และมาตรการห้องกันการใช้ข้อมูลภายในที่สำคัญของบริษัท ผ่านระบบสื่อสารภายในและเว็ปไซด์ของบริษัทฯ

นโยบายป้องกันการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้ในทางมิชอบ

นโยบายการใช้งานระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

3. บทบาทเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสีย

 

นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสีย

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ทั้งมีการทบทวน และปรับปรุงจรรยาบรรณบริษัทฯ เพื่อใช้เป็นกรอบข้อพึงปฏิบัติสำหรับการทำงานของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มตามหลักการส่งเสริมและกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่าสิทธิตามกฎหมายของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ อาทิ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ พันธมิตร คู่แข่ง ภาครัฐ และชุมชน ที่บริษัทฯตั้งอยู่ได้รับการคุ้มครองและปฏิบัติด้วยดี โดยได้ประกาศและเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบอย่างทั่วถึงผ่านช่องทางต่างๆ และเว็บไซต์ของบริษัทฯ สรุปได้ดังนี้

การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น

  • ดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความเติบโต ผลกำไร และผลตอบแทนที่ดีต่อผู้ถือหุ้น
  • ดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ ซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน
  • เคารพสิทธิในการรับทราบข้อมูลข่าวสาร และเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ เท่าเทียม และทั่วถึง
  • ติดตามกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบาย และจรรยาบรรณเกี่ยวกับผู้ถือหุ้น ในการได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน การได้รับข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ การส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ แสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะและติดตามการปฏิบัติของคณะกรรมการ และฝ่ายบริหาร และจัดให้มีมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน เพื่อประโยชน์ส่วนตนของกรรมการและผู้บริหาร และการไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดหรือลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้น

การปฏิบัติต่อพนักงาน

  • ส่งเสริมคุณภาพชีวิต จัดให้มีสภาพแวดล้อมการทำงาน อาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานที่ดี
  • ให้ความสำคัญกับการบริหารและพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
  • บริหารจัดการระบบค่าตอบแทนและสวัสดิการอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมเทียบเคียงกับบริษัทชั้นนำทั่วไป
  • แต่งตั้ง โยกย้าย ให้รางวัล และลงโทษด้วยความเสมอภาค เที่ยงธรรม
  • พนักงานสามารถร้องเรียนในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามระบบและกระบวนการที่กำหนด
  • ติดตาม กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

การปฏิบัติต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และให้ความสำคัญในการสื่อสาร
  • สนับสนุนการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
  • ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และพัฒนาคุณภาพสังคม
  • สนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อชุมชนสังคม และสิ่งแวดล้อม

การปฏิบัติต่อลูกค้า

  • ผลิต ส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบต่อลูกค้า
  • รับประกันสินค้าและบริการภายใต้เงื่อนไข ในเวลาที่เหมาะสม
  • เปิดเผยข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างครบถ้วน ถูกต้อง
  • จัดระบบ และกระบวนการให้ลูกค้าสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าและบริการ โดยดำเนินการอย่างดีที่สุด
  • ผู้บริหารและพนักงานทุกคนต้องรักษาความลับของลูกค้า
  • ไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการค้ากับลูกค้า รวมทั้งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการ ค้าอย่างเคร่งครัด

การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้

  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด
  • ไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆที่ไม่สุจริตในการค้ากับเจ้าหนี้
  • ให้ความร่วมมืออย่างจริงจังในการแก้ปัญหาการเรียก รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ที่ไม่สุจริต ในการค้ากับเจ้าหนี้
  • รายงานข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตรงเวลา และสม่ำเสมอ
  • แจ้งให้ทราบล่วงหน้า กรณีบริษัทฯ ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข

การปฏิบัติต่อคู่ค้า/ผู้จัดหาสินค้า

  • ยึดหลักประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง
  • ให้โอกาสแก่คู่ค้าหรือผู้จัดหาสินค้าอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
  • มีหลักเกณฑ์การประเมิน คัดเลือกคู่ค้า และรูปแบบสัญญาที่เหมาะสมเป็นสากล
  • มีระบบการจัดการและการติดตามการปฏิบัติตามสัญญาและเงื่อนไขอย่างครบถ้วน
  • ไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการค้ากับคู่ค้าของบริษัทฯ
  • แจ้งให้ทราบล่วงหน้ากรณีบริษัทฯ ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข

การปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า

  • ปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาและหลักสากลของการแข่งขันที่ดี
  • ไม่แสวงหาข้อมูลความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม
  • ไม่กล่าวหาในทางร้ายต่อคู่แข่งทางการค้าโดยปราศจากมูลความจริง
  • ไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการค้ากับคู่แข่งทางการค้า
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางการค้าอย่างเคร่งครัด

การปฏิบัติต่อพันธมิตรทางธุรกิจ

  • ปฏิบัติตามข้อตกลงและพันธสัญญาอย่างเคร่งครัด
  • ให้ความช่วยเหลือทางธุรกิจในลักษณะที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยคำนึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และอยู่บนพื้นฐานผลตอบแทนที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย
  • ให้ข้อมูลที่เป็นจริง รายงานที่ถูกต้อง การเจรจาแก้ปัญหาตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ทางธุรกิจ

การปฏิบัติต่อภาครัฐ

  • สนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ และปฏิบัติตามนโยบายและหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ

ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดจรรยาบรรณจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบบริษัทฯ หรืออาจได้รับโทษตามกฎหมายด้วย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

4. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

 
  1. คณะกรรมการ

    • องค์ประกอบและคุณสมบัติ

      องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ

      • กรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน และไม่เกินกว่า 15 คน แต่งตั้งโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการ
      • กรรมการที่เป็นผู้บริหารมีได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด
      • กรรมการอิสระมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดและอย่างน้อย 3 คน
      • กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
      • ประธานกรรมการต้องเป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร และไม่ใช่บุคคลเดียวกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุด

      คุณสมบัติของกรรมการ

      • อายุไม่เกินเจ็ดสิบสองปีบริบูรณ์
      • ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือ เสมือนไร้ความสามารถ
      • ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระทำโดยทุจริต
      • ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออก หรือปลดออกจากราชการหรือองค์กร หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน ฐานทุจริตต่อหน้าที่
      • ไม่เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของหน่วยงานอื่น
      • ไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหาร ท้องถิ่น
      • มีคุณวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานหรือคุณสมบัติอื่นตามที่บริษัทฯ กำหนด
      • ต้องอุทิศเวลาอย่างเพียงพอและทุ่มเทความสามารถอย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ โดยถือเป็น หน้าที่และต้องพร้อมที่จะเข้าร่วมการประชุมของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ
      • ไม่ดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนเกินกว่า 3 แห่ง
      • ไม่กระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใดๆ ในบริษัทฯ ในลักษณะที่มีผลบั่นทอน ผลประโยชน์ของบริษัทฯ หรือเอื้อประโยชน์ให้บุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น
    • ความเป็นอิสระของประธานกรรมการ

