สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

เครื่องมือเจาะ (DRILL TOOLS) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเจาะชิ้นงานที่เป็นโลหะหรือไม้ เพื่อให้ได้รูตามที่ต้องการ
วิธีการใช้สว่าน
        •  ก่อนเจาะทุกครั้งควรใช้เหล็กตอกนำศูนย์ตรงจุดที่ต้องการเจาะ เพื่อให้ดอกสว่านลงถูกตำแหน่ง
        •  ควรจับเครื่องเจาะให้กระชับและตรงจุดที่เจาะ
        •  การเจาะต้องออกแรงกดให้สัมพันธ์กับการหมุน เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้
        •  ในการเจาะชิ้นงานให้ทะลุทุกประเภทจะต้องมีวัสดุรองรับชิ้นงานเสมอ
        •  ควรเลือกใช้ดอกสว่านให้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงาน
        •  ไม่ควรใช้ดอกสว่านผิดประเภท เช่น ดอกสว่านเจาะคอนกรีตไม่ควรนำไปเจาะเหล็ก เป็นต้น
การจัดเก็บและบำรุงรักษา
        •  ตรวจสอบตรวจซ่อมสว่านให้มีสภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        •  ทำความสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง
        •  ก่อนนำไปเก็บให้ชโลมนำมันเครื่องใสทุกครั้ง
เครื่องมือเจาะในงานไม้
http://เครื่องมือช่างไม้.com/
1.      สว่าน (Drills)
การเจาะรูเล็ก ๆ เพื่อนำน็อต สกรู หรือตะปูยึดติด อาจจะต้องใช้เครื่องมือเจาะรูที่เรียกว่า “สว่าน” สว่านที่ใช้เจาะมีรูปร่าง ต่าง ๆ กัน แล้วแต่ชนิดของงานที่ใช้ ดังนี้
        -  สว่านข้อเสือ
        -  สว่านมือ
        -  เหล็กหมาดและบิดหล่า
        -  เหล็กตอกรู
-     สว่านข้อเสือ (Brace drills) ช่างไม้นิยมใช้สว่าน เจาะรูปช่วยในการทำรูเดือย ส่วนประกอบของสว่านชนิดนี้มี 3 ส่วนคือ ส่วนหัว (Head) ส่วนมือจับ (Handle) และที่ปรับดอกสว่าน (Chuck)การใช้งานจะ หมุนตามเข็มนาฬิกา เพื่อยึดให้แน่น แต่ถ้าจะคลายต้องหมุนไปทางซ้าย สามารถใช้งานได้ทั้งแนวราบและแนวตั้ง

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://www.mymarket.in.th/shop_user/homemart/image/.jpg
-     สว่านมือ (Hand drill) หรือสว่านเจาะนำ การเจาะรูชิ้นงานจะเจาะให้เล็กกว่า ¼” สามารถเจาะได้ทั้งงานเหล็กและงานไม้ ลักษณะแตกต่างกับสว่านข้อเสือ ส่วนที่ใช้หมุนดอกสว่านเพื่อยึดชิ้นงานจะใช้ส่วนที่เรียกว่า Crank ถ้าใส่ ดอกสว่านไม่ดี ดอกสว่านจะหักง่าย สว่านเมื่อสามารถเจาะได้ทั้งแนวราบและแนวตั้ง
สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

https://www.ktw.co.th/ktwimg/IMAGE/PRODUCT/BIG/STANLEY/03-011.jpg

ก.   เหล็กหมาด (Brad awl) รูปร่างคล้ายไขควงเล็ก ๆ ใช้สำหรับเจาะในเวลาที่จะตอกตะปูหรือตะปูเกลียว วิธีใช้จะกดลงในเนื้อไม้แล้วบิดซ้ายขวา ไม่ควรใช้กับไม้บาง

