อธิบายรูปแบบของบทเพลงศาสนา

การขับร้องประสานเสียงแบบตะวันตก เริ่มต้นจากการขับร้องธรรมดา ซึ่งถือเป็นการแสดงพื้นฐานสำคัญทางดนตรี ที่มีจุดประสงค์แตกต่างกันไปตามแต่โอกาส เช่น ใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ การสรรเสริญพระเจ้า และเป็นสื่อในการสื่อสารระหว่างกัน เมื่อเริ่มต้น การขับร้องมี 2 องค์ประกอบหลัก คือ เนื้อร้องและทำนอง แม้ในบางบทเพลงจะไม่มีเนื้อร้อง แต่ก็ยังสามารถสื่อความหมายและอารมณ์ได้เป็นอย่างดี

อธิบายรูปแบบของบทเพลงศาสนา
ภาพ 2.11 การขับร้องประสานเสียงในสมัยโบราณ
ที่มา: หนังสือ The Story of Christian Music

ตามความเชื่อของคนตะวันตก การขับร้องคือความรื่นรมย์ หากผู้ใดสามารถขับร้องบทเพลงได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นผู้มีอารยธรรมสูง หรือมีความเจริญทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก

ต่อมาการขับร้องได้พัฒนาขึ้น จากการร้องเพียงคนเดียวหรือร้องเดี่ยว ก็เกิดวิธีการขับร้องร่วมกัน ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการขับร้องประสานเสียง แม้ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนอย่างเพียงพอว่าการขับร้องประสานเสียงเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดกันแน่ หรือมีลักษณะอย่างไรในยุคแรก แต่ก็พอสันนิษฐานได้ว่า จุดกำเนิดของการขับร้องประสานเสียงเกิดจากกิจกรรมทางศาสนาภายในโบสถ์ของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ได้เกิดแบบแผนการแบ่งช่วงเสียง (Register) ออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงอก ช่วงคอ และช่วงศีรษะ

แม้ในเวลาต่อมา บทเพลงขับร้องประสานเสียง เริ่มแพร่หลายมากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดด้านต่าง ๆ เช่น เพลงร้องส่วนใหญ่เป็นเพลงในศาสนา หรือเป็นบทเพลงที่นิยมให้เฉพาะนักร้องชายเป็นผู้ขับร้อง หากต้องการเสียงในระดับที่สูงกว่าเสียงผู้ชายธรรมดา ใช้เสียงร้องของเด็กผู้ชายแทน ข้อจำกัดเหล่านี้ได้รับการผ่อนปรนมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญในการขับร้องประสานเสียง เพราะมีนักร้องหญิงมาร่วมในวงขับร้องประสานเสียงในระดับเสียงโซปราโน ซึ่งภายหลังเกิดความนิยมแพร่หลายมากขึ้น จำนวนนักร้องหญิงก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เป็นเหตุให้ผู้ประพันธ์เพลงสามารถประพันธ์เพลงขับร้องประสานเสียงให้มีความกว้างของช่วงเสียงได้มากขึ้น จากเดิมที่ถูกจำกัด เพราะนักร้องผู้ชายจะมีระดับเสียงอยู่ระหว่างเสียงเทเนอร์และเสียงเบส

การประพันธ์เพลงร้องประสานเสียงที่มีระดับเสียงผู้หญิงและระดับเสียงผู้ชายอยู่ในวงเดียวกันเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นโดยเฉพาะในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ลักษณะการเขียนเพลงแบบนี้ เน้นความสำคัญให้กับทุกช่วงเสียง มีการด้นสดบ้างบางเวลา

ในศตวรรษที่ 17 เริ่มมีการใช้เสียงชนิดพิเศษ คือ เสียงคัสตราโต (Castrato) ซึ่งเป็นเสียงจากนักร้องชายที่มีระดับเสียงสูงมากเป็นพิเศษ อยู่ในระดับไล่เลี่ยกับเสียงโซปราโนของผู้หญิง เป็นเสียงของเด็กผู้ชาย ที่โตเป็นหนุ่มแล้ว  แต่มีเสียงที่เล็กและนุ่มนวล เสียงคัสตราโตเป็นที่นิยมในการขับร้องสำหรับกิจกรรมในโบสถ์และการแสดงอุปรากรมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 20

จุดเปลี่ยนสำคัญของการขับร้องประสานเสียงตะวันตกมาพร้อมกับการเกิดขึ้นของอุปรากร ในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 เริ่มมีระบบการคัดเลือกนักร้องเพื่อไปร้องในอุปรากรของนักประพันธ์ท่านต่าง ๆ โดยเฉพาะตำแหน่งนักร้องนำ ซึ่งคัดเลือกจากนักร้องเพลงสวดที่เคยอยู่ในราชสำนัก ส่วนในช่วงศตวรรษที่ 17-18 ซึ่งเป็นช่วงยุคของดนตรีบาโรก พบว่ามีลักษณะการขับร้องใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ศตวรรษที่ 19 วงการขับร้องทั่วไปรวมถึงวงการขับร้องประสานเสียง ได้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามยุคสมัย  มีการใช้เสียงนักร้องเพิ่มขึ้นในวงขับร้องประสานเสียง เช่น การเกิดนักร้องเสียง เทนเนอร์ที่แบ่งออกเป็นอีกหลายชนิด แสดงให้เห็นถึงรสนิยมการฟังเพลงของผู้คนในศตวรรษที่ 19 ซึ่งต้องการ ความแปลกใหม่ทางดนตรี การขับร้องในช่วงเวลาดังกล่าวเริ่มเน้นไปที่ความยิ่งใหญ่ ในส่วนของระบบการเรียนการสอนวิชาขับร้องในช่วงศตวรรษที่ 19 ก็มีการพัฒนาให้ตรงความต้องการของผู้คนมากขึ้น

2. ประวัติการขับร้องประสานเสียงไทย

ประวัติการขับร้องประสานเสียงไทย มีจุดเริ่มต้นจากการที่มีชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกลุ่มชาวตะวันตกที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์

2.1) ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

การขับร้องประสานเสียงในรูปแบบตะวันตกได้แพร่กระจายเข้าสู่ประเทศไทยพร้อม ๆ กับการเข้ามาของชาวตะวันตกชาติแรก คือ ชาวโปรตุเกส ในปี พ.ศ. 2050 ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา และในช่วงปี พ.ศ. 2059 พระองค์ได้ทำสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างกรุงศรีอยุธยากับโปรตุเกสว่าให้ ชาวโปรตุเกสมีสิทธิเสรี สามารถเดินทางเข้ามาค้าขาย ตั้งบ้านเรือน และปฏิบัติศาสนกิจในกรุงศรีอยุธยาได้ (พิทยา ศรีวัฒนสาร, 2541) จากมูลเหตุนี้เองจึงเป็นไปได้ว่าวัฒนธรรมการขับร้องประสานเสียงที่ชาวโปรตุเกสนำมาใช้ในพิธีกรรมของตนได้เริ่มต้นแพร่เข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยานับจากนั้น

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2205 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีมิชชันนารีกลุ่มแรกชาวฝรั่งเศส 3 องค์ คือ พระสังฆราชปีแอร์ ลังแบรต์ เดอ ลา ม็อต (Pierre Lambert De la Motte), คุณพ่อฌัก เดอ บูรฌส์ ( Jacques De Bourges) และ คุณพ่อฟรังซัว เดดีเอร์ (François Deydier) แห่งคณะมิสซังต่างประเทศในกรุงสยาม ได้เดินทางเข้ามาสู่เขตแดนกรุงศรีอยุธยา

อธิบายรูปแบบของบทเพลงศาสนา
พระสังฆราชปีแอร์ ลังแบรต์ เดอ ลา ม็อต (Pierre Lambert De la Motte)
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ปีแยร์_ล็องแบร์_เดอ_ลา_ม็อต#/media/ไฟล์:Mgr_Lambert_de_la_Motte.jpg

อธิบายรูปแบบของบทเพลงศาสนา
ภาพ 2.12 การทูตสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ที่มา: หนังสือบ้านแรก วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา ปฐมบทแห่งคาทอลิกไทย

เมื่อพระสังฆราชปีแอร์ ลังแบรต์ เดอ ลา ม็อต ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงขอพระราชานุญาตจัดตั้งสามเณราลัยขึ้นบนแผ่นดินสยาม ภายหลังสามเณราลัยได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมนักบวชในคริสต์ศาสนา ก่อให้เกิดการจัดตั้งวิทยาลัยกลางขึ้นในบริเวณตำบลมหาพราหมณ์และเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวิทยาลัยนักบุญยอแซฟ ในวิทยาลัยนอกจากมีการอบรมทางด้านคริสต์ศาสนา ยังมีการให้องค์ความรู้ด้านภาษาและวิชาการต่าง ๆ แก่บุตรหลานในราชสำนักสยาม โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าศึกษาเล่าเรียน   (อาเดรียงโลเน, 2546)

การเข้ามาของกลุ่มมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสเหล่านี้ นอกจากจะเป็นผู้บุกเบิกด้านการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศสยามแล้ว ยังนำความเจริญเรื่องของการศึกษา การแพทย์ ศิลปะและดนตรี เข้ามาเผยแพร่แก่ชาวสยามอีกด้วย ดังเห็นได้จากหลักฐานตารางเรียนของวิทยาลัยกลางที่ระบุช่วงเวลาในการหัดขับร้องหรือสวดมนต์ การหัดขับร้องดังกล่าว หมายถึงการขับร้องบทสวดเกรกอเรียน ที่เป็นบทสวดขับร้องที่รวบรวมโดย สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 ซึ่งทำการรวบรวมไว้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 มีลักษณะเป็นเนื้อร้องทำนองเดียว ลักษณะการใช้จังหวะ มีความยืดหยุ่นตามแต่เสียงร้องของผู้ร้อง มีช่วงเสียงที่ไม่เกินคู่แปด สามารถร้องในลักษณะร้องเดี่ยวหรือร้องเป็นหมู่คณะก็ได้ แต่ยังไม่มีลักษณะของการเป็นขับร้องประสานเสียง แต่ถือเป็นจุดสำคัญที่แสดงให้เห็นกิจกรรมการขับร้องในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยภาษาสำคัญที่ใช้ในการขับร้องยังเป็นภาษาหลักคือภาษาละติน

บทบาทของเพลงสวดในศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกยังปรากฏอยู่ในบันทึกของ         นายลาลูแบร์ ซึ่งได้เดินทางมาพร้อมกับคณะราชทูต จากประเทศฝรั่งเศส ในบันทึกได้ปรากฏ บันทึกคำแปลของบทร้อง ปาแตร์ นอสแตร์ (Pater Noster) และบทสวดอาเว มาเรีย (Ave Maria) เป็นภาษาไทยหรือภาษาสยาม ทำให้เห็นความเป็นไปได้ว่า บทเพลงสวดในศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกได้กลมกลืนเข้าสู่สังคมสยาม มาบ้างแล้ว และภาษาสำเนียงต่าง ๆได้เริ่มกลมกลืนเข้ากับบทสวดบทร้องภาษาต่างประเทศมากขึ้น ถือว่าเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมทางบทร้องของชาติตะวันตกและตะวันออกที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา (มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์, 2557)

ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ได้หยุดชะงักลง เมื่อเข้าสู่ช่วงสิ้นสมัย ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากเกิดความขัดแย้งระหว่างราชสำนักสยาม และกลุ่มชาวคาทอลิกในขณะนั้น จึงเกิดการรวมตัวปฏิวัติเพื่อขับไล่ชาวคริสต์นิกายคาทอลิก ในรัชสมัยของพระเพทราชา ส่งผลให้ชาวคริสต์นิกายคาทอลิกโดยเฉพาะชาวฝรั่งเศส ต้องทำการอพยพออกจากกรุงศรีอยุธยา ไปสู่จังหวัดรอบนอก ผนวกกับเมื่อช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ. 2310 ก็เกิดการลี้ภัยสงคราม ออกจากกรุงศรีอยุธยา ไปอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น จันทบุรี เป็นต้น

สมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ บรรดาพระสงฆ์ และศาสนิกชนชาวคาทอลิกทั้งหลายที่กระจัดกระจายไปตามต่างจังหวัดและประเทศข้างเคียง ก็กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง เพื่อฟื้นฟูโบสถ์และความสัมพันธ์ของกลุ่มชาวคริสต์ด้วยกัน

พระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานเงิน และที่ดิน แก่ตัวแทนบาทหลวงของศาสนิกชนชาวคริสตัง อันเป็นที่มาของการสร้างโบสถ์คาทอลิกแห่งใหม่ คือ วัดซางตาครู้ส ในปี พ.ศ. 2312 ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ได้ถูกรื้อฟื้นและดำเนินต่อไปได้

แต่ในช่วงปลายสมัยธนบุรี ได้เกิดเหตุขัดแย้งระหว่างราชสำนัก และทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก มีการกักขังและขับไล่ชาวคริสตังและบาทหลวงรวมไปถึงมิชชันนารี ให้หมดไปจากแผ่นดินสยาม ส่งผลให้กิจกรรมทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก หยุดชะงักลงอีกครั้งหนึ่ง

ด้านการดนตรี และการขับร้องประสานเสียงในยุคธนบุรีนี้ ไม่มีหลักฐานปรากฏมากนัก มีเพียงข้ออนุมานว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการนำบทเพลงคลาสสิกง่าย ๆ มาร้องในโบสถ์โดยเหล่ามิชชันนารีที่มาจากยุโรป นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานว่ามีการเล่นดนตรีโดยชาวคริสตัง ซึ่งยึดโยงกับราชสำนักสยามของพระเจ้าตากสินมหาราช ความตอนหนึ่งของข้อเขียนโดยบาทหลวง    อาเดรียง โลเน คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส เป็นบทบันทึกประวัติของมิสซังแห่งกรุงสยาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1662-1811 มีช่วงหนึ่ง กล่าวถึงตอนที่พระเจ้าตากสินมหาราชทรงกริ้วที่คณะคริสตัง มิได้มาเข้าร่วมพิธีหนึ่งในราชสำนัก จึงดำริที่จะไม่จ่ายเงินเดือน

ข้อความดังกล่าวจึงมีความชัดเจนในระดับหนึ่งว่า คณะมิชชันนารีและพระสงฆ์ บาทหลวงต่าง ๆเหล่านั้น มิได้นำมาแต่เพียงหลักธรรมคำสั่งสอน แต่ได้นำวิชาความรู้ด้านดนตรีมาแสดงในกรุงธนบุรีอีกด้วย โดยมีความเกี่ยวเนื่องกับการบรรเลงในพระราชพิธีของพระเจ้าแผ่นดินในขณะนั้น แม้ว่าจะไม่สามารถสืบทราบได้ชัดเจนว่าการแสดงดนตรีนั้นคือการขับร้องประสานเสียงหรือไม่

ในช่วงรัตนโกสินทร์ ถือได้ว่าเป็นยุคที่การขับร้องประสานเสียงในศาสนามีความรุ่งเรืองมาก เนื่องจากคณะมิชชันนารีที่ถูกขับไล่ออกจากราชอาณาจักรสยาม ได้กลับเข้ามาทำหน้าที่เผยแพร่ศาสนาอีกครั้ง โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 มิชชันนารีคนสำคัญ 2 คน คือ พระสังฆราชกูเด และ คุณพ่อการ์โนลต์ ได้กลับสู่แผ่นดินสยาม เพื่อทำการฟื้นฟูศาสนาขึ้นใหม่อีกครั้ง

การขับร้องปกติและการขับร้องประสานเสียงในสมัยรัตนโกสินทร์จึงเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก ได้มีการตีพิมพ์หนังสือขับร้องบทเพลงของโบสถ์ เป็นครั้งแรกที่วัดซางตาครู้ส อนุมานได้ว่ายังคงเป็นรูปแบบเดียวกับ หนังสือคำสอนคริสตังภาคต้น ที่พิมพ์ในลักษณะการใช้ภาษาอังกฤษ  ทับศัพท์ภาษาไทย เหตุผลหนึ่งคือไม่มีแป้นพิมพ์ภาษาไทย และอีกเหตุผลหนึ่งมาจากข้อห้ามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ห้ามมิชชันนารีแต่งหนังสือคำสอนโดยใช้อักษรภาษาไทย ไปจนถึงอักษรภาษาบาลี ห้ามเทศนา คำชวนเชื่อต่าง ๆ แก่ชาวไทย ลาว มอญ และห้ามโต้แย้งศาสนาพุทธของสยาม จนเมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงผ่อนปรนลง เพราะพระองค์เปิดกว้างในเสรีภาพด้านการนับถือศาสนา รวมไปถึงมีพระบรมราชานุญาตให้สามารถใช้อักษรไทยในการเผยแพร่ศาสนา ทำให้อักษรภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ทับศัพท์ภาษาไทย หรือภาษาวัดนั้น ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลง จนเลิกใช้ในที่สุด และส่งผลไปถึงหนังสือบทเพลงต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีกรรมที่เริ่มตีพิมพ์ด้วยอักษรไทย

แม้จะมีการใช้อักษรไทยในการตีพิมพ์บทเพลงต่าง ๆ ในพิธีกรรมของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แต่ก็อนุมานจากหลักฐานได้ว่า การขับร้องประสานเสียงในโบสถ์ ไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก จากหลักฐานการรวบรวมบทเพลงไปจนถึงโน้ตเพลงต่าง ๆ ส่วนมากเป็น โน้ตเพลงแนวทำนองเดียว ไม่มีแนวทำนองประสานเสียงมาก อนุมานจากหลักฐานที่พบคือ หนังสือเพลงขับร้องเพลงของศาสนาที่มีการบันทึกโน้ตประสานเสียงบนบรรทัด 5 เส้น ตามมาตรฐานโน้ตสากลตะวันตก อย่างชัดเจนและเก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบในขณะนี้ คือ หนังสือเพลงไทยคริสตัง และ หนังสือคริสตังร้องเพลง ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2481 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 (จิตตพิมญ์ แย้มพราย, 2558)

อย่างไรก็ตาม การขับร้องประสานเสียง ถูกบรรจุเป็นกิจกรรมภายในโรงเรียนของเครือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้เครื่องดนตรีสามารถปฏิบัติได้ทุกช่วงชั้นและช่วงวัย ซึ่งในขณะนั้น ได้มีการเข้ามาของคณะภราดา และเหล่าภคินี โดย 2 คณะสำคัญได้แก่ คณะภราดาเซนต์คาเบรียล และคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร โดยมีโรงเรียนในสังกัด เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เป็นต้น

ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการก่อตั้งวงดนตรีชื่อ นันทสังคีต ซึ่งเป็นวงเครื่องสาย ใช้ในการบรรเลงประกอบพิธีกรรมภายในวัดซางตาครู้ส โดยบุคคลที่ชื่อ นันท์ ทรรทรานนท์ การก่อตั้งวงนันทสังคีตของ นันท์ ทรรทรานนท์ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่นับเป็นปัจจัยสันนิษฐานไปสู่ข้อสรุปที่ว่า มีการใช้วงดนตรีเครื่องสาย ประกอบการทำพิธีต่าง ๆ ภายในวัดซางตาครู้ส เป็นลำดับแรก ๆ ในประเทศสยาม

นันท์ ทรรทรานนท์ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีคุณูปการในการพัฒนาดนตรีในวัดซางตาครู้ส ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากลโดย ผลงานที่สำคัญคือ เป็นผู้เริ่มตั้งกลุ่มคณะนักขับร้องขึ้นใหม่ภายในวัด  ชื่อ “คณะขับร้อง นันทสังคีตแห่งวัดกุฎีจีน”

2.2) ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์

คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ เกิดขึ้นจากการแยกตัวเป็นนิกายใหม่ จากเดิมที่มีนิกายโรมันคาทอลิกและออร์โธดอกซ์ การแยกนิกายเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศเยอรมนี ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยแกนนำคือ นายมาร์ติน ลูเธอร์ มีจุดประสงค์เพื่อคัดค้านหลักการความเชื่อแบบคาทอลิก หนึ่งในหลักการคิดหนึ่งคือการบังคับใช้ภาษาละตินเป็นภาษาหลักในพิธีกรรม บทสวด ไปจนถึงบทเพลงต่าง ๆ

ในประเทศไทย การเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ได้เข้ามา โดยมิชชันนารีโปรเตสแตนต์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 อย่างไรก็ตาม ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ได้เข้ามาสู่สยามนานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกลุ่มชาวฮอลันดา หรือชาวเนเธอร์แลนด์ซึ่งตอนนั้นเข้ามาทำการค้ากับประเทศสยามเป็นหลัก ยังไม่มีเรื่องของการเผยแพร่ศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พบว่า คณะมิชชันนารีโปรเตสแตนต์ที่เข้ามาปฏิบัติงาน เผยแพร่ศาสนา มีทั้งหมด 5 คณะ

1. สมาคมมิชชันนารีแห่งลอนดอน (London Missionary Society) เข้ามาในปี พ.ศ. 2371

2. คณะอเมริกันบอร์ด American Board of Commissioners for Foreign Missions) เข้ามาถึงสยามในปี พ.ศ. 2374

3. คณะอเมริกันแบ๊บติสต์ (American Baptist Foreign Missionary Society) เข้ามาในปี พ.ศ. 2375

4. คณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน (American Presbyterian Missions) เข้ามาในปี พ.ศ. 2383

5. สมาคมมิชชันนารีอเมริกัน (American Missionary Association) เข้ามาในปี พ.ศ. 2393

การเข้ามาของคณะเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์นั้น นำโดยศาสนาจารย์ 2 ท่าน คือ ศาสนาจารย์จากสมาคมเนเธอร์แลนด์ มิชชันนารี ศาสนาจารย์ คาร์ล ฟรีดริก ออกัสตัส กุตสลาฟ (Rev. Karl Friedrich Augustus Gutzlaff) ชาวเยอรมัน และศาสนาจารย์จากสมาคมมิชชันนารีแห่งลอนดอน ศาสนาจารย์จาคอบ ทอมลิน (Rev. Jacob Tomlin) ชาวอังกฤษ ทั้งสองได้นำแนวคิดของนิกายโปรเตสแตนต์มาสู่ประเทศสยามอย่างเป็นรูปธรรม

ในเวลาต่อมาได้มีคณะเผยแพร่ศาสนาเข้ามาเพิ่มเติม และเป็นผู้เริ่มต้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวสยามและศาสนาคริสต์ บุคคลท่านนั้นคือศาสนาจารย์แดน บีช บรัดเลย์ (Rev. Dan Beach Bradley) ชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อวงการขับร้องประสานเสียง ในศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศสยามเป็นอย่างมาก

การขับร้องประสานเสียงในศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ มีจุดแข็งในเรื่องความเป็นมาตรฐานของบทเพลงที่เหมือนกันทั่วโลก สามารถร้องตามได้ง่าย  ภายในเล่มได้บรรจุบทเพลงต่าง ๆ พร้อมกับแยกเสียงประสานสำหรับขับร้องหลายแนว และยังมีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ตามท้องถิ่นที่มีการนับถือศาสนา เรียกกันว่า บทเพลงนมัสการพระเจ้า

บทเพลงนมัสการได้ถูกจัดทำขึ้นใหม่หลายครั้ง มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งบทเพลงต่าง ๆ โดยอ้างอิงจากหนังสือเล่มเก่า ๆ หลายเล่ม การปรับปรุงดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496-2528 ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ จึงสามารถตีพิมพ์หนังสือเพลงไทยนมัสการฉบับสังคายนาได้สำเร็จและใช้ขับร้องประสานเสียงมาจนถึงปัจจุบัน

3. องค์ประกอบของการขับร้องประสานเสียง

การขับร้องประสานเสียงเป็นศิลปะที่มีอยู่นับพันปี โดยมีจุดเริ่มจากการใช้ประกอบพิธีกรรมในโบสถ์ของศาสนาคริสต์ จากนั้นจึงถูกพัฒนาแตกแขนงออกมาเป็นบทเพลงที่ใช้ในสังคมอื่น ๆ อย่างหลากหลายและกว้างขวาง ในทุกประเภทของดนตรี (Music Genre) จึงมีการร้องประสานเสียงผสมอยู่ ขึ้นกับว่าจะทำเป็นหน้าที่หลักหรือหน้าที่รองในการสนับสนุนและเติมเต็มความเป็นดนตรีต่าง ๆ

ในการร้องประสานเสียง (Chorus) บุคคลที่มีหน้าที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้อำนวยเพลง (Conductor) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดและตีความบทเพลงจากโน้ตเพลงที่มีอยู่ให้ออกมาเป็นสิ่งที่สามารถจับต้องได้เป็นรูปธรรม ผู้อำนวยเพลงในการร้องประสานเสียงในยุคแรก ๆ มีบทบาทเป็นเพียงคนนำทางด้านดนตรี เป็นคนนำทิศทางการซ้อม การแสดง แต่ยังไม่ได้มีการขึ้นมายืนหรือให้คิวสัญญาณอย่างเช่นผู้อำนวยเพลงในปัจจุบัน ที่เราเรียกว่า “วาทยกร”

ผู้อำนวยเพลงในคณะนักร้องประสานเสียง มีนักร้องเป็นเสมือนเครื่องดนตรีในการสร้างสรรค์เสียงเพลงออกมาจากความแตกต่างของเสียงมนุษย์ทั้งเสียงหญิงและชาย ตั้งแต่ โซปราโน อัลโต้ เทเนอร์ และเบส ผู้อำนวยเพลงหรือวาทยกรจึงต้องรู้จักเสียงของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องมือของตนเองเป็นอย่างดี ไม่แตกต่างจากผู้อำนวยเพลงในวงออร์เคสตร้าหรือวงดุริยางค์ที่รู้จักธรรมชาติของเครื่องดนตรีทุกชิ้น ดังนั้นผู้อำนวยเพลงในคณะนักร้องประสานเสียงนอกจาก     ทำหน้าที่ฝึกซ้อมและสร้างเสียงเพลงออกมาให้ผสมกลมกลืนกันอย่างไพเราะแล้ว ยังต้องมีความรู้ด้านดนตรีพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีดนตรีเสียงประสาน ประวัติศาสตร์ดนตรี วรรณกรรม และความเชี่ยวชาญในการอ่านโน้ต ที่สำคัญต้องนำความรู้เหล่านั้นมาใช้กับโน้ตเพลง โดยทำให้ Score เพลง หรือโน้ตเพลงนั้น ๆ สามารถสื่อเป็นเสียงร้องได้อย่างไพเราะ (Peter John Smith, 2008)

ผู้อำนวยเพลงในการประสานเสียงยังต้องรู้เรื่องกลไกของร่างกายที่ทำให้เกิดการสร้างเสียง รู้วิธีการร้องกลุ่มและร้องเดี่ยว กลไกในการหายใจที่ถูกต้อง การเก็บลม การใช้เสียงให้ไพเราะและถูกต้องตามประเภทเพลง เพื่อจะได้คัดเลือกและคัดสรรเสียงให้กับนักร้องแต่ละคนได้ถูกต้อง การพิจารณาคัดเลือกต้องดูทั้งคุณภาพของเสียง ความสูงต่ำของเสียงพูดปกติ ช่วงกว้างของเสียง  ช่องเสียงต่าง ๆ ที่มีผู้อำนวยเพลงต้องให้ความพิถีพิถันกับเรื่องลักษณะบุคลิกท่าทางในการร้องที่ถูกต้องด้วย

การสร้างเสียงที่ดีต้องมีกระบวนการหายใจที่ถูกวิธี มีความเข้าใจเรื่องความก้องกังวานของเสียง ผู้อำนวยเพลงยังต้องเข้าใจเรื่องการออกเสียงในภาษาต่าง ๆ ทั้งเรื่องสระ พยัญชนะ สระเดี่ยว สระผสม ซึ่งภาษาหลัก ๆ ในการร้องประสานเสียง คือ ภาษาละติน ภาษาอิตาเลียน ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ ความรู้เรื่องการเปล่งคำ (Phonetic) หรือการอ่านออกเสียงก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ความรู้เรื่องการนำซ้อมหรือเทคนิคการซ้อมเพลง เริ่มตั้งแต่การเตรียมตัว การวางแผนการซ้อม การวางแผนวอร์มอัพนักร้อง หรือการทำแบบฝึกหัดให้นักร้องได้พัฒนาเสียง การนำการซ้อม การสร้างแรงจูงใจ การทำให้สมาชิกมีความรู้สึกว่าอยากจะบรรลุจุดมุ่งหมาย สอนเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการร้องเพลง การใช้เวลาซ้อมอย่างคุ้มค่า การรักษาสัมพันธภาพระหว่างกัน ที่สำคัญคือ ต้องรู้จักประเมินการซ้อมในแต่ละครั้งที่ตนเองทำด้วย

