การศึกษาปฐมวัยในประเทศญี่ปุ่น

ระบบการศึกษาของญี่ปุ่น

การศึกษาของญี่ปุ่นแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับคือ

การศึกษาระดับต้น ได้แก่ การศึกษาขั้นอนุบาล ซึ่งเริ่มเข้าศึกษาตั้งแต่อายุ 3 ปีไปจนถึงอายุ 5 ปี และขั้นประถมศึกษา 1-6 ตั้งแต่อายุ 6 ปีไปจนถึง 12 ปีโดยประมาณ

การศึกษาระดับกลาง ได้แก่ การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี และมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี

การศึกษาระดับสูง ได้แก่ การศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยอาชีวศึกษา

การศึกษาปฐมวัยในประเทศญี่ปุ่น

ในประเทศญี่ปุ่น การศึกษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เด็กญี่ปุ่นทุกคนต้องเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 6 ขวบ และถูกกำหนดให้ต้องผ่านการศึกษาภาคบังคับเป็นเวลา 9 ปี คือจบมัธยมศึกษาตอนต้น อย่างไรก็ตาม เด็กญี่ปุ่นมากกว่า 97% ศึกษาต่อจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยที่สามในสี่เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมปลายสายสามัญ ในขณะที่หนึ่งในสี่ที่เหลือเข้าเรียนในสายอาชีพ เช่นวิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยอาชีวศึกษา 25.3% ของผู้เรียนจบชั้นมัธยมปลายจะไปศึกษาต่อในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ในขณะที่อีกหลายคนเลือกที่จะไปศึกษาในวิทยาลัยระดับอนุปริญญา วิทยาลัยเทคนิค หรือวิทยาลัยอาชีวศึกษา (หลักสูตรวิชาชีพชั้นสูง)

การศึกษาปฐมวัยในประเทศญี่ปุ่น

นับตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา รัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะรับนักศึกษาต่างชาติเพิ่มมากขึ้น โดยตั้งเป้าไว้ว่าในศตวรรษที่ 21 จะรับนักศึกษาต่างชาติจากทั่วโลกให้ได้ถึง 100,000 คน และด้วยนโยบายนี้เอง ทำให้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นต้องเร่งมือในการพัฒนาระบบการศึกษาและวางแผนการเพื่อแก้ปัญหา ลดอุปสรรค และให้ความช่วยเหลือนักศึกษาต่างชาติด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยมุ่งหวังให้นักศึกษาต่างชาติได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ ในการศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นให้มากที่สุด และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศบ้นเกิดเมืองนอน หลังจากสำเร็จการศึกษา เช่น

  • การกระจายข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลในประเทศต่าง ๆ , การจัดนิทรรศการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น รวมไปถึงการบริการข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท
  • การให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน ได้แก่การให้ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาทุนส่วนตัวที่มีผลการเรียนดี (ที่เรียนอยู่ในประเทศญี่ปุ่นอยู่แล้ว ) , การลดค่าเล่าเรียนสำหรับนักศึกษาต่างชาติ
  • การให้ความช่วยเหลือในเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ , ที่พักอาศัย ได้แก่ การสร้างที่พักเพื่อรองรับนักศึกษาต่างชาติเพิ่มมากขึ้น , ติดต่ออาคารพนักงานบริษัทให้นักศึกษาเช่าในราคาถูก , องค์กรท้องถิ่นต่าง ๆ ก็มีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมความสัมพันธ์และให้ความช่วยเหลือชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น
  • การเพิ่มหลักสูตรนานาชาติ ด้วยการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ในปัจจุบัน ระดับปริญญาโทและเอกที่สอนเป็นภาษาอังกฤษมี 43 หลักสูตรด้วยกัน
  • สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น มีการเปิดหลักสูตรที่หลากหลายและเปิดกว้างมากขึ้น เพื่อสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันของนักศึกษา
  • การปรับระบบการสอบเข้าแบบใหม่เพื่อเอื้ออำนวยสำหรับนักศึกษาต่างชาติมากขึ้น ซึ่งเริ่มใช้ระบบใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2545
  • การสนับสนุนโครงการศึกษาต่อเนื่อง สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาจากญี่ปุ่นแล้ว เช่นโครงการวิจัยระยะสั้นสำหรับนักเรียนเก่าญี่ปุ่น , การแนะแนวและสนับสนุนให้นักศึกษาดำเนินการศึกษาต่อเนื่องในระดับสูงขึ้น

เหตุนี้เองปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของบมจ.ซีพี ออล์ จึงได้สนับสนุนการทำวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาของไทยนับตั้งแต่ชั้นอนุบาล  โดยการสนับสนุนการทำวิจัยในหัวข้อ “การศึกษาเปรียบเทียบ การจัดการศึกษาปฐมวัยในบริบทของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น” ของดร. วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์

จากผลการวิจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าระบบการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาลนับเป็นก้าวแรกที่สำคัญยิ่ง ในการพัฒนา ศักยภาพของเด็กและมีส่วนสำคัญทำให้พวกเขาเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพของชาติ โดยเราสามารถศึกษาจากอนุบาลในประเทศญี่ปุ่นเป็นแบบอย่างได้ ดังนี้

การศึกษาปฐมวัยในประเทศญี่ปุ่น

อนุบาลในญี่ปุ่นเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่น

เรียนรู้ผ่านการเล่น

ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาความสามารถในการรู้คิดและพัฒนาการทางอารมณ์ผ่านกระบวนการเล่น นอกจากนี้ยังสนับสนุนการเล่นเป็นทีม โดยจะให้เด็กเล่นกันคละอายุและคละเพศ การเล่นเป็นกลุ่มจะสอนให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เด็กที่อายุมากกว่าต้องคอยดูแลเด็กเล็ก ทำให้มีทักษะในด้านการจัดการและความอดทนอดกลั้น  ในขณะที่เด็กเล็กเองก็จะยึดเด็กที่โตกว่าเป็นแบบอย่างหรือเป็นผู้นำ ถือเป็นการสร้างทักษะความเป็นผู้นำให้เด็กด้วยในทางหนึ่ง เด็กจะถูกสอนให้เข้าใจกระบวนการวางแผนโดยธรรมชาติ รู้จักจัดการการเล่นของตนให้มีทั้งความสนุกและมีความรับผิดชอบต่อผู้เล่นคนอื่นด้วย โดยมีครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำและกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ใช่ผู้ออกคำสั่งหรือสอนหนังสือเด็กอย่างเดียว

จิตสำนึกสาธารณะ

ประเทศญี่ปุ่นถือว่า “จิตสำนึกสาธารณะ” เป็นปรัชญาหลักของการศึกษา การเรียนรู้ผ่านกระบวนการเล่นตั้งแต่วัยอนุบาลหรือปฐมวัยก็นับเป็นแนวทางหนึ่งในการปลูกฝังเรื่องจิตสำนึกสาธารณะให้กับเด็กด้วย โดยการวิจัยพบว่าช่วงปฐมวัยของเด็กเป็นช่วงเวลาทองของการสร้างคนให้มีสำนึกสาธารณะ และจิตสำนึกสาธารณะที่เห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าตนเองนั้น สามารถสร้างให้เกิดได้จริงผ่านกระบวนการเล่น  การเล่นที่ถูกออกแบบมาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการคละอายุ เพศและกิจกรรมของเด็ก จะสอนให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อตนเอง รุ่นพี่รุ่นน้อง และเพื่อนต่างเพศ สอนทักษะการเข้าสังคม การอยู่ร่วมกัน ความเมตตาต่อกัน และที่สำคัญคือการทำงานเป็นกลุ่ม อันเป็นการปลูกฝังแนวคิดเรื่องจิตสำนึกสาธารณะได้ตั้งแต่วัยอนุบาลเลยทีเดียว

จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

นอกจากนี้หลักสูตรการสอนระดับชั้นอนุบาลของญี่ปุ่นยังไม่เน้นวิชาการหนัก ๆ แต่เน้นความสำคัญที่จินตนาการและการเล่น โดยถือว่าการเรียนนั้นเรียนเพื่อให้รู้ ไม่ใช่เรียนไปเพื่อสอบ มีวิชาเรียนเพียง 6 ด้าน คือ พลานามัย สังคมศึกษา ธรรมชาติศึกษา ภาษา ดนตรีและจังหวะ และการวาดภาพและงานฝีมือ ในส่วนของของเล่นในชั้นเรียนก็เน้นให้เด็กเล่นแต่ชิ้นที่เรียบง่ายและกระตุ้นให้เกิดจินตนาการด้วย เช่น การต่อบล็อก การวาดภาพศิลปะ เป็นต้น

เราจะเห็นได้ว่าการสอนเด็กอนุบาลในญี่ปุ่นนั้นจะต่างจากการสอนแบบไทย ที่ให้นักเรียนนั่งโต๊ะเรียน พยายามให้เด็กอ่านหนังสือให้ได้ จำให้ได้ เพื่อสอบเข้าชั้นป. 1 ให้ได้ ซึ่งนักวิชาการมองว่าเป็นการปิดกั้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เด็ก ปัญญาสมาพันธ์ฯ ได้เรียกร้องให้ทั้งรัฐบาลและผู้ปกครองร่วมกันเปลี่ยนรูปแบบการสอน โดยใช้เด็กเป็นที่ตั้ง ประเมินผลงานของครูโดยการดูพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กมากกว่า

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!