      ประธานกรรมการเป็นกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร แม้ว่าประธานกรรมการจะเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือ กฟผ. ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 45 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทฯ ปัจจุบัน คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วย กรรมการอิสระจำนวน 6 คน จากกรรมการทั้งหมดจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงสามารถมั่นใจได้ว่ากรรมการได้มีการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนผู้ถือหุ้น มีการถ่วงดุลและสอบทานที่เหมาะสม ประธานกรรมการได้ปฏิบัติหน้าที่การเป็นประธานอย่างเป็นอิสระไม่ครอบงำหรือชี้นำความคิดในระหว่างการอภิปราย และส่งเสริมให้กรรมการทุกคนได้มีโอกาสร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดยให้เวลาอย่างเพียงพอและเหมาะสมเพื่อพิจารณาตัดสินใจเรื่องต่างๆ อย่างรอบคอบ ครบถ้วน เพียงพอ และเกิดประโยชน์ต่อบริษัทฯ

    • การแยกตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่

      ประธานกรรมการบริษัทฯ ไม่ใช่บุคคลเดียวกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ และไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกับฝ่ายบริหาร มีการแบ่งแยกตำแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ออกจากกัน ก่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจที่เหมาะสม ไม่ให้คนใดคนหนึ่งมีอำนาจโดยไม่จำกัด และมีการกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยประธานกรรมการเป็นผู้นำและมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเรื่องนโยบายของบริษัทฯ อันเป็นผลมาจากการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ที่ได้พิจารณาทบทวน และกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจร่วมกับฝ่ายบริหาร เป็นผู้นำประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยการสนับสนุนให้กรรมการทุกคนได้มีส่วนร่วมในการประชุมและแสดงความเห็นอย่างเป็นอิสระ ให้การสนับสนุนและให้คำแนะนำในการดำเนินธุรกิจต่อฝ่ายบริหารผ่านทางกรรมการผู้จัดการใหญ่อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ก้าวก่ายในงานประจำอันเป็นภาระความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร ในขณะที่กรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นกรรมการที่เป็นผู้บริหารเพียงคนเดียวของบริษัทฯและเป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดของฝ่ายบริหารของบริษัทฯ มีอำนาจหน้าที่ดังรายละเอียดในโครงสร้างการจัดการ

    • การดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่น

      กรรมการของบริษัทฯ ไม่มีรายใดที่ดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนเกินกว่า 3 แห่ง ซึ่งสอดคล้องกับระเบียบบริษัทฯ ว่าด้วยคณะกรรมการบริษัทฯ และข้อเสนอแนะของ ตลท. ในการพิจารณาประสิทธิภาพและการอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการของบริษัทฯ

      กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไม่ได้เป็นกรรมการในบริษัทอื่นที่นอกเหนือจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมทุนของบริษัทฯ ส่วนกรรมการและผู้บริหารรายอื่นของบริษัทฯ นั้น คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบการเป็นกรรมการและผู้บริหารในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมทุนของบริษัทฯ ซึ่งสอดคล้องกับความรู้ความสามารถ ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ และการจัดสรรเวลาอย่างเหมาะสม

      คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การกำกับดูแลบริษัทย่อย บริษัทในเครือ และบริษัทร่วมทุนประกอบด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและหน้าที่ของผู้แทนของบริษัทฯ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นในกิจการที่บริษัทฯ เข้าลงทุนไว้อย่างชัดเจน เพื่อถ่ายทอดนโยบายของคณะกรรมการบริษัทฯ และรายงานการดำเนินงานของกิจการเหล่านั้น

    • การสรรหากรรมการ

      บริษัทฯ มีกระบวนการสรรหาและหลักเกณฑ์การเลือกตั้งกรรมการ โดยคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน จะทำหน้าที่ในการพิจารณาสรรหา กลั่นกรอง และคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอชื่อเป็นกรรมการและกรรมการอิสระ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติที่สอดคล้องตามที่กฎหมาย และระเบียบบริษัทฯ กำหนดความรู้ความสามารถเฉพาะทางที่มีความหลากหลาย ทักษะและประสบการณ์ในการทำงานที่จำเป็น และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับพันธกิจและเป้าหมายของบริษัทฯ

      ไม่จำกัดเพศไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนดและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่เกี่ยวข้อง และต้องพร้อมที่จะอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการอย่างเต็มที่เพื่อที่จะส่งเสริมสนับสนุน และผลักดันการทำงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ตามโครงสร้างที่คณะกรรมการบริษัทฯได้กำหนดไว้ให้มีความสมบูรณ์และมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

    • เลขานุการคณะกรรมการและเลขานุการบริษัท

      เลขานุการคณะกรรมการ

      กรรมการผู้จัดการใหญ่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการ โดยมีส่วนงานเลขานุการคณะกรรมการ สังกัดสำนักงานเลขานุการบริษัท รับผิดชอบงานประชุม งานอำนวยการ และการประสานงานกิจการต่างๆ ของคณะกรรมการบริษัทฯ

      เลขานุการบริษัท

      เลขานุการบริษัท ได้รับแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัทฯ ให้มีหน้าที่รับผิดชอบตามข้อกำหนดแห่งพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้คำแนะนำเบื้องต้นด้านกฎหมาย และกฎเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการจัดการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทย่อย คณะกรรมการชุดย่อยของบริษัทฯ การประชุมผู้ถือหุ้น และการดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อให้การประชุมและการดำเนินกิจกรรมของคณะกรรมการบริษัทฯมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ การประสานงานให้มีการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ และมติที่ประชุมผู้ถือห้นุ การดูแลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ถือหุ้น การดูแลเปิดเผยข้อมูล การเปิดเผยรายงานประจำปี (แบบ 56-2) และการรายงานสารสนเทศของบริษัทฯ รวมถึงการจัดทำ และเก็บรักษาเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น หนังสือเชิญประชุมและรายงานการประชุมของคณะกรรมการ หนังสือเชิญประชุมและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น รายงานประจำปี

      ทะเบียนกรรมการ และรายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการและผู้บริหาร เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในหมวดความรับผิดชอบของคณะกรรมการ กฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด ข้อบังคับบริษัทฯ ระเบียบบริษัทฯ นโยบายบริษัทฯ ระเบียบและข้อพึงปฏิบัติต่างๆของหน่วยงานกำกับดูแลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อกำหนดแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

