การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ประโยชน์

ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเฝ้าระวัง และการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ป่วยมีอาการแทรกซ้อนหรือการชะลอความรุนแรงของการป่วย โดยให้ถือว่าบริการดังกล่าวเป็นกิจกรรมด้านการรักษาพยาบาล

เป้าหมาย

ประชาชนไทยทุกสิทธิ ได้แก่ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้มีสิทธิประกันสังคม ผู้มีสิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสิทธิอื่นๆ ย่อมมีสิทธิเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามราชกิจจานุเบกษาเรี่องประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข พ.ศ.2565 ของประชาชนแต่ละกลุ่มวัย

รายการหรือกิจกรรมบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (สิทธิประโยชน์) ที่ประชาชนทุกสิทธิจะได้รับ แยกตามกลุ่มวัยเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็กเล็กอายุ 0 - 5 ปี กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6 - 24 ปี กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25 - 59 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งนี้การจัดบริการตามรายการหรือกิจกรรมบริการ หน่วยบริการจะดำเนินการตามแนวทางหรือแนวเวชปฏิบัติ และมาตรฐานบริการที่กำหนดโดยกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขหรือราชวิทยาลัยหรือสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังนี้

กิจกรรมบริการที่จะได้รับ

  • กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
  • กลุ่มเด็กเล็กอายุ 0-5 ปี
  • กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6-24 ปี
  • กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี
  • กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

หากมีข้อสงสัยในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. 1330 (ตลอด 24 ชม.)

การสร้างเสริมสุขภาพชุมชนของบุคคลในชุมชนต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในชุมชน เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพและคุณภาพที่ดีของคนในชุมชน และสังคมโดยส่วนรวม  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ได้กำหนดให้คนไทยทุกคนได้รับโอกาสและมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และได้รับบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการรณรงค์การสร้างสุขภาพภายใต้กลยุทธ์ “รวมพลังสร้างสุขภาพ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ทุกกลุ่มทุกวัยมีความรู้และทักษะด้านสุขภาพ โดยมุ่งเน้นให้ศูนย์สุขภาพชุมชนและสถานีอนามัยเป็นหน่วยบริการสุขภาพหลัก ในการดำเนินงานประสานและเชื่อมโยงกับองค์กรภาคี เครือข่ายสุขภาพชุมชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้นโยบาย ดังกล่าวสัมฤทธิผลและบรรลุเป้าหมาย

การดำเนินงานสร้างเสริมและพัฒนาสุขภาพของชุมชนของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรม  ได้แก่

๑.ส่งเสริมให้ประชาชนรวมกันจัดกิจกรรมด้านสุขภาพในรูปของชมรมด้านสุขภาพครอบคลุมทุกชุมชน และหมู่บ้านโดยยึดแนวคิด  “ใช้พื้นฐานบูรณาการทุกภาคส่วน สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่วิถีชุมชน”

๒. บทบาทของการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมและพัฒนาสุขภาพของบุคคลในชุมชน คือ การร่วมกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้คนในชุมชนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น     ชมรมผู้สูงอายุ  กลุ่มทูบีนัมเบอร์วัน ชมรมแอโรบิก กลุ่มประชาคม            ชมรมสร้างสุขภาพ  กลุ่มกีฬา

๓.ชมรมสร้างสุขภาพ (Health Promotion Club) หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความสนใจในกิจกรรมเหมือนๆกัน ซึ่งเป็นชมรมหรือกลุ่มที่มีอยู่แล้วในชุมชน หรือมารวมกลุ่มกันใหม่ แล้วสมัครเป็นเครือข่ายชมรมสร้างสุขภาพกับสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ

๔.การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน  ดังนั้นคนในชุมชนจึงควรมีส่วนร่วมในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน

การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ประโยชน์

1.2      ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

  สุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน อาศัยการบูรณาการเชื่อมโยงด้านความร่วมมือของทุกๆหน่วยของสังคม ตั้งแต่ระดับของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

  ชุมชนเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมที่กำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ รวมทั้งเรื่องของสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้นๆ เช่นชุมชนเมืองมีประชากรอาศัยอยู่

อย่างแออัดหนาแน่น มีการแก่งแย่ง แข่งขันประกอบอาชีพ พึ่งพาเทคโนโลยี จึงทำให้ชีวิตของคนในชุมชนเมืองมีความเร่งรีบ แข่งขันกับเวลา และเกิดความเครียดง่าย ส่วนชุมชนบทเป็นชุมชนที่ผู้คนอยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัย ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย พึ่งพาธรรมชาติ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีซึ่งส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี แต่มีทางเลือกในการรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขน้อยกว่าคนในชุมชนเมือง เป็นต้น

                ถึงแม้ว่าชุมชนแต่ละชุมชนจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของลักษณะสภาพแวดล้อม และวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนก็ตาม แต่ทุกชุมชนก็สามารถเป็น ชุมชนสุขภาพดีได้ตามศักยภาพของตนโดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเป็นสำคัญ

                ก่อนที่จะทำความเข้าใจเรื่องความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน ควรทราบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนที่มีสุขภาพดี ดังที่ วรรณี จันทร์สว่าง ได้อ้างถึงฮันท์และซูเล็ก(Hunt&Zurek) ซึ่งได้กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้ชุมชนมีสุขภาพดีว่ามี 3 ประการ ดังนี้

