ทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้

ทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้

สาระสำคัญใน พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ซึ่งภายหลังมีการออกประกาศกฎเกณฑ์เพิ่มเติมในปี 2562 ด้วย เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้มากขึ้น (อ่านข่าว เจ้าหนี้ฟังไว้ ! ห้ามทวงหนี้เกิน 1 ครั้งต่อวัน – เพจกฎหมายแจง แบบไหนที่เข้าข่าย)

          มาดูกันว่า เจ้าหนี้-ลูกหนี้ ควรทราบรายละเอียดเรื่องอะไรบ้าง โดยเฉพาะเรื่องการทวงหนี้อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย ทวงหนี้แบบใดเข้าข่ายคุกคามหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของลูกหนี้

และลูกหนี้ควรปฏิบัติอย่างไร หากได้รับความไม่เป็นธรรมจากการทวงหนี้

เจ้าหนี้ควรรู้

ลูกหนี้เหนียวหนี้สุด ๆ แต่จะทวงหนี้ได้อย่างไรถึงจะไม่ผิดกฎหมาย และสามารถจ้างวางให้คนอื่นทำหน้าที่ทวงหนี้แทนได้หรือไม่ ใครเป็นเจ้าหนี้ควรเข้ามาดู รู้ไว้ก่อนทวงหนี้ ก่อนจะกลายเป็นฝ่ายเสียเงินค่าปรับแทนที่จะได้เงินคืน

1. “ผู้ทวงถามหนี้” คือ เจ้าหนี้ ผู้ให้กู้เงิน ไม่ว่าจะโดยถูกกฎหมายหรือไม่ก็ตาม เช่น ธนาคาร, บริษัทบัตรเครดิต, บริษัทเช่าซื้อ คนที่ซื้อหรือรับโอนหนี้, ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, ผู้จัดให้มีการเล่นการพนัน หรือเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ เป็นต้น รวมถึงผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ให้ทวงถามหนี้ อาทิ บริษัทรับทวงหนี้

2. “ธุรกิจทวงถามหนี้” คือ ผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างทวงหนี้ ซึ่งต้องได้รับการจดทะเบียนทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน กรณีผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความ ให้จดทะเบียนกับสภาทนายความ ผู้ฝ่าฝืนไม่ไปจดทะเบียนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

3. กรณีผู้ที่ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้อยู่หน้านี้ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ (2 กันยายน) โดยระหว่างนี้ให้ยังประกอบธุรกิจได้อยู่

4. ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ทหาร ตำรวจ ประกอบธุรกิจรับทวงหนี้ หรือไปช่วยคนอื่นทวงหนี้ที่ไม่ใช่หนี้ของตัวเอง เว้นแต่เป็นหนี้ของสามีภรรยา พ่อแม่ หรือลูก ให้สามารถทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         5. ห้ามทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้ เว้นแต่เป็นบุคคลที่ลูกหนี้ระบุให้ไปทวงถาม โดยมีข้อปฏิบัติคือ

– ผู้ทวงหนี้ต้องแสดงตัว แจ้งชื่อ-สกุล พร้อมแสดงเจตนาว่าต้องการถามหาข้อมูลเพื่อติดต่อลูกหนี้

– ผู้ทวงหนี้ห้ามเผยข้อมูลการเป็นหนี้ของลูกหนี้ ยกเว้นผู้ที่ได้ติดต่อนั้นเป็นสามีภรรยา พ่อแม่ หรือลูกของลูกหนี้ โดยให้บอกเล่าเท่าที่จำเป็น

– ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย

– ห้ามหลอกลวงหรือทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด เพื่อให้ได้ข้อมูลของลูกหนี้

– ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

         6. การทวงถามหนี้ ให้ปฏิบัติดังนี้

– ติดต่อลูกหนี้ตามสถานที่ติดต่อที่ให้ไว้

– ติดต่อในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-20.00 น. และในวันหยุดราชการ เวลา 08.00-18.00 น. หากฝ่าฝืนจะถูกสั่งระงับการดำเนินการ และหากยังฝ่าฝืนซ้ำจะถูกโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

– ติดต่อทวงถามหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง และลูกหนี้ต้องรับทราบการทวงถามหนี้นั้นด้วย หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

– กรณีเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทวงหนี้ ต้องแสดงหลักฐานด้วยว่าตนเองได้รับมอบหมายมา

2021-03-08

คุณภาพชีวิต-สังคม

เป็น 'หนี้' ต้องรู้! 'ทวงหนี้' แบบไหนถือเป็นการละเมิด 'สิทธิลูกหนี้' บ้าง ?

