เรียงความ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในชีวิต ประ จํา วัน

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 10 ข้อ กับการนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อไปใช้ ในชีวิตประจําวัน มีความสำคัญอย่างไร

จากแนวทางที่ ร.9 ทรงได้ให้ไว้เกี่ยวกับ ปรัชญา ด้าน เศรษฐกิจพอเพียง รวมแล้วมี 10 ข้อ ที่มีประโยชน์ และเหมาะอย่างยิ่ง ที่จะนำมาใช้กับชีวิตประจำวัน

เพื่อวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ในยุคพิษเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเกิดผลกระทบในด้านใด ๆ ก็สามารถอยู่ยั่งยืนได้ ไม่ลำบาก โดย 10 ข้อที่ว่า มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

จะกล่าวถึง 10 แนวทางการใช้ชีวิตอย่าง พอเพียง ตามแบบฉบับดั้งเดิม โดยอ้างอิงจาก แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของ

ในหลวงรัชกาลที่ 9

มาประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะสามารถ พึ่งตนเอง ได้โดยไม่เบียดเบียนใคร

  1. มีความพอดี พอประมาณ
  2. รู้จักเหตุและผล
  3. สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ชีวิต
  4. เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
  5. ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้
  6. พอเพียงด้วยวิถีพุทธ
  7. จดทุกครั้งเมื่อจ่าย
  8. เทคนิคให้มีเงินออม
  9. ฉลาดใช้ชีวิต
  10. ยุทธการหมายเลข 10

เรียงความ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในชีวิต ประ จํา วัน

1 มีความพอดี พอประมาณ

ความพอดี การพอประมาณ คือทางสายกลางของชีวิต หากเราใช้ชีวิตใน ทุกเรื่อง ให้เป็น ความพอดี ไม่ว่าจะในเรื่องใด ทั้งชีวิตของเราจะมีความสุข หากขาดความพอดี ชีวิตก็จะได้รับผลกระทบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น จะได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกินไป แต่จะทำให้อีกสิ่งหนึ่งขาดหรือไม่พอ ความไม่รู้จักพอ และ การยอมลำบาก ย่อมมีผลกระทบกับชีวิตทั้งสิ้น เช่น บางคนอ้างความพอประมาณ จึงประหยัดอดออม จนทำให้ลำบาก กินก็ไม่อิ่ม นอนก็ไม่สุขสบายเหมือนปกติ จึงทำให้เกิดโรคภัยขึ้น ผลที่ได้รับนั้น ไม่แปลว่า พอดี แต่หมายถึงการเบียดเบียนตนเอง ดังนั้น ความพอดี พอประมาณ ก็คือ ไม่มากไป ไม่น้อยไป จนสุดโต่ง รวมถึง การไม่เบียดเบียน ตนเอง และผู้อื่นด้วย

2 รู้จักเหตุและผล

การรู้จักเหตุและผล หมายถึง การดำเนินการใด ๆ ด้วยความรอบคอบ มีสติ พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น เห็นถึงความคุ้มค่าที่ได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า ไม่เบียดเบียน ตนเอง และผู้อื่นด้วย เมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องดีงามแล้ว ก็มุ่งมั่นทำไปโดยไม่ย่อท้อ ไร้อคติ คำนึงถึงปัจจัยแวดล้อม ผลที่ได้ก็จะเกิดเป็นผลงานที่มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์และความสุข ต่อตนเองและคนรอบตัว

3 สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ชีวิต

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับตัวเองนั้น เป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพื่อให้พร้อมรับมือกับ การเปลี่ยนแปลง ในด้านต่าง ๆ ทั้งสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ ฯลฯ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทดลองทำสิ่งที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีแก่ตัวเองและครอบครัว
เพิ่มความรู้ คู่ไปกับ คุณธรรม รู้จักนำ เทคโนโลยีต่าง ๆ มาวางแผนและลงมือนำไปปฏิบัติได้อย่างช่ำชอง เสริมสร้างสติปัญญา เพื่อสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตได้ทันการณ์

