ศาลชั้นต้น แบ่งออก เป็นศาล อะไร บาง และมี อํา นา จ หน้าที่ อย่างไร

11/06/2561 | 10,202 |

เกี่ยวกับระบบศาลยุติธรรม

       ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ มีอยู่ทั่วราชอาณาจักร และระบบศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ ศาลขั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ศาลยุติธรรมมีพัฒนาการที่ต่อเนื่องในการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่ออำนวยความยุติธรรมและการพิจารณาพิพากษาคดีดังปรากฏจากการเพิ่มจำนวนศาล การตั้งแผนกเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีพิเศษขึ้นในศาลการจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ และศาลพิเศษ การนำระบบการบริหารงานคดีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในศาล การนั่งพิจารณาคดีต่อเนื่องและครบองค์คณะ การสนับสนุนให้มีการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอื่นนอกจากการพิจารณาพิพากษาคดีตามปกติของศาล เช่น การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมีการจัดตั้งสำนักระงับข้อพิพาทขึ้นในสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการนี้

๓.๑ ศาลชั้นต้น

ศาลชั้นต้นเป็นศาลซึ่งรับคำฟ้องหรือคำร้องในชั้นเริ่มต้นคดี หลังจากพิจารณาคดีแล้วจึงชี้ขาดตัดสินคดีเป็นศาลแรก ทั้งมีออำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาในบางเรื่อง เช่น อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าว ฯลฯ ศาลชั้นต้นมี ๒ ประเภท คือ ศาลชั้นต้นทั่วไป ศาลพิเศษ และศาลชำนัญพิเศษ

๓.๑.๑ ศาลชั้นต้นทั่วไป

ศาลชั้นต้นทั่วไปมี ๒ ประเภท คือ

๑) ศาลชั้นต้นทั่วไปสำหรับกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลจังหวัดตลิ่งชัน ศาลจังหวัดพระโขนง ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงดุสิต และศาลแขวงปทุมวัน 

ศาลชั้นต้น แบ่งออก เป็นศาล อะไร บาง และมี อํา นา จ หน้าที่ อย่างไร

๒) ศาลชั้นต้นทั่วไปสำหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครประกอบด้วย
ศาลจังหวัด และศาลแขวงในส่วนภูมิภาค ซึ่งมีจำนวน ๙ ภาค การบริหารจัดการงานธุรการของศาลจังหวัดและศาลแขวงในภาค ๑ – ๙ ดำเนินการโดย สำนักอำนวยการประจำศาลหรือสำนักงานประจำศาลแต่ละศาล โดยมีอธิบดีผู้พิพากษาภาค ทำหน้าที่บริหารราชการของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีอำนาจ หน้าที่เป็นผู้พิพากษาในศาลที่อยู่ในเขตอำนาจด้วยผู้หนึ่งและมีสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค ๑ – ๙ ทำงานด้านธุรการ ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั่วไป องค์คณะประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกิน ๑ คน หากในจังหวัดนั้นไม่มีศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาคดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง โดยองค์คณะประกอบด้วยผู้พิพากษาคนเดียว


   

ศาลชั้นต้น แบ่งออก เป็นศาล อะไร บาง และมี อํา นา จ หน้าที่ อย่างไร

ศาลชั้นต้น แบ่งออก เป็นศาล อะไร บาง และมี อํา นา จ หน้าที่ อย่างไร

        ศาลแขวง เป็นศาลชั้นต้นที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เป็นความผิดเล็กน้อยและคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์พิพาทไม่สูง ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้นและเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจทำการไต่สวนหรือมีคำสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เช่น พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท และพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกิน ๓ ปีหรือปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่จะลงโทษจำคุกเกิน ๖ เดือน หรือปรับเกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้ว จะต้องให้ผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งร่วมเป็นองค์คณะในการพิพากษาคดีด้วย

๓.๑.๒ ศาลพิเศษ และศาลชำนัญพิเศษ

ศาลชั้นต้น แบ่งออก เป็นศาล อะไร บาง และมี อํา นา จ หน้าที่ อย่างไร

ศาลพิเศษ ได้แก่

ศาลเยาวชนและครอบครัว
ส่วนศาลชำนัญพิเศษ ปัจจุบันมีอยู่ ๔ ศาล คือ
ศาลภาษีอากรกลาง ศาลล้มละลายกลาง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลแรงงาน
ซึ่งปัจจุบันศาลแรงงานมีศาลแรงงานกลางและศาลแรงงานภาค ๑ – ภาค ๙
ศาลพิเศษ และศาลชำนัญพิเศษเป็นศาลชั้นต้นที่ใช้วิธีพิจารณาพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลและวิธีพิจารณาคดีของศาลนั้นๆ ซึ่งแตกต่างจากศาลชั้นต้นทั่วไป โดยผู้พิพากษาศาลพิเศษและศาลชำนัญพิเศษจะเป็นผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะศาลในกลุ่มนี้บางศาล ได้แก่

ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลแรงงาน และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
จะมีบุคคลภายนอกที่มิใช่ผู้พิพากษาแต่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบเข้ามาร่วมพิจารณาและพิพากษาคดีด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลในกลุ่มนี้บางศาล กฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ซึ่งในศาลฎีกาจะมีแผนกคดีชำนัญพิเศษเพื่อพิพากษาคดีประเภทนี้โดยเฉพาะได้แก่ แผนกคดีแรงงาน แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ แผนกคดีภาษีอากร และแผนกคดีล้มละลาย

