ข้อสอบ มอเตอร์ไฟฟ้า พร้อม เฉลย

ข้อสอบ มอเตอร์ไฟฟ้า พร้อม เฉลย
1. คุณสมบัติในข้อใดเป็นคุณสมบัติของวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม

1) ผลรวมของแรงดันที่ตกคร่อมเท่ากับผลรวมของแรงดันที่จ่ายให้กับวงจร

2) ผลรวมของกระแสที่ตกคร่อมเท่ากับผลรวมของกระแสที่จ่ายให้กับวงจร

3) กำลังไฟฟ้าคืออัตราส่วนระหว่างกระแสกับค่าความต้านทาน

4) แรงดันแปรผันตรงกับกระแสไฟฟ้า

เฉลย ข้อ1

แนวความคิด

จากกฎกระแสไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์กล่าวไว้ว่า

ผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าเท่ากับผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากกฏแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์กล่าวไว้ว่า

ผลรวมของแรงดันที่ตกคร่อมเท่ากับผลรวมของแรงดันที่จ่ายให้กับวงจร

  1. จากกฎของโอห์มข้อใดกล่าวถูกต้อง

1) กระแสไฟฟ้าแปรผันตรงกับค่าความต้านทาน

2) แรงดันแปรผันตรงกับค่าความต้านทาน

3) ความต้านทานแปรผันตรงกับกำลังไฟฟ้า

4) กระแสไฟฟ้าแปรผันตรงกับแรงดันไฟฟ้า

เฉลย ข้อ2

แนวความคิด

จากกฎของโอห์มกล่าวไว้ว่า

V             =             IR

I              =             V/R

R             =             I/V

V  คือความต่างศักย์ มีหน่วยเป็น  โวลต์

I  คือกระแสในวงจร  หน่วยเป็น  แอมแปร์

R  คือความต้านทานในวงจร  หน่วยเป็น  โอห์ม

กล่าวคือกฎของ โอห์ม  ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้าและ ความต้านทาน ในวงจรไฟฟ้า กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวใดๆ แปรพันตรงกับความต่างศักย์ (แรงดันไฟฟ้า หรือแรงดันตกคร่อน) และแปรผกผันกับความต้านทานระหว่างสองจุดนั่นที่กระแสไหลผ่าน

  1. กฎแรงดันของเคอร์ซอฟกล่าวว่าอะไร

1) ในวงจรไฟฟ้าปิดใด  ผลรวมทางพีชคณิตของแรงดันไฟฟ้ามีค่าเท่ากับศูนย์

2) ผลรวมของแรงดันตกคร่อมทั้งวงจร

3) ผลรวมของแรงดันที่จ่ายให้แก่วงจร

4) ผลรวมของกระแสไฟฟ้าเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านในแต่ละสาขา

เฉลย ข้อ1

แนวความคิด

จากกฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์กล่าวไว้ว่า

ผลรวมของแรงดันที่ตกคร่อมเท่ากับผลรวมของแรงดันที่จ่ายให้วงจร

=

ย้ายสมการจะได้

ดังนั้นกล่าวได้ว่าในวงจรไฟฟ้าปิดใด ผลรวมทางพีชคณิตของแรงดันไฟฟ้ามีค่าเท่ากับศูนย์

  1. คำกล่าวในข้อใดกล่าวได้ถูกต้องตามวิธีของกระแสเมช

1) แก้ปัญหาวงจรไฟฟ้ารวดเร็วขึ้น

2) ง่ายต่อการแก้ปัญหาวงจรไฟฟ้า

3) ลดขั้นตอนในการแก้ปัญหาวงจรไฟฟ้า

4) ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ4

แนวความคำ

ทฤษฏีกระแสเมช (Mesh Current Throres)

ทฤษฏีกระแสเมช เรียกว่า “เมชเคอร์เรนท์” (Mesh current Theores) เป็นการประยุกต์กฏของเคอร์ชอฟฟ์มาใช้แก้ปัญหาให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น  ทฤษฏีกระแสเมชจะกำหนดให้ในวงจรปิดใดๆ หนึ่งสงจรปิด จะสมมติให้มีกระแสไหลหนึ่งจำนวนและจะสมมติทิศทางของกระแสไหลไปทิศทางใดก็ได้ ดดยค่ากระแสแต่ละวงจรปิดจะเป็นอิสระต่อกัน

