จำเป็นต้องเรียน มหา ลัย ไหม

น้องๆ หลายคนที่คะแนนเอ็นท์ไม่ถึงสำหรับจะเข้ามหาวิทยาลัยในฝัน อาจจะหลงคิดไปว่า แย่ล่ะ อนาคตหมองหม่นเหมือนที่เค้าแชร์กันในเน็ตว่า ‘เปิดมือถือมานี่ หน้าจอสว่างกว่าอนาคตชั้นอีก แบบนี้ก็ไม่ใช่นะคะ! นานิจะไม่ขอยกย่องคำพูดที่ว่า โอ้ย มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ก็ไม่จบมหาวิทยาลัย จะไปแคร์อะไร! แต่จะบอกว่ามหาวิทยาลัยไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต และมัน ‘อาจจะดีก็ได้’ นานิเชื่อว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้น มันมีเหตุผลของมัน เรื่องแย่ๆ ทั้งหลายที่เราเคยเจอ มันทำให้เราต้องดิ้นรนและสู้จนมีทุกวันนี้ ดังนั้นเรื่องแย่ๆ ครั้งนี้ก็จะเป็นบทเรียนสำคัญที่จะทำให้เราโตขึ้นไปเป็นคนที่เก่งและใจสู้ว่าเดิมในอนาคต ถ้าเราพยายามอย่างสุดฝีมือแล้วหล่ะก็ ให้จำคำสอนนี้ไว้

"Don't sweat the small stuff, it's all small stuff"
คือ เราไม่ควรเสียเหงื่อหรือเครียดเป็นเด็กเบบี๋กับเรื่องเล็กๆ และสุดท้ายแล้ว ทุกเรื่องนั่นแหละ ก็เป็นเรื่องเล็กทั้งนั้น

ถ้าไม่ได้มหาวิทยาลัยที่ชอบ แทนที่จะมานั่งบ่น นั่งเสียใจ เราควรเอาเวลาไปตั้งใจอ่านหนังสือใหม่ เผื่อปีหน้าจะได้ซิ่ว หรือไม่ก็ตั้งใจเรียนในมหาวิทยาลัยที่ได้นั่นแหละ เอาให้ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทองไปเลย ให้มันรู้ไปว่าจะสู้คนอื่นที่อยู่ในมหาวิทยาลัยอันดับดีกว่าไม่ได้!

ข้อคิดนึ้ใช้ได้กับทุกเรื่องนะคะ ดังนั้นจำไว้ว่าไม่ว่าตอนนี้จะเครียดเรื่องอะไร สุดท้ายแล้ว เรื่องนั้นมันก็จะผ่านไป แล้วมันก็กลายเป็นเรื่องเล็กๆ ในชีวิตของเรา อย่าไปซีเรียสฟูมฟายกับมัน แค่ทำทุกอย่างให้เต็มที่ สุดฝีมือแล้วทุกอย่างจะดีเอง

2. เวลาแค่ปีสองปีมันไม่ได้ทำให้เราช้าไปกว่าคนอื่นซักเท่าไหร่หรอก

ฝรั่งเค้ามีวัฒนธรรมอย่างนึงคือการ take gap year ซึ่งคือการหยุดเรียนไปเลยปีนึงหลังจากที่จบม.6 แล้วออกไป ‘หาตัวเอง’ นานิเองก็ทำเหมือนกัน คือ เอาเวลาไปเที่ยวตามบ้านเพื่อนที่เมืองนอก (จะได้ที่พักฟรีด้วยนะ) แล้วก็เอาเวลาไปฝึกงานตามที่ต่างๆ ที่เคยคิดว่าชอบ ตอนนั้นนานิไปฝึกงานในแผนกการเงิน แล้วก็ฝึกที่บริษัทจัดสัมมนา เรื่องการบริหารเงิน มันเลยเป็นการคอนเฟิร์มว่าชอบสายนี้ชัวร์ป้าป ไม่งั้นนานิอาจจะเรียนอย่างอื่นไปแล้ว เช่นหมอ หรือวิศวะเคมี ดังนั้นก็ต้องขอขอบคุณ gap year ที่ทำให้นานิเรียนมาถูกสาย ไม่ต้องเสียเวลาซิ่วหรือเรียนจนจบแล้วทำงานแล้วถึงรู้ว่าไม่ใช่งานที่โดนใจ

