ส่วนลด รับ ถือเป็น ราย ได้

บริษัท ก. ประกอบกิจการขายส่งและขายปลีกสินค้าวัสดุก่อสร้างให้ลูกค้า ทั้งที่เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้า (เอเย่นต์) ของบริษัทฯ และลูกค้าซึ่งซื้อสินค้าไปใช้ในกิจการโดยตรง (ผู้รับเหมาก่อสร้าง) มีปัญหาเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ฯ 
ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ดังนี้

1. บริษัทฯ และผู้แทนจำหน่ายมีข้อตกลงว่า เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าที่ผู้แทนจำหน่ายซื้อจากบริษัทฯ บริษัทฯ ได้กำหนดให้ผู้แทนจำหน่ายรายที่ชำระหนี้ด้วย ตั๋วสัญญาใช้เงินนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารอาวัล เมื่อผู้แทนจำหน่ายชำระค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารแล้ว บริษัทฯ  จะจ่ายเงินช่วยเหลือค่าธรรมเนียมการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว ทั้งหมดให้ผู้แทนจำหน่ายภายหลัง บริษัทฯ เข้าใจว่าการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าธรรมเนียมดังกล่าว มิใช่การจ่ายค่าบริการหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

2. บริษัทฯ ปรับเปลี่ยนนโยบายการจัดจำหน่ายสินค้าโดยยกเลิกคลังสินค้าทั่วประเทศและใช้สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับผู้แทนจำหน่ายส่งผลให้ผู้แทนจำหน่ายมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศต้องการติดต่อ บริษัทฯ ต้องโทรศัพท์ถึงสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ บริษัทฯ จึงตกลงกับผู้แทนจำหน่ายว่าจะชดเชยส่วนต่างค่าโทรศัพท์ ซึ่งเกินจากค่าโทรศัพท์ในเขตพื้นที่เดียวกันให้ผู้แทนจำหน่าย บริษัทฯ เข้าใจว่าการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าโทรศัพท์ทางไกลดังกล่าว มิใช่การจ่ายค่าบริการหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

3. บริษัทฯ ขายสินค้าโดยขนส่งถึงร้านผู้แทนจำหน่าย บริษัทฯ ได้นำต้นทุนค่าขนส่งมารวมเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินค้า อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีข้อตกลงกับผู้แทนจำหน่ายว่าหากผู้แทนจำหน่ายซื้อสินค้าจากบริษัทฯ โดยขนส่งเอง บริษัทฯ จะช่วยเหลือเงินค่าขนส่งให้ผู้แทนจำหน่ายในภายหลังตามยอดซื้อของผู้แทนจำหน่าย บริษัทฯ เข้าใจว่าการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าขนส่งดังกล่าว มิใช่ประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

4. บริษัทฯ และผู้แทนจำหน่ายมีข้อตกลงกันว่า บริษัทฯ จะจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อให้ผู้แทนจำหน่ายนำสินค้าซึ่งซื้อจากบริษัทฯ ไปจัดแสดงหรือติดตั้งให้เห็นสภาพการใช้งานจริง เช่น ปูกระเบื้องและติดตั้งสุขภัณฑ์ เพื่อจัดแสดงเป็นห้องน้ำเมื่อผู้แทนจำหน่ายจ่ายค่าจ้างก่อสร้างให้ผู้รับเหมาแล้ว บริษัทฯ จะช่วยเหลือค่าจ้างก่อสร้างดังกล่าวให้ผู้แทนจำหน่าย บริษัทฯ เข้าใจว่าจะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากเงินช่วยเหลือ ในอัตราร้อยละ 2.0 เพราะถือเป็นค่าโฆษณาตามข้อ 10 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

5. บริษัทฯ ได้จัดสัมมนาให้ผู้แทนจำหน่ายเพื่อแนะนำสินค้าที่ออกใหม่หรือเพื่อเพิ่มความเข้าใจในสินค้าที่ผู้แทนจำหน่ายซื้อจากบริษัทฯ ไปจำหน่าย และบางครั้งได้จัดสัมมนาให้ความรู้ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งทั้งสองกรณี บริษัทฯ ไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้แทนจำหน่ายและได้จ่ายเงินช่วยเหลือ ค่าเดินทางและค่าที่พักให้กับผู้แทนจำหน่าย บริษัทฯ เข้าใจว่า การจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวมิใช่การจ่ายค่าบริการหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

6. บริษัทฯ ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตสินค้า (Supplier) ซึ่งผู้ผลิตสินค้าขายสินค้าราคาหน้าโรงงานโดยบริษัทฯ ขนส่งสินค้าเอง ตัวอย่างเช่น บริษัทฯ จ่ายค่าขนส่ง 12 บาท แต่เมื่อบริษัทฯ จำหน่ายสินค้าต่อให้ผู้แทนจำหน่าย บริษัทฯ ขายสินค้าพร้อมขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ผู้แทนจำหน่ายกำหนด  โดยบริษัทฯ แยกรายการค่าสินค้าและค่าขนส่งในใบกำกับภาษีไว้ชัดเจนและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งค่าสินค้าและค่าขนส่งจากผู้แทนจำหน่าย ตัวอย่างเช่น ราคาสินค้า 101 บาท ค่าขนส่ง 10 บาท รวมราคาสินค้าทั้งสิ้น 111 บาท ซึ่งบริษัทฯ ขาดทุนจากค่าขนส่ง 2 บาท (12-10) ผู้ผลิตสินค้าตกลงจ่ายเงินชดเชยผลขาดทุนค่าขนส่ง คืนให้กับบริษัทฯ จำนวน 2 บาท บริษัทฯ เข้าใจว่า เงินชดเชยผลขาดทุนค่าขนส่งดังกล่าว มิใช่ค่าบริการหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