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://3.bp.blogspot.com/-wg5ZP5JPI2A/T_li_7GGUyI/AAAAAAAAAUo/WInSsrV1Wnw/s1600/bradawl.jpg

ข.   บิดหล่า (Gimlet bit) ใช้เจาะรูขนาดเล็ก ๆ ที่ต้องการฝังตะปูควงเข้าไปในเนื้อไม้แข็งมีขนาดตั้งแต่ 1/16” – 3/8”

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://i1092.photobucket.com/albums/i408/John_Winton/gimlet-tool.jpg

-    สว่านไฟฟ้า (ELECTRIC DRILL) เป็นเครื่องมือเจาะแบบเครื่องจักร (MACHINE TOOLS) ใช้กำลังขับจากมอเตอร์ไฟฟ้า ใช้ในการเจาะรูในงานโลหะหรืองานไม้ ปัจจุบันสว่านไฟฟ้าเป็นที่นิยมและใช้กันมากกว่าสว่านชนิดอื่น ๆ เพราะมีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ประสิทธิภาพการทำงานสูง

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

รูปแสดงสว่านไฟฟ้า
 http://www.สว่านไฟฟ้า.com/upimage/1339692654.jpg
อุปกรณ์ที่ใช้ควบคู่กับกับเครื่องมือที่เจาะรูที่กล่าวมาแล้ว ถือว่ามีความสำคัญในการเจาะรูที่จะขาดเสียไม่ได้ นั่นก็คือ “ดอกสว่าน” เพื่อความเข้าใจในเรื่องการเจาะให้มากขึ้นจะขออธิบายถึงดอกสว่านดังนี้
สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://www.be2hand.com/upload/201105/201105-16-152605-1.jpg

1. ดอกสว่านเจาะ (Drill bit) ใช้กับงานที่ต้องการคว้านเนื้อไม้ภายในวงกลมออก มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นลำตัว และส่วนปลายที่เป็นเกลียว ส่วนที่เป็นเกลียวที่ปลายจะแหลมคม เกลียวเล็ก ๆ ที่ตอนปลายจะฝังและดูดส่วนอื่นให้เข้าในเนื้อไม้ เกลียวจะมีทั้งชนิดหยาบและละเอียด ขนาดของดอกสว่านเรียกเป็นเศษส่วน 16 ของนิ้วเสมอ เช่น ขนาด 3/16” (ขนาดที่กล่าวมานี้หมายถึงขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางรูที่จะเจาะ) ที่ตอนโคน เป็นรูปเรียวเหลี่ยม สำหรับจำปายึดแน่น

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://www.toolfix.com.au/images/C/drill%20bits.jpg

2. ดอกสว่านขยายหัว (Expansive bit) ลักษณะหัวสามารถขยายหรือลดลงได้โดยเลื่อนตอนปลายของดอกสว่าน ใช้เจาะรูได้ตั้งแต่ 1” ขึ้นไป สามารถเจาะได้ถึง 4” เหมาะกับงานเจาะรูกุญแจ และงานท่อน้ำผ่าน (บ้านที่มีฝาเป็นไม้)

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

https://www.cromwell.co.uk/images/product/KEN/597/KEN5974400K_0.jpg

3. ดอกสว่านรูลึก (Foerstner bit) ลักษณะที่หัวดอกสว่านเป็นสัน มีทั้งที่เป็นเกลียวและไม่เป็นเกลียว ซึ่งจะเจาะได้ลึกเป็นพิเศษจนถึงเจาะไม่ได้ ใช้เจาะในงานต่าง ๆ ได้ดี เช่น รูกุญแจ หรือเจาะรูช่องลำโพงวิทยุ เป็นต้น มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ¼” –2”