แต่มันเหมือนจะเป็นวัฒนธรรมของคนไทยไปแล้วมั้งที่เรียนยิ่งเร็วยิ่งดี pass ชั้นได้ยิ่งดี เรียนจบสามปีครึ่ง หรือสามปี หูยเร็วดีแปลว่าฉลาด ซึ่งโอเคค่ะ ถ้าเรารู้ว่าเราต้องการอะไร และรู้ตัวเองว่าชอบอะไรอยากทำอะไร มีเป้าหมายชัดเจนแล้วหล่ะก็ เรียนจบเร็วตั้งแต่อายุน้อยมันก็ดีค่ะ จะได้เข้าสู่โลกของการทำงานจริงๆ ซักที แต่ปัญหาคือ นิสัยอยากเรียนให้จบเร็วๆ มันติดมาถึงทุกคน รวมไปถึงคนที่ยังไม่รู้เลยว่าเรียนอะไรดี นานิไม่อยากให้เรายอม ‘เรียนอะไรก็ได้ เรียนๆ ไปก่อน’ เน้นเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ทันเพื่อน จบให้ได้ทันคนอื่น แบบนี้มันไม่ได้ช่วยประหยัดเวลานะ เพราะมันอาจจะทำให้เราเสียเวลาเป็นสิบปี เรียนอะไร ทำอะไรที่ ‘ไม่ใช่เรา’ ก็ได้

3. เกรดไม่ใช่ทุกอย่าง แต่ถ้าไม่มีเราก็อาจจะพลาดโอกาสดีๆ หลายอย่างเหมือนกัน

"learn it the hard way คือ เรียนรู้ความจริงจากประสบการณ์อันเจ็บปวดของตัวเอง"

‘เกรดไม่สำคัญหรอก ความสามารถจริงๆ กับประสบการณ์ต่างหากหล่ะที่บริษัท มองหา’ นี่เป็นคำพูดของนานิเองเมื่อปีที่แล้ว และเชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยิน คนพูดแบบนี้มาเหมือนกัน แต่ตอนนี้นานิได้ ‘learn it the hard way’ คือ เรียนรู้ความจริงจากประสบการณ์อันเจ็บปวดของตัวเองค่ะ ว่าคำสอนที่ว่าเกรดไม่สำคัญนั้น มันไม่จริง! ดังนั้นถ้าใครบอกแบบนี้นะ ก็ให้ตั้งใจอ่านหนังสือต่อไป เหอะ อย่าไปสนเค้า

จริงที่ว่าเกรดดีแต่ไม่มีประสบการณ์ฝึกงานแถมยังไม่มีความรู้อื่นเลยนอกจากความรู้ในตำรา เพราะเอาแต่อ่านหนังสือสอบ มันจะทำให้เราเป็นแค่หนอนหนังสือ แต่การที่มีประสบการณ์และความรู้นอกห้องเรียนดีเลิศแถมกิจกรรมเพียบ แต่ดัน เกรดห่วย มันอาจจะทำให้เราไม่ได้สิทธ์เข้าสอบสัมภาษณ์ก็ได้ อันนี้พูดให้น้องๆ ฟังจากประสบการณ์ของตัวเองเลย นานิถือว่าตัวเองมี resume ที่ค่อนข้างสวย หรือประวัติดีมีประสบการณ์ทำงานและเทรดแบบสายตรงกับงานที่อยากทำ แต่ปัญหาคือ บริษัทในฝันที่นานิอยากได้นักหนา กลับไม่เคยเรียกนานิสัมภาษณ์! พอไปถามรุ่นพี่ก็ปรากฏว่า บริษัทที่เจ๋งๆ ระดับเทพนั้นเค้ามีคนสมัครงานเข้ามามากมายเป็นหมื่นเป็นแสนคน เค้าไม่มีเวลามานั่งอ่าน resume ของทุกคนหรอก ดังนั้นเค้าจะใช้คอมฯสแกนเกรดก่อนค่ะ ถ้าเราเกรดต่ำกว่าเกณฑ์ที่เค้าวางไว้ resume และใบสมัครที่แนบไปเป็นอันต้องลงกล่อง

