แนวคิด หลัก ธร ร มา ภิ บาล

บทความ

ธรรมาภิบาลในองค์การภาครัฐ

ธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ

  • [ผศ.ดร.สถาพร วิชัยรัมย์]
  • [อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์]
  • [เอกสารคำสอน : วิชาธรรมาภิบาลในองค์การภาครัฐ : 2563]
  • [การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเพิ่มคุณค่าในการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลักสูตร ธรรมาภิบาล : องค์กรภาครัฐสมัยใหม่]

เกริ่นนำ

  • หลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางในการจัดระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทาป้องกันหรือแก้ไขเยียวยาวิกฤติอันตรายที่จะมีมาในอนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความคุ้มค่า อันเป็นลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และลักษณะทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

แนวคิด หลัก ธร ร มา ภิ บาล

แนวคิดเรื่องธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี [Good Governance] เป็นแนวทางสำคัญที่รัฐบาลได้นำมาใช้ในการจัดระเบียบให้สังคมและประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข เพื่อช่วยป้องกันแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาหรือวิกฤติต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร และสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น จะต้องพัฒนาองค์การและตนเอง เพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชนอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติราชการเกินความจำเป็น เกิดความคุ้มค่า และมีเป้าหมายสำคัญ คือ ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า มั่นคง และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในหน่วยงานก็เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้บริการเกิดความเชื่อถือศรัทธาว่าดำเนินงานมีความโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการบริหารงานของรัฐ รวมทั้งพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานมีปริมาณที่ลดลง เป็น

  • แนวคิด หลัก ธร ร มา ภิ บาล
    ในบทความนี้ผู้เขียนได้กำหนดประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความหมายของธรรมาภิบาล เป้าหมายของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และหลักการเกี่ยวกับธรรมาภิบาล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ความหมายของธรรมาภิบาล

    • แนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลนับได้ว่าเป็นแนวคิดที่สำคัญของการปกครองมาตั้งแต่อดีต โดยปรากฎในคำสอนของหลักศาสนา แนวคิดของนักปราชญ์นักปรัชญาการเมืองสมัยโบราณ ที่ได้นำเสนอแนวคิดหลักการบริหารที่ดีหรือหลักการธรรมาภิบาลมาใช้ในการปกครอง และเป็นแนวทางในการจัดระเบียบสังคม เพื่อสังทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและตั้งอยู่ในความถูกต้องชอบธรรม ซึ่งนักวิชาการและองค์การต่างๆ ได้ให้นิยามและความหมายของธรรมาภิบาลที่สำคัญๆ สถาพร วิชัยรัมย์ (2560) ได้รวบรวมไว้ ดังนี้
      • สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2541) ได้อธิบายว่า ธรรมาภิบาลเป็นศัพท์ที่สร้างขึ้นจากคำว่า “ธรรม” กับ “อภิบาล” ซึ่งคำว่า “ธรรม” แปลว่า ความดีหรือกฎเกณฑ์ ส่วนคำว่า “อภิบาล” แปลว่า บำรุงรักษา ปกครอง เมื่อรวมกันแล้วกลายเป็น “ธรรมาภิบาล”
      • วรภัทร โตธนะเกษม (2542) กล่าวว่า Goog Governance หมายถึง “การกำกับดูแลที่ดี” หรือหมายถึง “การใช้สิทธิและความเป็นเจ้าของที่จะปกป้องดูแลผลประโยชน์ของตนเอง โดยผ่านกลไกที่เกิดในการบริหาร” โดยหัวใจสำคัญของ Good Governance คือ ความโปร่งใส ความยุติธรรมและความรับผิดชอบในผลของการตัดสินใจ
      • ประเวศ วะสี (2542) ได้อธิบายเกี่ยวกับธรรมาภิบาลว่า “การที่สังคมประกอบด้วยภาคสำคัญๆ 3 ภาค คือ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เมื่อพิจารณาถึงธรรมาภิบาลก็จะรวมถึงความโปร่งใส ความถูกต้องของ 3 ภาคดังกล่าว” ธรรมาภิบาลในทัศนะของนายแพทย์ประเวศ วะสี จึงเป็นเสมือนพลังผลักดันที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ
      • อานันท์ ปันยารชุน (2542) ได้ให้ความหมายของธรรมาภิบาลว่า “เป็นผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมซึ่งบุคคลและสถาบันทั่วไปทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีผลประโยชน์ร่วมกัน ได้กระทำลงไปในหลายทาง มีลักษณะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การผสมผสานผลประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้ โดยสาระธรรมาภิบาล หรือ Good Govrenance คือ องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้แน่ใจได้ว่านโยบายที่กำหนดไว้จะได้ผล หมายถึงการมีบรรทัดฐาน”
      • บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (2544) ได่ให้ความหมายของธรรมาภิบาลว่า “เป็นระบบ โครงสร้าง กระบวนการ และความสัมพันธ์ของภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม ในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของรัฐซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่ดี”
      • Rhodes (1996) ได้ศึกษาเกี่ยวกับธรรมาภิบาลซึ่งรวบรวมความหมายไว้ว่ามีความหมายหลายอย่างและใช้ในเรื่องต่างๆ แตกต่างกันออกไปตามหน่วยที่ศึกษา ที่สำคัญดังนี้
        • ธรรมาภิบาลในฐานะของอำนาจรัฐในการตัดสินใจในการดำเนินการบริหารที่ลดน้อยลงและประชาชนจะเป็นผู้เรียกร้อง ตรวจสอบการปฏิบัติงานของรัฐ
        • บรรษัทที่บริหารอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ซึ่งหมายถึงการดำเนินธุรกิจที่มีทิศทางและควบคุมตรวจสอบการบริหารงานของนักบริหารองค์กรธุรกิจที่มีความรับผิดชอบชัดแจ้งทั้งงานของบริษัทพร้อมกับต้องรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอีกด้วย การบริหารบริษัทนี้จะถือว่านักบริหารและผู้ถือหุ้นไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน ต้องเป็นนักบริหารมืออาชีพที่จะต้องตรวจสอบจากองค์กรตรวจสอบภายนอก ทั้งนี้มิใช่เพื่อผลกำไรอย่างเดียว แต่ต้องเปิดเผย โปร่งใสและสามารถกำหนดตัวผู้รับผิดชอบที่แท้จริง
        • การบริหารจัดการสาธารณะที่รัฐบาลจะต้องมีความสามารถในการริเริ่มเพื่อแข่งขันตอบสนองประชาชนเสมือนเป็นลูกค้ามากกว่าผู้ถูกปกครอง นักบริหารงานของรัฐมีบทบาทเช่นเดียวกับผู้ประกอบการ ผลักดันการทำงานจากระบบราชการไปสู่ชุมชนให้เป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการเอง การวัดความสามารถของข้าราชการของรัฐ วัดจากประสิทธิผลในการทำงาน ข้าราชการของรัฐจะต้องถือว่าการบริการคือภารกิจของตน นอกจากนั้นจะเป็นตัวเชื่อมประสานทุกส่วนของสังคม กล่าวคือ ส่วนสาธารณะ เอกชนและส่วนประชาชนเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อประชาคม ซึ่งเรียกการบริหารนี้ว่าเป็นการบริหารงานสาธารณะแบบใหม่
        • ธรรมาภิบาลในฐานะที่เป็นการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งเป็นการใช้กันอย่างกว้างขวางแพร่หลาย สำหรับการพัฒนาธรรมาภิบาลในที่นี้หมายถึงการใช้อำนาจทางการเมืองที่จะบริหารกิจการของชาติ โดยพัฒนาประสิทธิภาพของการบริการสาธารณะ ระบบตุลาการ และกฎหมายที่เป็นอิสระ มีความรับผิดชอบอย่างชัดแจ้งในการจัดการทางการเงิน มีการตรวจสอบสาธารณะที่เป็นอิสระ เป็นรัฐที่มีโครงสร้างสถาบันที่หลากหลาย และต้องยอมรับความเป็นอิสระของสื่อมวลชน ซึ่งทำให้อำนาจรัฐได้รับการยอมรับและมีความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย ธรรมาภิบาลแบบนี้จะเป็นการผสมผสานระหว่างการบริหารงานสาธารณะกับประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง
        • ธรรมาภิบาลในแง่ของระบบสังคม ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของระบบที่ตอบสนองความต้องการของส่วนย่อย การมีปฏิสัมพันธ์จะเกิดจากการยอมรับในความต่างของระบบ เป็นระบบที่พลวัตรของระบบทำให้สามารถแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของส่วนต่างๆอย่างยั่งยืน โดยทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะสามารถสร้างแบบของปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในการแก้ปัญหาของชาติ ภารกิจของรัฐบาลก็คือความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในการแก้ปัญหา รวมทั้งเป็นการกระตุ้นการมีส่วนร่วม กล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นการบริหารจัดการที่แต่ละหน่วยของภาครัฐและเอกชนร่วมกัน และถือว่าต่างฝ่ายต่างเป็นหุ้นส่วน โดยเน้นการดำเนินการแบบร่วมริเริ่ม รับผิดชอบ การมีปฏิสัมพันธ์แบบนี้มิใช่จะใช้ในระดับชาติ แต่ยังเป็นธรรมาภิบาลในระดับนานาชาติ ในระดับภูมิภาคและระดับโลก
        • ธรรมาภิบาลในแง่ของการจัดระบบองค์การเครือข่ายจากภาคสาธารณะและภาคเอกชน ในกรณีนี้เกิดจากการเกี่ยวพันระหว่างองค์การต่างๆ ที่สามารถรวบรวมทรัพยากรมาเพื่อจะได้บริการต่อสาธารณะ ดังนั้น องค์การเครือข่ายจะสามารถนำเอาข่าวสารข้อมูลและเงิน รวมทั้งเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกันในการทำงาน ซึ่งจะเห็นได้ เช่น ในโครงการร่วมระหว่างองค์การ ที่สำคัญก็คือเมื่อไรมีระบบพันธมิตรเกิดขึ้น ก็จะมีทรัพยากรมากขึ้นด้วย ยังทำให้มีอิสระและมีอำนาจในการต่อรองเกิดขึ้นด้วย รัฐบาลกลางจะเข้ามาก้าวก่ายสั่งการได้อย่างมีข้อจำกัด

จากความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล ที่นักวิชาการและหน่วยงานทั้งหลายได้ให้ความหมายไว้นั้น สามารถสรุปได้ว่า “ธรรมาภิบาล คือ กติกากฎเกณฑ์ ในการบริหารปกครองที่ดีมีความเหมาะสม เป็นธรรมที่ใช้ในการธำรงรักษา จัดระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข องค์การทั้งสามส่วนดังกล่าวก็จะมีเสถียรภาพ มีโครงสร้างการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

แนวคิด หลัก ธร ร มา ภิ บาล

เป้าหมายของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล

  • การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นเป็นการดำเนินกระบวนการนโยบายสาธารณะอย่างเปิดเผย คาดเดาได้ เห็นแจ้งและเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจจัดการทรัพยากรในด้านต่างๆ ของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงที่สุดและมีความรับผิดชอบ
    • บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (2542) ได้อธิบายถึงธรรมาภิบาลหรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีว่า คือ “การพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของทุกภาคส่วนในสังคม” กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ “มีจุดหมายในการสร้างความเป็นธรรมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับทุกภาคส่วนในสังคม” โดยปรากฎในรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540) ซึ่งสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือความพยายามในการสร้างระบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสำหรับประเทศไทย โดยเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจของภาครัฐมากขึ้น การประกันและคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ภาครัฐมีการบริหารการปกครองที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบโดยประชาชนมากขึ้น มีเป้าหมายร่วมกัน 3 ประการ คือ
      • การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดกับประชาชนหรือผู้รับบริการ อาจปรับปรุงการบริการให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และรายงานผลให้สาธารณชนทราบ มีความโปร่งใสในการตัดสินใจและในกระบวนการทำงาน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ร่วมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการทำงาน รวมทั้งให้ความสำคัญกับความประหยัด ความมีประสิทธิภาพประสิทธิผล แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องรับผิดชอบต่อผลงานนั้นๆ แทนการยึดมั่นในการทำงานให้ถูกต้องตามกฎระเบียบวิธีการอย่างเดียวเช่นในอดีต
      • การปรับตัวเปลี่ยนบทบาทของภาครัฐ ได้แก่ การเน้นงานหน้าที่หลักของภาครัฐ ซึ่งได้แก่การกำหนดนโยบายซึ่งมองการณ์ไกล มีการบังคับใช้กฎหมายให้มีความเสมอภาค เป็นธรรม โดยกระจายงานบริการให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นและองค์กรอิสระมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
      • การบริหารแบบพหุภาคี ได้แก่ การบริหารที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ หรือร่วมปฏิบัติร่วมบริการ เพื่อให้การบริหารและการบริการสาธารณะเป็นที่พึงพอใจของประชาชนหรือผู้รับบริการ และเป็นการจัดระบบการบริหารแบบใหม่ที่ไม่ผูกขาดหรือรวมศูนย์อำนาจแบบอดีต
    • พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 6 บัญญัติว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
      • เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
      • เกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของรัฐ
      • มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
      • ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
      • มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
      • ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
      • มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

เป้าหมายดังกล่าว เป็นเป้าหมายเพื่อให้ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องทำหลักเกณฑ์การบริหารบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนองค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ (ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา) ต้องจัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางพระราชกฤษฎีกานี้ด้วย

หลักการเกี่ยวกับธรรมาภิบาล

  • การบริหารจัดการที่ดีอาจประกอบไปด้วยหลักการสำคัญหลายประการ แล้วแต่วัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งอาจประกอบด้วย 8 หลักการ ตามองค์การสหประชาชาติ คือ (รัชยา ภักดีจิตต์, 2557)
    • การมีส่วนร่วม
    • การมุ่งฉันทามติ
    • สำนึกรับผิดชอบ
    • ความโปร่งใส
    • การตอบสนอง
    • ความเท่าเทียมกันและการคำนึงถึงคนทุกกลุ่ม
    • ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    • การประพฤติตามหลักนิติธรรม
  • ธรรมาภิบาลอาจประกอบไปด้วยหลักการต่างๆ มากมายแล้วแต่ผู้ที่จะนำเรื่องของธรรมาภิบาลไปใช้และจะให้ความสำคัญกับเรื่องใดมากกว่ากัน และในบริบทของประเทศ บริบทของหน่วยงาน หลักการใดจึงจะเหมาะสมที่สุด สำหรับประเทศไทยแล้ว เนื่องจากได้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ด้วย ในที่นี้จึงขอนำเสนอหลักธรรมาภิบาลบนหลักการทั้ง 6 หลักการของสถาบันพระปกเกล้า ดังนี้ (ถวิลวดี บุรีกุล, 2551)
    • หลักนิติธรรม
    • หลักคุณธรรม
    • หลักความโปร่งใส
    • หลักการมีส่วนร่วม
    • หลักความสำนึกรับผิดชอบ
    • หลักความคุ้มค่า
  • ในปี พ.ศ. 2555 รัฐบาลได้มีมติเห็นชอบกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 หลัก และหลักการย่อยอีก 10 หลัก ดังนี้ (ปธาน สุวรรณมงคล, 2556)
    • การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
      • ประสิทธิภาพ
      • ประสิทธิผล
      • การตอบสนอง
    • ค่านิยมประชาธิปไตย
      • ภาระรับผิดชอบ / สามารถตรวจสอบได้
      • เปิดเผย / โปร่งใส
      • นิติธรรม
      • ความเสมอภาค
    • ประชารัฐ
      • การกระจายอำนาจ
      • การมีส่วนร่วม
    • ความรับผิดชอบทางการบริหาร
      • คุณธรรม / จริยธรรม

จากหลักการการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและวิธีปฏิบัติดังกล่าวสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงจะทำให้ประสิทธิภาพการบริหารภาครัฐของไทย จะสามารถตอบสนองต่อภารกิจและความต้องการของประชาชนได้อย่างดีทั้งในด้านวิธีการทำงานและพฤติกรรมการให้บริการแก่ประชาชน ทั้งนี้เมื่อมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาแล้วย่อมมีผลผูกพันที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการให้บริการประชาชนจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์แห่งพระราชกฤษฎีกานี้ หากไม่ดำเนินการหรือดำเนินการแล้วแต่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อประชาชนได้

แนวคิด หลัก ธร ร มา ภิ บาล

สรุปส่งท้าย

หลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดีเป็นแนวทางในการจัดระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน ครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการและฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การจะทำให้ธรรมาภิบาลเกิดเป็นรูปธรรมในการปฏิบัติ นอกจากจะมีตัวชี้วัดของแต่ละองค์ประกอบของธรรมาภิบาลแล้ว บทบาทสำคัญในการสนับสนุน ส่งเสริมธรรมาภิบาลคือบทบาทขององค์การต่างๆ ที่จะกำหนดกรอบการดำเนินการให้ชัดเจนและองค์กรจะต้องขับเคลื่อนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนให้ครอบคลุมทุกมิติ ส่วนองค์กรอิสระก็จะต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบความโปร่งใส สุจริตและคุ้มครองสิทธิของประชาชน นอกจากนี้ผู้บริหารหน่วยงานจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นผู้นำในการขับเคลื่อน พัฒนา สนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในหน่วยงาน เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.