      นอกจากนี้ เลขานุการบริษัท ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีหน้าที่ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการบริษัทฯ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมทั้งรับผิดชอบงานการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ผ่านทางส่วนกำกับการปฏิบัติงานและหลักทรัพย์ (Compliance) สังกัดสำนักงานเลขานุการบริษัท

  2. คณะกรรมการชุดย่อย

    คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยจำนวน 5 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการกลั่นกรองการลงทุน และคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพิจารณาตามความเหมาะสมและความจำเป็นเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระในการศึกษารายละเอียดและพิจารณากลั่นกรองเรื่องต่างๆ เป็นการเฉพาะ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ

    คณะกรรมการบริษัท

  3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ

    คณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ โดยยึดถือความเป็นอิสระในการตัดสินใจ เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบในการกำกับดูแลการบริหารกิจการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น (Fiduciary Duty)

    ตัวอย่าง การ กำกับ ดูแลกิจการ

    คณะกรรมการ มีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ โดยสรุปดังนี้

    • พิจารณากำหนด ทบทวน และอนุมัติ กลยุทธ์แผนธุรกิจ นโยบาย งบประมาณ ทิศทางการดำเนินธุรกิจ และการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ร่วมกับฝ่ายบริหารเป็นประจำทุกปี
    • พิจารณาและอนุมัติกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล แผนพัฒนาผู้บริหาร โครงสร้างองค์กร โครงสร้าง ค่าตอบแทน และแผนค่าตอบแทน
    • กำกับดูแลหลักเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการสรรหาถอดถอน และเลิกจ้างกรรมการและผู้บริหารระดับสูง
    • กำกับดูแลกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงให้มีประสิทธิผล โดยเปรียบเทียบกับ เป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน
    • กำหนดให้มีการสื่อสารวิสัยทัศน์ เป้าหมายและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน ทราบและเข้าใจทั่วทั้งองค์กร
    • ติดตามความก้าวหน้า ประสิทธิภาพ และผลสำเร็จการดำเนินงานตามกลยุทธ์ เปรียบเทียบกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว เปรียบเทียบประสิทธิภาพผลการดำเนินงานกับคู่แข่งขันอื่น และเปิดเผยผลการปฏิบัติและการกำกับดูแลกิจการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีไว้ในรายงานประจำปี และให้ฝ่ายบริหารนำเสนอรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำ
    • ดูแลความครบถ้วนสมบูรณ์ในเรื่องสำคัญต่างๆ ได้แก่ ดูแลสัดส่วนกรรมการอิสระให้มีความเหมาะสมเพื่อถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหาร และ/หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ทบทวนและอนุมัติวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ภารกิจ จรรยาบรรณและสื่อสารให้บุคลากรทุกระดับได้ทราบและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ตรวจสอบและอนุมัติรายงานทางการเงินประจำปี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น ดูแลกระบวนการตรวจสอบภายใน ระบบการควบคุมภายใน และการบริหารจัดการความเสี่ยง การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การทำรายการระหว่างกิจการที่เกี่ยวโยงกัน การปกป้องชื่อเสียงของบริษัทฯ และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ควบคู่ไปกับการกำกับและติดตามให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ข้อบังคับ จรรยาบรรณและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่องจริงจัง
    • จัดตั้งและอนุมัติการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อยของบริษัทฯ ตามความเหมาะสมและจำเป็น
    • กำหนดหลักเกณฑ์และประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อยทั้งคณะและรายบุคคลเป็นประจำทุกปี และเปิดเผยผลการปฏิบัติงานไว้ในรายงานประจำปี
  4. การประชุมและการออกเสียงของคณะกรรมการ
    • กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยเดือนละครั้ง และให้มีการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารอย่างน้อยปีละครั้ง รวมถึงการอภิปรายปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการที่สำคัญโดยไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมด้วย โดยแจ้งให้กรรมการผู้จัดการใหญ่รับทราบผลการประชุมและนำมาปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    • การงดเว้นการเข้าร่วมการประชุมและงดออกเสียงในระเบียบวาระที่ตนเองมีส่วนได้เสีย
    • กำหนดให้กรรมการมีหนึ่งเสียงต่อหนึ่งคนในการลงคะแนน กรรมการที่มีส่วนได้เสีย ในเรื่องใดไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น กรณีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมออกเสียงอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
  5. การประชุมคณะกรรมการ
    • หลักการและแนวทางของการประชุมคณะกรรมการ

      คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย เป็นการ ล่วงหน้าทั้งปี โดยกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ของทุกวันจันทร์ที่สามของเดือน

    • กำหนดการประชุม การจัดทำระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการประชุมประจำปี

      คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย เป็นการ ล่วงหน้าทั้งปี โดยกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ของทุกวันจันทร์ที่สามของเดือน

      คณะกรรมการชุดย่อยกำหนดการประชุมตามภารกิจของแต่ละคณะ และแจ้งกำหนดการดังกล่าวให้กรรมการแต่ละคนรับทราบ และวางแผนการประชุมได้ล่วงหน้า ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่จะร่วมกันพิจารณาเรื่องที่จะบรรจุไว้ในระเบียบวาระการประชุม และแจ้งให้กรรมการทราบล่วงหน้า พร้อมกับหนังสือเชิญประชุม โดยกรรมการมีความเป็นอิสระที่จะเสนอเรื่องเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมได้โดยแจ้งล่วงหน้า 10 วันก่อนถึงวันประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และในกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วนฉุกเฉินในเหตุการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อบริษัทฯทั้งทางตรงและทางอ้อม กรรมการมีอิสระที่จะเสนอเรื่องพิจารณาหรือแจ้งเพื่อทราบในการพิจารณาเรื่องอื่นๆ ได้ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ

      หนังสือเชิญประชุมและระเบียบวาระการประชุมพร้อมเอกสารประกอบ จัดส่งให้กรรมการแต่ละคนล่วงหน้าก่อน การประชุมเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการศึกษาข้อมูลก่อนการประชุม และกรรมการสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากกรรมการผู้จัดการใหญ่และสำนักงานเลขานุการบริษัทได้ สำหรับคณะกรรมการชุดย่อยสามารถสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภารกิจเพิ่มเติมได้จากกรรมการผู้จัดการใหญ่และผ่านทางเลขานุการคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละคณะ

    • บทบาทของประธานกรรมการ กรรมการ ฝ่ายบริหารและบรรยากาศในการประชุม
      • ประธานกรรมการ เป็นผู้นำประชุม กำกับดูแลให้มีองค์ประชุมในขณะลงมติครบทั้งจำนวน หรือร้อยละ 100 (ซึ่งมากกว่าจำนวน 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่เข้าร่วมการประชุม) จัดสรรเวลาให้กรรมการได้อภิปรายและแสดงความคิดเห็นอย่างเพียงพอเหมาะสม เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมและกระตุ้นให้กรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการอภิปรายและแสดงความคิดเห็นอย่างรอบด้านและทั่วถึงและสรุปมติที่ประชุม
      • กรรมการ ร่วมแสดงความคิดเห็นจากการศึกษาข้อมูลที่ฝ่ายบริหารจัดทำเสนอ และข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นอื่นๆ ร่วมอภิปรายอย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงประโยชน์ ผลกระทบและปัจจัยเสี่ยง ทั้งต่อบริษัทฯ ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกด้านอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้มติจากที่ประชุมอย่างเหมาะสมและครบถ้วน อุทิศเวลาและความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ให้กับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ในฐานะกรรมการบริษัทจดทะเบียน
      • ฝ่ายบริหาร ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจำเป็นอย่างถูกต้อง เพียงพอ ครบถ้วน ทันเหตุการณ์ เพื่อประกอบ การพิจารณาของคณะกรรมการบริษัทฯ และนำเสนอข้อมูลเป็นการล่วงหน้า เพื่อให้กรรมการมีเวลาเพียงพอที่จะศึกษาข้อมูลล่วงหน้าอย่างเหมาะสม เสนอแนวทางเลือกต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และให้ข้อมูลหรือชี้แจงเพิ่มเติมในประเด็นที่มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯและกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงของทุกสายงานเข้าร่วมประชุม รวมทั้งเชิญผู้บริหารอื่น และ/หรือที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมชี้แจงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง
      • บรรยากาศในการประชุมและการแสดงความคิดเห็น บริษัทฯ จัดเตรียมอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการประชุมอย่างเหมาะสมและเพียงพอ บรรยากาศในการประชุมมีการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้กรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการอภิปรายและแสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์ และคำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างรอบคอบ ระยะเวลาในการประชุมมีความเหมาะสมเฉลี่ยครั้งละประมาณ 2 ชั่วโมงถึง 2 ชั่วโมงครึ่ง
      • การดำเนินการประชุม โดยทั่วไปในการพิจารณาเรื่องแต่ละระเบียบวาระ ฝ่ายบริหารจะนำเสนอความเป็นมาหลักการและเหตุผล ความจำเป็น คำชี้แจง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการตัดสินใจและข้อเสนอของฝ่ายบริหารหลังจากนั้นประธานกรรมการจะให้เวลาที่ประชุมอภิปรายประเด็นที่เกี่ยวข้องจนครบถ้วนและทั่วถึง มีการกระตุ้นให้กรรมการทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และซักถามประเด็น สำคัญ เพื่อให้ฝ่ายบริหารชี้แจงเพิ่มเติมก่อนทำการตัดสินใจสรุปมติที่ประชุม
      • กรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น (อ้างอิงการมีส่วนได้เสียจากรายงานที่กรรมการและผู้บริหารแจ้งการมีส่วนได้เสียของตน และผู้ที่เกี่ยวข้องไว้ที่เลขานุการบริษัท) ซึ่งมีการถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในเรื่องดังกล่าวในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มาโดยตลอด
      • การพิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันและรายการที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์ จะคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นโดยรวมเป็นสำคัญ มีการพิจารณาความจำเป็นและความสมเหตุสมผลเปรียบเทียบได้กับการเข้าทำรายการในลักษณะเดียวกันโดยทั่วไป ให้ความสำคัญกับขั้นตอนการดำเนินการ และการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
      • เลขานุการบริษัท มีหน้าที่ให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่ฝ่ายบริหารและคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อให้การปฏิบัติ ของคณะกรรมการบริษัทฯและบริษัทฯ สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเปิดเผยสารสนเทศการทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ และรายการที่เกี่ยวโยงกัน รวมถึงการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • การจัดทำและจัดเก็บรายงานการประชุม
      • สำนักงานเลขานุการบริษัท รับผิดชอบการจดบันทึก จัดทำและเก็บรักษารายงาน การประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ
      • รายงานการประชุม จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรมีสาระสำคัญครบถ้วน อาทิ วันเวลาเริ่มและเลิกประชุม สถานที่ประชุม ชื่อกรรมการและผู้บริหารที่เข้าประชุม ชื่อกรรมการที่ไม่มาประชุม สรุปสาระสำคัญของเรื่องที่เสนอต่อที่ประชุม สรุปประเด็นสำคัญที่มีการอภิปราย ความเห็นและข้อสังเกตของกรรมการและมติที่ประชุม พร้อมทั้งมีการลงชื่อผู้บันทึกและประธานที่ประชุม การจัดทำร่างรายงาน การประชุมแล้วเสร็จภายในเวลาประมาณ 3 วันหลังวันประชุม และนำเสนอกรรมการทุกคน เพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุง และหากไม่มีการแจ้งแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลา 7 วัน ให้ถือว่ารายงานการประชุมฉบับดังกล่าวได้รับการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการบริษัทฯ และนำเสนอประธานที่ประชุมเพื่อลงนามรับรอง ก่อนจัดส่งสำเนาให้กรรมการทุกคนเพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิง นอกจากนี้ยังได้นำรายงานดังกล่าวบรรจุไว้เป็นระเบียบวาระเพื่อพิจารณารับรองอย่างเป็นทางการอีกครั้งในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในคราวต่อไปด้วย
        สำหรับระบบการบริหารจัดการและการจัดเก็บเอกสารสำคัญของบริษัทฯ เช่น เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะกรรมการ และการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ มีระบบการจัดเก็บ ทั้งในรูปแบบเอกสาร และระบบข้อมูล E-document เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการและการใช้งาน และมีการรายงานสถานที่จัดเก็บเอกสารตามข้อกำหนดของ ก.ล.ต. นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีระบบป้องกันความปลอดภัยของเอกสารอย่างรัดกุม และเป็นระบบ เช่น การกำหนดผู้รับผิดชอบในการเข้าถึงเอกสารสำคัญแต่ละประเภทตามนโยบายการจัดการข้อมูลลับของบริษัทฯ การกำหนดรหัสผู้ใช้งาน การจำกัดผู้เข้าร่วมการประชุม รวมทั้งมีระบบสำรองข้อมูลกลางอัตโนมัติไว้ที่สำนักงานกลาง และสำนักงานย่อย เพื่อรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอีกด้วย
      • การถ่ายทอดมติที่ประชุม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษั ทฯ เป็นลายลักษณ์อักษรไปยังผู้บริหารของสายงาน เพื่อรับทราบ และ/หรือดำเนินการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการรวมทั้งการติดตามและรายงานความก้าวหน้าการปฏิบัติต่อคณะกรรมการบริษัทฯ
  6. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
    • การประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย

      คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาทบทวนและอนุมัติการปรับปรุงแบบประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อยทั้งคณะ และรายบุคคล ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดตอบแทน และได้ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเอง (Self Assessment) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการประเมินข้อสังเกต และข้อเสนอแนะต่างๆ ไปพิจารณาทบทวนและปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อยทั้งคณะตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
      บริษัทฯ กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในเดือนธันวาคม โดยให้มีการประเมินทั้งแบบรายคณะและรายบุคคล เพื่อให้คณะกรรมการร่วมกันพิจารณาผลงานและปรับปรุงแก้ไข และเปิดเผยหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และผลการประเมินในภาพรวมไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ

      ทั้งนี้ บริษัทฯ จะนำผลการประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อยดังกล่าว ไปพิจารณาปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของทั้งคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อยทั้งคณะและเพื่อการพัฒนากรรมการรายบุคคล ให้มีความสอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อไป

    • การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูง

      คณะกรรมการบริษัทฯ โดยการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน ได้ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงทุกปีโดยใช้เกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ได้ทำความตกลงร่วมกันไว้ตั้งแต่ต้นปี แบ่งเกณฑ์วัดผลเป็น 2 ด้าน คือ

      1. การประเมินผลการดำเนินงานด้านเป้าหมายขององค์กรทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ได้แก่ การเพิ่มกำลังการผลิต (Capacity Target Including Equivalent Capacity) การขยายธุรกิจสู่ธุรกิจใหม่ (New Business or Start Up Project) การสร้างผลกำไร (Net Profit Before FX and Special Items) การบริหารอัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio) การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Awards Score) การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization) และความผูกพันของพนักงาน (Engagement)
      2. การประเมินผลการดำเนินงานด้านการปฏิบัติงานตามสายงานเพื่อเพิ่มมูลค่ากิจการหรือสนับสนุนเป้าหมายองค์กร

      นอกจากนี้ ยังมีการประเมินด้านศักยภาพและการบริหาร ได้แก่ ความเป็นผู้นำ การกำหนดและการปฏิบัติตามกลยุทธ์ การวางแผนและผลปฏิบัติทางการเงินการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ ความรู้ความเข้าใจในธุรกิจและคุณลักษณะส่วนตัวสำหรับกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหาร โดยบริษัทฯ ได้นำผลการประเมินไปประกอบการพิจารณากำหนดค่าตอบแทน การปรับเปลี่ยนหมุนเวียนผู้บริหารและการพัฒนาความรู้ความสามารถและศักยภาพของผู้บริหารระดับสูงให้มีความสอดคล้องกับบริบทของบริษัทฯ ทั้งด้านผลประกอบการ ผลการปฏิบัติงาน และแผนการสืบทอดตำแหน่ง เป็นต้น

  7. การปฐมนิเทศกรรมการใหม่และการพัฒนากรรมการและผู้บริหาร

    กรรมการที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ จะได้รับการปฐมนิเทศและ/หรือรับฟังการบรรยายสรุปโดยกรรมการผู้จัดการใหญ่เกี่ยวกับลักษณะธุรกิจ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการชุดย่อย โครงสร้างการลงทุน โครงสร้างองค์กร ผลการดำเนินงานทางการเงิน โครงการและสินทรัพย์ที่บริษัทฯ เข้าลงทุน และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ระเบียบข้อบังคับ นโยบาย จรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัทฯ ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของกรรมการ รายงานประจำปี และรายงานความยั่งยืน รวมทั้งคู่มือกรรมการบริษัทจดทะเบียน และข้อมูลการปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อกำหนด (Compliance Database) ของหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน พร้อมเอกสารประกอบที่ครอบคลุมเรื่องต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นซึ่งเป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการในการเตรียมความพร้อมทำหน้าที่ในฐานะกรรมการบริษัทฯ ต่อไป

    การพัฒนากรรมการ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ รวมทั้งส่งเสริมทักษะ ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการบริษัทจดทะเบียนอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการอบรมและสัมมนาในหลักสูตรต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะที่สำคัญสำหรับคณะกรรมการบริษัทฯ ที่จัดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถาบันวิทยาการพลังงาน และการจัดสัมมนาและศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ที่จะนำมาต่อยอดและพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯในอนาคต เป็นต้น

    นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ส่งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการ ปฏิบัติงานด้านเลขานุการบริษัท การกำกับดูแลกิจการที่ดีการตรวจสอบภายใน การดำเนินการด้านการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้องที่จัดโดยหน่วยงานและสถาบันต่างๆ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบและช่วยสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  8. แผนสืบทอดตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง

    การสืบทอดตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นไปตามนโยบายของผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ กฟผ. ที่จะพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารของ กฟผ. ที่มีคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถเหมาะสมและเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบกิจการของบริษัทฯเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ผ่านคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน พิจารณา และแต่งตั้งตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมายให้คณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน มีหน้าที่ในการกำหนดและจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ

    สำหรับแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารในระดับอื่นๆ บริษัทฯ ได้จัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ในทุกตำแหน่งงาน ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาระบบสมรรถนะความสามารถ (Competency Model) โดยได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์สมรรถนะ (Competency) และคุณสมบัติที่คาดหวังสำหรับตำแหน่งต่างๆ เพื่อทำการพัฒนาบุคลากรและสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและสอดคล้องกับการพิจารณาเลื่อน ลดปลด ย้าย และเตรียมบุคลากรให้พร้อมรองรับการขยายงานของบริษัทฯ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจของบริษัทฯ

  9. การรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหาร

    คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ ต้องจัดทำรายงานการมีส่วนได้เสียของตนและบุคคลที่เกี่ยวข้องครั้งแรกในวันที่เริ่มดำรงตำแหน่งตามรายละเอียดใน "แบบรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหาร" ส่งให้เลขานุการบริษัทจัดเก็บ และจัดส่งสำเนาให้ประธานกรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ หลังจากนั้นให้มีการรายงานเป็นประจำทุกปีและรายงานเพิ่มเติมทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ข้อมูลการมีส่วนได้เสียเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ สำหรับเป็นข้อมูลแก่คณะกรรมการบริษัทฯ ในการพิจารณาผู้มีส่วนได้เสียซึ่งไม่มีสิทธิออกเสียงในการทำธุรกรรมของบริษัทฯ ที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และสามารถช่วยให้ตัดสินเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ โดยรวมได้อย่างเหมาะสมและโปร่งใส