ดังนั้นอย่างที่นานิเคยพูดว่าให้เราใช้คำว่า ‘และ’ ไม่ใช่ ‘หรือ’ คือ เวลาเข้ามหาวิทยาลัย แล้วไม่ใช่คิดและตัดสินใจว่าจะตั้งใจเรียน ‘หรือ’ จะทำกิจกรรมดี แต่ให้ทั้งตั้งใจเรียน ‘และ’ ตั้งใจทำกิจกรรมกับฝึกงานหาประสบการณ์ ความรู้นอกห้องเรียน ใครบอกเกรดไม่สำคัญก็ปล่อยเค้าไปเด้อ

4. การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของเรา ไม่ใช่ของมหาวิทยาลัย

น้องๆ หลายคนพอเข้ามหาวิทยาลัยไปก็อาจจะมีโมเม้นที่เป็นเหมือนนานิ คือ รู้สึกว่ามหาวิทยาลัยไม่เห็นสอนอะไรที่มีประโยชน์กับชีวิตจริงเลย แต่ลองคิดดูดีๆ ค่ะบทเรียนที่สำคัญที่สุดที่มหาวิทยาลัยให้กับนานิและนักศึกษาอีกหลายคนที่ยังอาจจะไม่รู้ตัวก็คือ

‘Don’t wait for the university to spoon feed you. The world rewards those who take control of their own lives’
นั่นก็คือ อย่าโยนความรับผิดชอบให้มหาลัยหรืออะไรก็ตาม ว่าเค้าจะต้องมาสอนเรา ป้อนทุกอย่างให้เราถึงปากเพราะโลกนี้จะมอบรางวัลให้กับผู้ที่ลุกขึ้นมาสู้และควบคุมชีวิตตัวเองเท่านั้น!

ใช่ค่ะ มหาวิทยาลัยไม่สอนสิ่งที่ใช้ได้จริง จนนานิทนไม่ไหว ต้องออกมาหาหนังสืออ่าน ต้องออกมาเข้าสัมมนาต้องออกมาทำอะไรมากมายเพราะทนเบื่อกับการท่องจำบทเรียนและทฤษฎีไม่ไหว ตอนนี้นานิรู้แล้วว่ามีทุกวันนี้ได้ก็เพราะมหาวิทยาลัยนี่แหละ และการที่มหาวิทยาลัยไม่สอนนั่นแหละ คือคำสอนที่ดีที่สุด…

สำหรับใครที่เบื่อสิ่งแวดล้อม เบื่อมหาลัย เบื่องาน เบื่อๆ อย่าลืมนะคะ ‘อย่าโยนชีวิตของเราให้ใครรับผิดชอบ เพราะโลกนี้จะให้รางวัลแด่คนที่ลุกขึ้นมาสู้และควบคุมชีวิตตัวเองเท่านั้น’

5. ยอดฝีมือล้วนมีอาจารย์ดี ถ้าอยากเป็นนักแม่นปืน ก็อย่ามัวแต่ไปขอเรียนวิชาจากเจ้าสำนักมวยไทย

ข้อคิดนี้นานิได้มาจาก Robert Kiyosaki ผู้เขียนหนังสือซีรีส์ พ่อรวยสอนลูก ค่ะ หลายคนเข้ามหาลัยไปก็หวังแต่จะหาวิชาความรู้จากศาสตราจารย์หรืออาจารย์ที่สอน แต่เอาจริงๆ ก็คือฟังเค้าได้ แต่อย่าเชื่อทั้งหมด เพราะอาจารย์หลายท่าน (ไม่ใช่ทุกท่านนะ) เค้าเรียนจบมาก็ต่อโท ต่อเอกเลย ไม่ได้ทำงานในสายงานนั้นโดยตรงมาก่อน แบบนี้เค้าจะเชี่ยวชาญด้านวิจัยและวิชาการสายนั้นมากกว่า

