การฟังอย่างมีวิจารณญาณ คือ

การฟังและการดู


การฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ

การฟังอย่างมีวิจารณญาณ คือ


๑. ความหมายของการฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ

การฟังเรื่องใด ๆ ก็ตาม ผู้ฟังหรือผู้ดูจะต้องคิดพิจารณาไตร่ตรองให้ดีอย่างรอบคอบ ด้วยการใช้ปัญญาความรู้ของตน หาเหตุผลประกอบการตัดสินใจ จะทำให้การตัดสินใจ ถูกต้องหรือผิดพลาดน้อยที่สุด การคิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุผล โดยใช้กระบวนการ วิเคราะห์ การตีความ การประเมินค่า รวมทั้งการตัดสินใจอย่างถูกต้อง ซึ่งกระบวนการ ดังกล่าวคือ “การมีวิจารณญาณ” การมีวิจารณญาณจึงเป็นการไตร่ตรองอย่างละเอียด รอบคอบด้วยเหตุด้วยผลก่อนตัดสินใจ



๒. หลักการฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ

๑. พิจารณาว่าผู้พูดหรือผู้แสดงมีจุดมุ่งหมายอย่างไร จุดมุ่งหมายนั้นชัดเจน หรือไม่

๒. เรื่องที่ฟังหรือดูนั้นให้ประโยชน์ แง่คิด ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม

หรือคิดสร้างสรรค์อย่างไร

๓. เนื้อหาของเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

๔. เนื้อหาในเรื่องนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ มีหลักฐานอ้างอิงหรือไม่

๕. ผู้พูดหรือผู้แสดงมีวิธีการถ่ายทอดความคิดอย่างไร



๓. การแยกประเภทของเรื่องที่ฟังและดู

การฟังและพูดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้ฟังและผู้ดูจะต้องเข้าใจเนื้อหาของเรื่อง ที่ฟังหรือดู หรือเจตนาของผู้ส่งสารโดยศึกษาลักษณะของเรื่องราวประเภทต่าง ๆ ให้เข้าใจ เราอาจ แบ่งประเภทของเรื่องราวต่าง ๆ ได้ ๒ วิธี คือ

๓.๑ แบ่งตามเนื้อหาของเรื่อง ได้แก่

๑) เรื่องประเภทข้อเท็จจริง

๒) เรื่องประเภทข้อคิดเห็น

๓) เรื่องประเภทคำทักทายหรือคำปราศัย

๑) เรื่องประเภทข้อเท็จจริง เรื่องประเภทนี้จะกล่าวถึงเรื่องราว ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางธรรม

ชาติ ซึ่งเรื่องเหล่านั้นสามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ มีหลักฐานอ้างอิงยืนยันได้ อาจเป็น

เรื่องราว ที่ผ่านมาแล้ว เรื่องราวที่กำลังเป็นอยู่ หรือเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมี ผู้นำมาแจ้ง ให้ทราบตามที่รู้มา

๒) เรื่องประเภทข้อคิดเห็น เรื่องประเภทนี้เป็นเรื่องที่แสดง ความรู้สึก ความเชื่อหรือแนวคิดที่ผู้พูด มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ บุคคล วัตถุประพฤติการณ์นั้น เป็นความรู้สึก ความคิด ความเชื่อของผู้ที่พูด ซึ่งผู้ฟังหรือผู้ดู อาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้ ข้อคิดเห็นเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง หรือ เป็นข้อคิดเห็นมาขยายข้อเท็จจริงว่า น่าจะเป็น อย่างนั้นอย่างนี้ ดังนั้น ผู้ฟังหรือผู้ดู จะต้องพิจารณาความแตกต่างของเรื่องและแยกให้ออกว่า เรื่องนั้นเป็นข้อเท็จจริงล้วน ๆ หรือแทรกความรู้สึกความเชื่อหรือแนวคิดของผู้พูด

