การจัดตั้งบริษัทมหาชน จํา กัด

บริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทมหาชนจำกัด คือ ?

บริษัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความ ประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ 

จัดตั้งบริษัทมหาชนทำอย่างไร ?

อาจสรุปได้ว่า พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัดไว้ ดังนี้
1. จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
2. ทุนจดทะเบียน ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้
3. มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
4. จำนวนกรรมการ ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย
การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด
การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด อาจดำเนินการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เริ่มโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คน ขึ้นไปดำเนินการ จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วดำเนินการจัดทำหนังสือชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น หรือเมื่อผู้เริ่มจัดตั้งได้จองซื้อหุ้นทั้งหมดครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ก็จะเรียกประชุมจัดตั้งบริษัท หลังจากนั้นผู้เริ่มจัดตั้งจะต้องส่งมอบกิจการและเอกสารทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับเลือกตั้ง เพื่อนำความไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อไป

การจัดตั้งบริษัทมหาชน จํา กัด

แก้ไขครั้งสุดท้าย พฤศจิกายน 2, 2022

 

การจัดตั้งบริษัทมหาชน จํา กัด

     บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัท มหาชนจำกัดคือ บริษัทที่ตั้งขึ้นโดยมีความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ขั้นตอนการจัดตั้งโดยสรุป เริ่มโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป ดำเนินการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ และจัดทำหนังสือชี้ชวนให้ประชาชนซื้อหุ้น เมื่อมีการจองหุ้นครบจำนวนตามที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน หรือเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นครบแล้ว ผู้เริ่มจัดตั้งต้องเรียกประชุมจัดตั้งบริษัท เมื่อประชุมจัดตั้งบริษัทแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของกรรมการที่จะจัดการให้มีการชำระค่าหุ้นที่จองไว้จนครบ แล้วไปจดทะเบียนตั้งบริษัท

      บริษัทที่จัดตั้งขึ้นจะประกอบธุรกิจประเภทใดบ้าง ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ตามรายการที่ระบุไว้ ใน หนังสือบริคณห์สนธิ

      นอกจากการจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด ตามขั้นตอนของกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัดดังกล่าวแล้ว ยังสามารถจัดตั้งขึ้น ตามขั้นตอนของกฎหมายพิเศษ คือ พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ได้ด้วย โดยกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ มีหลักการที่สำคัญ คือ หากรัฐบาลมีนโยบายจะเอาทุนของรัฐวิสาหกิจ มาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในบริษัท คือ บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดก็สามารถกระทำได้ และสามารถนำทุนทั้งหมดหรือบางส่วนของหลายรัฐวิสาหกิจ มาตั้งเป็นบริษัทเดียวหรือหลายบริษัทก็ได้

      การจัดตั้งบริษัทตามกฎหมายว่าด้วย ทุนรัฐวิสาหกิจ จะมี คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท เป็นผู้มีหน้าที่กำหนดรายละเอียดของบริษัทที่จะจัดตั้ง ที่สำคัญได้แก่ การกำหนดทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน ชื่อของบริษัท โครงสร้างการบริหารงาน รายชื่อกรรมการ ตลอดจนหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท เป็นต้น เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจพิจารณา และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

      เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว นายทะเบียน คือ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องจดทะเบียนบริษัทขึ้นตามรายละเอียดที่ คณะรัฐมนตรีอนุมัติ หุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนดังกล่าว ถือเป็นหุ้นที่มีการชำระเต็มมูลค่า โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

      เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจเสร็จแล้ว การดำเนินกิจการของบริษัท ก็เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด เช่นเดียวกันกับบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนก่อตั้งตามขั้นตอนปกติ เว้นแต่ส่วนที่มีการยกเว้นไว้ตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ อาทิเช่น

      ในระหว่างที่กระทรวงการคลังยังไม่ ได้โอนหุ้นที่ถืออยู่ให้แก่บุคคลอื่น ก็ยังไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนผู้ถือหุ้น และจำนวนหุ้นที่แต่ละคนจะถือไว้ได้ และยังไม่ต้องมีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยให้ถือความเห็นของกระทรวงการคลัง อันเกี่ยวกับบริษัทนั้นเป็นมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น และบริษัทดังกล่าวยังคงมีสิทธิ อำนาจ และประโยชน์ตามกฎหมายเดิมของรัฐวิสาหกิจนั้น อาจจะทั้งหมดหรือบางส่วนและตามระยะเวลาตามที่กำหนด ในพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยกฎหมายฉบับนี้ อาทิเช่น อำนาจในการดำเนินการต่อบุคคล หรือทรัพย์สิน หรือสิทธิของบุคคล เป็นต้นว่าสิทธิในการเข้าไปใช้ที่ดิน การวางท่อผ่านที่เอกชน หรือการได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้กฎหมายใด

      แต่อำนาจและสิทธิดังกล่าวจะสิ้น สุดลง หากบริษัทนั้นสิ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ คือ เมื่อกระทรวงการคลังถือหุ้นเหลืออยู่ไม่ถึงร้อยละห้าสิบบริษัทมหาชนที่จัด ตั้งขึ้นแล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ ที่รู้จักกันดี อาทิเช่น บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

การจัดตั้งบริษัทมหาชน จํา กัด

      การบริหารจัดการบริษัทมหาชนนั้น กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย กรรมการอย่างน้อยห้าคนและกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้ง หมด ต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย กรรมการบริษัทต้องเป็นบุคคลธรรมดา มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด อาทิเช่น ต้องไม่เคยถูกไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ คือที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น

      คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจหน้าที่ จัดการบริษัทให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อบังคับและมติของที่ประชุมผู้ถือ หุ้น ถ้ากรรมการไม่ดำเนินกิจการของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท กรรมการนั้นต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัท

      จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ข้างต้นเห็นได้ชัดว่า การบริหารจัดการบริษัทนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ผู้ถือหุ้นหรือฝ่ายบริหารของผู้ถือหุ้นไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการหรือเอกชน หรือผู้กำกับนโยบายของทางราชการ ไม่มีอำนาจโดยตรงในการบริหารจัดการบริษัท ถึงแม้บริษัทนั้นจะแปลงมาจากทุนรัฐวิสาหกิจก็ตาม จะดำเนินการได้เพียงการเสนอความเห็น หรือลงมติในการประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น

      สำหรับการแต่งตั้งกรรมการบริษัทก็ เป็นอำนาจของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ยกเว้นกรณีตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามวาระ คณะกรรมการมีอำนาจเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามที่กฎหมายกำหนด เป็นกรรมการแทนโดยให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของกรรมการที่แทน นอกเหนือจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ไม่มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการได้

      ส่วนการถอดถอนกรรมการออกจาก ตำแหน่งนั้น บุคคลใดที่ไม่ใช่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือศาลก็ไม่มีอำนาจถอดถอนกรรมการได้ เพราะการถอดถอนกรรมการออกจากตำแหน่ง กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหรือศาลเท่านั้น