เรียงความ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในชีวิต ประ จํา วัน

4 ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

ความจริงของจักรวาลคือ ทุกสิ่งย่อมมีการแลกเปลี่ยน ไม่มีอะไรได้มาฟรี เมื่อมีการลงทุน ย่อมมีผลกำไร แต่ก็ต้องแลกมาด้วยต้นทุนที่เสียไป สำหรับหัวข้อนี้ หากไม่มีต้นทุนหรือ รับความเสี่ยงได้น้อย ควรเน้นเรื่อง การออม เพราะเป็นสิ่งที่ให้ผลกำไรที่จับต้องได้ แต่ต้นทุนใช้เพียงแค่ เวลา หากเราไม่สามารถเพิ่มรายได้ หรือหาช่องทางไม่ได้ การลดสิ่งจำเป็นบางอย่าง อาจทำให้มีสิ่งจำเป็นอื่นเข้ามาทดแทนได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องฉลาดวางแผนด้วย โดยดูจากหลักการข้อที่แล้วมา

5 ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้

การฉลาดซื้อ คือ การเลือกซื้อสินค้าที่คุ้มค่า กับราคาที่ต้องเสียไป คำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับเป็นหลัก ควรซื้อสิ่งของที่ จำเป็นต้องใช้ มากกว่า ความอยากได้ ส่วน การฉลาดใช้ นั้นหมายถึง การใช้สิ่งของที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้อย่างไร ถึงจะคุ้มค่า และได้ผลดีที่สุด รวมไปถึง การรักษาสิ่งของต่าง ๆ ให้คงอยู่ในสภาพที่เหมาะกับการใช้งาน เพื่อที่จะมีสิ่งนั้นให้ได้ใช้งานไปได้นาน ๆ ด้วย

6 พอเพียงด้วยวิถีพุทธ

ปรัชญาข้อนี้ อาจเพราะ พระองค์ท่านนับถือศาสนาพุทธ แต่สำหรับศาสนาอื่น หลักปรัชญาก็ใกล้เคียงกัน เพราะเป็นการเน้น วิถีชุมชน เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การสร้างวินัย ให้แก่ตนเอง ด้วยการพึ่งพาตนเองในด้านต่างๆ ข้างต้นที่กล่าวมา จนสำเร็จผลดีแล้ว จึงลงมือ แบ่งปัน แก่ผู้เดือดร้อน ที่ยังต้องการความช่วยเหลือ หากทำได้แบบนี้ ก็จะทำให้ชุมชนนั้น เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาอาศัยกันได้

7 จดทุกครั้งเมื่อจ่าย

การจด คือหลักการง่าย ๆ ในการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม โดยเฉพาะ เรื่อง รายรับ รายจ่าย การจดสามารถแสดงถึงปัญหาของ รายจ่ายที่เกินจำเป็น และเห็นทางออกใน การบริหารเงิน การทำบัญชีรายรับรายจ่าย จะเป็นหลักฐานชั้นดีในการเตือนตัวเอง ว่าในแต่ละเดือน ๆ มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และไม่จำเป็น อะไรบ้าง เมื่อคิดไม่ออก มองปัญหาไม่ได้ ให้จด

8 เทคนิคให้มีเงินออม

คล้ายปรัชญาข้อ 4 หากหาทางเพิ่มรายได้ไม่ได้ ให้เลือก การออม ไว้ก่อน เพราะการออม ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ หากกำหนดเป้าหมายไว้แน่ชัด เช่น อนาคตต้องใช้เงินก้อน ก็อาจลองคำนวณคร่าว ๆ ว่า แต่ละเดือนสามารถเก็บได้เท่าไหร่ ที่ไม่เดือดร้อนตัวเอง บริหารจัดการรายรับ ควบคุมการใช้จ่ายในแต่ละวัน การลดสิ่งไม่จำเป็นบางอย่างลง บางคนคิดว่า หนี้ ทำให้ไม่สามารถ ออม ได้ แต่จริง ๆ แล้ว หนี้นั้นมีตัวเลขชัดเจน เราไม่จำเป็นต้องนำรายได้ทั้งหมดไปใช้หนี้ แต่อาจเลือก จ่ายบางส่วน เพื่อให้เงินเหลือออม ก็ย่อมได้ ประหยัดรายจ่าย ด้วยการจ่ายน้อยกว่า หรือเท่ากัน เป็นเทคนิคที่จะทำให้มี เงินเหลือ มากขึ้น และอย่าลืมข้อ 3

