เศรษฐศาสตร์ เกษตร ทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อม จบ มา ทํางาน อะไร

เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาทางด้านพฤติกรรมมนุษย์และสังคม ทั้งการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า และการบริการ รวมทั้งการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์ เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก เรื่องราวที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของประเทศ ต่างประเทศและคนในสังคม โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจและตัวเลข เพราะเป็นเรื่องพื้นทางที่สำคัญของคนที่เรียนในด้านนี้ต้องศึกษาให้เข้าใจ

คณะเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการควบคุมและกระจายทรัพยากรของมนุษย์ คำว่าเศรษฐศาสตร์ในภาษาอังกฤษคือ Economics มาจากคำว่า Oikonomia ในภาษากรีกโบราณ ซึ่งมีความหมายว่า การจัดระเบียบเรื่องในบ้าน และ การบริหารจัดการภาระหน้าที่ เดิมทีเศรษฐศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชารัฐศาสตร์ ที่เพิ่งแยกออกมาเป็นวิชาของตัวเองช่วงปลายศตวรรษที่ 19 การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ สามารถแบ่งตามเนื้อหาได้เป็น 2 สาขาหลักๆ คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหาภาค โดยเศรษฐศาสตร์จุลภาคจะมุ่งเน้นศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับบุคคล โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจนั้นๆ และบุคคลหรือหน่วยงานสำคัญๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง ส่วนเศรษฐศาสตร์มหภาค จะศึกษาเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่น่าสนใจศึกษาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสถานการณ์เศรษฐกิจโลกยุคปัจจุบัน ที่มีการแข่งขันสูงและระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศทั่วโลกต่างเชื่อมโยงถึงกัน บุคลากรที่มีความรู้เชิงลึกในด้านเศรษฐศาสตร์จึงยิ่งเป็นที่ต้องการตัวขององค์กรต่างๆ อย่างมาก

สาขาที่เปิดสอน

  • เศรษฐศาสตร์ทฤษฎีและปริมาณ
  • เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  • เศรษฐศาสตร์การเงิน
  • เศรษฐศาสตร์การคลัง
  • เศรษฐศาสตร์การพัฒนาและการวางแผน
  • เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม
  • เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
  • เศรษฐศาสตร์สหกรณ์
  • เศรษฐศาสตร์สาธารณะ การพัฒนา และการเมือง
  • เศรษฐศาสตร์ทั่วไป
  • เศรษฐศาสตร์การเกษตรและธุรกิจการเกษตร

คนที่เหมาะกับการเรียน คณะเศรษฐศาสตร์

  • ชอบวิเคราะห์ คิดคำนวณ และวางแผนอย่างเป็นระบบ
  • ช่างสังเกต รักการศึกษาค้นคว้า
  • สนใจติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเศรษฐกิจ

เศรษฐศาสตร์ ใช้คะแนนอะไรบ้าง

GPAX 20% + O-NET 30% + GAT 30% + PAT1 20%

หลักการคำนวณคะแนน คือ

เกรดx1500 + (คะแนนรวม O-Net 5 วิชา)x18 + GATx30 + PAT1x20

สถาบันที่เปิดสอน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะเศรษฐศาสตร์

  • สาขาเศรษฐศาสตร์ทฤษฎี
  • สาขาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ
  • สาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
  • สาขาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ
  • สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน
  • สาขาเศรษฐศาสตร์ปริมาณวิเคราะห์
  • สาขาเศรษฐศาสตร์แรงงานและทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
  • สาขาเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยองค์กรและองค์กรอุตสาหกรรม
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) (หลักสูตรนานาชาติ)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)

คณะเศรษฐศาสตร์

  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
  • สาขาวิชาสหกรณ์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตศรีราชา)

คณะเศรษฐศาสตร์

  • เศรษฐศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์ประยุกต์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

  • สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ
  • เศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีและปริมาณ
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณการพัฒนาและการเมือง
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • คณะเศรษฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยทักษิณ

  • คณะเศรษฐศาสตร์ละบริหารธุรกิจ
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  • สำนักวิชาการจัดการ
  • กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • คณะวิทยาการจัดการ
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

  • คณะวิทยาการจัดการ
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  • คณะวิทยาการจัดการ
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คณะเศรษฐศาสตร์

  • สาขาเศรษฐศาสตร์
  • สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์
  • สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
  • สาขาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาเศรษศาสตร์ระหว่างประเทศ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่)

คณะเศรษฐศาสตร์

  • สาขาเศรษฐศาสตร์
  • สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี)

  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

  • คณะการจัดการ
  • หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

คณะเศรษฐศาสตร์ จบมาทำงานอะไร?

คนที่จบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ สามารถทำงานได้ทั้งรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เช่น ธนาคาร, บริษัทเงิน, ทุนหลักทรัพย์, ครู, อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ทำงานในบริษัทประกันภัยและบริษัทธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องการนักเศรษฐศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับสภาวะการตลาด และการวางแผนดำเนินธุรกิจต่างๆ ตลอดจนประกอบธุรกิจส่วนตัว และยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพราะมีการเปิดสอนมากมาย