ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง

สาระสำคัญ

    การเพาะเมล็ดเป็นการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่ง ซึ่งในการเพาะเมล็ดนั้น ควรเลือกวิธีให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด และควรดูแลรักษาให้ถูกวิธี เพื่อให้พืชเจริญเติบโต

กิจกรรมนำสู่บทเรียน

ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง

1.พืชพันธุ์ที่ควรรู้จัก

     พืชพันธุ์ต่างๆ มีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้  ดังนี้

     1.1 ไม้ดอก เป็นพืชที่สวยงาม ส่วนมากมัขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ไม้ดอกที่ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เช่น บานชื่น บานเย็น ทานตะวัน

ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง

       

 1.2 ไม้ประดับ เป็นพืชที่มีลำต้นและใบสวยงาม การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดมีจำนวนน้อย ไม้ประดับที่มีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เช่นชวนชม ปาล์ม ตะบองเพชร

ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง

        1.3 ผักสวนครัว เป็นพืชที่ใช้ในการประกอบอาหารทั่วๆไปส่วนมากมักขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ซึ่งผักสวนครัวแบ่งได้หลายประเภท ตามลักษณะของการนำส่วนต่างๆไปประกอบอาหาร เช่น ใบหรือลำต้น หัวหรือราก ผลหรือฝัก และดอก

ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง

    2.การเพาะเมล็ด

การเพาะเมล็ดเป็นการขยายพันธุ์พืช โดยนำเมล็ดพันธุ์พืชที่คัดคุณภาพแล้วนำมาเพาะจนเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า และเจริญเติบโตแข็งแรง จากนั้นจึงย้ายต้นกล้าไปปลูกในพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งในการเพาะเมล็ดนั้นควรเลือกวิธีให้เหมาะสมกับพันธุ์พืชแต่ละชนิด

2.1   การเพาะเมล็ดแบบต้นเดียว เป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์พืชในถุงหรือกระถาง ซึ่งวิธีนี้ทำให้รากของต้นกล้าไม่บอบช้ำเวลาย้ายไปปลูก ซึ่งเหมาะกับเมล็ดพันธุ์พืชที่หายาก ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดหรือเหมาะกับพันธุ์พืชที่ไม่ต้องการถอนย้ายต้นกล้า

อุปกรณ์ ถุงหรือกระถาง ช้อนปลูก บัวรดน้ำ

  ขั้นตอนการเพาะเมล็ดแบบต้นเดียว

ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง

         1.ใช้ช้อนปลูกตักดินที่เตรียมไว้ใส่ลงถุงหรือกระถางแล้วทำหลุมไว้สำหับหยอดเมล็ดพันธุ์พืช

          2.หยอดเมล็ดพันธุ์พืชลงในถุงหือกระถางแล้วกลบดินโดยโรยดินทับเมล็ดพันธุ์พืช

          3.นำถุงหรือกระถางเพาะเมล็ดไปวางไว้ในที่ร่มรำไร แล้วใช้บัวรดน้ำรดน้ำให้ชุ่มทุกวันในตอนเช้าและเย็น

          4.เมื่อต้นกล้าเติบโตเต็มที่แล้วจึงย้ายไปปลูกในที่ที่จัดเตรียมไว้

2.2 การเพาะเมล็ดในกระบะเพาะ เป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์พืชในกระบะหรือภาชนะที่สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เช่น ตะกร้าพลาสติก เป็นต้น  ซ่งการเพาะเมล็ดด้วยวิธีนี้  มักใช้กับการปลูกพืชที่มีจำนวนมาก เช่น การปลูกผักสวนครัว การปลูกไม้ดอกไม้ประดับในบริเวณบ้าน  เป็นต้น

          การเพาะเทล็ดในกระบะ ควรปฏิบัติ ดังนี้

          อุปกรณ์ กระบะ  ช้อนปลูก บัวรดน้ำ

          ขั้นตอนการเพาะเมล็ดในกระบะเพาะ

          1.ใช้ช้อนปลูกตักดินใส่ลงในกระบะให้เกือบเต็ม แล้วเกลี่ยผิวดินให้เรียบเสมอในระดับเดียวกัน เพราะการเกลี่ยดินให้เรียบจะทำให้เมล็ดที่เพาะงอกกระจายสม่ำเสมอกัน ถ้าหากผิวหน้าดินไม่เรียบขณะรดน้ำจะชะเอาเมล็ดที่หว่านไหลไปรวมกันบริเวณผิวดินที่ต่ำกว่า ทำให้เมล็ดต้นกล้างอกเป็นกระจุก ลำบากในการถอนต้นกล้า

          2.นำเมล็ดพันธุ์พืชลงในกระบะ ซึ่งมักจะทำ 2 แบบ คือ โรยเป็นแถวและโรยให้ทั่วๆ

ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง

ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง

    3. โรยดินบางๆ แล้วใช้มือกดทับดินเบาๆ พอกระชับเมล็ด เพื่อให้เมล็ดได้รับความชื้นและงอกได้สม่ำเสมอ ถ้าหากเมล็ดมีขนาดเล็กมากๆ ไม่ต้องโรยดินกลบ ให้ใช้มือหรือไม้กดเมล็ดให้จมอยู่ในระดับผิวดินเท่านั้น

    การกลบเมล็ดให้ลึกหรือตื้นนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของเมล็ดพันธุ์พืช หากเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการแสงในการงอก ควรกลบดินอย่างเบาๆแต่ถ้าเป็นเมล็ดพันธุ์ ที่ไม่ต้องการแสงในการงอกควรกลบดินให้หนาหรือลึก แต่ก็ไม่ควรหนาจนเกินไป เพราะอาจทำให้เมล็ดพันธุ์พืชไม่งอกได้

    4. ใช้แกลบ ฟาง หรือหญ้าปิดคลุมหน้าดิน แล้วรดน้ำด้วยบัวรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อรักษาความชื้อในดินไม่ให้ระเหยเร็วเกินไปอีกทั้งยังช่วยให้เมล็ดและดินไม่กระเด็นเวลารดน้ำ นอกจากนี้ยังทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น

    5.รดน้ำทุกๆวันในตอนเช้าและเย็น หลังจากเพาะได้ 2-3 วันถ้าเมล็ดเริ่มงอกเป็นต้นกล้าให้นำแกลบ ฟาง หรือหญ้าที่คลุมดินออกบางส่วน

    6.เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จึงย้ายไปปลูกในที่ที่เตรียมไว้

2.3 การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะเป็นการขยายพันธุ์พืชที่ต้องการต้นกล้าในปริมาณมากๆ ซึ่งการขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ควรเลืกพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ น้ำไม่ท่วมขัง สามารถระบายน้ำได้ดี ปล่อยภัยจากการรบกวนของสัตว์เลี้ยงและแมลงศัตรูพืชต่างๆเพื่อให้เมล็พันธุ์ เพื่อให้เมล็ดพันธุ์พืชเติบโตได้ดี

              อุปกรณ์ จอบ บัวรดน้ำ

              ขั้นตอนการเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ

                1.เตรียมดินโดยกำจัดวัชพืชในแปลงเพาะออก แล้วใช้จอบขุดพลิกหน้าดินตาดแดดทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ดินแห้งและทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืชที่อาศัยอยู่ในดิน

                 2.ย่อยดินให้ละเอียด แล้วจึงปรับหน้าดินให้เรียบสม่ำเสมอ และย่อยดินบริเวณผิวหน้าแปลงให้ละเอียดอีกครั้ง

                 3.หว่านเมล็ดพันธุ์พืชให้กระจายทั่วแปลงเพาะ ถ้าหว่านเมล็ดพันธุ์ในบริเวรใดบริเวณหนึ่ง จะทำให้ต้นกล้างิกเป็นกระจุกทำให้ลำบากในการถอนย้ายต้นกล้า