๓.๒ ศาลอุทธรณ์

ศาลชั้นต้น แบ่งออก เป็นศาล อะไร บาง และมี อํา นา จ หน้าที่ อย่างไร


เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ รวมทั้งมีอำนาจพิจารณาคำสั่งอื่นๆ เช่นมีคำสั่งเกี่ยวกับการขอประกันตัวในคดีอาญาและการขอทุเลาการบังคับในคดีแพ่ง เป็นต้น

การพิจารณาของศาลอุทธรณ์มีลักษณะเป็นการตรวจสอบหรือทบทวนคำพิพากษาของศาลชั้นต้น มิใช่เป็นการพิจารณาคดีใหม่
นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๙ วรรค ๓ ได้บัญญัติให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหาร
ท้องถิ่น ศาลอุทธรณ์มีองค์คณะประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย ๓ คน ปัจจุบันมีศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค ๑ – ๙ โดยศาลอุทธรณ์ภาค ๒ มีที่ทำการที่จังหวัดระยองศาลอุทธรณ์ภาค ๓ มีที่ทำการที่จังหวัดนครราชสีมา ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ มีที่ทำการที่จังหวัดขอนแก่น ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ มีที่ทำการที่จังหวัดเชียงใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค ๖ มีที่ทำการที่จังหวัดนครสวรรค์ และศาลอุทธรณ์ภาค ๘ มีที่ทำการที่จังหวัดภูเก็ต สำหรับศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ภาค ๗ และภาค ๙ เปิดทำการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคแต่ละศาลมีกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ซึ่งมีผู้พิพากษาที่มีอาวุโสน้อยกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคทำหน้าที่ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และค้นคว้าปัญหาข้อกฎหมาย
เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ รวมทั้งมีอำนาจพิจารณาคำสั่งอื่นๆ เช่นมีคำสั่งเกี่ยวกับการขอประกันตัวในคดีอาญาและการขอทุเลาการบังคับในคดีแพ่ง เป็นต้น การพิจารณาของศาลอุทธรณ์มีลักษณะเป็นการตรวจสอบหรือทบทวนคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

๓.๓ ศาลฎีกา

เป็นศาลสูงสุด มีประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประมุขของตุลาการศาลยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้วแต่กรณีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกา และมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายเฉพาะ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐

ศาลชั้นต้น แบ่งออก เป็นศาล อะไร บาง และมี อํา นา จ หน้าที่ อย่างไร

ศาลฎีกา มีเพียงศาลเดียวตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วย ผู้พิพากษาอย่างน้อย ๓ คน แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง หรือปัญหาข้อกฎหมาย และประธานศาลฎีกาเห็นว่า ควรให้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาได้ ศาลฎีกามีกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทำหน้าที่ในลักษณะเดียวกับกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๙ วรรคสี่ ได้บัญญัติให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น ซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีที่บุคคลอื่นเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย รวมทั้งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นได้แก่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ องค์คณะผู้พิพากษาในแผนกนี้ประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน ๙ คน ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นผู้คัดเลือกจากผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาในศาลฎีกาและเป็นการคัดเลือกเป็นรายคดีไป โดยมีการขึ้นนั่งพิจารณาคดีเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น แต่การพิจารณาคดีจะแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไป เนื่องจากเป็นระบบไต่สวน ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรตามวิธีพิจารณาคดีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.๒๕๔๒ โดยคำพิพากษาถือเป็นที่สุด เว้นแต่มีพยานหลักฐานใหม่จึงอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้


ศาลชั้นต้น แบ่งออก เป็นศาล อะไร บาง และมี อํา นา จ หน้าที่ อย่างไร
เอกสารแนบ

11/06/2561

ศาลชั้นต้น มีอํานาจหน้าที่อย่างไร

ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้ (มาตรา ๒๕) (๑) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง (๒) ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย (๓) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา

ศาลชั้นต้น คือ ศาล อะไร

ศาลชั้นต้น เป็นศาลซึ่งรับคาฟ้อง หรือคาร้องในชั้นเริ่มต้นคดีไม่ว่าเป็นคดีแพ่ง คดีผู้บริโภค คดี สิ่งแวดล้อม คดีนักท่องเที่ยว คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีล้มละลาย คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศ หรือคดีอาญา โดยดาเนินกระบวนการตัดสินชี้ขาดเป็นชั้นศาลแรก ทั้งมีอานาจดาเนิน กระบวนพิจารณาแทนศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาในบาง ...

ศาลชั้นต้นแบ่งออกเป็นสารใดบ้าง

ศาลชั้นต้น (ประเทศไทย).
2.1 ศาลแพ่ง 2.1.1 ศาลแพ่ง 2.1.2 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ 2.1.3 ศาลแพ่งธนบุรี.
2.2 ศาลอาญา.
2.3 ศาลจังหวัด.
2.4 ศาลแขวง.
2.5 ศาลชำนัญพิเศษ.

ศาลยุติธรรม มีอํานาจหน้าที่อย่างไร

ศาลยุติธรรม เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดี ที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น