ภัยแล้งและการขยายตัวของทะเลทราย แอฟริกา สาเหตุ

ผมได้เตรียมเรื่องที่จะเขียนถึงในสัปดาห์นี้มาหลายวันแล้ว แต่พอจะลงมือเขียนไม่กี่นาทีผมได้ดูรายการสารคดี “เสน่ห์สัตว์โลก” ทางทีวีช่องหนึ่งทำให้ทราบว่า ถ้าไข่เต่าอยู่ในที่มีอากาศเย็น ลูกเต่าที่ออกมาจะเป็นเพศผู้ แต่ถ้าอยู่ในที่อากาศร้อนลูกเต่าจะเป็นเพศเมียเรื่องนี้เป็นความรู้ใหม่สำหรับนักคณิตศาสตร์อย่างผมครับ แต่รายการไม่ได้อธิบายถึงกลไกการเปลี่ยนเพศ การมีสัดส่วนของเพศไม่เหมาะสมจะเป็นปัญหาต่อระบบนิเวศในอนาคต

นอกจากนี้รายการเดียวกันนี้ยังบอก ถ้าอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส ชนิดของนกในออสเตรเลียจะสูญพันธุ์ถึง 70%

จากข้อมูลที่ผมมีจำนวนผึ้งบางเมืองในสหรัฐอเมริกาได้หายไปแล้วถึง 94% ภายในเวลา 40-50 ปี อย่าลืมนะครับว่าผึ้งเป็นผู้ทำหน้าที่ผสมเกสรให้ธัญพืชซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์ ซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวว่า ถ้าผึ้งสูญพันธุ์ในปีนี้อีก 2-3 ปีมนุษย์ก็จะสูญพันธุ์ตาม นั่นคือ เรื่องโลกร้อนไม่ใช่เรื่องเล็กและเรื่องไกลตัว

เรื่องที่ผมได้เกริ่นนำมานี้ จัดอยู่ในประเภท “โลกที่ซับซ้อน” ตามชื่อคอลัมน์นี้ซึ่งบางเรื่องก็ยากที่จะเข้าใจและบางครั้งก็ยากที่จะคาดการณ์ รวมทั้งยากที่จะสื่อสารด้วย

เรื่องที่ผมจะนำเสนอตามชื่อบทความนี้ มาจากผลงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ล่าสุดสดๆ ร้อนๆ เมื่อไม่กี่วันมานี้เอง รวม 3 เรื่องบางเรื่องผมเองก็ยังไม่เข้าใจกลไกที่ชัดเจนดีพอแต่ที่ต้องนำมาเล่า ด้านหนึ่งต้องการจะช่วยกันสร้างจิตสำนึกของประชาชนโดยช่วยกันลดการเผาพลังงานฟอสซิลซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Global Warming) อีกด้านหนึ่งก็เผื่อว่าจะมีผู้รู้มาช่วยขยายความเพิ่มเติม ตามช่องทางการสื่อสารยุคใหม่ครับ

มาเริ่มกันที่เรื่องแรกครับ คือพื้นที่ทะเลทรายซาฮาราขยายตัวเพิ่มขึ้น

บทความที่ผมอ้างถึงในแผ่นภาพมาจากผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Maryland (สหรัฐอเมริกา) ซึ่งสนับสนุนทุนวิจัยโดย National Science Foundation (มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา) พบว่า นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 เป็นต้นมา พื้นที่ทะเลทรายซาฮารา (มีขนาดประมาณเท่ากับประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 18 เท่าของพื้นที่ประเทศไทย) เป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10% ของพื้นที่เดิม ในช่วงเกือบหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา ผลงานวิจัยดังกล่าวได้ตีพิมพ์ใน Journal of Climate
ผลงานวิจัยระบุว่า อุณหภูมิของอากาศในช่วงฤดูร้อนมีแนวโน้มจะร้อนขึ้น ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝนก็มีแนวโน้มน้อยลงและสั้นลงส่งผลให้ชาวทวีปแอฟริกาตอนเหนือซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรกำลังถูกคุกคามอย่างรุนแรง

ทะเลทรายที่งานวิจัยนี้ให้นิยาม คือบริเวณที่มีฝนตกเฉลี่ยประมาณไม่เกิน 100 มิลลิเมตรต่อปี ในขณะที่ในประเทศไทยเราฝนตกปีละประมาณ 1,500 ถึงเกือบ 3,000 มิลลิเมตร

ภัยแล้งและการขยายตัวของทะเลทราย แอฟริกา สาเหตุ

ผู้วิจัยได้ศึกษาเฉพาะทะเลทรายซาฮารา แต่ผู้ศึกษาได้แนะนำว่าทะเลทรายอื่นๆก็น่าจะกำลังขยายพื้นที่เช่นเดียวกัน

ผลงานวิจัยได้วิเคราะห์อย่างจำแนกว่า สาเหตุที่พื้นที่ของทะเลทรายเพิ่มขึ้นเกิดจาก 2 สาเหตุ