  10. การทำรายการที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์

    คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางในการจัดการเรื่องการมีส่วนได้เสียอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ไว้ในระเบียบบริษัทฯ ว่าด้วยคณะกรรมการบริษัทฯ ว่า ในการออกเสียงในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ “กรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องใดไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น” โดยได้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเสมอมา ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการกำหนดมาตรการในการจัดการและป้องกันความขัดแย้งของผลประโยชน์ รวมถึงการกำกับดูแลการดำเนินการต่างๆเป็นไปด้วยความสมเหตุสมผล รวมทั้งการปฏิบัติและการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์โดยรวมของบริษัทฯคณะกรรมการบริษัทฯ โดยการพิจารณากลั่นกรองและเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบได้กำกับดูแลการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ และบริษัทย่อยให้เป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อย โดยให้มีการเปิดเผยการเข้าทำรายการอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

    ทั้งนี้ ไม่ปรากฎมีกรรมการหรือผู้บริหารที่ทำรายการที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ยกเว้นการ ทำรายการกับ กฟผ. ซึ่งได้เปิดเผยไว้ในรายการระหว่างกัน ทั้งนี้ กรรมการผู้แทน กฟผ. ถือเป็นกรรมการที่มีส่วนได้เสียไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาและออกเสียงในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อทำรายการดังกล่าว

  11. การประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร

    คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้ฝ่ายบริหารเสนอ การทำประกันความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร (Directors and Officers Liability Insurance หรือ D&O) ให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเงื่อนไขการรับประกัน วงเงินประกัน และค่าเบี้ยประกันเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ ความคุ้มครองกรรมการและผู้บริหารกรณีมีการฟ้องร้องเรียก ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและ เจ้าหน้าที่บริหารตามตำแหน่งนั้นๆ ภายใต้อำนาจหน้าที่โดยชอบ เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวทางธุรกิจของบริษัทที่มี ความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้บริษัทมีการเข้าทำธุรกรรม ทางธุรกิจจำนวนมากและมีความเกี่ยวพันกับการพิจารณา อนุมัติ การให้ความเห็น การเข้ารับรองและผูกพันแทนบริษัท ตามภาระหน้าที่ของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร ในธุรกรรมต่างๆ โดยบางกรณีอาจมีความเสี่ยงต่อการเรียกร้อง จากบุคคลภายนอก รวมทั้ง ผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เกี่ยวกับความรับผิดของกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหาร อันสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ ยกเว้นการกระทำที่เป็นการฉ้อฉลหรือทุจริตบริษัทไม่ต้อง รับผิดชอบความสูญเสีย และให้เรียกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ทั้งหมดในการต่อสู้คดีคืนจากกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหาร ที่ฉ้อฉลหรือทุจริต

5. จรรยาบรรณบริษัท

 

บริษัทได้มีการพิจารณา ทบทวน ปรับปรุง และติดตามการดำเนินงานตามกฎเกณฑ์ ระเบียบ และ แนวปฏิบัติต่างๆ ของบริษัทให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและครอบคลุมกระบวนการทำงาน ในภาพรวมทั้งระบบ เพื่อให้เป็นไปตามกรอบการปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น และสอดคล้องกับจรรยาบรรณบริษัท ที่คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายและใช้เป็นกรอบพฤติกรรมที่พึงประสงค์สำหรับ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินกิจการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของกลุ่มบริษัท เพื่อให้นักลงทุนและผู้มี ส่วนได้เสียเกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการดำเนินกิจการของบริษัท และเพื่อยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี ของกลุ่มบริษัทให้มีความยั่งยืนสู่มาตรฐานระดับสากล

บริษัทมีกระบวนการสร้างจิตสำนึก สร้างความตระหนัก และ ติดตามการประเมินผลการปฏิบัติแก่บุคลากรอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ โดยพนักงานเข้าใหม่จะได้รับการปฐมนิเทศและ มีการลงนามรับทราบแนวปฏิบัติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์ อักษร ประกาศใช้และเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบและ ถือปฏิบัติผ่านช่องทางต่างๆ อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ คณะกรรมการยังได้มีการพิจารณาทบทวน ติดตาม และ ประเมินผลการดำเนินงานตามจรรยาบรรณของบริษัทอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทของบริษัทเป็นประจำทุกปี

6. การสื่อสารและติดตามการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณทางธุรกิจ

 

บริษัทฯ มีการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ทุกคนให้ทราบเกี่ยวกับภาพรวมการประกอบธุรกิจ โครงสร้างและการลงทุนโครงสร้างองค์กร ผลการดำเนินงาน หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กฎระเบียบ นโยบายจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัทฯ ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์สวัสดิการ พร้อมเอกสารประกอบ อาทิ จรรยาบรรณ และเอกสารอื่นๆ ที่จะใช้เป็นคู่มือและเอกสารอ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ และมีการลงชื่อรับทราบ และมีการสื่อสารนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีอื่นๆ โดยถ่ายทอดแนวนโยบายจากคณะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงสู่พนักงานทุกระดับอย่างทั่วถึงอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางในการสื่อสารได้แก่ ระบบอินทราเน็ต และระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่พนักงานสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและทั่วถึง รวมทั้งการสื่อสารในการประชุมภายในระดับต่างๆของบริษัทฯ ทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการเพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกและความผูกพันที่จะปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และรายงานการปฏิบัติให้คณะกรรมการชุดย่อย และคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบตามลำดับ

บริษัทฯ มอบหมายให้ "ฝ่ายตรวจสอบภายใน" มีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติภายใต้แผนการตรวจสอบประจำปี และรายงานคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทฯ ตามลำดับ เพื่อรับทราบผลการตรวจสอบพร้อมข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเป็นประจำทุกไตรมาส นอกเหนือจากการหารือร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

บริษัทฯ ได้จัดทำ “ข้อมูลการปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อกำหนด” (Compliance Database) จัดส่งให้กรรมการและจัดเก็บในระบบข้อมูลภายใน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทฯ ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนใน ตลท. เช่น การเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศ การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งพนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลได้ โดยมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันตามการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดอยู่ตลอดเวลา

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนด “แบบแจ้งรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหาร” และให้กรรมการและผู้บริหารจัดทำรายงานการมีส่วนได้เสียของตนและบุคคลที่เกี่ยวข้องส่งให้เลขานุการบริษัทจัดเก็บและส่งสำเนาให้ประธานกรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และที่ประชุมผู้ถือหุ้น

