พัฒนาการของภูมิภาคเอเชีย กลาง

ก่อน พ.ศ.2534 คาซัคสถานเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียตเช่นเดียวกับรัสเซีย อูเครน คีร์กีซ อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน ฯลฯ เมื่อแยกประเทศมาได้ 20 ปี เราก็เห็นความแตกต่างของคนคาซัครุ่นใหม่กับคนรุ่นใหม่ที่มาจากสาธารณรัฐอื่นอย่างเห็นได้เด่นชัด ถ้าตามการกระดิกพลิกตัวของผู้คนจากอดีตสหภาพโซเวียต คนคาซัคเด่นและมีความเป็นสากลมากที่สุด

คนที่เคยพบคบค้ากับคนคาซัคมักถามผมถึงสาเหตุที่ทำให้คนคาซัคแตกต่าง ผมตอบว่ามาจากการที่คาซัคสถานมีนํ้ามันมาก แต่มีพลเมืองน้อย (17 ล้านคน) คาซัคสถานมีพื้นที่ 2.7 ล้านตารางกิโลเมตร (ใหญ่กว่าไทยเกือบ 5 เท่า) เมื่อได้เงินจากการขายนํ้ามัน รัฐบาลคาซัคแต่ละยุคทุกสมัยก็อัดเรื่องการศึกษาของเยาวชนเต็มกำลัง ตอนที่แยกประเทศออกมาใหม่ๆ นักศึกษาคาซัคได้ทุนจากรัฐบาลมาเรียนในไทยจำนวนไม่น้อย เรายังเจอนักเรียนทุนรัฐบาลคาซัคในสิงคโปร์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง สหรัฐฯ และประเทศในยุโรป พวกนี้ตั้งหน้าตั้งตาเรียนโดยไม่ต้องทำงาน เพราะเงินจากทรัพยากรธรรมชาตินํ้ามันมีเหลือเฟือ เรื่องนี้ทำให้องค์ความรู้จากทั่วโลกไหลไปรวมกันอยู่ที่คาซัค

บริษัท บาลานซ์ โนว์เล็จ ดีไซน์ จำกัด เคยรับงานเป็นที่ปรึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอของไทย เพื่อนำนักลงทุนไทยไปหาโอกาสด้านการค้าการลงทุนในประเทศตลาดใหม่ หนึ่งในประเทศตลาดใหม่ในสมัยนั้นคือ คาซัคสถาน บริษัทฯ เตรียมล่ามภาษารัสเซียและภาษาคาซัค เพื่อใช้ในการเจรจา แต่ปรากฏว่าไม่ได้ใช้สักแห่งเดียว เพราะไม่ว่าจะระดับรัฐมนตรี อธิบดี และหัวหน้าหน่วยงานที่เราเข้าไปเจรจา สนทนาด้วยภาษาอังกฤษดีมาก คนที่รับผิดชอบของรัฐบาลและเอกชนส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ

ผิดกับสาธารณรัฐคีร์กิซ ซึ่งมีพรมแดนประชิดติดกับคาซัคสถาน เป็นสาธารณรัฐที่ไม่มีทรัพยากรน้ำมัน รัฐบาลไม่ค่อยสนใจไยดีเรื่องการศึกษา การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า ผมเคยติดตามทีมของ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย ตระเวนตั้งแต่เหนือสุดยันใต้สุดของคีร์กีซ ทั้งที่ในตอนนั้นแยกจากโซเวียตมานาน 20 ปีแล้ว แต่คีร์กีซยังไม่มีความก้าวหน้าอย่างเห็นเด่นชัด ผู้คนยังทำกสิกรรมแบบดั้งเดิม โครงสร้างพื้นฐานทั้งหลาย ทั้งถนนหนทาง ยังไม่ได้มาตรฐาน

อุซเบกิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรน้ำมันเช่นกัน แต่รัฐบาลอุซเบ็กก็พยายามดิ้นรนด้วยการเชื้อเชิญประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศมาก่อนเข้าไปช่วยปรับปรุงระบบการศึกษา อย่างเช่น ตุรกี เกาหลีใต้ หรือแม้แต่สิงคโปร์ ซึ่งไปสร้างมหาวิทยาลัยของตัวเองกลางกรุงทัชเคนต์ เมืองหลวงของอุซเบกิสถาน

คุณภาพชีวิตของชาวอุซเบ็กที่ผมตระเวนร่วมทีมกับอาจารย์นิติภูมิธณัฐ มากกว่า 5 ครั้งในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีความก้าวหน้าพอสมควร แม้ว่าจะไม่ได้มีคนจบการศึกษาจากต่างประเทศมากเท่ากับคาซัคสถาน แต่การที่ดึงประเทศต่างๆ
เข้ามาสร้างสถานศึกษาและสถานฝึกอบรมในประเทศอย่างจริงจัง ทำให้อุซเบกิสถานเป็นอีกประเทศหนึ่งในเอเชียกลางที่มีอนาคต

การเลือกตั้งประธานาธิบดีอุซเบกิสถานครั้งล่าสุด คณะกรรมการการเลือกตั้ง และรัฐบาลอุซเบกิสถานเชิญอาจารย์นิติภูมิธณัฐให้เดินทางไปเป็นผู้สังเกตการณ์นานาชาติ ซึ่งต้องตระเวนไปตามเมืองต่างๆทั้งประเทศ การไปคราวนี้ มีการพบว่าผู้นำรุ่นใหม่ไม่ว่าในระดับเทศบาลจังหวัด หรือภูมิภาค เป็นคนรุ่นใหม่อายุน้อยแทบทั้งสิ้น

พัฒนาการของสาธารณรัฐทาจิกิสถานหลังจากแยกตัวจากสหภาพโซเวียตคล้ายกับสาธารณรัฐคีร์กีซ การที่รัฐบาลไม่ค่อยสนใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทาจิกิสถานจึงยังเป็นประเทศที่ลำบาก ผู้คนมีปัญหาทางเศรษฐกิจโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆของประเทศยังล้าหลัง

วันนี้ขออนุญาตอัปเดตความเป็นไปในเอเชียกลางเพียงเท่านี้ครับ สรุปสั้นๆว่า การทุ่มเทกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำคัญกับความเจริญของประเทศชาติบ้านเมืองอย่างมากครับ.

พัฒนาการของภูมิภาคเอเชีย กลาง
พัฒนาการของภูมิภาคเอเชีย กลาง
                    เอเชียกลาง เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในทวีปเอเชียที่ ไม่มีทางออกทะเล มีคำนิยามที่ต่างกันออกไปสำหรับขอบเขตของดินแดนที่จัดอยู่ในภูมิภาคเป็น เอเชียกลาง และยังไม่มีคำนิยามใดที่เป็นที่ยอมรับโดยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามลักษณะโดยทั่วไปของดินแดนในภูมิภาคนี้คือ มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับกลุ่มชาวโนแมด (nomad) และ เส้นทางสายไหม ซึ่งทำให้ในอดีตนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนเส้นทางของ สินค้า คน รวมถึง แนวความคิด ระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก
ประเทศต่างๆของเอเชียกลาง country of central asia
           ประเทศคาซัคสถาน สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน สาธารณรัฐคีร์กิซ ประเทศเติร์กเมนิสถาน สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ประเทศจอร์เจีย สาธารณรัฐอาร์เมเนีย และสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน
ภูมิประเทศของเอเชียกลาง Terrain of central asia แบ่งออกเป็น 2 เขต
           1. เขตเทือกเขาและที่ราบสูง เทือกเขาทางตะวันออกเป็นแนวภูเขาสูงที่ต่อเนื่องมาจากแนวเทือกเขาในเอเชีย ได้แก่ เทือกเขาเทียนชานและปามีร์ มียอดเขาสูงที่สุดคือ ยอดเขาคอมมิวนิสต์ สูง 7,495 เมตร อยู่ในประเทศ ทาจิกิสถาน ส่วนเทือกเขาทางใต้ ได้แก่ เทือกเขาคอเคซัส ในประเทศ จอร์เจีย อาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานส่วนที่ราบสูงเป็นที่ราบสูงเชิงเขาลาดลงสู่ที่ราบและทะเลสาบแคสเปียนทางตะวันตกได้แก่ที่ราบสูงทางภาคเหนือและภาคตะวันออก ในประเทศคาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถานและมีทะเลสาบบอลคาซ ซึ่งเป็นทะเลสาบบนที่ราบสูงอยู่ทางตะวันออกของภูมิภาคนี้
           2. เขตที่ราบ ได้แก่ ที่ราบที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียน เรียกว่า ที่ราบตูราน ในประเทศ คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน ซึ่งเป็นที่ราบต่อเนื่องมาจากที่ราบไซบีเรีย ในเขตที่ราบนี้มีทะเลสาบที่สำคัญคือ ทะเลสาบอูราล