สาเหตุแรก เกิดจากวงจรการเกิดตามธรรมชาติเป็นวงจรในระยะเวลานานๆ คือ Atlantic Multidecadal Oscillation (AMO-ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ต้องใช้เวลานานเป็นหลายทศวรรษ) และ Pacific Decadal Oscillation (PDO-ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ต้องใช้เวลานานเป็นทศวรรษ)

เป็นปรากฏการณ์เกิดจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและอุณหภูมิของอากาศเหนือทะเลทรายซาฮาราเอง

กล่าวอย่างง่ายๆ ได้อย่างนี้ครับ พื้นที่ทะเลทรายที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรจะได้รับอุณหภูมิจากดวงอาทิตย์มากกว่าอากาศในบริเวณนั้นก็จะลอยขึ้นข้างบน อากาศที่เย็นกว่า (ทั้งที่อยู่ใกล้ทวีปยุโรปและแอฟริกาตอนกลาง) ก็จะพัดเข้ามาแทนที่ เกิดเป็นกระแสลมที่พัดผ่านความแห้งแล้งในทะเลทรายพื้นที่ทะเลทรายจึงขยายตัวเพิ่มขึ้น

ผู้วิจัยประเมินว่า สาเหตุดังกล่าว ถ้าคิดเป็นแรงกระทำก็มีส่วนถึง 2 ใน 3 ส่วนของแรงทั้งหมดที่ทำให้พื้นที่ทะเลทรายขยายตัวเพิ่มขึ้น แรงที่เหลืออีก 1 ใน 3 เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า “โลกร้อน” นั่นเอง

บางท่านอาจจะสงสัยว่า ผู้วิจัยสามารถจำแนกขนาดของสาเหตุดังกล่าวได้อย่างไร

ผมเองยังไม่ได้อ่านผลงานวิจัยดังกล่าวโดยตรง แต่ในฐานะนักคณิตศาสตร์ผมพอจะทราบว่านักคณิตศาสตร์สามารถทำได้ โดยใช้วิธีที่เรียกว่า การวิเคราะห์ฮาร์โมนิก (Harmonic Analysis) หรือ การวิเคราะห์ความถี่

ผมขอยกตัวอย่างครับ ถ้าเราจะค้นหาสาเหตุและขนาดของแรงที่ทำให้ระดับน้ำที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลง วิธีทำก็คือเก็บข้อมูลระดับน้ำที่ตำแหน่งดังกล่าวทุก 1 ชั่วโมง (มีเครื่องมืออัตโนมัติ) ในช่วงเวลาที่สนใจ เช่น ประมาณ 50-60 วัน จากนั้นก็ใช้วิธีการวิเคราะห์ฮาร์โมนิก เราก็จะทราบได้ว่า ปัจจัยที่ทำให้ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงเกิดจากระบบน้ำขึ้น-น้ำลง จากกระแสลม (พัดน้ำ) ฯลฯ มีขนาดของแรงอย่างละเท่าใด วิธีการดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการทำความเข้าใจกับระบบที่มีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดีครับ

สำหรับภาพทางขวามือด้านล่าง เป็นการเปรียบเทียบระบบนิเวศในพื้นที่เดียวกันเมื่อ 6 พันปีก่อนกับปัจจุบัน ซึ่งเราจะเห็นว่าเมื่อ 6 พันปีก่อนยังไม่เป็นทะเลทรายแต่เป็นทุ่งหญ้าที่ราบกว้างและมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปัจจุบัน

เท่าที่ผมสืบค้นได้พบว่า การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในบริเวณทะเลทรายซาฮารา (ในปัจจุบัน) ได้เกิดขึ้นอย่างค่อนข้างจะฉับพลัน แต่ผมไม่มีความรู้ว่าเป็นเพราะเหตุใด

มาเรื่องที่สองครับ ซึ่งก็เป็นข่าวร้ายเช่นเดียวกัน คือกระแสน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือไหลช้าลง 15% นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ซึ่งต่างจากข่าวแรกที่ได้กล่าวมาแล้ว คือมนุษย์ตกเป็นผู้ต้องสงสัยรายแรก

ข่าวนี้มาจากผลงานวิจัยของเยอรมนี ( Potsdam Institute for Climate Impact Research) และสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature

บริเวณที่เกิดได้แสดงในภาพ ซึ่งก็อยู่ไม่ไกลกับทะเลทรายซาฮารา (ดูภาพประกอบ)
ภัยแล้งและการขยายตัวของทะเลทราย แอฟริกา สาเหตุ

ผลการศึกษาก่อนหน้านี้เป็นการศึกษาด้วยคอมพิวเตอร์โมเดล พบว่าการไหลของกระแสน้ำอุ่นที่ช้าลงจะส่งผลให้ระดับน้ำชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาเพิ่มเร็วขึ้น และทำให้อุณหภูมิของอากาศในตะวันตกตอนเหนือของยุโรปสูงขึ้นถึง 5 องศาเซลเซียส แต่จากงานวิจัยล่าสุดด้วยการวัดโดยตรง นอกจากจะสนับสนุนผลการศึกษาในอดีตแล้ว ยังทำให้ยากที่จะปฏิเสธความจริงดังกล่าว