โดยการแก้ปัญหาโจทย์ที่เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าที่ค่อนข้างยุ่งยาก สลับซับซ้อน ถ้าใช้ กฎของเคอร์ชอฟฟ์แล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็ได้ทฤษฎีกระแสเมช โดยการเขียนสมการกฎแรงดันของเคอร์ชอฟฟ์ กับทุก Loop ที่มีการกำหนดกระแส สมมุติใน Loop นั้น ซึ่งจะต้องยึดหลังการ

  1. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่

1) ทำให้เกิดแก๊สกลั่นตัวเป็นน้ำยาเหลว

2) ทำให้น้ำยาเหลวเดือดกลายเป็นไอ

3) อัดแก๊สความดันต่ำ  ให้มีความดันสูงขึ้น

4) ลดความดันน้ำยาเหลว  ให้เดือดกลายเป็นไอ

เฉลย ข้อ3

แนวความคิด

คอมเพรสเซอร์ หรือ อุปกรณ์อัดแก๊ส คือ ปั๊มที่ทำหน้าที่อัดแก๊สที่ได้จากน้ำยาที่กลายเป็นไอในอีวาปโปเรเตอร์ ให้มีความดันสูงขึ้น ซึ่งขณะเดียวกันอุณหภูมิของแก๊สจะสูงขึ้นด้วยเมื่อได้แก๊สความดันสูงแล้ว  จึงจะให้ผ่านไปยังเดนเซอร์ เพื่อระบายความร้อนออกและทำให้แก๊สเหล่านี้กลั่นตัวเป็นน้ำยาเหลาอีกครั้งหนึ่ง  การอัดแก๊สดังกล่าวจะอัดจนกระทั่งอุณหภูมิของแก๊สสูงกว่าอุณหภูมิของสารตัวกลางที่ใช้หล่อเย็นคอนเดนเซอร์ คอมเพรสเซอร์ที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องทำงานโดยมีการสูญเสียความดันจากการรั่วของแก๊สและใช้กำลังงานในการขับคอมเพรสเซอร์น้อยที่สุด

ข้อสอบ มอเตอร์ไฟฟ้า พร้อม เฉลย

  1. มอเตอร์ 1 เฟสชนิดใดปรับความเร็วรอบโดยใช้ความต้านทาน

1) สปลิตเพสมอเตอร์                                         2) ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์

3) เซตเด็ดโพลมอเตอร์                                      4) รีพัลชั่นมอเตอร์

เฉลย ข้อ

แนวความคิด

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ(Alternating Current Motor) หรือเรียกว่าเอ.ซี มอเตอร์(A.C. MOTOR)การแบ่งชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้าสลับแบ่งออกได้ดังนี้

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่

1.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส หรือเรียกว่าซิงเกลเฟสมอเตอร์ (A.D. Sing Phase)

-สปลิทเฟส มอเตอร์(Split-Phase motor)

-คาปาซิเตอร์ (Capacitor motor)

-รีพัลชั่นมอเตอร์(Repulsion-type motor)

-ยูนิเวอร์แวซลมอเตอร์(Universal motor)

-เช็คเดดโพล มอเตอร์(Shaded-pole motor)

  1. มอเตอร์ไฟฟ้าสลับชนิด 2 เฟสหรือเรียกว่าทูเฟสมอเตอร์ (A.D.Two phase Motor)

3) มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 3 เฟสหรือเรียกว่าทีเฟสมอเตอร์ (A.D. Three phase Motor)

ตัวอย่าง วงจรควบคุมความเร็วของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์