เอกสารอ้างอิง

  1. ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี. ในประมวลชุดวิชาการบริหารภาครัฐ (หน่วยที่ 10). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  2. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : ตุลาการพิมพ์.
  3. ปธาน สุวรรณมงคล. (2556). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
  4. ประเวศ วะสี. (2542). ยุทธศาสตร์ชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนเพื่อสังคมธนาคารออมสิน.
  5. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. (2542) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง, หน้า 2.
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. (2540). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 47 ก, หน้า 21.
  7. รัชยา ภักดีจิตต์. (2557). ธรรมาภิบาลเพื่อการบริการภาครัฐและเอกชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  8. วรภัทร โตธนะเกษม. (2542). การสร้าง Goog Governance ในองค์กร. วารสาร กสท. 5 (4), 11-17.
  9. สถาบันพระปกเกล้า. (2545). การศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี, กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
  10. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2541). ธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ในเอกสารการสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2541 เรื่อง จากวิกฤติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. (11-13). กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
  11. สถาพร วิชัยรัมย์. (2560). จริยธรรมสำหรับนักบริหาร. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
  12. อานันท์ ปันยารชุน. (2542). ธรรมาภิบาลในการบริหารวิทยาลัยในนานาทัศนะว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
  13. Rhodes, R.A.W. (1996). The New Government : Governing without Government. Oxford : University of Newcastle-Tyne.
#[ปรับปรุงจากเอกสารคำสอน : วิชาธรรมาภิบาลในองค์การภาครัฐ : 2563]#
อื่นๆ [บทความ]

https://pa.bru.ac.th/2021/08/15/ethics01/ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวคุณธรรมจริยธรรม

https://pa.bru.ac.th/2021/08/21/happy-with-morality สุขได้ด้วยศีล

แนวคิด หลัก ธร ร มา ภิ บาล

ผศ.ดร.สถาพร วิชัยรัมย์

สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

    • ระบบคลังข้อมูลBRU1
    • ระบบคลังข้อมูลBRU2

หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 10 หลัก

แนวคิดของ “ธรรมาภิบาล คือข้อใด

ธรรมาภิบาล หรือในกฎหมายใช้ว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานว่า วิธีการปกครองที่ดี (อังกฤษ: good governance) เป็นคำซึ่งความหมายนั้นยังไม่แน่ไม่นอน ปรากฏใช้ในวรรณกรรมทางการพัฒนาระหว่างประเทศเพื่อพรรณนาวิธีการที่สำนักราชการบ้านเมืองจะดำเนินกิจการบ้านเมืองและบริหารทรัพยากรบ้านเมืองไปในทางที่ ...

หลักธรรมาภิบาลมีความสำคัญอย่างไรในองค์กร

การใช้หลักธรรมาภิบาลทาให้องค์การสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานได้ อีกทั้งยังเป็น กลไกในการควบคุมติดตามและตรวจสอบ โดยมีประชาชนหรือองค์กรภายนอกมีส่วนร่วม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่การบริหารองค์กร เพราะการสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในองค์กร เป็นการสร้างส านึกที่ดีในการบริหารงาน และการท างานในองค์กร ...

หลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ตรงกับหลักธรรมาภิบาลคืออะไร

หลักธรรมาภิบาลในพระพุทธศาสนา คือ หลักเบญจศีล หลักสุจริต 3 หลักทิศ 6 หลัก อปริหานิยธรรม 7 หลักเบญจธรรม และหลักโภควิภาค เป็นข้อประพฤติปฏิบัติหรือกฏกติกาที่ สามารถนําไปเป็นหลักในการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจให้ประสบความสําเร็จและสร้างสันติสุข เพราะว่าหลักพุทธธรรมาภิบาลดังกล่าวมีแนวทางที่เป็นไปเพื่อความเป็นธรรม เพื่อความ ...

บรรษัทภิบาล มีอะไรบ้าง

1. การมีส่วนร่วม 2. หลักนิติธรรม (การมีกรอบกฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรมกับทุกฝ่าย) 3. ฉันทามติ 4. สนองตอบความต้องการ 5. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล 6. ความโปร่งใส 7. ความเป็นธรรมในสังคม และค านึงถึงส่วนรวม 8. ความรับผิดชอบรับการตรวจสอบสาธารณะ