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://www.startwoodworking.com/sites/startwoodworking.com/files/uploads/taunton/images/4-Forstner-bit(1).jpg
4. ดอกสว่านเฉพาะงาน (Straight-shank drill) ใช้เจาะรูกลมเล็ก ๆ ลักษณะของดอกสว่านมีปีก 2 ข้าง เกสรเป็นเกลียว ในแต่ละเกลียวมีร่องสำหรับเก็บเศษไม้ ขนาดที่มีในท้องตลาดตั้งแต่ 1/16” – ½” (ขนาดจะแบ่งย่อยละเอียดกว่าชนิดอื่น ๆ เพื่อการใช้งานเฉพาะ) ใช้สำหรับเจาะรูเพื่ออุดหัวตะปูในงานเข้ามุมของโต๊ะ เก้าอี้ วงกบ เป็นต้น
สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://www.home2all.com/Photo/YAF/2012/09/18/bbf4ab79-1cc2-43c8-9b96-5d29584c9625.jpg
5. ดอกสว่านอัตโนมัติ (Automatic drill bit) ใช้สำหรับงานเจาะรูเล็ก ๆ เช่นเดียวกับข้อ 4 แต่การทำงานจะสะดวกกว่า เมื่อใช้ควบคู่กับไขควงอัตโนมัติ คือสามารถใช้มือเพียงข้างเดียว
ทำงานได้

การใช้งานของดอกสว่าน

เพื่อการเจาะในงานไม้จะทำได้โดยบังคับดอกสว่านด้วยที่บังคับ และปรับความลึกตามที่ต้องการ หรืออาจะทำที่บังคับใช้เองก็ได้ ดอกสว่านที่นำมาใช้งานต้องเลือกดอกสว่านตามขนาดและชนิดที่เหมาะสมกับงาน ทำเครื่องหมายที่จะเจาะ (เครื่องหมาย +) ไว้แล้วตั้งสว่านให้ได้ฉากกับไม้ ที่จะเจาะ เพื่อจะได้แนวตรง ขณะที่เจาะไม้ควรระวังความลึกด้วย เพราะบางครั้งอาจไม่ต้องการเจาะทะลุ เมื่อเจาะได้ความลึกที่ต้องการแล้ว ให้นำดอกสว่านออกจากรู และเศษผลไม้ต่าง ๆ ออกจากรูให้สะอาดด้วย การใช้งานของดอกสว่าน

