อธิบดีกรม ทางหลวง ชนบท 2564

กรมทางหลวงชนบท

Department of Rural Roads
อธิบดีกรม ทางหลวง ชนบท 2564
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
สำนักงานใหญ่9 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
งบประมาณประจำปี46,077.6681 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน

  • อภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย[2], อธิบดี
  • ไกวัลย์ โรจนานุกูล, รองอธิบดี
  • ผดุงศักดิ์ สรุจิกำจรวัฒนะ, รองอธิบดี

เว็บไซต์http://www.drr.go.th

กรมทางหลวงชนบท (อังกฤษ: Department of Rural Roads) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยบุคลากรโอนภารกิจมาจากกรมโยธาธิการและกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท มีหน้าที่ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไขปัญหาจราจรโดยสร้างทางเชื่อม ทางเลี่ยง และทางลัด รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงด้านการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ภารกิจ

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มุ่งปรับปรุงระบบระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคม โดยมีการจัดตั้งกรมทางหลวงชนบทขึ้น แต่ได้มีการกำหนดบทเฉพาะกาล มาตรา 54 ไว้ว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้โอนกิจการอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกรมทางหลวงชนบท และบรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมทางหลวงชนบท ไปเป็นของกรมทางหลวง หรือผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกำหนดให้การกำหนดรายละเอียดบางกรณีเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีหรือประกาศของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้ เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งขึ้นบังคับใช้แล้ว ให้ถือว่ากรมทางหลวงชนบทเป็นอันยุบเลิก" ซึ่งจะเป็นผลให้กรมทางหลวงชนบท มีภารกิจที่จะต้องดำเนินการในระยะเวลาเพียง 5 ปี

ต่อมาภายหลังการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้มีมติให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการต่อไปอีก 5 ปี กระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ให้ยกเลิกการยุบกรมทางหลวงชนบท และให้มีภารกิจดำเนินการเช่นเดิม เนื่องจากเป็นนโยบายหลักของทุกรัฐบาล[3]

เครื่องหมายราชการ

สัญลักษณ์ของกรมทางหลวงชนบท คือ องค์พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เป็นเทพแห่งวิศวกรรมการพัฒนา การก่อสร้าง และบำรุงรักษาทางหลวง ประทับเป็นสง่าบนพระอาสน์ มือขวาถือจอบ มือซ้ายถือลูกดิ่ง เบื้องหลังพระวิษณุแสงสว่างแผ่เป็นรัศมีโดยรอบทั้ง 8 ทิศ แสดงถึงภารกิจของกรมทางหลวงชนบท ครอบคลุมทั้งประเทศ และลายกนก 3 ชั้น ตัดด้วยเส้นสีแดงบนพื้นสีเหลืองทอง หมายถึง ประเทศไทย

รายนามอธิบดี

รายนามอธิบดีกรมทางหลวงชนบท
ลำดับรายนามระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1 สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549)
2 ระพินทร์ จารุดุล (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 - 10 เมษายน พ.ศ. 2551)
3 สุพจน์ ทรัพย์ล้อม (11 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551)
4 วิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ (31 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554)
5 ชาติชาย ทิพย์สุนาวี (21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
6 ดรุณ แสงฉาย (16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
7 พิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 29 มกราคม พ.ศ. 2562)
8 กฤชเทพ สิมลี (29 มกราคม พ.ศ. 2562 - 30 กันยายน พ.ศ. 2562)
9 ปฐม เฉลยวาเรศ (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564)
10 อภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย (15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน)

โครงสร้างส่วนราชการ

  • สำนักบริหารกลาง[4]
  • กองแผนงาน
  • แขวงทางหลวงชนบท ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • สำนักกฎหมาย
  • สำนักก่อสร้างทาง
  • สำนักก่อสร้างสะพาน
  • สำนักเครื่องกลและสื่อสาร
  • สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 1 - 18
  • สำนักบำรุงทาง
  • สำนักฝึกอบรม
  • สำนักวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนา
  • สำนักส่งเสริมการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น
  • สำนักสำรวจและออกแบบ
  • สำนักอำนวยความปลอดภัย

