ความ แตก ต่าง ไปรษณีย์ กับ เค อ รี่

อเล็กซ์ อึ้ง ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Kerry Express ยืนยันกับ Marketeer ว่า วันนี้ มีการจัดส่งพัสดุประมาณ 1.1 ล้านชิ้นต่อวัน

ครองมาร์เก็ตแชร์ถึง 80% เป็นอันดับ 1 ในบรรดาบริษัทขนส่งพัสดุภาคเอกชนในเมืองไทย 

เขาบอกว่า Kerry Express ไม่แข่งกับไปรษณีย์ไทย ซึ่งถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจที่ครอบคลุมการขนส่งทุกประเภท ในขณะที่ Kerry Express โฟกัสกลุ่มลูกค้าอีคอมเมิร์ซเป็นหลัก 

แน่นอน Kerry Express ยังคงห่างชั้นกับไปรษณีย์ไทย ที่ ณ วันนี้สามารถบริการส่งของได้วันละ 8 ล้านชิ้นต่อวัน สามารถสร้างรายได้ในปี 2560 ถึง 27,870 ล้านบาท ในขณะที่ Kerry Express ทำรายได้ในปีที่ผ่านมาประมาณ 6,000 ล้านบาท 

แต่ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า  Kerry Express มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจมากทีเดียว    

ความ แตก ต่าง ไปรษณีย์ กับ เค อ รี่

Kerry Expressเป็นบริษัทลูกของ Kerry Logistics Network บริษัทใหญ่ในฮ่องกง ที่ทำธุรกิจในไทยมานานเกือบ 40 ปี (มีบริษัทในเครืออื่นๆ เช่น โรงแรมแชงกรีล่า บริษัทเคอรี่ สยามซีพอร์ต บริษัทคาร์ท ) 

มีกลยุทธ์ในการทำธุรกิจด้วยการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์เพื่อสร้างเครือข่ายในการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

เช่น มีจุดบริการในแฟมิลี่มาร์ท บิ๊กซี และท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือมีรถขนส่งที่ใช้ระบบ Sub-Contract กับบริษัทข้างนอกเข้ามาจำนวนมาก

กลายเป็น Key Success สำคัญที่ทำให้ Kerry Expressสามารถเติบโตและสร้าง Brand Awareness กับคนไทยได้อย่างรวดเร็ว

ความ แตก ต่าง ไปรษณีย์ กับ เค อ รี่

การสร้าง “คน” สำคัญที่สุด

เมื่อถามว่า อะไรคือความท้าทายที่สุดในการทำธุรกิจในยุคที่มีการแข่งขันกันสูงอย่างทุกวันนี้ ผิดคาด แทนที่อเล็กซ์จะโชว์เหนือเรื่องราคา หรือความรวดเร็ว เขากลับบอกว่าให้ความสำคัญในการบริหารจัดการเรื่องคนมากที่สุด

“ไม่ใช่ว่าคนไทยไม่สนใจความเร็ว หรือเรื่องราคา แต่ถ้าต้องเลือกกับความน่าเชื่อถือ ทุกคนย่อมเลือกอย่างหลัง และที่สำคัญการที่จะทำให้ Kerry Express น่าเชื่อถือได้ต้องมาจากคนที่มีประสิทธิภาพ”

ปัจจุบันพนักงานทั้งหมดของบริษัทมีประมาณ 20,000 คน (เป็นพนักงานพาร์ตไทม์ 5,000 คน) ส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานส่งของ พนักงานขับรถ พนักงานตามหน้าร้านที่คอยติดต่อลูกค้าและคอลเซ็นเตอร์ เป็นพนักงานในออฟฟิศไม่ถึง 500 คน ทั้งหมดเป็น Young Generation ที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 28 ปี

ถึงแม้พนักงานส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นเดียวกัน แต่อาจจะมีวิธีคิดในเรื่องของงานบริการไม่เหมือนกัน ดังนั้นการที่จะออกไปปฏิบัติหน้าที่ทุกคนจะต้องผ่านการอบรมในหลักสูตร Traning School เพื่อความเป็นมาตรฐานที่เท่าเทียมกันหมด 

