บริษัท ที่ผลิต มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า พลังงาน แบตเตอรี่

ในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ภาครัฐให้การสนับสนุน เพราะเป็นอุตสาหกรรมในการพัฒนา ประเทศในอนาคต และกำลังเป็นเทรนด์ที่จะเข้ามาแทนที่ยานยนต์ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงอย่างรวดเร็ว ด้วยปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม และปัญหาฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะภาคการขนส่งและคมนาคม ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนที่อยู่ในซัพพลายเชนนี้ จึงตระหนักถึงความสำคัญของการนำยานยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาดมาใช้งาน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดมลพิษแล้วยังเป็นการบริหารต้นทุนด้านพลังงานให้ลดลงได้อีกด้วย

สำหรับประเทศไทยในขณะนี้ แม้รถ EV จะยังมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบธรรมดาทั่วไป แต่เมื่อเทียบกับผลลัพธ์และความคุ้มค่าในระยะยาวแล้ว ก็ทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยก็พยายามหันมาใช้รถ EV เพื่อเป็นยานพาหนะหลักและใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ จนส่งผลให้เกิดการต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง และขยายผลเชิงธุรกิจเริ่มต้นใหม่ (Start Up) ในหมวดของยานยนต์ไฟฟ้าแบบเชิงพาณิชย์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

บริษัท ที่ผลิต มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า พลังงาน แบตเตอรี่

แนวโน้ม 2 ล้อ EV มีดีมานด์สูง

จากผลสำรวจพบว่าความต้องการรถจักรยานยนต์ในประเทศในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มขยายตัวและเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐที่ยังมีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จึงส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์และผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์อย่างต่อเนื่อง

โดยข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม – ธันวาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,309,474 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 14.14 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 1,780,654 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 10.24 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 528,820 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 29.58

นอกจากนี้ ยังพบว่าจักรยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าได้ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น งานด้านการขนส่งรับจ้าง และการเดินทางในชีวิตประจำวัน เนื่องจาก สามารถผ่านการจราจรที่ติดขัดได้ และราคาที่ไม่สูงมาก ทั้งยังใช้เทคโนโลยีมีความซับซ้อนน้อย จึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

บริษัท ที่ผลิต มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า พลังงาน แบตเตอรี่

รัฐไทยหนุนลงทุนยานยนต์พลังงานไฟฟ้า

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก โดยคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย [email protected] คือ การตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573 ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต

ล่าสุด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังมีมติรับทราบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 และครั้งที่ 1/2565 เพี่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ให้เป็นไปตามเป้าหมายการผลิตและการใช้ยานยนต์ไร้มลพิษของยานยนต์ทุกประเภท ดังนี้

ช่วง 2 ปีแรก (ปี 65 - 66) ให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศอย่างกว้างขวางโดยเร็ว ด้วยการยกเว้นหรือลดอากรนำเข้า ลดอัตราภาษีสรรพสามิต และ/หรือให้เงินอุดหนุนตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อเพิ่มอุปสงค์ยานยนต์ไฟฟ้าในภาพรวม และสร้างแรงจูงใจดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

ใน 2 ปีถัดไป (ปี 67 - 68) ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศเป็นหลัก ยกเลิกการยกเว้น/ลดอากรนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปทั้งคัน (CBU) แต่คงมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิต และ/หรือให้เงินอุดหนุนตามเงื่อนไขที่กำหนดต่อไป

นอกจากนี้ ยังกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการผลิตรถยนต์/รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ คือ

1. ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับชิ้นส่วนที่มีการนำเข้าในช่วงปี 65 - 68

2. ให้นับมูลค่าของเซลล์แบตเตอรีที่นำเข้าเป็นต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศสำหรับการคำนวณมูลค่าเพิ่มในประเทศ ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของราคายานยนต์ไฟฟ้าหน้าโรงงาน 

3. ผลิตรถยนต์/รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เพื่อชดเชยการนำเข้าในช่วงแรก (กรณีผลิตชดเชย ภายในปี 67 ให้ผลิตเท่ากับจำนวนที่นำเข้าในปี 65 - 66) และหากจำเป็นต้องขยายเวลาให้ผลิตชดเชยถึงปี 68

4. ผลิตหรือใช้แบตเตอรีที่ผลิตหรือประกอบในประเทศตามเงื่อนไขที่กำหนด

บริษัท ที่ผลิต มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า พลังงาน แบตเตอรี่