สำนักงานทางหลวงชนบท และแขวงทางหลวงชนบทในสังกัด

  1. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 1 (ปทุมธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทปทุมธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทนนทบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสมุทรปราการ
    • แขวงทางหลวงชนบทพระนครศรีอยุธยา
    • แขวงทางหลวงชนบทอ่างทอง
  2. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 2 (สระบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทสระบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทลพบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสิงห์บุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทชัยนาท
  3. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 3 (ชลบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทชลบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทระยอง
    • แขวงทางหลวงชนบทจันทบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทตราด
  4. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 4 (เพชรบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทเพชรบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทประจวบคีรีขันธ์
    • แขวงทางหลวงชนบทราชบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสมุทรสงคราม
    • แขวงทางหลวงชนบทสมุทรสาคร
  5. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 5 (นครราชสีมา)
    • แขวงทางหลวงชนบทนครราชสีมา
    • แขวงทางหลวงชนบทชัยภูมิ
    • แขวงทางหลวงชนบทบุรีรัมย์
    • แขวงทางหลวงชนบทสุรินทร์
  6. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 6 (ขอนแก่น)
    • แขวงทางหลวงชนบทขอนแก่น
    • แขวงทางหลวงชนบทเลย
    • แขวงทางหลวงชนบทมหาสารคาม
    • แขวงทางหลวงชนบทร้อยเอ็ด
  7. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 7 (อุบลราชธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทอุบลราชธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทศรีสะเกษ
    • แขวงทางหลวงชนบทอำนาจเจริญ
    • แขวงทางหลวงชนบทยโสธร
  8. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 8 (นครสวรรค์)
    • แขวงทางหลวงชนบทนครสวรรค์
    • แขวงทางหลวงชนบทอุทัยธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทตาก
    • แขวงทางหลวงชนบทกำแพงเพชร
    • แขวงทางหลวงชนบทพิจิตร
  9. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 9 (อุตรดิตถ์)
    • แขวงทางหลวงชนบทอุตรดิตถ์
    • แขวงทางหลวงชนบทสุโขทัย
    • แขวงทางหลวงชนบทพิษณุโลก
    • แขวงทางหลวงชนบทเพชรบูรณ์
  10. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 10 (เชียงใหม่)
    • แขวงทางหลวงชนบทเชียงใหม่
    • แขวงทางหลวงชนบทแม่ฮ่องสอน
    • แขวงทางหลวงชนบทลำพูน
    • แขวงทางหลวงชนบทลำปาง
    • แขวงทางหลวงชนบทแพร่
  11. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 11 (สุราษฎร์ธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทสุราษฎร์ธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทนครศรีธรรมราช
    • แขวงทางหลวงชนบทชุมพร
    • แขวงทางหลวงชนบทระนอง
  12. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 12 (สงขลา)
    • แขวงทางหลวงชนบทสงขลา
    • แขวงทางหลวงชนบทสตูล
    • แขวงทางหลวงชนบทยะลา
    • แขวงทางหลวงชนบทปัตตานี
    • แขวงทางหลวงชนบทนราธิวาส
  13. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 13 (ฉะเชิงเทรา)
    • แขวงทางหลวงชนบทฉะเชิงเทรา
    • แขวงทางหลวงชนบทนครนายก
    • แขวงทางหลวงชนบทปราจีนบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสระแก้ว
  14. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 14 (กระบี่)
    • แขวงทางหลวงชนบทกระบี่
    • แขวงทางหลวงชนบทพังงา
    • แขวงทางหลวงชนบทภูเก็ต
    • แขวงทางหลวงชนบทตรัง
    • แขวงทางหลวงชนบทพัทลุง
  15. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 15 (อุดรธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทอุดรธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทหนองบัวลำภู
    • แขวงทางหลวงชนบทหนองคาย
    • แขวงทางหลวงชนบทบึงกาฬ
  16. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 16 (กาฬสินธุ์)
    • แขวงทางหลวงชนบทกาฬสินธุ์
    • แขวงทางหลวงชนบทสกลนคร
    • แขวงทางหลวงชนบทนครพนม
    • แขวงทางหลวงชนบทมุกดาหาร
  17. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 17 (เชียงราย)
    • แขวงทางหลวงชนบทเชียงราย
    • แขวงทางหลวงชนบทพะเยา
    • แขวงทางหลวงชนบทน่าน
  18. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 18 (สุพรรณบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทสุพรรณบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทกาญจนบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทนครปฐม

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. โยกย้ายคมนาคม “อภิรัฐ” ขึ้นอธิบดีทางหลวงชนบท “ปฐม” เข้ากรุผู้ตรวจฯ
  3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552
  4. โครงสร้างส่วนราชการ

ดูเพิ่ม

  • กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท

แหล่งข้อมูลอื่น

  • กรมทางหลวงชนบท

หน่วยงานในกระทรวงคมนาคม

กรม

สำนักงานรัฐมนตรี • สำนักงานปลัดกระทรวง • กรมการขนส่งทางบก • กรมทางหลวง • กรมเจ้าท่า • กรมท่าอากาศยาน • กรมทางหลวงชนบท • สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร • กรมการขนส่งทางราง

อธิบดีกรม ทางหลวง ชนบท 2564

รัฐวิสาหกิจ

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) • บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) • การท่าเรือแห่งประเทศไทย • การรถไฟแห่งประเทศไทย • บริษัท ขนส่ง จำกัด • การทางพิเศษแห่งประเทศไทย • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย • องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ • บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด • สถาบันการบินพลเรือน • บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด

หน่วยงานอื่นของรัฐ

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

หมวดหมู่