เช็คลิสต์ "สิทธิ์ลูกหนี้" ที่คนเป็น "หนี้" ต้องรู้ "ทวงหนี้" แบบไหนถือเป็นการละเมิด "สิทธิ์ลูกหนี้" และควรจัดการอย่างไร ?

"โควิด-19" ระบาดหนักในประเทศส่งผลกระทบต่อธุรกิจ เศรษฐกิจ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หลายคนประสบปัญหาทางการเงิน และเป็นจุดเริ่มต้นของการชำระหนี้ไม่ตรงเวลา โดยสิ่งที่ตามมากับการผิดนัดชำระคือการ "ทวงหนี้" จาก "เจ้าหนี้" ที่บางคนอาจกำลังประสบกับการทวงถามหนี้ที่ละเมิดลูกหนี้ หรือไม่เป็นธรรมอยู่

บทความ ​กฎหมายคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ที่ถูกทวงหนี้เพียงใด? จากธนาคารแห่งประเทศไทย อธิบายถึง "สิทธิ์ของลูกหนี้" ในกรณีต่างๆ ที่ลูกหนี้ทุกคนพึงได้รับ และควรรู้เพื่อปกป้องสิทธิ์ของตัวเองในฐานะของ "ลูกหนี้" ดังนี้

  •  ช่องทางการ "ทวงหนี้" 

ทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้

ช่องทาง: ติดต่อผ่าน บุคคลหรือไปรษณีย์ หรือสามารถทวงหนี้โดยบุคคลโทรศัพท์สื่ออิเล็กทรอนิกส์สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

สถานที่: ต้องเป็นสถานที่ที่ระบุไว้เพื่อการทวงหนี้หากลูกหนี้ไม่ได้แจ้งสามารถติดต่อตามภูมิลำเนา/ถิ่นที่อยู่/ที่ทำงาน (ตามที่คณะกรรมการทวงถามหนี้ประกาศกำหนด)

วันเวลา: วันจันทร์-ศุกร์ (08.00-20.00 .) วันหยุดราชการ (08.00 .-18.00 .)

ความถี่ในการทวงหนี้: ทวงได้ไม่เกิน 1 ครั้ง/วัน (ยกเว้นเพื่อนทวงเพื่อนทวงได้เกิน 1 ครั้ง/วัน

  •  แบบไหนไม่นับว่า "ทวงหนี้" 

- แชทไปแต่ไม่ได้เปิดอ่าน 

- โทรหาไม่รับ 

โทรคุยทักทายแต่ยังไม่ทันได้พูดเรื่องหนี้ชัดเจน 

  •  ทวงหนี้แบบไหนผิดกฎหมาย ? 

ทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้

- ห้ามทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้เว้นแต่คนที่ลูกหนี้ระบุไว้

- ห้ามบอกความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้ผู้อื่นรู้ ยกเว้นเป็นคนในครอบครัวลูกหนี้เช่นสามีภริยาบุพการีผู้สืบสันดาน และคนอื่นถามเจ้าหนี้ว่า "มาติดต่อเพราะสาเหตุอะไร"

ไม่ให้ประจานหรือทำให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียง 

- ห้ามใช้ข้อความเครื่องหมายสัญลักษณ์หรือชื่อทางธุรกิจบนซองจดหมายหนังสือหรือสื่อใดๆให้(บุคคลอื่น) เข้าใจว่าติดต่อเพื่อทวงหนี้ 

- ห้ามติดต่อ หรือทำให้ผู้ติดต่อด้วยเข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อของลูกหนี้

- ห้ามข่มขู่ใช้ความรุนแรงหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายชื่อเสียงทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น หากฝ่าฝืนมีมีความผิดตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้.. 2558 และอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

- ห้ามใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น 

- ห้ามทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นๆ (ตามคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้)

  •  เจ้าหนี้ ทวงหนี้ไม่เป็นธรรม ควรทำอย่างไร ? 

ทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้

สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม หรือเข้าข่ายละเมิดสิทธิลูกหนี้ตามข้อมูลข้างต้นสามารถร้องเรียนไปที่ "คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้" หรือ "ที่ว่าการอำเภอและสถานีตำรวจ" ในท้องที่เพื่อแจ้งการกระทำความผิด

เมื่อมีการรับแจ้งว่าเจ้าหนี้ละเมิดสิทธิ์ลูกหนี้ คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้จะมีคำสั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าว และหากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ 

นอกจากนี้ถ้าเจ้าหนี้ "ทวงถามหนี้" ที่เป็นเท็จ (มาตรา 12) หรือทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม (มาตรา 13) จะได้รับโทษที่หนักขึ้นด้วย 

ที่มา: บทความ​กฎหมายคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ที่ถูกทวงหนี้เพียงใด ธนาคารแห่งประเทศไทย