กรณีศึกษาการใช้จักรยานยนต์ใฟฟ้าในไต้หวัน

ที่ไต้หวันมีสตาร์ทอัพชื่อ Gogoro ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ระบบขนส่งครั้งสำคัญ ด้วยการพัฒนาเครือข่ายสถานีสลับแบตเตอรี ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ช่วยก้าวข้ามขีดจำกัดเรื่องแบตเตอรีหมดระหว่างทาง และไม่ต้องใช้เวลานานในการรอชาร์จ ซึ่งผู้ใช้รถสามารถแวะมาสลับเแบตเตอรีลูกใหม่ที่ชาร์จไฟเต็มแล้ววิ่งไปต่อได้เลย 

โดยเทคโนโลยีนี้สามารถใช้งานได้อย่างดีเยี่ยมกับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพราะแบตเตอรีและสถานีไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่มากเหมือนสถานีชาร์จรถยนต์ แต่มีลักษณะเหมือนกับตู้ขายของอัตโนมัติตามสถานที่ต่างๆ เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันใน 4 เมืองใหญ่ของไต้หวันมีสถานีแลกเปลี่ยนแบตเตอรีเกิดขึ้นมากมายเทียบเท่ากับจำนวนของปั๊มน้ำมันแล้ว ด้วยจำนวนการแลกเปลี่ยนแบตเตอรีที่มากกว่า 240 ล้านครั้งตั้งแต่ปี 2558 ส่งผลให้ Gogoro สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศลงได้ประมาณ 360,000 ตัน

สอดคล้องกับข้อมูลของรัฐบาลไต้หวันที่ระบุว่า ยอดขายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าคิดเป็น 21% ของรถจักรยานยนต์ทั้งหมดในไต้หวัน โดยที่ยอดขายน้ำมันเบนซินแบบดั้งเดิมก็ลดลงทุกๆ ปี ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าธุรกิจการแลกเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยายนต์แบบนี้ จะเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้คนหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น

บริษัท ที่ผลิต มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า พลังงาน แบตเตอรี่

สถานีสลับแบตฯ รับแรงหนุน Delivery ที่เมืองไทย

ส่วนประเทศไทยในตอนนี้ ด้วยรถมอเตอร์ไซค์ที่กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจ Delivery Service รวมถึงการขยายตัวของตลาด e-Commerce การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคออนไลน์ และเทรนด์เทคโนโลยีที่ทำให้แอปพลิเคชันต่างๆ ตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้ได้ดีขึ้น ประกอบกับแนวโน้มการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง 

จึงเกิดเป็นช่องทางสร้างโอกาสทางธุรกิจ จุดให้บริการ Swap & Go ที่ให้บริการสลับแบตเตอรีสำหรับผู้ใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้กับไรเดอร์ แบบไม่ต้องรอชาร์จ ซึ่งที่ผ่านมาปัญหาหลักของคนกลุ่มนี้ที่ทำให้ยังไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้คือ แบตเตอรีที่ต้องใช้เวลานานในการรอชาร์จ จึงไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง ทำให้บริการดังกล่าวสามารถตอบโจทย์การใช้งานของไรเดอร์ที่ต้องการทำรอบวิ่งให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง และทำรายได้ต่อวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จะเห็นได้ว่าตัวแปรที่สำคัญของยานยนต์ไฟฟ้าอีกอย่างในปัจจุบันคือ ‘แบตเตอรี’ เพราะราคายานยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับราคาแบตฯ ด้วย แน่นอนว่าในอนาคตแบตเตอรีสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าจะมีแนวโน้มที่ราคาจะถูกลงอย่างต่อเนื่อง เพราะมีซัพพลายมากขึ้น พร้อมทั้งยังสามารถเข้าถึงสถานีชาร์จได้อย่างง่ายดายภายในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าเดิมอีกด้วย

แหล่งอ้างอิง : 

https://www.voathai.com/a/game-changer-e-moped-batteries-spread-from-taiwan-across-asia/6419981.html

สอท. : https://bit.ly/3I7WGfe

รัฐบาลไทย : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51632

ก.พลังงาน : http://www.eppo.go.th/index.php/th/eppo-intranet/item/17415-ev-charging-221064-04

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333