7. กรณีส่วนลดเงินสดตามข้อ 7 ของคำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายฯ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 กำหนดว่า หากระบุเงื่อนไขส่วนลดเงินสดไว้ในใบส่งของ และใบแจ้งหนี้หรือใบกำกับภาษีแล้ว บริษัทผู้จ่ายไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย นั้นเนื่องจากเอกสารของบริษัทฯ เป็นระบบ Pre-Print ที่ไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมข้อความดังกล่าว (พิมพ์ไว้จำนวนมาก) ได้ในระยะแรก ซึ่งการแก้ไขโดยพิมพ์ในระบบคอมพิวเตอร์ยังไม่อาจทำได้ และการใช้ตรายางประทับเพิ่มไม่สะดวกเพราะมีเอกสารเป็นจำนวนมาก (เดือนละเป็นหมื่นฉบับ) แต่บริษัทฯ ได้เคยแจ้งผู้แทนจำหน่ายเรื่องส่วนลดเงินสดดังกล่าวเป็นหนังสือให้ทราบจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของบริษัทฯ แล้ว ก่อนที่จะมีคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ว่าหากผู้แทนจำหน่ายชำระหนี้ก่อนกำหนด จะได้รับส่วนลดเงินสดตามอัตราที่บริษัทฯ กำหนดในแต่ละช่วงเวลา บริษัทฯ เข้าใจ 
ว่าการให้ส่วนลดเงินสดดังกล่าวไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณที่จ่าย

8. บริษัทฯ ได้จ่ายส่วนลดภายหลัง (Rebate) ให้ผู้แทนจำหน่ายโดยพิจารณาจากยอดซื้อของผู้แทนจำหน่ายและจ่ายในลักษณะเป็นใบลดหนี้ (Credit Note) ให้ผู้แทนจำหน่ายนำมาชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าจากบริษัทฯ ในอนาคต ตามงวดการชำระเงินค่าสินค้าของผู้แทนจำหน่ายซึ่งหลังจากวันที่ออกใบลดหนี้ บริษัทฯ เข้าใจว่าวันที่บริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในวันที่ผู้แทนจำหน่ายนำใบลดหนี้  (Credit Note) มาใช้ชำระเงินค่าสินค้า

9. กรณีผู้แทนจำหน่ายต้องการซื้อสินค้าจากบริษัทฯ เพื่อนำไปใช้ในกิจการของผู้แทนจำหน่ายโดยตรง และได้รับส่วนลดหลังการขาย หากบริษัทฯ ให้ผู้แทนจำหน่ายทำหนังสือรับรองว่าจะนำสินค้าที่ซื้อไว้ในคราวนั้นไปใช้เฉพาะในกิจการของตนเองมิได้นำไปจำหน่ายต่อบริษัทฯ เข้าใจว่าการจ่ายส่วนลด หลังการขายสำหรับสินค้าดังกล่าวไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

10. บริษัทฯ ได้จัดทำป้ายตราโฆษณาของบริษัทฯ ติดตั้งไว้ที่ร้านค้าซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย โดยผู้แทนจำหน่ายได้สำรองเงินค่าภาษีป้ายและและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไปก่อนและเรียกเก็บจากบริษัทฯ ในภายหลัง บริษัทฯ เข้าใจว่าการคืนเงินสำรองจ่ายดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด

11. ในเทศกาลประเพณีสำคัญ ได้แก่ ตรุษจีนและปีใหม่ บริษัทฯ ได้มอบของชำร่วยเช่น ส้มตรุษจีน ปฏิทิน หรือสมุดบันทึก ฯลฯ ให้ลูกค้า บริษัทฯ เข้าใจว่าการให้ของชำร่วยดังกล่าวบริษัทฯ ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เนื่องจากเป็นการให้ปกติตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี

ส่วนลดถือเป็นรายได้ไหม

ส่วนลดเงินสด/ ส่วนลดตามเป้า ภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) เป็นรายได้จากราคาเต็ม (ส่วนลดเป็นรายจ่ายของผู้ให้ เป็นรายได้ของผู้รับ) ภาระภาษีหัก ณ ที่จ่าย (W/T) หัก 3% กรณีขายให้แก่ผู้แทนและไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการ

ส่วนลดคิดภาษีไหม

กรณีให้ส่วนลดในขณะขายสินค้า/ให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำใบกำกับภาษี โดยระบุส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ให้เห็นชัดแจ้งในใบกำกับภาษี และคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ หลังจากหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนแล้ว กรณีให้ส่วนลดภายหลังจากที่ขายสินค้า

ส่วนลดการค้ารวมภาษีไหม

....1.3 ผล: ไม่ถือว่าส่วนลดการค้าเป็นมูลค่าของฐานภาษี (Non VAT Base) ให้ผู้ประกอบการนำส่วนลดการค้าไปหักออกจากฐานภาษีในการคำนวณภาษีขาย .......... อนึ่ง กรณีให้ส่วนลดเงินสดสำหรับบริการเงินเชื่อ ให้นำส่วนลดเงินสดไปลดมูลค่าของฐานภาษีได้ เนื่องจาก ความรับผิดในการเสีย VAT เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ

คูปองส่วนลด มี VAT ไหม

การชิงโชค บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับบัตรแลกรับบริการ (คูปอง) ในขณะที่ บริษัทฯ ได้มอบให้ลูกค้าเพื่อเป็นรางวัลในการชิงโชคแต่ประการใด แต่ความรับผิดในการเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับบัตรแลกรับบริการ (คูปอง) ที่บริษัทฯ ได้มอบให้ลูกค้าเพื่อเป็นรางวัลในการชิงโชค