ที่นี่ยังมีโครงการ Management Service Officer (MSO) โดยเอาคนรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์ 1 ปีขึ้นไปเข้ามาในโปรแกรมนี้ ทุกคนจะถูกหมุนเวียนเข้าไปเรียนรู้งานในฝ่ายต่างๆ คนไหนที่มีความสามารถโดดเด่นก็จะถูกโปรโมตขึ้นเป็นผู้จัดการในเวลาอันรวดเร็ว

“พวกเขาอาจจะยังมีอายุไม่ถึง 30 ปี แต่จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนบริษัทท่ามกลางการแข่งขันของการทำธุรกิจในโลกอนาคต ซึ่งผมให้ความสำคัญในกระบวนการสร้างคนแบบนี้อย่างมาก เป็นการค้นหาและพัฒนาขีดความสามารถของเขา และได้เห็นเขาเติบโตในทางของตัวเอง”

ความ แตก ต่าง ไปรษณีย์ กับ เค อ รี่

ขณะเดียวกันได้มีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของการทำงานเพื่อให้ไปในทางเดียวกัน ใน 4 เรื่องหลักคือ

1.พนักงานสามารถให้ความเห็นหรือแสดงความสามารถของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ หัวหน้าอาจจะไม่ได้เก่งทุกเรื่องแต่เป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีได้ ทุกคนต้องมีความเชื่อในเรื่องนี้ และต้องดึงศักยภาพของตัวเองออกมาเพื่อใช้ในการทำงานอย่างเต็มที่

“ที่นี่เรามี Stupid Boss Policy ด้วย หมายความว่า ไม่ว่าผู้บริหารจะอาวุโสหรือไม่ เราจะไม่ทำท่าว่าฉลาดกว่าทีมงานที่เด็กกว่าโดยเด็ดขาด แต่ต้องปล่อยให้คนที่เก่งกว่าเราแสดงความสามารถอย่างเต็มที่จนทำงานสำเร็จ”

2.ลักษณะการทำงานจะไม่แบ่งเป็นฝ่าย แยกเป็นไซโล ที่ทุกอย่างขึ้นตามสายงาน และระดับขั้นในการบังคับบัญชาเท่านั้น แต่จะมีการปรึกษาและตัดสินใจร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ตลอดเวลา

3.การทำงานไม่จำเป็นต้องรอคำสั่งอย่างเดียวเท่านั้น สามารถคิดค้นขึ้นมาและนำเสนอออกมาได้ตลอดเวลา

4.ทุกฝ่ายมีความสำคัญเท่ากันหมด เปรียบเสมือนเป็นรถไฟฟ้า ที่ทุกอย่างต้องพร้อมจริงๆ ถึงจะขับเคลื่อนไปได้

นอกจากเรื่องคน ความผิดพลาดในการบริการเป็นอีกสิ่งที่ท้าทายว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

ความ แตก ต่าง ไปรษณีย์ กับ เค อ รี่

ผิดพลาดแค่ 0.01% แต่หมายถึงกระทบลูกค้าเป็นพันคน

อเล็กซ์กล่าวว่า ไม่มีวันไหนที่งานส่งของของ Kerry Expressจะสมบูรณ์เต็ม100% แต่จะแก้ปัญหาอย่างไรให้ลูกค้าพอใจเร็วที่สุด และเอาความผิดพลาดนั้นมาเป็นบทเรียน

“ผมมั่นใจว่าข้อผิดพลาดของเราต่ำกว่าที่อื่นเพียง 0.01% แต่ที่ดูเหมือนเราผิดพลาดมากเพราะจำนวนในการส่งของของเรามากกว่ารายอื่นๆ ประมาณ 30-50 เท่า”

แต่เขาก็ยอมรับว่า 0.01% ของ 1.1 ล้านชิ้นนั้นหมายถึงส่งผลกระทบถึงคนเป็นพันคน ซึ่งไม่น้อยเลย ดังนั้นการให้ความสำคัญในการบริหารจัดการเกี่ยวกับเรื่องของคนในทุกส่วนงาน จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เขามั่นใจว่าจะทำให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

สาขา, ราคา, ความเร็ว และเซอร์วิส

ปัจจุบันจุดบริการของ Kerry Expressมีอยู่ประมาณ 3,500 จุด ในปีหน้า อเล็กซ์กล่าวว่าจะขยายไปในทุกที่เท่าที่จะขยายได้เพื่อให้เพิ่มเป็น 1 หมื่นจุด 