                 4.โรยดินบางๆ แล้วใช้ไม้ปาดหน้าดินกลบเมล็ด

                 5.ใช้แกลบ ฟาง หรือหญ้าแห้งคลุมแปลง และใช้บัวรดน้ำรดให้ชุ่มทั่วทั้งแปลง

                 6.เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกทั่วแปลงแล้ว ให้เอาแกลบ ฟาง หรือหญ้าห้งที่คลุมอยู่ออก

                 7.รดน้ำแปลงเพาะทุกๆวัน วันละ 1-2 ครั้งในตอนเช้า และเย็น

                 8.หากต้นกล้าขึ้นเบียดกันจนแน่นเกินไป ควรเลือกถอนเฉพาะต้นกล้าที่ไม่สมบูรณ์ออก เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตแล้ว จึงย้ายไปปลูในที่ที่เตรียมไว้

ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง

3.การดูแลแปลงเพาะกล้า

     การดูแลแปลงเพาะกล้าเป็นสิ่งสำคัญในการขยายพันธุ์พืชเพราะต้นกล้าจะได้รับธาตุอาหารอย่างเต็มที่ ทำให้เจริญเติบโต และได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งการดูแลแปลงเพาะกล้า ควรปฏิบัติ ดังนี้

     การรดน้ำ ต้องรดน้ำทุกเช้าและเย็น ในปริมาณที่พอเหมาะโดยใช้บัวรดน้ำขนาดเล็กหากใช้สายยางไม่ควรเปิดน้ำแรงจนเกินไป เพราะอาจทำให้ต้นกล้าบอบซ้ำ และตายได้

              อุปกรณ์ สายยาง บัวรดน้ำ

ขั้นตอนการรดน้ำ
    1.เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการรดน้ำ โดยใช้บัวรดน้ำสำหรับต้นกล้าขนาดเล็ก หรือสายยางฉีดน้ำแบบฝอย สำหรับต้นกล้าที่แข็งแรงดีแล้ว

2.รดน้ำให้ทั่วแปลงเพาะจนชุ่มชื้นพอเหมาะ

3.ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการรดน้ำ แล้วจัดเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง

4.การดูแลแปลงปลูก 

ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง

      4.1 การพรวนดิน ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ดินร่วนซุยและโปร่งจะทำให้รากพืชชอนไชหาอาหารและน้ำได้สะดวก

        อุปกรณ์ ส้อมพรวน

        ขั้นตอนการพรวนดิน

         1.ใช้ส้อมพรวนพรวนดินรอบๆโคนต้นโดยทำทุกอย่างระมัดระวังไม่ให้โดนรากของต้นกล้า

          2.ล้างทำความสะอาดส้อมพรวน เช็ดให้แห้งแล้วทาน้ำมันกันสนิม และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง

  4.2 การใส่ปุ๋ย เป็นการเพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นให้กับต้นกล้า เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช

        อุปกรณ์ ช้อนปลูก

        ขั้นตอนการใส่ปุ๋ย

        1.เตรียมปุ๋ยที่เหมาะกับพืชแต่ละชนิด

        2.ใช้ช้อนปลูกตัปุ๋ยมาใส่ต้นกล้า

        3.ล้างทำความสะอาดช้อนปลูก  เช็ดให้แห้ง แล้วทาน้ำมันกันสนิม                                                                 และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

        4.3 การกำจัดวัชพืช วัชพืชจะคอยแย่งอาหารของต้นกล้าซึ่งทำให้ต้นกล้าแคระเกร็น และไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้น จึงต้องกำจัดวัชพืช โดยการถอนหรือขุทิ้งอยุ่เสมอ

        อุปกรณ์ ช้อนปลูก ปุ้งกี้

        ขั้นตอนการกำจัดพืช

            1.ใช้มือดึงวัชพืช หรือใช้ชิอนปลูกขุด

            2.นำวัชพืชที่ถอนใส่ลงไปในปุ้งกี้ แล้วนำไปทิ้งในถังขยะ

            3.ล้างช้อนปลูกให้สะอาดเช็ดให้แห้งทาน้ำมันกันสนิม และล้างปุ้งกี้ให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง แล้วเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย

ข้อเสีย ของการเพาะเมล็ดในแปลง