  1. มอเตอร์ 1 เฟสกลับทางหมุนได้อย่างไร

1) สลับสายเฟส 2 เส้น

2) กลับทิศทางการไหลของกระแสที่ขดใดขดหนึ่ง

3) ใช้ Rheostart

4) ควบคุมกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน Stator coil

เฉลย ข้อ4

แนวความคิด

วงจรการกลับทางหมุนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส

หลักการของวงจรกำลังการกลับทางหมุนมอเตอร์  ไฟฟ้ากระแส สลับ1 เฟส  สำหรับการทำงานของวงจรกำลังนั้นเมื่อ คอมแทคเตอร์ K1 ทำงานกระแสไฟฟ้าจะไหลจาก ไลท์ L1 เข้าขดรัน  จากขั้ว U ไปยังขั้ว X แล้ว ครบวงจรที่ ส่วนที่ขดสตาร์ทกระแสไหล จากขั้ว V และขั้ว Y ครบวงจรที่  N เช่นกัน  จะทำให้มอเตอร์  หมุนขวา  ในขณะที่คอมแทคเตอร์ K1 หยุดทำงาน ให้คอนแทคเตอร์ K2 ทำงานจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดรันเหมือนกับขั้นแรกคือขั้ว U กับขั้ว X ส่วนในขดสตาร์ทกระแสไฟฟ้า จะไหลจากขั้ว Y ไปยังขั้ว V จะเห็นได้ว่าเป็นการสลับ ขั้วของขอสตาร์มทำให้มอเตอร์กลับทิศทางการหมุน

  1. หลอดเผาไส้ขนาด 60W . 220 V ขณะใช้งานปกติไส้หลอดมีค่าความต้านทานเท่าไร

1) 350.2 โอห์ม                                                   2) 514.6 โอห์ม

3) 672.5 โอห์ม                                                   4) 806.7 โอห์ม

เฉลย ข้อ4

วิธีทำ                      จากสมการ การหากำลังงาน

P                             =             IV

จากกฎของโอห์ม

V                             =             IR

หรือ

I                              =

นำไปแทนในสมการ การกำลังงาน จะได้

P                             =

=

ย้ายสมการหาค่าความต้านทานจะได้

R                             =

แทนค่าจะได้

R                             =

=

=             806.666667 Ω

ดังนั้นค่าความต้านทานเท่ากับ 806.7 โอห์ม

  1. ขดลวกมอเตอร์ 3 เฟสจะวางห่างกันกี่องศา

1) 90 องศา                                                           2) 100 องศา

3) 120 องศา                                                         4) 150 องศา

เฉลย ข้อ3

แนวความคิด

จากสมการ ซึ่งผลรวมของแรงดันชั่วขณะใด ๆ คือ 0

จะเห็นว่าระยะของมุม  ของแต่ละขดลวด  อยู่หางกัน

  1. เพราะเหตุใดจึงเรียกมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับว่า อินดักชั่นมอเตอร์

1) พลังงานเอ้าพุทเกิดจากการเหนี่ยวนำ        2) พลังงานอินพุทเกิดจากการเหนี่ยวนำ

3) โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอก                      4) โรเตอร์เป็นแบบวาวด์โรเตอร์

เฉลย ข้อ1

แนวความคิด

อินดักชัน (induction) หมายถึง การเหนี่ยวนำโดยป้อนไฟฟ้ากระแสสลับแล้วทำให้เกิดกำลังงานกล บางครั้งเราเรียกมอเตอร์อินดักชันว่า มอเตอร์เหนี่ยวนำ สาเหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะการหมุนของมอเตอร์ดังกล่าวเกิดจากการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กหมุนของลวดที่สเตอร์ที่มีผลต่อน้ำในโรเตอร์

  1. กำลังเอ้าพุทของมอเตอร์เกิดขึ้นที่ใด

1) สเตเตอร์                                                           2) โรเตอร์

3) ขดลวดสเตเตอร์                                              4) ขดลวดโรเตอร์

เฉลย ข้อ2

แนวความคิด

โรเตอร์หรือตัวหนุน (Rotor) มอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำจะมีโรเตอร์ 2 ชนิด คือ โรเตอร์แบบทรงกระรอกและโรเตอร์แบบขดลวดพันหรือแบบวาวด์  ซึ่งจะมีส่วนประกอบดังนี้คือ  แกลเหล็ก  โรเตอร์  ขดลวด  ใบพัด  และเพลา  ดังกล่าวได้กล่าวระยละเอียดต่อไป