9 ฉลาดใช้ชีวิต

หมายถึง ความฉลาด ในการดำเนินชีวิต ให้มีความสุขในทุก ๆ วัน มีมากก็แบ่งปัน มีน้อยอาจเลือกใช้จ่ายด้วยความฉลาด ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น พร้อมทั้งหยิบยื่นความสุขที่ตนมี ให้แก่คนรอบข้าง บ่อยครั้ง ที่ ความสุขที่ได้รับมานั้น จะได้จากการหยิบยื่นให้ ผู้อื่น ก่อน

เรียงความ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในชีวิต ประ จํา วัน

10 ยุทธการหมายเลข 10

มีหลายข้อที่เน้นเรื่อง การออม ไม่ว่าจะเป็น ปรัชญาข้อที่ 4, 7, 8 รวมถึงข้อสุดท้ายนี้ ก็ยังคงเน้นไปในเรื่องของการออม แต่เป็น การออมแบบเลข 10 ซึ่งมี 2 รูปแบบด้วยกันคือ

  1. การออมเงินแบบ ลบ 10 คือ เมื่อหาเงินมาได้เท่าไหร่ ให้หักไว้เป็น เงินออม ทันที 10% ก่อนอันดับแรก การออมเงินแบบนี้ เหมาะสำหรับคนที่มีวินัยค่อนข้างดี
  2. การออมเงินแบบ บวก 10 คือ ถ้าใช้เงินไปเท่าไหร่ ต้องเก็บเงินเพิ่มให้ได้ 10% ของเงินที่ใช้ไป วิธีนี้เหมาะกับ คนที่มีนิสัย ชอบช๊อป หรือเป็นพวก ซื้อบ่อย เพราะจะช่วยเตือนความจำ ให้เก็บเงินทุกครั้งในการใช้จ่าย

แต่การซื้อบ่อย หรือจ่ายเงินบ่อย แล้วบอกว่า ไม่มีเงินออม ควรต้องกลับไปอ่านข้อ 5 วนหลาย ๆ รอบ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับที่แนะนำให้ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ดังกล่าวข้างต้น เป็นสิ่งที่จะทำให้เรา ใช้ชีวิต อยู่ได้อย่างมี ความสุข มีชีวิตได้ด้วยการ พึ่งพาตัวเอง ไม่เบียดเบียนใคร รู้จักใช้ รู้จักพอ ใช้เท่าที่มี ไม่ใช้จ่ายเกินจำเป็นและกำลัง หลายคนอาจคิดว่า ทำไม่ได้ หรือ ทำได้ยาก

แต่หากลองคิดทบทวนแล้ว การดำเนินชีวิตแบบนี้ ไม่ใช่การกลับไปสู่ยุคโบราณ แต่เพื่อให้เราได้ คุ้นชิน กับความเป็นอยู่ และมองเห็น อะไรที่จำเป็นต่อชีวิต มากกว่าการสะสมสิ่งไม่จำเป็น ให้เกิดความลำบาก

ถ้าชอบเนื้อหาทำเกษตรในเว็บนี้ ช่วยกดไลค์กันเยอะๆ หรือถ้าถูกใจก็ช่วยกันแชร์ต่อด้วยนะ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียน หากสมาชิกท่านใดมีความเห็นแย้ง หรือต้องการเพิ่มเติมเนื้อหา ติชมเข้ามาได้ที่หน้า "ติดต่อเรา" (เมนูด้านบนขวา) เราพร้อมรับฟังทุกความคิดเห็น