แม่บ้าน ต่างด้าว ต้องทําประกันสังคม ไหม

ปัจจุบันอัตราการจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยสูงมาก เพราะแรงงานในประเทศไทยมีจำกัด ในขณะที่การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น ทำให้นายจ้างมีความต้องการจ้างแรงงานจำนวนมาก มาดู 10 สิ่งสำคัญที่นายจ้างควรรู้ ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าว อัพเดตล่าสุดปี 2562

1 . การจ้างแรงงานต่างด้าวต้องเข้ามาตามระบบ MOU เท่านั้น

หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า การจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องทำตามบันทึกข้อตกลงหรือ MOU หากไม่มีถือว่าเป็นการจ้างงานอย่างผิดกฎหมาย มาดูกันดีกว่าว่าการนำเข้าแรงงานตามระบบ MOU ควรทำอย่างไรบ้าง

ขั้นตอนการทำ MOU

1. ต้องยื่นเอกสาร DEMAND LETTER หรือคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยต้องส่งเอกสารคำร้องที่ได้ไปยังตัวแทนประเทศต้นทางเพื่อดำเนินการคัดเลือกแรงงาน หลังจากนั้นตัวแทนประเทศต้นทางจัดทำบัญชีรายชื่อส่งกลับมา

2. ยื่นบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว ที่ได้รับมาจากเอเจนซี่ที่ต่างประเทศ

  • ยื่นบัญชีรายชื่อพร้อมแบบ ตท. 2 และเอกสารประกอบ ที่ สจจ/สจก.
  • ชำระค่าใบอนุญาตทำงาน 1,900 บาท  กรณีนายจ้างยื่นเองจะต้องวางประกัน 1,000 บาท/แรงงาน 1 คน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • นำหนังสือและเอกสารที่ได้จาก สจจ/สจก ยื่นส่งต่อที่กรมการจัดหางาน
  • กรมการจัดหางานออกหนังสือถึงสถานทูตไทย และสตม.
  • แรงงานประทับตราวีซ่า (ประเภท NON L-A)
  • ตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
  • อบรมที่ศูนย์แรกรับและสิ้นสุดการการจ้าง ฯ
  • รับใบอนุญาตทำงาน  SMART CARD

3. แจ้งที่พักอาศัยแรงงานต่างด้าวภายใน 24 ชั่วโมง

4. แจ้งการเข้าทำงานของแรงงานต่างด้าวภายใน 15 วัน

5. ขั้นตอนสุดท้ายยื่นใบรับรองแพทย์ ตรวจสุขภาพภายใน 30 วันและยื่นใบรับรองแพทย์ที่สำนักงานจัดหางาน

เอกสารที่ต้องเตรียม 

สำหรับนายจ้าง

  1. หนังสือรับรองบริษัท (กรณีนิติบุคคล)
  2. บัตรประชาชน
  3. ทะเบียนบ้าน
  4. แผนที่สถานที่ทำงาน
  5. รูปถ่ายสถานที่ทำงานและที่พัก
  6. กรณีกิจการก่อสร้างต้องมีสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
  7. รายละเอียดความต้องการสวัสดิการต่าง ๆ

สำหรับลูกจ้าง (กรณีคนเก่า)

  1. บัตรประชาชน
  2. ทะเบียนบ้าน
  3. ใบเกิด
  4. พาสปอร์ต , ใบอนุญาตทำงาน (ฉบับเก่า)

ในปี 2562 นี้แรงงานต่างด้าวกลุ่มบัตรชมพูสามารถทำ MOU แบบพิเศษ คือ แรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทยสามารถทำ MOU ได้ โดยที่ไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง ทำให้สะดวกทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

2.จ้างแรงงานต่างด้าวพร้อมทำ MOU สามารถทำผ่านบริษัทจัดหาแรงงาน

การดำเนินการด้านเอกสารต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และนายจ้างอาจไม่มีเวลามากพอ จึงมีบริษัทจัดหาแรงงานที่พร้อมช่วยดำเนินเรื่องต่าง ๆ อย่างถูกต้องและครบถ้วน และมีบริการให้คำปรึกษาแก่นายจ้างและแรงงานจากผู้เชี่ยวชาญรอบด้านที่พร้อมดูแลตลอดอายุสัญญา