การเลือกใช้ดอกสว่าน  การเจาะรูชิ้นงานที่เป็นโลหะ  เราควรเลือกดอกสว่านที่จะเจาะให้ถูกชนิด และถูกขนาด โดยมีวิธีการเลือกดังนี้
การเลือกชนิดดอกสว่าน  ดอกสว่านมีหลายชนิดเช่น      
1. ดอกสว่านเจาะโลหะ            
     - ดอกสว่านแบบ HS  High Speed  ใช้สำหรับเจาะวัตถุเช่น ไม้ พลาสติก            
     - ดอกสว่านแบบ HSS  Hih Speed Steel   ใช้สำหรับเจาะเหล็กชนิดต่าง ๆ เช่น เหล็กแผ่น เหล็กอ่อน เหล็กเหนียว เหล็กหล่อ มีความแข็งสูงมาก        
2. ดอกสว่านเจาะปูน        
3. ดอกสว่านเจาะไม้        
     ดอกสว่านที่ใช้งานจะมีหลายขนาด  การนำไปใช้งานต้องคำนึงถึงความเร็วที่จะใช้เจาะรูด้วย            
     ดอกสว่าน  ขนาดเล็ก    ใช้ความเร็วในการเจาะ  สูง            
     ดอกสว่าน  ขนาดใหญ่  ใช้ความเร็วในการเจาะ  ต่ำ
วิธีการเลือกซื้อดอกสว่านให้เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 1 ดอกสว่านเจาะรูไม้ :ลักษณะปลายดอกคล้ายหางปลากลางดอกเป็นปลายแหลมสำหรับเจาะนำศูนย์  เป็นดอกสว่านที่ใช้สำหรับเจาะรูไม้ที่มีขนาดกว้างไม่มาก ใช้เจาะรูสำหรับเดือยลูกบิด บานประตู เจาะร้อยสายไฟในตู้
ขั้นตอนที่ 2 ดอกสว่านเจาะรูไม้แบบปรับขนาดได้ :ลักษณะปลายดอกเป็นแป้นวงกลมสำหรับใส่ใบฟันตัดส่วนกลางดอกมีเกลียวสว่าน สำหรับเจาะนำศูนย์ มีขนาดเจาะตั้งแต่ 1 นิ้ว - 2 ½ นิ้ว เหมาะสำหรับการเจาะรูไม้ที่มีขนาดกว้างมากๆเช่นเจาะรูสำหรับลูกบิด บานประตู รูสวมท่อน้ำในตู้ครัว
ขั้นตอนที่ 3 ดอกสว่านเจาะปูน :ลักษณะดอกเป็นเกลียวบิด ส่วนปลายดอกเป็นเหล็กแข็งเพื่อรับแรงกระแทกการใช้งาน เหมาะสำหรับการเจาะปูน เจาะอิฐ
ขั้นตอนที่ 4 ดอกสว่านเจาะรูโลหะ : ลักษณะปลายดอกวงกลมมีฟันตัดคล้ายเลื่อย ปลายดอกมีเกลียวสว่านสำหรับเจาะนำ ศูนย์ ดอกประเภทนี้เหมาะกับการใช้งานสำหรับเจาะ รูโลหะ , ใช้เจาะรูสำหรับใส่ก๊อกน้ำของอ่างล้าง จาน
ขั้นตอนที่ 5 ดอกสว่านเจาะเหล็ก : ลักษณะดอกเป็นเกลียวตัดตล อดดอก ปลายดอกแหลมสำหรับจิกชิ้นงาน ซึ่งจะเป็นดอกสว่านที่มีขายทั่วไป เหมาะสำหรับการเจาะโลหะทั่วไปและพลาสติก การเจาะเหล็กควรเลือกดอกสว่านที่เป็น High speed steel
ขั้นตอนที่ 6 ดอกสว่านเจาะไม้ :ลักษณะส่วนปลายดอกสว่านเป็นเกลียวบิด 2 เกลียวส่วนปลายดอกแหลม ด้านข้างปลาย ดอกมีครีบแหลม 2 ครีบ สำหรับกรีดไม้กันไม้ฉีกเวลาเจาะ การใช้งานสำหรับใช้เจาะไม้โดยเฉพาะ
ขั้นตอนที่ 7 ดอกสว่านขั้นบันได : ลักษณะดอกสว่านเป็นรูปกรวย ขึ้นไป ขอบดอกสว่านเป็นหยักขั้นบันไดตามขนาดรูเจาะปลายดอกเจียรเป็นมุมสำหรับการ เจาะชิ้นงาน ในแต่ละขั้นจะมีตัวเลขบอกขนาดรูเจาะที่ด้านในสามารถมองเห็นชัดเจน ดอกนี้เหมาะกับการใช้งานสำหรับการเจาะเหล็ก ไม้ สเตนเลส พลาสติก -สามารถเจาะรูได้หลายขนาดโดยไม้ต้องเปลี่ยนดอกสว่านบ่อยๆ สามารถลับคมได้
2.   สิ่ว (Chisels) คือเครื่องมือใน งานไม้ที่เป็นเหล็ก มีความคม จึงต้องระวังเป็นพิเศษ เมื่อไสไม้ได้ขนาดแล้ว งานที่จะทำต่อไปคือการประกอบไม้เข้าด้วยกันโดยการเจาะ สิ่วจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานเจาะมากที่สุด การแบ่งสิ่วตามลักษณะที่สร้างมาในท้องตลาด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
-         สิ่วที่โคนเรียวแหลมฝังเข้าไปในด้าม เรียกว่า Tang
-         สิ่วที่ด้ามฝังเข้าในโคนสิ่ว เป็นท่อเรียวกลวงข้างใน เรียกว่าSocket
แต่ถ้าแบ่งสิ่วตามชนิดและลักษณะของการใช้งาน สามารถแบ่งได้ดังนี้
ก.   สิ่วใบหนา (Firner chisel) สิ่วชนิดนี้จะมีใบที่หนาแข็งแรง ใช้งานได้ทั้งหนักและเบาขนาดความกว้างมีตั้งแต่ 1/8” –1” (ขนาดสิ่วเรียกตามความกว้าง)