นอกจากนี้ ยังมีคณะทำงานการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารจากทุกสายงาน ทำหน้าที่ในการสื่อสาร ติดตาม ทบทวน เพื่อทำการปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดการดำเนินงานและเสนอแนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณของบริษัทฯ รวมทั้งรายงานการปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการดำเนินงาน ตามแผนจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตต่อคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ผู้บริหาร และคณะกรรมการ หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท โดยที่ได้มีการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาต่อยอด เพื่อมุ่งสู่ระดับมาตรฐานสากลให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งครอบคลุม CG Code 2017 เกณฑ์การประเมิน Corporate Good Governance Report (CGR) เกณฑ์ ASEAN Corporate Governance Scorecard: ASEAN CG Scorecard แนวปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องต่างๆ และการให้ความสำคัญและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างรอบคอบและรอบด้านในทุกมิติ ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล

7. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

 
  1. ประเภทของข้อมูลที่ทำการเปิดเผย

    บริษัทฯ เปิดเผยข้อมูลทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เปิดเผยตามรอบระยะเวลาบัญชี (Periodic Report) และตามเหตุการณ์ (Non-Periodic Report) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับสารได้รับข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ และทันกาล และเป็นประโยชน์ในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน

  2. คุณภาพของข้อมูล

    คุณภาพของข้อมูล หมายถึง ความถูกต้อง ชัดเจนครบถ้วน เพียงพอ เป็นปัจจุบัน ทันเวลา โปร่งใส สามารถ ตรวจสอบได้ โดยข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญของบริษัทฯที่ทำการเปิดเผยมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินลักษณะข้อมูลมีทั้งข้อมูลเชิงบวกและเชิงลบ การเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง อาทิ การเปิดเผยสารสนเทศที่สำคัญให้ทราบโดยทันที การเผยแพร่สารสนเทศต่อประชาชนโดยทั่วถึง การชี้แจงกรณีที่มีข่าวลือหรือข่าวสารต่างๆ การดำเนินการเมื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ผิดจากภาวะปกติ ไม่ทำการเปิดเผยในเชิงส่งเสริมโดยไม่มีเหตุอันควร และการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ โดยบุคคลภายใน เป็นต้น ในขณะเดียวกันการเปิดเผยข้อมูลต้องไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายแก่บริษัทฯจนเกินไป และไม่ทำให้บริษัทฯ สูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้วยเช่นกัน

    นอกจากการเปิดเผยสารสนเทศที่มีคุณภาพต่อบุคคลภายนอกจะสะท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใสในการดำเนินงานของบริษัทฯ แล้ว ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมความเชื่อมั่นและความมั่นใจของผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

    โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้ทำหน้าที่กำกับดูแล ติดตามและทบทวนให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตามที่กำหนดไม่เพียงแต่การเปิดเผยสารสนเทศในระดับขั้นต่ำที่กฎหมายหรือข้อบังคับกำหนดเท่านั้น แต่ยังให้เน้นความสำคัญและความเสมอภาคของผู้ลงทุนในการรับรู้สารสนเทศอีกด้วย

  3. ช่องทางการเปิดเผยข้อมูล

    บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญ โดยคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหารมีการตรวจสอบติดตามให้มีการปฏิบัติตามหลักการและกฎเกณฑ์ที่กำหนด และบังคับใช้อย่างเคร่งครัด โดยกำหนดหน่วยงานและผู้รับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องต่างๆไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งพัฒนาช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลที่เปิดเผยมีคุณภาพ ดังนี้

    ผู้รับผิดชอบการเปิดเผยข้อมูล

    บริษัทฯ ได้กำหนดผู้มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศของบริษัทฯ ได้แก่ ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยมีหน่วยงานต่างๆรับผิดชอบการจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังนี้

    หน่วยงานการจัดทำข้อมูล/เอกสาร
    สำนักงานเลขานุการบริษัท การจัดทำเอกสารการเปิดเผยสารสนเทศผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ ตลท. การจัดทำรายงานประจำปี (แบบ 56-2) และเป็นผู้ประสานงานกับ ตลท. และ ก.ล.ต.
    ฝ่ายประมวลบัญชี ฝ่ายกำกับและวิเคราะห์บัญชี การจัดทำเอกสารเปิดเผยข้อมูลรายงานทางการเงิน และคำอธิบายและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของฝ่ายบริหาร
    ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ การจัดทำเอกสารเปิดเผยข้อมูลและข่าวสารแก่สื่อมวลชน และการจัดการแถลงข่าวของบริษัท
    ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ แบบรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และการจัดการประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์

    ช่องทางการสื่อสาร

    บริษัทฯ ยึดหลักการเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญของบริษัทฯ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ อย่างเหมาะสม มีลักษณะครอบคลุมทั้งการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารสองทาง โดยข้อมูลที่ทำการเผยแพร่จัดทำเป็นสองภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และทำการเผยแพร่ออกไปพร้อมกันผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ ตลท. เป็นช่องทางหลัก นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังทำการสื่อสารผ่านช่องทางอื่นๆเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ดังนี้

    กลุ่มเป้าหมายช่องทางและรูปแบบการสื่อสาร
    ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้สนใจทั่วไป และสาธารณชน เว็บไซต์บริษัท www.ratch.co.th การจัดนิทรรศการ
    ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ การจัดการประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ การพบนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ การนำผู้ถือหุ้น นักลงทุนสถาบัน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์เข้าเยี่ยมชมกิจการ
    สื่อมวลชน การแถลงข่าวผลประกอบการประจำไตรมาสและประจำปี การจัดส่งข่าวและภาพข่าวกิจกรรมของบริษัทฯ ให้แก่สื่อมวลชน การสัมภาษณ์ผู้บริหาร การจัดกิจกรรมสัมพันธ์กับสื่อมวลชน

    งานนักลงทุนสัมพันธ์

    บริษัทฯ ได้จัดให้มี “ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์” เป็นหน่วยงานประจำที่มีหน้าที่รับผิดชอบการติดต่อสื่อสาร และให้บริการข้อมูล ข่าวสาร และจัดกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทฯ กับ ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุนสถาบันผู้ลงทุนทั่วไป นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และภาครัฐที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม รวมถึงการจัดทำแผนงานนักลงทุนสัมพันธ์ประจำปี ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯเข้าร่วมในการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ โดยที่กรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แถลงผลการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมและชี้แจงตอบข้อซักถามในการประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ รวมทั้งการพบนักลงทุนทั้งในประเทศและในต่างประเทศ การติดต่อส่วนนักลงทุนสัมพันธ์สามารถทำได้โดยส่งเอกสารทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ของบริษัทฯ ทางโทรศัพท์ติดต่อหมายเลข 0 2794 9841 ทางโทรสารหมายเลข 0 2794 9888 ต่อ 9841 เว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ www.ratch.co.th และทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่

    การเปิดเผยนโยบายและการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร

    คณะกรรมการบริษัทฯ ได้เปิดเผยนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับกรรมการและผู้บริหารตามหลักเกณฑ์ โดยเปิดเผยค่าตอบแทนกรรมการเป็นรายบุคคลและแยกประเภทค่าตอบแทน และเปิดเผยค่าตอบแทนผู้บริหาร แยกประเภทค่าตอบแทนเช่นกัน นอกจากนี้ยังได้เพิ่มเติมการเปิดเผยค่าตอบแทนโดยรวมของพนักงานไว้ด้วย (รายละเอียดตามที่ปรากฏในโครงสร้างการจัดการ)

    การใช้และดูแลทรัพย์สินทางปัญญา

    บริษัทฯ กำหนดให้พนักงานทุกคนมีหน้าที่ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ และใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ ตามที่ได้กำหนดแนวปฏิบัติไว้ในจรรยาบรรณบริษัทฯ และนโยบายการใช้งานระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ ที่ได้ประกาศให้ทราบและถือปฏิบัติโดยพนักงานต้องเคารพสิทธิ ทรัพย์สินทางปัญญา หลีกเลี่ยง และไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯและผู้อื่น การเข้าถึงข้อมูลหรือการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อพ้นสภาพการเป็นพนักงานของบริษัทฯ

    การใช้งานระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์

    บริษัทฯ กำหนดให้พนักงานทุกคนมีสิทธิใช้ระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ และระบบข้อมูลตามนโยบายการใช้ระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ และคู่มือการใช้งานระบบการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มบริษัทฯ โดยการกำหนดบัญชีผู้เข้าใช้งานและรหัสผ่านก่อนการใช้งาน นอกจากนี้ได้มีการกำหนดแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Attrack) และภาวะวิกฤตในรูปแบบต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานอย่างเป็นระบบและมีการกำหนดผู้ควบคุมดูแล ป้องกันวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดการแก้ไขปัญหาแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน พร้อมคู่มือการบริหารจัดการ นอกจากนี้ ยังมีการใช้โปรแกรมต่างๆ ในการป้องกันและควบคุมการคุกคามในรูปแบบต่างๆ การห้ามใช้ระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ เพื่อการกระทำผิดกฎหมาย หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น การกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี การค้า หรือแสวงหาผลกำไร/ผลประโยชน์ส่วนตัว การเปิดเผยข้อมูลความลับที่ได้มาจากการปฏิบัติงานให้แก่บริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบริษัทฯ พนักงานและบุคคลภายนอก การกระทำอันละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ และบุคคลอื่น เป็นต้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานระบบเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ ป้องกันผลกระทบจากการหยุดชะงักของธุรกิจจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการใช้ทรัพยากรเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ เช่น นโยบายการใช้ระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ นโยบายการจัดการชั้นความลับ นโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสอดคล้องกับการจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์อีกด้วย

8. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีการพิจารณาทบทวนนโยบายเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ได้กำหนดไว้ และประกาศ ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน การให้ความสำคัญในการสื่อสาร การสนับสนุนการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และสนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากการดำเนินการในทุกกระบวนการและช่วงเวลาของการพัฒนาและดำเนินโครงการของบริษัทฯ โดยในช่วงการพัฒนาโครงการได้มีการศึกษารายละเอียดข้อมูลเบื้องต้นทางด้านเทคนิคควบคู่ไปกับการศึกษาข้อมูลสภาพเศรษฐกิจ สังคม ขนบธรรมเนียมและวิถีชีวิตของชุมชน เพื่อจัดทำแผนงานการมีส่วนร่วมของชุมชนและข้อมูลหลักในการสื่อสารของโครงการ การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจโครงการและการประชุมรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในเรื่องต่างๆ ภายใต้ข้อกำหนดของหน่วยงานราชการ และหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างงานก่อสร้างโครงการมีการสื่อสารทำความเข้าใจให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน และนโยบายการดำเนินงานของบริษัทฯ กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนถึงช่วงที่โครงการมีการดำเนินงานแล้ว ก็ยังคงมีการติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอกับชุมชน มีการรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

9. การปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการ

 

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีการติดตามการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ผ่านคณะกรรมการธรรมภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณบริษัทฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมเรื่องต่างๆที่เป็นประเด็นสำคัญ โดยมีการทบทวนและอนุมัติให้มีการปรับปรุงแนวปฏิบัติต่างๆให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

เรื่องสำคัญการติดตามและการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • บริษัทฯ ดำเนินการไปตามกฎหมายและแนวปฏิบัติที่กำหนด
  • ไม่มีกรรมการหรือผู้บริหารที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เข้าร่วมประชุมพิจารณาและออกเสียงในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในระเบียบวาระที่เกี่ยวข้อง
การใช้ข้อมูลภายในเพื่อแสวงหาผลประโยชน์
  • บริษัทฯ ไม่มีประเด็นการใช้ข้อมูลภายในในการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ และไม่พบว่ามีการกล่าวโทษกรรมการและผู้บริหาร กรณีการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ หรือการใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบจากหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน
  • ในปี 2564 ไม่มีรายงานการกระทำผิดหรือละเมิดสิทธิมนุษยชน ทรัพย์สินทางปัญญา การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และ/หรือ การคุกคามระบบเครือข่ายของบริษัทฯ
การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น
  • บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงระเบียบคำสั่งบริษัทฯ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและสอดคล้อมกับแนวทางปฏิบัติที่ CAC กำหนด
  • บริษัทฯ ได้ทบทวนและปรับปรุงตารางประเมินความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันของบริษัทและบริษัทย่อยหลัก รวมทั้งกิจกรรมควบคุมที่ใช้ในการจัดการความเสี่ยง โดยกำหนดให้มีการทบทวนการประเมินความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันเป็นประจำทุกปี
  • ประกาศ เผยแพร่ และแจ้งหนังสือรับทราบอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน แก่ตัวแทนบริษัทฯ พันธมิตรธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
  • ในปี 2564 ไม่พบประเด็นการกระทำผิดด้านการทุจริต หรือการทำผิดด้านจริยธรรม
การแจ้งเบาะแส (whistleblowing)
  • ในปี 2564 ไม่มีรายงานการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นการทุจริต การฝ่าฝืน หรือการละเมิดนโยบายและแนวปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และการกำกับดูแลกิจการ