ตรวจ สอบ สิทธิ เยียวยา 40 อาชีพ อิสระ

สำหรับกลุ่มอาชีพอิสระและฟรีแลนซ์ นอกระบบประกันสังคมที่ต้องการรับมาตรการเยียวยา 5,000 บาท จากผลกระทบวิกฤติไวรัสโควิด-19 จากกระทรวงการคลัง วันนี้เรามาดู วิธีขึ้นทะเบียนรับเงินเยียวยา 5000 บาท กลุ่มฟรีแลนซ์และกลุ่มอาชีพอิสระพ่อค้าแม่ค้า  จากกระทรวงการคลังโดยมีวิธีดังนี้

ตรวจ สอบ สิทธิ เยียวยา 40 อาชีพ อิสระ

วิธีขึ้นทะเบียนรับเงินเยียวยา 5000 บาท กลุ่มฟรีแลนซ์และกลุ่มอาชีพอิสระพ่อค้าแม่ค้า

ตรวจ สอบ สิทธิ เยียวยา 40 อาชีพ อิสระ

กลุ่มฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ครั้งล่าสุดนี้ สามารถรับสิทธิรับเงิน 5,000 บาทได้ เพียงท่านยื่นเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในกรกฎาคม 2564 ท่านที่สนใจสามารถดูขั้นตอนการลงขึ้นทะเบียนรับเงินเยียวยากลุ่มฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระ ได้ดังต่อไปนี้…

เช็กคุณสมบัติผู้สมัครผู้ประกันตนมาตรา 40
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร คนขับวินมอเตอร์ไซค์ หรือคนขับแท็กซี่
  • อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
  • เป็นบุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33
  • ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39
  • ไม่เป็นข้าราชการหรือเป็นบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมาย

วิธีลงทะเบียนสมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม แบบออนไลน์

ตรวจ สอบ สิทธิ เยียวยา 40 อาชีพ อิสระ

เข้าไปสมัครที่เว็บไซต์ ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา  ของสำนักงานประกันสังคม หรือคลิกที่รูปด้านบน

ตรวจ สอบ สิทธิ เยียวยา 40 อาชีพ อิสระ

ในหน้านี้ให้ท่านกรอกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จนเสร็จสิ้นกระบวนการรับสมัครขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ระบบ จะแจ้งยืนยันผ่านทาง SMS ทันที จนถึงการสมัครจึงจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว

ตรวจ สอบ สิทธิ เยียวยา 40 อาชีพ อิสระ

กรณีที่ท่านกดตรวจสอบแบบขึ้นคำเตือนแบบตัวอย่างแสดงว่าท่านไม่ได้อยู่ในเกณฑ์การลงทะเบียนนั้นเอง


อัพปเดตวันรับเงินเยียวยาทุกกลุ่ม พร้อมช่องทางการโอนเงิน


ช่องทางการสมัครแบบเดินทางไปสมัครด้วยตัวเอง

ท่านสามารถไปสมัครได้ที่

  • สปส. สำนักงานประกันสังคม
  • เซเว่น เคาท์เตอร์เซอร์วิส
  • บิ๊กซี ซูบเปอร์เซ็นเตอร์ ทั่วประเทศ
  • หน่วยบริการเคลื่อนที่ สปส.
  • ธนาคารธกส.
  • หรือโทรสายด่วน 1506

หลักฐานการสมัคร เอกสารประกอบการสมัคร

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ (ใบอนุญาตขับขี่รถ)
  • แบบการขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 (สปส.1-40)

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเช่น ข้อมูลการส่งเงินสมทบ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ สามารถตรวจสอบได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง


วิธีการนำส่งเงินสมทบ

ตรวจ สอบ สิทธิ เยียวยา 40 อาชีพ อิสระ

เลือกจ่ายเป็นเงินสด

  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
  • หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ห้างเทสโก้โลตัส
  • ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)

เลือกหักผ่านบัญชีธนาคาร

  • ธนาคารเพื่่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • ธนาคารออมสิน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุ การชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสจะเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 10 บาท ในส่วนการชำระผ่านธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จะมีค่าธรรมเนียม 5 บาทต่อครั้ง โดยจะได้รับใบเสร็จรับเงินทันที แต่ผู้ประกันตนต้องนำใบเสร็จรับเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ออกให้ พร้อมสมุดนำส่งเงินสมทบมาตรา 40 ไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ทำการประทับตราในสมุดนำส่งเงินสมทบ เนื่องจากต้องใช้ประกอบการยื่นเรื่องเมื่อมีการรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ


สิทธิประโยชน์พื้นฐานสำหรับผู้สมัครประกันสังคมมาตรา 40

  • กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
  • กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 – 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี เงื่อนไข เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์)
  • กรณีตาย จะได้รับค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทต่อราย เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต ยกเว้น เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต
  • กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) ผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
    กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)
    – ผู้ประกันตนสามารถรับเงินบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
    – ต้องจ่ายเงินสมทบถึงบำนาญขั้นต่ำหรือไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำเดือนละ 600 บาท ตลอดชีวิต

ทางเลือกผู้ประกันตนมาตรา 40

ทางเลือกต่างๆที่ผู้ประกันตนมาตรา 40  สามารุเลือกได้ เพื่อสิทธิประโยชน์ดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมขอเสนอทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณด้วยชุดสิทธิประโยชน์ ดังนี้

ทางเลือกที่ 1(จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน) (จ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท)

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

ทางเลือกที่ 2 (จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน)  (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)

ทางเลือกที่ 3 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 1 กรณี คือ กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)  จ่ายเงินสมทบ 200 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 100 บาท)

  • ทางเลือกที่ 1 และทางเลือก 3 (1+3) สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ) (จ่ายเอง 170 บาท รัฐสนับสนุน 130 บาท)
  • ทางเลือกที่ 2 และทางเลือก 3 (2+3) สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ) (จ่ายเอง 200 บาท รัฐสนับสนุน 150 บาท)
หมายเหตุ
รัฐสนับสนุนในระยะแรกทั้งนี้ จนกว่าสำนักงานประกันสังคมจะประกาศเป็นอย่างอื่นทั้งนี้ ในการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่ประสงค์รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาทต่อเดือน ยกเว้น กรณีทางเลือกที่ 5 (2+3) สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาททั้งนี้ผู้ประกันตนที่เลือกความคุ้มครองทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2555 แต่ต้องจ่ายในระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2556 ถึง วันที่ 8 ธันวาคม 2557

ในช่วงภาวะวิกฤตไวรัสโควิด-19แบบนี้  MoneyGuru ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพและเป็นกำลังใจให้เราผ่านช่วงนี้ไปด้วยกัน ส่วนใครที่มองหาตัวช่วยเงินกู้สำหรับใช้ในการจับจ่ายใช้สอยที่ง่าย สะดวก และทำได้ที่บ้าน เรายังมีตัวช่วยสำหรับการ เปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล หรือจะเป็นบัตรเครดิตอื่นๆ ให้เลือกใช้ เข้ามาเปรียบเทียบบัตรเครดิตได้ทุกวันที่ MoneyGuru นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ทางช่องทาง LINE @MoneyGuruThailand รับรองว่าคุณจะได้คำแนะนำราคาเบี้ยประกันที่ดีที่สุดจากเรา

ตรวจ สอบ สิทธิ เยียวยา 40 อาชีพ อิสระ

ไม่พลาดทุกเรื่องราวข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @MoneyGuruThailand