ความเร็วในการรับส่งข้อมูล 1 gbps ระยะทางที่ใช้งานได้ไม่เกิน 100 เมตรคือคุณสมบัติของสายสัญญาณชนิดใด

ความเร็วในการรับส่งข้อมูล 1 gbps ระยะทางที่ใช้งานได้ไม่เกิน 100 เมตรคือคุณสมบัติของสายสัญญาณชนิดใด

หลายท่านที่กำลังจะสั่งซื้อ สายแลน มาใช้งาน กำลังสงสัยว่า CAT5e หรือ CAT6 ต่างกันยังไง รองรับความเร็วได้เท่าไหร่ และใช้งานได้กี่เมตรโดยที่ความเร็วไม่ตก สำหรับคำว่า CAT นั้นย่อมาจาก Category หรือประเภทของสายแลนนั่นเอง ซึ่งจะถูกแบ่งออกตามมาตรฐาน ANSI/TIA-568-C.2 แต่ละ Category นั้นจะต่างกันที่ระยะของสายและความเร็วที่รองรับ

Category 1Gbps 5Gbps 10Gbps 40Gbps
CAT5e
CAT6 55M
CAT6A
CAT8 30M

CAT5e รองรับความเร็วได้สูงสุด 1 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร ซึ่งความเร็วระดับนี้เพียงพอต่อการใช้งานในปัจจุบันแต่จะไม่รองรับการใช้งานในอนาคต ส่วนใหญ่จะใช้งานตามบ้านหรือองค์กรเล็กๆ เป็นหลัก

CAT6 รองรับความเร็วได้สูงสุด 10 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 55 เมตร และ 5 Gbps ในระยะไม่เกิน 100 เมตร สายแลน CAT6 เหมาะที่สุดสำหรับใช้งานทั่วไปตามบ้านหรือสำนักงานต่างๆ เพราะสามารถรองรับอนาคตได้ ซึ่ง ณ ปัจจุบันความเร็วที่เราใช้งานกันอยู่ทั่วไปจะรองรับ 1Gbps กันหมดแล้ว แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ความเร็วระดับ 5 Gbps หรือ 10 Gbps จะเข้ามาแทนที่และใช้งานกันอย่างแพร่หลาย

CAT6A รองรับความเร็วสูงสุด 10 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร องค์กรใหญ่ๆ ในประเทศเริ่มหันมาใช้สายแลน CAT6A กันมากขึ้น เนื่องจากต้องการวางระบบสายแลนเผื่ออนาคต เพราะการจะมารื้อเปลี่ยนใหม่ทีหลังนั้นยุ่งยากและมีปัญหาเยอะนั่นเอง ณ ปัจจุบัน สายแลน CAT6A นั้นจะใช้งานตาม Data Center เป็นหลักเนื่องจากราคาสูงและเกินความจำเป็นที่จะใช้งานตามบ้านหรือสำนักงาน

CAT8 รองรับความเร็วสูงสุด 40Gbps ระยะทางไม่เกิน 30 เมตรและ 10 Gbps ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร สายแลน CAT8 นั้นกำลังจะเข้ามาแทนที่ CAT6A ในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากข้อมูลต่างๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นทุกวัน ความเร็วในการส่งข้อมูลของ Data Center ก็จะต้องใช้มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น CAT8 จะเน้นใช้งานใน Data Center เป็นหลัก

สายแลน UTP FTP และ STP คืออะไร

ถัดมาจะเป็นเรื่องโครงสร้างของสายแลนกันนะครับว่ามีกี่ชนิดและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เราจะมาเริ่มจากตัวป้องกันสัญญาณรบกวนกันก่อนนะครับ หากสายไม่มีตัวป้องกันสัญญาณรบกวนที่ดี จะทำให้ความเร็วตกและเดินสายได้ระยะทางสั้นลง ปกติแล้วสายแลนที่ได้มาตรฐาน ISO/IEC 11801 ed2.2 Annex E จะมีการตีเกลียวของสายแต่ละคู่เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนระดับนึงอยู่แล้ว ซึ่งเราจะเรียกสายประเภทนี้ว่า UTP