๓) เรื่องประเภทคำทักทายหรือคำปราศัย เป็นเรื่องที่แสดง

ให้เห็น ถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม บอกให้รู้ว่าผู้พูดและผู้ฟังมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร ในฐานะใด เช่น เป็นบิดา มารดากับบุตร ครูกับศิษย์ เพื่อนกับเพื่อน ผู้ใหญ่กับผู้น้อย ในการฟัง อาจพบว่า เรื่องประเภทคำทักทายที่เป็นคำทักทายล้วน ๆ หรืออาจเป็นคำทักทายแล้วตามด้วย เรื่องประเภทข้อเท็จจริงหรือเรื่องประเภทข้อคิดเห็นได้

๓.๒ แบ่งตามเจตนาของผู้พูด ได้แก่

๑) เรื่องประเภทให้ความรู้

๒) เรื่องประเภทโน้มน้าวใจ

๓) เรื่องประเภทให้ความเพลิดเพลิน

๑) เรื่องประเภทให้ความรู้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เพราะช่วยให้ ผู้ฟังผู้ดูเกิดความรู้ความคิด สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ความรู้ดังกล่าวอาจเป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบ ๆ ตัวทั้งใกล้และไกลตัว

๒) เรื่องประเภทโน้มน้าวใจ เป็นเรื่องที่ผู้พูดมีเจตนาให้ผู้ฟัง

เชื่อ หรือคล้อยตามข้อความในเรื่องนั้น ๆ เรื่องประเภทนี้มีข้อความที่โน้มน้าวใจผู้ฟัง ให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกหรือความคิดเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผู้พูด เช่น การโฆษณา

สินค้า โฆษณาหาเสียง คำชี้แจง ข้อความปลุกใจต่าง ๆ

๓) เรื่องประเภทให้ความเพลิดเพลิน เป็นเรื่องที่ผู้พูดมีเจตนา ให้ผู้ฟังหรือผู้ดูเกิดอารมณ์สนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียดจากการงาน หรือ กิจกรรมอื่น ๆ เรื่องประเภทนี้ได้แก่ นิยาย นิทาน เรื่องเล่า เรื่องตลกชวนขัน ภาพยนตร์ ละคร ฯลฯ อย่างไรก็ตามเรื่องทั้ง ๓ ประเภทนี้ อาจมาในรูปคละเคล้ากัน คือให้ทั้งความรู้ ความ เพลิดเพลินและเป็นเรื่องที่โน้มน้าวใจด้วยก็ได้ ดังนั้นผู้ฟังหรือผู้ดูจึงต้องศึกษาข้อความและ

รู้จัก แยกข้อความในเรื่องว่าตอนใดเป็นเรื่องประเภทใด



๔. ขั้นตอนในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

การรู้จักแยกประเภทของเรื่องที่ฟังและดูเป็นการพิจารณาเรื่องในเบื้องต้น ส่วนการฟัง อย่างมีวิจารณญาณ จะต้องมีขั้นตอนรายละเอียดที่ต้องพิจารณาลึกซึ้งขึ้นไปอีกคือ เมื่อผู้ฟัง

หรือดู ได้ฟังหรือดูและเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ แล้วในขั้นวิจารณญาณจะต้องมีขั้นตอน ดังนี้คือ

๔.๑ วิเคราะห์เรื่อง โดยการพิจารณาว่าเรื่องนั้นจัดอยู่ในเรื่องประเภทใด

เช่น เป็นบทร้อยแก้ว ร้อยกรอง นิยาย นิทาน บทความ ฯลฯ เมื่อรู้ประเภทแล้วก็ต้องหาคำตอบ ในรายละเอียดว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร มีรายละเอียดอะไรเป็นส่วนประกอบ และผู้พูด ผู้แสดงมีกลวิธีในการสื่อสารอย่างไร