"อย่ามัวแต่ถามอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยอย่างเดียว แต่ให้ออกไปพูดคุยหาโอกาสพบปะกับ ‘คนจริง’ ในอุตสาหกรรมที่เราอยากจะทำด้วย"

ดังนั้นถ้าเราอยากเป็นนักการเงิน ก็จงหาคนที่เป็นนักการเงินจริงๆ มาเป็นอาจารย์หรือ mentor (ผู้ใหญ่ที่จะคอยช่วยชี้แนะแนวทางให้เรา) ใครอยากเป็นนักธุรกิจก็จงหานักธุรกิจจริงๆ มาเป็นอาจารย์อย่ามัวแต่ถามอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยอย่างเดียว แต่ให้ออกไปพูดคุยหาโอกาสพบปะกับ ‘คนจริง’ ในอุตสาหกรรมหรือสายอาชีพที่เราจบไปแล้วอยากจะทำด้วย แบบนี้ถึงจะได้แนวทางที่ถูกต้องและนำไปใช้ได้จริงๆ ค่ะ

6. ความฝันอันยิ่งใหญ่ ไม่ได้มีไว้ให้คนส่วนใหญ่เข้าใจ

เวลาเข้ามหาวิทยาลัยไปแล้วเนี่ย หลายคนอาจจะมีไฟและความฟิต อยากลองทำอะไรใหม่ๆ ที่มันนอกกรอบดูบ้าง แต่บางทีก็อาจจะมีเสียงค้านจากคนรอบตัวว่า ‘ทำไม่ไหวหรอก’ ‘จะไปเสี่ยงทำไม’ ฯลฯ แต่บอกเลยว่าช่วงมหาวิทยาลัยเนี่ยแหละ ที่เป็นช่วงเวลาแห่งการลองผิด ลองถูก ลองทำอะไรต่างๆ เพราะมหาวิทยาลัยมันเป็นฟูกให้เราล้มใส่อยู่แล้ว เวลาเป็นเด็กเป็นนักศึกษา เรายังไม่ได้มีภาระมากมาย แถมจะทำอะไรก็ยังสามารถขอทุนสนับสนุนจากมหาลัย หรือทุนจากการชนะการแข่งขันโมเดลธุรกิจต่างๆ ได้ง่ายกว่าคนที่อายุมากแล้ว ถามจริงๆ ถ้าอายุแค่นี้แถมยังมีฟูกให้ล้มใส่แล้วยังไม่กล้าลองไม่กล้าเสี่ยงเนี่ย แล้วจะรอไปเสี่ยงวันที่มีภาระต้องดูแลครอบครัวหรอคะ? อย่ากลัวที่จะฝันใหญ่และอย่าสนกับคนที่หัวเราะความฝันคนอื่น

อย่ากลัวที่จะฝันใหญ่ อย่างที่ James Cameron เคยพูดไว้ว่า

 

If you set your goal ridiculously high and it's a failure, you will fail above everyone else's success' คือ ถ้าคุณตั้งเป้าหมายความฝันไว้สูงสุดๆ ไปเลยแล้วคุณล้ม คุณก็จะล้มอยู่เหนือระดับความสำเร็จของคนอื่นๆ

แล้วก็อย่าฟังคำนินทาสบประมาทของคนที่ไม่หวังดี คนหวังดีเค้าจะเตือนให้เราระวังและคอยช่วยหาทางให้เราทำตามฝันได้อย่างปลอดภัย แต่คนไม่หวังดีเค้าจะหัวเราะความฝันของเรา ดังนั้นเวลามีความฝันแล้วเราต้องปกป้องมันด้วย อย่างที่นักแสดง Will Smith ได้พูดกับลูกชายในหนังเรื่อง ‘The Pursuit of Happiness’ ว่า