พัฒนาการของภูมิภาคเอเชีย กลาง
พัฒนาการของภูมิภาคเอเชีย กลาง

ประวัติศาสตร์เอเชียกลาง
           เป็นประวัติศาสตร์ของดินแดนเอเชียกลาง ซึ่งแถบนี้เป็นบริเวณที่ทำการเกษตรได้ลำบากและอยู่ห่างไกลจากทะเล ทำให้ถูกตัดขาดจากเส้นทางการค้า เมืองใหญ่ๆเ กิดขึ้นในบริเวณนี้น้อย ชาวนอมาดิกที่เชี่ยวชาญการขี่ม้าเป็นกลุ่มชนหลักในทุ่งหญ้าสเตป ในบริเวณนี้ความสัมพันธ์ระหว่างชาวนอมาดิกและกลุ่มชนอื่นๆ ในเอเชียกลางเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ทักษะในการขี่ม้าของพวกเขาทำให้กลายเป็นนักรบที่มีประสิทธิภาพกลุ่มหนึ่งของโลก ผู้นำเผ่าจะเป็นผู้จัดการนำเผ่าย่อย ๆ มารวมกันเป็นกองทัพ ตัวอย่างของกลุ่มชนเหล่านี้ เช่น ชาวฮั่นที่เข้ารุกรานยุโรป ชาวเติร์กที่อพยพเข้าสู่ทรานโซเซียนา ชาวหวู่และหู่ที่โจมตีจีน และชาวมองโกลที่มีอิทธิพลในเอเชียและยุโรป
           ความโดดเด่นของชาวนอมาดิกสิ้นสุดลงในพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่ออาวุธสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในสงคราม จักรวรรดิรัสเซีย ราชวงศ์หมิงของจีน และมหาอำนาจอื่นเข้าครอบครองเอเชียกลางทั้งหมดในพุทธศตวรรษที่ 24 หลังการปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460 รัสเซียเข้าครอบครองเอชียกลางเอบทั้งหมด เหลือแต่มองโกเลียและอัฟกานิสถานที่เป็นรัฐเอกราช แต่มองโกเลียก็เป็นรัฐบริวารรัฐหนึ่งของโซเวียต และโซเวียตพยายามเข้าครอบงำอัฟกานิสถานแต่ไม่สำเร็จ ส่วนที่ถูกโวเวียตยึดครองได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมแต่วัฒนธรรมท้องถิ่นถูกกดขี่ เมื่อ โซเวียตสลายตัวไปเมื่อ พ.ศ. 2534 รัฐของโซเวียตในเอเชียกลาง 5 รัฐได้เป็นรัฐเอกราช

พัฒนาการของภูมิภาคเอเชีย กลาง


ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/social04/06/second%20index.html
           http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/social04/06/terrain%20of%20central%20asia.html
           http://th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์เอเชียกลาง

พัฒนาการของภูมิภาคเอเชีย กลาง