                1.คน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของสมาชิก และความเข้มแข็งของครอบครัวในชุมชน รวมทั้งความสามารถและระบบจัดการของชุมชน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของชุมชน โดยชุมชนที่สมาชิกมีสถานะทางสุขภาพดี ครอบครัวมีความเข้มแข็ง ชุมชนมีความสามารถและมีระบบการจัดการที่ดี ย่อมส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพที่ดี

                2.สถานที่ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนมีทั้งสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมและทำลายสุขภาพ ชุมชนที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้สมาชิกมีสุขภาพดี ซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพดี

                3.ระบบสังคม ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบสวัสดิการ ระบบนันทนาการ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบศาสนา ระบบการเมือง ระบบการคมนาคม ระบบกฎหมาย ระบบบริการสุขภาพ โดยชุมชนที่มีประสิทธิภาพย่อมส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพที่ดี

                การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมีความสำคัญต่อสุขภาพ และการมีชีวิตที่สมบูรณ์ของบุคคล ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งสนับสนุนการมีสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของชุมชน โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ได้เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกว่า เป็นวิธีการที่ส่งผลให้คนในชุมชนและสังคมมีสุขภาพชีวิตที่ดี ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จังได้ออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติที่ได้วางทิศทางและนโยบายในเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพไว้หลายๆแนวทาง

และได้นำเสนอรูปแบบของการจัดโครงการจัดกิจกรรมรณรงค์ในเรื่องต่างๆแก่ประชาชน เช่น ประกาศให้ปี พ.ศ. 2545-2546 เป็น “ปีรณรงค์การสร้างสุขภาพ”มีการออกสัญลักษณ์”รวมพลังสร้างสุขภาพ”ให้หน่วยงานหรือชุมชนต่างๆได้นำไปใช้เป็นสัญลักษณ์ในการจัดงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนของตนเอง และในปี พ.ศ. 2550 มีการประกาศใช้นโยบายสุขภาพ 6 อ. (ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อนามัยสิ่งแวดล้อม อโรคยา อบายมุข)

                นอกจากนี้ยังได้ประกาศให้วันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันสร้างสุขภาพแห่งชาติ” และประกาศยุทธศาสตร์แห่งชาติ “ รวมพลังสร้างสุขภาพ เพื่อคนไทยแข็งแรงเมืองไทยแข็งแรง “

   โดยสรุปแล้วการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เป็นกลยุทธ์สำคัญของงานพัฒนาสุขภาพของชุมชน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนในการดูแลสุขภาพของชุมชนให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อการมีสุขภาวะที่สมบรูณ์ของทุกคนในชุมชน

รู้ไหมว่า

. วันที่ 27 พฤศจิกายน นอกจากเป็นวัน “สร้างสุขภาพแห่งชาติ” แล้วยังเป็นวันที่ตรงกับการสถาปนากระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย

. หน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การสร้างสุขภาพเป็นหลักของประเทศไทย คือ ศูนย์อำนวยการบริหารยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรง (The Healthy Thailand Strategic Management Center : HTSMC )

                ที่มา : http://www.thaihealth.or.th

เรียนรู้...สู่...ปฏิบัติ

1.แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน ร่วมกันอภิปรายเรื่อง ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของคนในชุมชน

2.จับคู่กับเพื่อนศึกษาค้นคว้าความรู้เรื่อง บทบาทของวัยรุ่นต่อการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน แล้วจัดทำเป็นรายงานนำเสนอหน้าชั้นเรียน

สุขภาพในชุมชนมีความสำคัญอย่างไร

งานสุขภาพชุมชน เป็นงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่เอาชุมชนหรือพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยมีกลุ่มประชากรสำคัญเป็นเป้าหมาย จุดมุ่งหมายสำคัญสูงสุดของการทำงานดูแลสุขภาพชุมชนคือการมุ่งให้ผู้คนในชุมชนแข็งแรงขึ้น อายุยืนขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจุบันมีกรณีศึกษามากมายเกี่ยวกับงานสุขภาพชุมชนที่มีนวัตกรรรม และรูปแบบการพัฒนาที่ ...

การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนมีความสำคัญอย่างไร

ปัญหาสาธารณสุขในชุมชน มีผลมาจากการไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีความรู้ ให้เกิดความตระหนักถึงการป้องกันโรค และสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ จึงมีความสำคัญในการช่วยลดปัญหาสาธารณสุขลงได้

การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนมีความสำคัญอย่างไร

ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนที่ต้องการเป็นคนมีสุขภาพดี การมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์จะเป็นทุนในการประกอบกิจกรรมและภารกิจในชีวิตประจำวัน ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการออกกกำลังกายเป็นประจำ

ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ มีอะไรบ้าง

การสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) มีความเกี่ยวข้องกับการทำให้คนมีสุขภาพที่ดี ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ทั้งการเสริมสร้างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมให้ตัวบุคคลดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว รวมถึงการสนับสนุนผลักดันให้สังคม สิ่งแวดล้อม อยู่ในสภาวะที่เอื้อต่อการทำให้มีสุขภาพที่ดี เช่น การเข้าถึงระบบการศึกษา การออกแบบผังเมือง ...