๔.๒ วินิจฉัย คือพิจารณาได้ว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องประเภทข้อเท็จจริงหรือ ข้อคิดเห็นหรือเป็นการแสดงทรรศนะ อารมณ์ ความรู้สึกและผู้พูดมีเจตนาอย่างไรในการพูด หรือแสดงรวมทั้งแง่คิดต่าง ๆ และจับใจความสำคัญของสารที่สำคัญที่สุดและใจความรองได้

๔.๓ ประเมินค่าของเรื่อง ว่าเรื่องนั้นให้ประโยชน์ ให้คุณค่า แง่คิดมากน้อยเพียงใด

๔.๔ การนำไปใช้ คือ เมื่อสรุปประเด็นและเข้าใจคุณค่าของเรื่องแล้วขั้นตอน สุดท้ายคือสามารถนำประเด็นหรือข้อความของเรื่องที่มีประโยชน์ไปใช้ให้เหมาะสม

กับเหตุการณ์และบุคคลต่อไปอย่างไร

สรุปหลักการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ ได้ดังนี้

๑. เมื่อฟังแล้วพิจารณาโดยทันทีว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องประเภทให้ความรู้ จรรโลงใจ หรือโน้มน้าวใจ

๒. เรื่องประเภทให้ความรู้หรือโน้มน้าวใจต้องใช้วิจารณญาณเพื่อแยกให้ได้ว่า เรื่องที่รับฟัง หรือดูนั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็น

๓. การฟังที่ต้องใช้วิจารณญาณนั้น ผู้ฟังต้องตั้งใจฟังเรื่องราวและจับประเด็นสำคัญ ของเรื่องให้ได้ตรวจสอบเปรียบเทียบประเด็นสำคัญของเรื่องที่ตนเข้าใจโดยเทียบเคียงกับ ความเข้าใจของบุคคลอื่น เพื่อหาข้อที่ตรงกันหรือแตกต่างกัน หรือเพื่อเปรียบเทียบว่า ใครฟังหรือดูได้ลึกซึ้งและตีความได้ชัดเจนกว่ากัน และหากพบว่าตนเองยังบกพร่อง ในสิ่งใด ก็พยายามฝึกฝนสิ่งนั้นให้มากยิ่งขึ้น

๔. พิจารณาถึงเจตนาของผู้พูด โดยไม่มีอคติลำเอียง เพื่อประกอบการพิจารณา ตัดสินใจ ว่าสารนั้นควรเชื่อถือได้เพียงใด

๕. บันทึกประเด็นสำคัญของเรื่องราวไว้ เพื่อกันผิดพลาดหลงลืม

๖. ประเมินค่าของเรื่องนั้น ๆ ว่ามีความสำคัญหรือให้ประโยชน์เพียงใด มีแง่คิด ให้คุณค่า เพียงใด นำประโยชน์นั้นไปใช้ได้หรือไม่

ทั้งหมดเป็นแนวทางเบื้องต้นในการใช้วิจารณญาณในการฟังหรือดู ส่วนข้อปลีกย่อย ในการพิจารณาเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้น เช่น การใช้สำนวนของผู้พูดการใช้ถ้อยคำและ

ข้อความ ที่น่าจดจำหรืออื่น ๆ ที่ยากมากขึ้น ถ้าผู้เรียนได้ฝึกฝนการใช้วิจารณญาณในการฟัง จนเกิดความ เคยชินแล้ว ย่อมสามารถกระทำได้ดีขึ้นโดยลำดับ


การฟังอย่างมีวิจารณญาณ คือ


สรุป

การฟังและการดูเป็นการรับสารที่เราใช้ในชีวิตประจำวันเสมอผู้ที่จะฟังและดู ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนที่ฟังและดูเป็น คือฟังและดูอย่างมี หลักการ มีจุดมุ่งหมาย รู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าเรื่องที่ฟังและดู สามารถ แสดงทัศนะในเรื่องที่ฟังและดูได้ ฟังได้อย่างมีวิจารณญาณ สามารถแยกแยะเรื่องที่ฟัง ได้ถูกต้อง


CreDit : http://www.enfe.go.th/enfe_2548/thai/thai03/thai31040.html