แต่ถ้าหากเราต้องการเดินสายแลนในจุดที่มีสัญญาณรบกวนสูงๆ สาย UTP แบบธรรมดานั้นไม่ควรนำมาใช้งานครับ เรามาดูกันครับว่าควรเลือกใช้สายแลนแบบไหนดี

ความเร็วในการรับส่งข้อมูล 1 gbps ระยะทางที่ใช้งานได้ไม่เกิน 100 เมตรคือคุณสมบัติของสายสัญญาณชนิดใด

UTP ย่อมาจาก Unshielded Twisted Pair เป็นสายแลนแบบตีเกลียวที่ไม่มีชิลด์ ใช้งานทั่วไปตามบ้านหรือสำนักงาน เนื่องจากราคาไม่แพงและป้องกันสัญญาณรบกวนได้ระดับนึง

F/UTP ตัว F นั้นย่อมาจาก Foil เป็นสายแลนแบบหุ้มฟรอยด์ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี เหมาะสำหรับงานที่ต้องเดินคู่กับสายไฟฟ้าแรงสูงหรือเครื่องจักรไฟฟ้า

S/FTP และ SF/UTP ตัว S นั้นย่อมาจาก Shield ตัวสายนั้นหุ้มด้วยฟรอยด์และชิลด์ถักอีกชั้นนึงจึงทำให้ป้องกันสัญญาณรบกันได้ดีมากๆ สามารถใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่หรือหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ และราคาก็แพงที่สุดด้วยเช่นกันครับ

ความเร็วในการรับส่งข้อมูล 1 gbps ระยะทางที่ใช้งานได้ไม่เกิน 100 เมตรคือคุณสมบัติของสายสัญญาณชนิดใด

อินเทอร์เน็ต เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์มาก เนื่องจากปัจจุบันโลกของเรานั้นเป็นโลกแห่งเทคโนโลยี นั่นจึงทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ ล้วนแล้วแต่ต้องมีการพึ่งพาเทคโนโลยีแทบจะทั้งหมด

โดยสิ่งที่จะสามารถกระจายและส่งต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตของเราไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้นั้น ก็คงจะหนีไม่พ้นกับสาย LAN (แลน) 

แต่ก่อนที่เราไปรู้จักกับสาย LAN เราอยากให้ทุกคนจะรู้จักกับคำว่า LAN ก่อน

LAN ย่อมาจาก Local Area Network ที่หมายถึงระบบที่เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอื่น ๆ อีกมากมาย ต่อสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เช่น บ้าน โรงเรียน มหาวิทยาลัย สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

โดยสาย LAN หรือ ชื่อในทางการของมันก็คือ สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) เป็นสายนำสัญญาณอินเทอร์เน็ต ที่มีตัวนำสัญญาณเป็นทองแดงที่อยู่ในลักษณะบิดตีเกลียวกันเป็นคู่ โดยทั่วไปสายนี้มักจะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการรับ – ส่งข้อมูล หรือ ใช้ในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกลาง อย่างเช่น Network Switch, Hub และ Router 

ซึ่งสาย LAN นั้นสามารถแบ่งประเภทออกได้ตามลักษณะของการจำแนก ดังนี้

แบ่งตามความเร็วที่สาย LAN สามารถรองรับได้

  1. Category 5E (CAT 5E)

เป็นสาย LAN ที่มีความเร็วต่ำ ที่ถูกพัฒนามาจากสาย CAT 5 เดิม เป็นสายที่ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth ที่ 100 – 200 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 Gbps ในระยะทาง 100 เมตร อีกทั้งสาย LAN ประเภทนี้ยังเป็นสาย LAN ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมันมีราคาที่ไม่แพง และค่อนข้างตอบโจทย์ในการใช้งานโดยทั่วไป