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://i40.tinypic.com/f4451g.jpg

ข.   สิ่วปากบาง (Paring chisel) สิ่วชนิดนี้ใบจะบางกว่าชนิดแรก โดยทั่วไปจะใช้สิ่วนี้เซาะไม้ด้วยมือ ไม่นิยมใช้ตอก ตอนริมของใบสิ่วจะเอียงลาดลงไปหาอีกด้านหนึ่ง เพื่อทำงานละเอียด มีขนาดตั้งแต่ 1/8” –2”

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://www.craftsmanstudio.com/images_p/C!007PC.jpg

ค.   สิ่วเข้าโครง (Framing chisel) ตัวสิ่วจะหนักและแข็งแรงมาก ใช้ในงานหนัก ๆ เช่น การประกอบโครงเรือ สิ่วชนิดนี้จะมีวงแหวนเหล็กที่ด้ามเพื่อกันด้ามแตก

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://www.jimbodetools.com/images/products/165277.jpg

ง.   สิ่วเดือย (Mortisel chisel) ใช้สำหรับเจาะร่องรับเดือย ลักษณะพิเศษคือ ตัวสิ่วตั้งแต่ด้ามลงมาที่ตัวสิ่วจะหนา เพราะเวลาเจาะต้องใช้สิ่วงัดเพื่อให้ไม้หลุด ซึ่งใช้กำลังมากกว่าสิ่วธรรมดาที่กล่าวมาแล้ว

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://www.thewoodshepherd.com/Chisels/LN%20socket%20mortise%20chisels.jpg

จ.   สิ่วทำบัวหรือสิ่วเซาะร่อง เป็นสิ่วที่ใช้ทำบัว เซาะร่อง เจาะรูกลม หรือแต่งไม้ส่วนที่เป็นโค้ง ใบสิ่วมีลักษณะรูปโค้งเว้า ขนาดใบกว้าง ¼” –2” มักเรียกสิ่วชนิดนี้ว่า สิ่วเล็บมือ

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://img.tarad.com/shop/b/bigbossmall/img-lib/spd_20090417142204_b.jpg
3.  เหล็กตอกรู(Hollow punch sets)
ลักษณะ ตุ๊ดตู่ ซึ่งเป็นเหล็กกลม มีหลายขนาดปลายแหลมมีรูกลวง ใช้ค้อนตอกสำหรับเจาะรู สำหรับวัสดุที่ไม่แข็ง เช่น ทองเหลือง (Brass) ทองแดง (Copper) หนัง (Leather) ผ้าใบ (Canvas) และ ประเก็น (Gasket) ในชุด มีขนาดรู 6-38 มม. แท่น ช่วยให้เจาะได้สะดวก รูที่ได้จะออกมา เป็นวงกลม เรียบ
สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://www.thai-material.com/images/All-sizes-of-J2-LaiNam2(1).jpg