จุดบริการหนึ่งที่น่าสนใจก็คือหลังจากบริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ VGI (บริษัทลูกของบีทีเอส) ได้เข้าลงทุนในหุ้น 23% เมื่อประมาณเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้ Kerry Expressมีสิทธิ์เพียงเจ้าเดียวในการจัดตั้งจุดให้บริการบนสถานีรถไฟฟ้า BTS เพื่อรับพัสดุและให้บริการ Drop-Off ได้  โดยสถานีใหญ่หลักๆที่จะมีบริการ เช่น พร้อมพงษ์, สยาม เป็นต้น

และปัจจุบันสามารถชำระเงินโดยทาง Rabbit LinePay ได้แล้ว

รวมทั้งภายในปีนี้จะมี Kerry BTS Courier ที่สามารถเดินเข้าไปให้บริการบนสถานีรถไฟฟ้าได้อีกด้วย  

อเล็กซ์ยังคาดว่าในอนาคตเมื่อภาพรวมของของธุรกิจขนส่งในประเทศใหญ่ขึ้นราคาค่าขนส่งของแต่ละบริษัทจะต้องถูกลงแน่นอน ยกตัวอย่างเช่นของ Kerry Expressเอง ราคาจะต่ำกว่าเมื่อ 5ปีก่อนประมาณ 5เท่า 

ในเรื่องความเร็ว เขามีความเห็นว่า จริงๆ แล้วอินไซด์ของคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการความเร็วแบบเร็วที่สุด 

“สิ่งที่เขาต้องการคือ ต้องการรู้สถานะของพัสดุมากกว่า ว่าอยู่ที่ไหนแล้ว ทุกวันนี้เคอรี่ก็สามารถเช็กได้ว่าของอยู่ที่ไหน แต่ต่อไปจะให้ความสำคัญในเรื่องพัฒนาแอปพลิเคชันในเรื่องนี้และเรื่องต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกในหลายๆ ด้าน เพื่อตอกย้ำว่าเราเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ทันสมัยล้ำหน้าคนอื่นด้วย”

อย่างเช่นต่อไปจะมีแอพพลิเคชั่น Ship from home  เพื่อพนักงานจะได้ไปรับสินค้าถึงบ้าน หรือจะพัฒนาให้มีการรับสินค้าได้ด้วยตัวเองที่ shop หรือที่เรียกว่า Self-collection  ที่ลูกค้าสะดวกที่จะไปรับเองมากกว่าให้มาส่งที่บ้านหรือที่ออฟฟิศ 

“90% เขาพร้อมอยู่แล้วที่จะรอรับสินค้าอยู่ที่บ้านแต่ บริการ Self-Collection นี้ ที่เราจะทำไว้เพื่อสร้างความสะดวกให้ลูกค้าที่เหลืออีก 10 % เพื่อให้เขามีตัวเลือกมากขึ้น”

ความ แตก ต่าง ไปรษณีย์ กับ เค อ รี่

อเล็กซ์ยังทิ้งท้ายอีกว่าสำหรับความท้าทายส่วนตัวของเขาในการเข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทยก็คือต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาเรื่องระบบขนส่งพัสดุของประเทศไทย และช่วยทำให้คนรุ่นใหม่มีโอกาสในการทำธุรกิจได้มากขึ้น

และที่สำคัญเขายังมีความตั้งใจที่จะให้ Kerry Expressเป็นองค์กรสีเขียว เพราะธุรกิจขนส่งด้านหนึ่งอาจจะสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม เขาจึงส่งคนไปศึกษาในประเทศต่างๆ ว่าจะมีวิธีอะไรเกี่ยวกับการลดมลภาวะที่เกิดจากการขนส่ง และสามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้บ้าง  

“ซึ่งถ้าทำได้สำเร็จ Kerry Expressก็น่าจะเป็นแบรนด์หนึ่งที่อยู่ในใจผู้บริโภค ได้อย่างมั่นคงแน่นอน”

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง Line@ : @marketeer

ความ แตก ต่าง ไปรษณีย์ กับ เค อ รี่
ความ แตก ต่าง ไปรษณีย์ กับ เค อ รี่