3. แรงงานจะต้องผ่านการอบรมก่อนเริ่มทำงาน

โดยต้องเข้ารับการอบรมที่ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้างหน่วยงานของรัฐ ซึ่งแรงงานจะได้รับการอบรมให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ และได้รับการตรวจสอบคัดกรองก่อนที่จะอนุญาตให้เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เมื่อผ่านการอบรมก็จะได้รับใบอนุญาตทำงาน

4. แรงงานต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพภายใน 30 วัน

หลังจากที่ได้รับอนุญาตทำงาน แรงงานต่างด้าวทุกคนจะต้องเข้าตรวจสุขภาพ โดยแรงงานจะต้องไม่เป็นโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย เท้าช้าง พิษสุราเรื้อรัง ซิฟิลิสในระยะที่ 3 และติดยาเสพติด

5. แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานต้องเสียค่าใช้จ่าย

  • ค่าหนังสือเดินทาง
  • ค่าตรวจสุขภาพ
  • ค่าใบอนุญาตทำงาน
  • ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าประกันสังคม ค่าประกันสุขภาพ

6. แรงงานต่างด้าวต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น

ตามกฎหมายแรงงานต่างด้าวต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป กรณีที่มีการอนุญาตให้จ้างแรงงานที่อายุต่ำกว่า 18 ปี แรงงานต้องอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งแรงงานเหล่านี้สามารถทำได้เฉพาะงานที่ไม่เป็นอันตราย เช่น งานที่ไม่เกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตราย งานที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานีบริการที่เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น

7. แรงงานต่างด้าวต้องทำประกันสังคมทุกคน

แรงงานต่างด้าว MOU จะต้องทำประกันสังคมร่วมด้วย หากทำประกันสังคมครั้งแรก จะต้องซื้อประกันสุขภาพแบบ 3 เดือนก่อน เนื่องจากผู้ประกันตนต้องเป็นสมาชิกประกันสังคมเป็นเวลา 3 เดือน จึงจะสามารถใช้สิทธิ์ได้

8. แรงงานต่างด้าวต้องรายงานตัวทุก 90 วัน

แรงงานต้องแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ก่อน 15 วัน หรือหลัง 7 วันนับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดการแจ้งที่พักอาศัยจะถูกดำเนินการเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 2,000 บาท

9. แรงงานต่างด้าวได้รับค่าแรงขั้นต่ำเท่ากับแรงงานไทย

หากจะจ้างแรงงานต่างด้าว ราคาจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด สามารถตรวจสอบได้ที่ ตารางอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 

10. จ้างแรงงานต่างด้าว ไม่มีใบอนุญาตได้รับโทษอะไรบ้าง 

นายจ้าง มีโทษปรับ 10,000 – 100,000 บาท / ต่างด้าว 1 คน หากทำผิดซ้ำมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างแรงงานต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี

ลูกจ้าง โทษปรับ 5,000 – 50,000 บาท / ต่างด้าว 1 คน และจะถูกส่งออกนอกราชอาณาจักร นอกจากนี้แรงงานต่างด้าวห้ามขออนุญาตทำงานภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ

10 สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นข้อควรรู้ในการจ้างแรงงานต่างด้าว ปี 2562 เรารู้ดีว่าการจ้างแรงงานต่างด้าว การทำ MOU และเอกสารต่าง ๆ มีหลายขั้นตอนและถ้าหากเกิดความผิดพลาดอาจจะทำให้คุณเสียเวลาได้ บริษัทจ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส เป็นบริษัทที่พร้อมให้บริการการจ้างแรงงานต่างด้าวทุกขั้นตอนแบบ one-stop service ครบ จบในที่เดียว เพราะบริษัทเราพร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ซึ่งจะเป็นตัวแทนดำเนินเรื่องจ้างแรงงานต่างด้าวให้คุณ สนใจโทร. เลย 02-018-8688