การแต่งคมเครื่องมือ

เครื่องมืองานช่างไม้ที่ดีควรจะต้องพร้อมที่จะใช้งาน ไม่ว่าจะเรื่องความคม การประกอบหรือการใช้ สิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ ความคมของเครื่องมือ ซึ่งจะส่งผลให้งานออกมาได้ผลดีตามไปด้วย ดังนั้นนักศึกษาจึงควรได้ศึกษาและให้ความสนใจในเรื่องการลับคมของเครื่องมือ และสามารถปฏิบัติได้เองพอสมควร เมื่อใดที่นำเครื่องมืองานไม้ไปใช้งาน แต่ไม่มีการลับคมเครื่องมือที่ดี งานที่ทำจะยุ่งยากและไม่สะดวก การแต่งคมเครื่องมือในงานไม้ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การใบกบ สิ่ว และดอกสว่าน ดังนี้
ก.   การลับใบกบ ใบสิ่วเมื่อใบกบ ใบสิ่ว ไม่คม หรือบิ่น ต้องแต่งและลับให้ได้รูปร่างเช่นเดิมเพื่อให้การทำงานได้สะดวกและถูกต้อง ควรปฏิบัติการลับคมดังนี้
ข้อมูลจาก : http://www.homedd.com/HomeddWeb/servlet/homedd.A_home_diy.frontweb.DiyTopic?msn=1&Mytype=1&JobID=00005&ClassID=00023&ItemID=05104
 ขั้นตอนที่ 1
ลับด้วยหินลับ สำหรับสิ่วปากบางทั่วไปที่หน้าคมสิ่วตรง การลับโดยการวางสิ่วบนหินลับและดันลับตามทิศทางโดย ออกแรงสม่ำเสมอ การลับลักษณะนี้เหมาะกับสิ่วที่มีหน้ากว้าง 1 - 2 นิ้ว
ขั้นตอนที่ 2
สิ่วโค้งหรือสิ่วทำบัว ควรลับในลักษณะให้โค้งไปตามคมสิ่วคือออกแรงดันสิ่วไปข้างหน้าแล้วหมุนคมสิ่ว ตามไปด้วยอย่างสม่ำเสมอและโค้งด้านในของสิ่วที่ไม่สามารถลับตามแนวราบได้ ควรใช้หินลับที่โค้งเข้ารูปกับคมสิ่ว
ขั้นตอนที่ 3
วางใบกบให้คมตัดแนบกับหินลับตามมุมตัดที่ต้องการ กบล้างมุมตัดประมาณ 45 องศา กบผิวมุมตัดประมาณ 60 องศา ดันใบกบลับกับหินลับโดยออกแรงกดสม่ำเสมอลับคมให้เอียงอีกประมาณ 5 องศา เพื่อให้คมอยู่ได้นาน
ขั้นตอนที่ 4
ลับด้วยแท่นลับ เพื่อให้ได้มุมตัดของคมนั้นตรงตามต้องการ ควรใช้แท่นจับใบสิ่วหรือใบกบ ล็อคไว้แล้วลับคมตามปกติ วิธีนี้ควรใช้ หินลับที่หน้าหินเรียบตรงไม่โค้งหรืออาจจะทำแท่นเองก็ได้ทำจิ๊กแท่นลับขึ้น มาหรือแท่นสำเร็จสำหรับการลับคมดันตามปกติ

ข.   การลับคมดอกสว่าน เพื่อให้ดอกสว่านที่ใช้เจาะรูไม้มีความคม และเจาะรูไม้เพื่อทำงานได้ง่าย มีวิธีการปฏิบัติดังนี้คือ

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/TEN121/chapter7/pic%20chapter7/7.16.jpg

การลับดอกสว่าน มีขั้นตอนการลับดังนี้

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://www.thaicarpenter.com/images/1174312057/drill.jpg
สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://sieuthithietbidongnai.com.vn/upload/product/GSM200.jpg