การละลายของแผ่นน้ำแข็งในบริเวณกรีนแลนด์ทำให้ความเค็มของน้ำลดลง ดังนั้น น้ำจึงไม่หนักพอที่จะไหลลงเบื้องลึกของมหาสมุทรเหมือนในอดีต ระบบการไหลและระบบนิเวศจึงเปลี่ยนไป

ผลงานวิจัยชิ้นสุดท้าย (รายละเอียดอยู่ในภาพ)
ภัยแล้งและการขยายตัวของทะเลทราย แอฟริกา สาเหตุ

พบว่าเส้นแบ่งบริเวณพื้นที่ระหว่าง “พื้นที่ชุ่มชื้น” (ซึ่งเป็นพื้นที่ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา-เส้นเมอริเดียนที่ 100) กับ “พื้นที่แห้งแล้ง” (ซึ่งเป็นพื้นที่ทางตะวันตก) ซึ่งได้กำหนดตั้งแต่ปี 1870 แต่ปัจจุบัน 2018 ได้ถูกขยับไปทางตะวันออกเป็นระยะทาง 224 กิโลเมตร (140 ไมล์) หรือเส้นเมอริเดียนที่ 98 นั่นแสดงว่า พื้นที่แห้งแล้งได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่ชุ่มชื้นได้ลดลง

นี่เป็นผลงานวิจัยบางส่วนที่ยืนยันว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีมากมายอย่างที่เราคาดไม่ถึง สาเหตุสำคัญเกิดมาจากการเผาพลังงานฟอสซิล คือถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

ในอดีต เรายอมรับพลังงานฟอสซิลเพราะไม่มีหนทางอื่น แต่ปัจจุบันนี้แหล่งพลังจากแสงแดด สายลม ที่เราไม่ต้องซื้อและไม่มีผลกระทบ แต่มีราคาถูกกว่า

บทความของผมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สรุปว่า อะไรที่ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติทำได้ แสงแดดและลมทำได้ถูกกว่ามีเหตุผลอันใดเล่าที่เราจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาโลกของเราให้ยั่งยืนเพื่อลูกหลานของเราเอง ผมจะเขียนและศึกษาค้นคว้าเรื่องแบบนี้ต่อไปจนกว่าจะเขียนไม่ไหว ผมสัญญาครับ



  • โลกที่ซับซ้อน

เพราะเหตุใดทวีปแอฟริกาถึงมี แต่ความแห้งแล้ง

ช่วงเวลาที่ทวีปแอฟริกานั้นมีความชุ่มชื้นมากที่สุดเกิดขึ้นเมื่อ 16,000 - 6,000 ปีก่อน จนกระทั่งโลกของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับการเอียงของแกนโลกจาก 24.14 องศาเป็น 23.45 องศา ส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และมรสุมไม่อาจเดินทางมายังซาฮาราได้ดังเดิม จึงนำมาสู่ความแห้งแล้งในปัจจุบัน ซึ่งนี่คือทฤษฎีปัจจุบันที่เชื่อว่าน่าจะ ...

ภัยแล้ง เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

สาเหตุการเกิดภัยแล้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เช่น ฝนทิ้งช่วง ฝนตกน้อย ดินเก็บความชื้นต่ำได้ไม่ดี ปริมาณน้ำใต้ดินมีน้อย การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล ความผิดปกติของตำแหน่งร่องมรสุมทำให้ฝนตกในพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง ความผิดปกติเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่านประเทศน้อยกว่าปกติ

บริเวณใดเกิดปัญหาภัยแล้งมากที่สุดในทวีปแอฟริกา

เขตซาเฮล (Sahel Region) ตั้งอยู่ที่ในทวีปแอฟริกาเหนือ ใต้ทะเลทรายซาฮารา ทอดยาวเป็นระยะทาง 5,900 กม. ดังรูป พื้นที่นี้มีลักษณะกึ่งแห้งแล้งมีปริมาณน้ำฝนที่แปรปรวน เกิดภัยแล้งและน้ำท่วมเป็นประจำซึ่งนำไปสู่การขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มสะอาด และที่สำคัญยังเป็นหนึ่งในพื้นที่มีระดับความยากจนหลายมิติ (multidimensional poverty) สูง ...

ข้อใดเป็นผลกระทบที่เกิดจากภัยแล้งในทวีปแอฟริกา

ปัญหานี้ไม่เพียงจะส่งผลต่อมนุษย์ แต่ยังรวมถึงสัตว์จำนวนมาก ทั้งสัตว์ป่าและปศุสัตว์ของชาวบ้าน ที่พากันล้มตายเพราะไม่มีอาหารและน้ำให้ดื่มกิน โลกเผชิญวันอากาศร้อนทะลุ 50 องศาเพิ่มขึ้น 2 เท่าในรอบ 4 ทศวรรษ ประชากรโลกต้องอพยพหนีอากาศร้อนเหมือนทะเลทรายในอีก 500 ปี