2.1 โรเตอร์แบบกรงกระรอก (Squirrel cage rotor) จะประกอบด้วยแผ่นเหล็กบางๆ ที่เรียกว่าแผ่นเหล็กลามิเนท  ซึ่งจะเป็นแผ่นเหล็กชนิดเดียวกันกับสเตเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นกลมๆ เซาะร่องผิวภายนอกเป็นร่องโดยรอบ ตรงกลางจะเจาะรูสำหรับสวมเพลา และเจาะรูรอบๆ รูตรงกลางที่สวมเพลาทั้งนี้เพื่อช่วยให้ในการระบายความร้อน และยังทำให้โรเตอร์มีน้ำหนักเบาลง  เมื่อนำแผ่นเหล็ไปสวมเข้ากับแกนเพลาแล้วจะได้เป็นแกนเหล็กโรเตอร์  หลังจากนั้นก็จะใช้แท่งตัวทองแดงหรือแท่งอะลูมิเนียมหล่ออัดเข้าไปในร่องของแกนเหล็กสเตเตอร์เข้าไปวางทั้งสองด้านด้วย วงแหวนตัวนำทั้งนี้เพื่อให้ขดลวดครบวงจรไฟฟ้าหรืออาจนำแกนเหล็กสเตเตอร์เข้าไปในแบบพิมพ์แล้วฉีดอะลูมิเนียมเหลวเข้าไปในร่อง  ก็จะได้อะลูมิเนียมอัดแน่นอยู่ในร่องเต็มและจะได้ขดลวดตัวนำแบบกรงกระกรอกฝังอยีในแกนเหล็ก  ดังแสดงในรูปที่ 4

ขดลวดในโรเตอร์นั้นจะเป็นลักษณะของตำนำเป็นแท่งซึ่งอาจใช้ทองแดงหรืออะลูมิเนียมประกอบเข้าด้วยกันเป็นลักษณะคล้ายกรงนกหรือกรงกระบอก

2.2 โรเตอร์แบบขดลวดพันหรือแบบวาวนด์ (Wound Rotor) โรเตอร์ชนิดนี้จะมีส่วนประกอบคล้าย ๆ กับโรเตอร์แบบกรงกระรอก คือ มีแกนเหล็กที่เป็นแผ่นลามิเนทอัดเข้าด้วยกันสวมเข้าที่เพลา  แต่ตะแตกต่างกันตรงที่ขดลวด  จะเป็นเส้นลวดชนิดที่หุ้มด้วยย้ำยาฉนวนอีนาเมลพันลงไปในร่องสล็อตของโรเตอร์จำนวน 3 ชุด  ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกับที่พันปลายบนสเตเตอร์ของมอเตอร์ 3 เฟสแล้วต่อวงจรขดลวดเป็นแบบสตาร์  โดยนำปลายทั้ง 3 ที่เหลือต่อเข้ากับวงแหวนตัวนำ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถต่อวงจรของขดลวดของโรเตอร์เข้ากับตัวต้านทานที่ปรับค่าได้ที่อยู่ภายนอกตัวมอเตอร์  เพื่อการปรับค่าความต้านทานของโรเตอร์  ซึ่งจะสามารถควบคุมความเร็วของโรเตอร์ได้ จากอุปกรณ์ที่กล่าวมาโรเตอร์  จะเป็นอุปกรณ์ที่หมุนเพื่อส่งกำลังงานกลไปขับเคลื่อนอุปกรณ์อื่นๆ

  1. ข้อใดให้คำนิยามเกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้าได้ถูกต้อง

1) พลังงานกลให้เป็นพลังงานความร้อน                      2) พลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

3) พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล                                   4) พลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานความร้อน

เฉลย ข้อ3

แนวความคิด

มอเตอร์ไฟฟ้า (MOTOR) หมายถึงเป็นเครื่องกลไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้ามาเป็นพลังงานกล  มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานำไฟฟ้าเปลี่ยนพลังงานกลมีทั้งพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับพลังกลทั้งพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ตังอย่างเช่น พัดลม เครื่องซักผ้า

ข้อสอบ มอเตอร์ไฟฟ้า พร้อม เฉลย