1. เปิดสวิตช์เครื่องเจียรนัยตั้งโต๊ะ โดยไม่ยืนอยู่หน้าล้อหินโดยตรง ต้องยืนอยู่ด้านข้างล้อหินเพราะแรงเหวี่ยงในการเปิดครั้งแรกมีความแรงมาก และต้องให้หินเจียระไนหมุนนิ่งก่อนจึงทาการเจียระไนลับคมตัด
2. ใช้มือซ้ายจับบริเวณส่วนปลายของดอกสว่าน ส่วนมือขวาประคองอยู่บริเวณส่วนปลายของดอกสว่าน โดยที่มือซ้ายวางอยู่บนแท่นรองรับงานหินเจียระไนเมื่อพร้อมจึงเคลื่อนคมตัด ของดอกสว่านเข้าหาล้อหินเจียระไนอย่างช้าๆ
3. เมื่อมองจากด้านบน ดอกสว่านจะทำมุมกับผิวด้านหน้าของหินเจียระไน 59 องศา (ลับคมทั้ง 2 ข้างให้คมและเท่ากันก่อน)

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/TEN121/chapter7/pic%20chapter7/7.10.jpg

4. เคลื่อนดอกสว่านเข้าสัมผัสกับล้อหินเจียระไน สังเกตเห็นคมตัดของดอกสว่านถูกลับจนกระทั้งคมดีแล้ว ให้กระดกปลายคมตัดขึ้น พร้อมกับหมุนบิดดอกสว่านไปตามเข็มนาฬิกา เพื่อเจียระไนให้เกิดมุมฟรี 8-12 องศา

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/TEN121/chapter7/pic%20chapter7/7.11.jpg

5. เจียระไนดอกสว่านเอียงทำมุมกับหน้าล้อหิน 59 องศา มุมจิก (Cutting Angle) เป็นมุมรวมที่ปลายดอกสว่าน ซึ่งจะมีขนาดมุมแตกต่างกันตามชนิดของวัสดุที่จะนำมาเจาะ เช่น เหล็กเหนียวทั่วไป จะมีมุมรวม 118 องศา (ครึ่งหนึ่งเท่ากับ 59 องศา)
6. ค่อย ๆ บิดดอกสว่านให้หมุนพร้อมกับออกแรงกดมากขึ้น จะทำให้ได้มุมฟรีด้านหลังคมตัด ทำเช่นนี้ทั้ง 2 ข้างของคมตัดดอกสว่าน
7. มุมรวมของดอกสว่าน ซึ่งถ้าลับได้มุมที่ถูกต้องความยาวของคมตัดทั้ง 2 ด้านจะต้องเท่ากัน
8. ขณะลับต้องนำดอกสว่านจุ่มน้ำหล่อเย็นบ่อย ๆ เพื่อระบายความร้อน ลับดอกสว่านสลับกันทีละข้าง จนได้ขนาดมุมเท่ากันตามต้องการ

สว่าน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา

http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/TEN121/chapter7/pic%20chapter7/7.14.jpg

ข้อแนะนำ
มุมฟรีหรือมุมหลบหลังคมตัด (Lip Clearance Angle)
เป็นมุมที่ลาดเอียงจากด้านหลังของคมตัด เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวดอกสว่านด้านหลังคมตัดเสียดสีกับงาน ซึ่งจะทาให้ดอกสว่านไม่กินงาน มุมฟรีประมาณ 8-12 องศา ถ้ามีมุมฟรีมากกว่านี้จะทำให้คมตัดอ่อนและเสียหายได้ง่าย ในการลับคมตัด ของดอกสว่านที่ใช้งานกันทั่ว ๆ ไป มุมคมตัดของดอก สว่านจะมีค่ามุมเป็น 118 องศา ครึ่งหนึ่งเท่ากับ 59 องศา เพราะฉะนั้น การทาบคมตัดของดอกสว่านจะต้องวางทาบให้ได้มุม 59 องศากับผิวหน้าของล้อหินเจียระไน แล้วจึงกดดอกสว่านพร้อมกับหมุนให้ลับช่วงด้านหลังให้เกิดมุมหลบ เพื่อลดการเสียดสีและทำให้เกิดคมตัดขึ้น
ศึกษาข้อมูลการลับดอกสว่านเพิ่มเติมได้ที่ >>> http://www.thaibuiltin.com/?page_id=919

ที่มา วิชาการคอม