ผู้อำนวยเพลงในวงประสานเสียงยังควรมีประสบการณ์และความรู้เรื่องการแสดง เพราะการแสดงเป็นหัวใจสำคัญของคณะนักร้องประสานเสียง ดังนั้นจึงต้องฝึกซ้อมอย่างเพียงพอเพื่อให้การร้องและแสดงออกมาดีที่สุด ผู้อำนวยเพลงต้องรู้และเข้าใจตำแหน่งของนักร้อง รายละเอียดในการแสดงต่าง ๆ นอกจากนี้ยังต้องรู้ความลึกในการร้องเพลงประเภทต่าง ๆ ที่เรียกว่า วิธีปฏิบัติในการแสดง ซึ่งเพลงแต่ละประเภทแต่ละยุค มีลักษณะการแสดงหรือการร้องที่แตกต่างกันไป ดังนั้นความรู้ของผู้อำนวยเพลงหรือวาทยกรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับความสำเร็จของคณะนักร้องประสานเสียง (Gordon H. Lamb, 1974)

คณะนักร้องประสานเสียงมีหลากหลายประเภท เช่น คณะนักร้องประสมหญิงชาย คณะนักร้องเด็ก คณะนักร้องผู้ชายหรือคณะนักร้องผู้หญิงอย่างเดียว คณะนักร้องขนาดเล็ก คณะนักร้องขนาดใหญ่ นักร้องในแต่ละคณะ มีบทบาทแตกต่างกันไปตามสไตล์การร้อง

ในคณะนักร้องประสานเสียงนอกจากมีวาทยกรที่เชี่ยวชาญ มีนักร้องที่มีคุณภาพเสียงดีแล้ว หัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ Score เพลง หรือโน้ตเพลง เพราะโน้ตบอกถึงความงดงามของเพลงประสานเสียงที่ถูกเรียบเรียงขึ้น และเป็นวัตถุดิบที่สร้างความไพเราะนำเสนอแก่ผู้ชมผู้ฟังได้

องค์ประกอบอื่นที่คณะนักร้องประสานเสียงต้องให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านักร้องและวาทยกรก็คือ นักดนตรี นักเปียโนประจำวง สถานที่ซ้อม การบริหารจัดการวง เงินทุนสนับสนุน และเวทีในการแสดง

เพลงเกี่ยวกับศาสนาเป็นเพลงประเภทใด

ฮีมน์ (Hymn) คือเพลงสวดที่เกี่ยวกับศาสนา มีลักษณะเป็นบทกลอน ร้องเพื่อศาสนาเพียงอย่างเดียว แมส (Mass) คือบทร้องในศาสนานิกายโรมันคาทอลิค ร้องแบบประสานเสียง เพิ่งมีดนตรีประกอบเมื่อ ศตวรรษที่ 17.

ประเภทของบทเพลงมีอะไรบ้าง

รูปแบบของเพลงตามจังหวะ.
เพลงบรรเลง (Instrumental).
คลาสสิก (Classic).
ป๊อป (POP).
แจ๊ส (Jazz).
ริทึมแอนด์บลูส์ (R&B).
แร็พ (Rap).
ฮิปฮอป (Hip hop).
ร็อก (Rock).

เพลงศาสนาหมายถึงอะไร

Religious music หรือเพลงศาสนา เดิมถูกใช้เพื่อประกอบพิธีกรรม เพราะเพลงเป็นสื่อที่เข้าใจง่าย นำคำสอนศาสนาที่น่าหลับมาลดทอน ใส่ทำนองเข้าไปให้เข้าใจง่าย เหมือนบทสวดพระ เมื่อใส่จังหวะทำนองก็น่าฟัง ท่องง่าย ฟังง่ายขึ้น เป็นมิตรต่อสาวกและบุคคลทั่วไป มาดูกันว่าจะมีวิธีอะไรบ้าง

บทเพลงแมส เป็นบทเพลงแบบใด

จึงกลายเป็นชื่อ เพลงแมส หรือ เพลงมิสซา ไปเพราะฉะนั้นเพลงแมส ก็คือ เพลงขับร้องประสาน เสียงชั้นสูง ที่คีตกวีแต่งทำนองร้องประสานเสียง โดยมีเนื้อร้องเป็นบทสวดภาษาละติน 5 บทด้วย กัน โดยเริ่มจากบท Kyrie “Lord have mercy”, Gloria, Credo, Sanctus, และ Agnus Dei.