‘Don't ever let somebody tell you... You can't do something. Not even me.
You got a dream... You gotta protect it. People can't do somethin' themselves, they wanna tell you you can't do it. If you want somethin', go get it. Period.’
อย่าให้ใครมาบอกลูกว่าลูกทำอะไรไม่ได้ แม้แต่พ่อก็ตาม ลูกมีความฝัน ลูกต้องปกป้องมัน เวลาที่คนอื่นทำอะไรไม่ได้ ไม่สำเร็จ เค้าก็จะบอกลูกว่า ลูกก็ทำมันไม่ได้เหมือนกัน แต่ช่างเค้า ถ้าลูกอยากได้อะไร ก็จงออกไปเอามันมาให้ได้!

ย้ำอีกครั้ง มหาวิทยาลัยนี่แหละคือช่วงเวลาทองแห่งการลองผิดลองถูก อย่าสนคำสบประมาทของคนอื่น เพราะ ‘ความฝันอันยิ่งใหญ่ ไม่ได้มีไว้ให้คนส่วนใหญ่เข้าใจ’ และอย่ากลัวที่จะฝันใหญ่ เพราะ ‘ถ้าคุณตั้งเป้าหมายความฝันไว้สูงสุดๆ ไปเลยแล้วคุณล้ม คุณก็จะล้มอยู่เหนือระดับความสำเร็จของคนอื่นๆ’

การเรียนในมหาลัยมีความสำคัญอย่างไร

การได้เข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย จะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และมีเวลาในการพยายามทำความเข้าใจตัวเองเพิ่มอีกหลายปี อีกอย่างที่ผมคิดว่าสำคัญคือคุณจะได้เรียนรู้การเข้าสังคมและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนรุ่นๆ เดียวกัน นอกจากนั้นแล้ว ผมคิดว่า “การเรียนมหาวิทยาลัย” นั้นถือว่าเป็นการบริหารความเสี่ยงในชีวิตอย่างหนึ่ง คืออย่างน้อย ...

ไม่เรียนมหาลัยทำอะไรได้บ้าง

แต่ถ้าไม่เรียนมหาวิทยาลัย แล้วจะทำอะไรล่ะ นี่คือ 7 ทางเลือกถ้าไม่เรียนมหาลัยก็น่าลองไปทำดู ..
ไปเรียนปวส. . ... .
ไปฝึกงาน . ... .
ไปเรียนด้านวิชาชีพที่ต่างประเทศ . ... .
ไปเรียนออนไลน์ . ... .
ไปใช้เวลาว่าง . ... .
ไปหางานทำ . ... .
ไปเป็นเจ้านายตัวเอง ..

จบม.6เรียนอะไรได้บ้าง

จบ ม.6 เรียนต่ออะไรดี.
1.คณะมนุษยศาสตร์ ภาพจาก bit.ly/2U6ZouF. ... .
2.คณะนิติศาสตร์ ภาพจาก bit.ly/38Vbuwd. ... .
3.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาพจาก bit.ly/2UatwW0. ... .
4.คณะบริหารธุรกิจ ภาพจาก bit.ly/3cYwqpv. ... .
5. คณะเศรษฐศาสตร์ ภาพจาก bit.ly/2QjSwJd..

การศึกษาสําคัญไหม

อีกหนึ่งข้อดีของความสำคัญของการศึกษาคือ การศึกษาสอนให้เราเข้าใจการคิดแบบเป็นระบบ ทำให้เราพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ สิ่งต่างๆที่เราเจอได้ดีมากขึ้น เมื่อเด็กโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ เด็กก็จะต้องเจอปัญหาต่างๆมากขึ้นมากมายเช่น การจ่ายค่าเช่าห้อง การหางานทำ ซื้อรถหรือมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น ซึ่งทักษะที่เรียนมาจะสอนให้พวกเค้า ...