  1. Category 6 (CAT 6)

เป็นสาย LAN ที่มีความเร็ว ที่ผลิตขึ้นมาตามมาตรฐานของ Gigabit Ethernet เป็นสายที่ออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth ที่ 250 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะทาง 55 เมตร

  1. Category 6A (CAT 6A)

เป็นสาย LAN ที่มีความเร็ว ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth ที่ 500 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะทาง 100 เมตร

  1. Category 8 (CAT 8)

เป็นสาย LAN ที่มีความเร็วสูง ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 2 GHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 25/40 Gbps ในระยะทาง 30 – 36 เมตร

แบ่งตามลักษณะของการป้องกันสัญญาณรบกวน

  1. ประเภทมีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน : Foil Twisted Pair (UTP)

เป็นสาย LAN ที่มีชิลด์ป้องกันสัญญาณรบกวน เป็นสายที่นิยมนำมาใช้งานในพื้นที่ขนาดใหญ่ และพื้นที่ที่มีสัญญาณรบกวนสูง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โดยติดตั้งผ่านเครื่องจักรขนาดใหญ่ ไฟฟ้าแรงสูง ปลั๊กไฟ เป็นต้น

  1. ประเภทไม่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน : Unshield Twisted Pair (UTP) 

เป็นสาย LAN ที่ไม่มีชิลด์ในการป้องกันสัญญาณรบกวน เป็นสายที่มีตัวนำสัญญาณ 8 เส้น (4 คู่) ที่เป็นทองแดงแท้ ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป

แบ่งตามลักษณะของการติดตั้ง

  1. ประเภทติดตั้งภายในอาคาร

เป็นสาย LAN ที่เปลือกนอกนิยมทำจากวัสดุ PVC ที่มีความยืดหยุ่น และสามารถป้องกันการลามไฟได้ อีกทั้งสาย LAN ประเภทนี้ยังมีข้อกำหนดหรือมาตรฐานป้องกันทางด้านอัคคีภัย จึงทำให้ต้องมีการใส่สารพิเศษเพิ่มเข้าไป ทำให้สามารถแบ่งประเภทของสาย LAN ภายในอาคารออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

1.1) CM (Communication Metallic)

เป็นสาย LAN ที่สามารถป้องกันการลามไฟได้ในแนวราบ จึงเหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไปอย่างการติดตั้งสายแนวราบภายในชั้นเดียวกัน

1.2) CMR (Communication Metallic Riser)

เป็นสาย LAN ที่สามารถป้องกันการลามไฟได้ทั้งในแนวราบและในแนวดิ่ง สายประเภทนี้จึงนิยมนำไปใช้ในการเดินสายสัญญาณระหว่างชั้นในอาคาร โดยเดินผ่านช่องเดินสายของตัวอาคาร

1.3) CMP (Communication Metallic Plenum)

เป็นสาย LAN ที่เหมาะกับการติดตั้งการเดินสายบนฝ้าเพดาน หรือ บริเวณช่องว่างเหนือฝ้าที่มีอากาศไหลเวียน ซึ่งข้อเสียของสายประเภทนี้ คือ มันไม่สามารถป้องกันการลามไฟในแนวดิ่งได้

1.4) LSZH (Low Smoke Zero Halogen)

เป็นสาย LAN ที่สามารถป้องกันการลามไฟได้ทั้งในแนวราบและแนวดิ่งเหมือนกับสาย CMR แต่จะมีความพิเศษกว่าตรงที่หากเกิดเหตุอัคคีภัย สายชนิดนี้จะมีควันน้อย อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดสารพิษที่เป็นอันตรายอีกด้วย

  1. ประเภทติดตั้งภายนอกอาคาร

เป็นสาย LAN ที่เปลือกนอกนิยมทำจากวัสดุ PE (Polyethylene) ที่มีคุณสมบัติในการทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ทำให้ไม่สึกกร่อนง่าย แต่ก็ข้อเสียตรงที่ไม่สามารถป้องกันการลามไฟได้

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอมช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

แนะแนวเรื่อง