เคลียร์ของออกจากท่าเรือ ภาษาอังกฤษ

เคยมั้ยครับเวลาที่ได้บิลมาจากบริษัทขนส่งแล้วมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่คุณไม่คุ้นหูเลย ไม่แปลกครับที่คุณไม่รู้และไม่เข้าใจ ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำให้คุณเข้าใจมากขึ้นกับคำต่าง ๆ ที่คุณอาจจะได้เจอในบิลเวลาได้รับใบเรียกเก็บเงิน เพื่อป้องกันไม่ให้คุณถูกเอาเปรียบจากผู้ให้บริการขนส่งของคุณกันครับ

Demurrage Charge

Demurrage Charge คือ ค่าใช้จ่ายที่ใช้ตู้หนักวางอยู่ในท่า โดยสายเรือเป็นคนเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้ โดยปกติสายเรือจะมี Freetime พื้นฐานให้ลูกค้า 3-5 วัน สำหรับขาออกถ้าคืนตู้หนักแล้ววางตู้ในท่าเกิน Freetime ที่สายเรือกำหนดก็จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามอัตราที่สายเรือกำหนดไว้

ในทางกลับกันตู้หนักขาเข้าถ้าเคลียร์สินค้าช้าหรือวางตู้ในท่าเรือนานกว่าที่สายเรือกำหนดก็จะเกิดค่าใช้จ่ายขึ้น

Detention Charge

Detention Charge คือ ค่าใช้จ่ายที่ใช้ตู้นอกท่าเรือ โดยสายเรือเป็นคนเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้

การนับ Detention จะเริ่มขึ้นตั้งแต่การลากตู้เปล่าที่ลานปล่อยตู้จนถึงคืนตู้หนักที่ท่าเรือสำหรับสินค้าขาออก ส่วนขาเข้าจะนับจากวันลากตู้หนักออกจากท่าจนถึงวันที่คืนตู้เปล่า

ถ้าระยะหรือ Freetime เวลาเกินกว่าที่สายเรือกำหนดก็จะเกิดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ขึ้น

Storage Charge/Rent

Storage Charge/Rent คือ ค่าใช้จ่ายพื้นที่ที่ตู้หนักมาวางในท่าเรือ โดยท่าเรือนั้น ๆ เป็นผู้เก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้ การนับ Storage คล้ายกับการนับ Demurrage เพราะเป็นตู้หนักวางในท่าเหมือนกัน แต่ต้องยึดเวลา Freetime ที่ท่าเรือเป็นคนกำหนด ซึ่ง Storage Freetime อาจจะเท่าหรือไม่เท่ากับ Demrruage Freetime ก็ได้ขึ้นอยู่กับท่าเรือกำหนด

สรุป

Demurrage Charge และ Detention Charge เป็นค่าเช่าตู้ของสายเรือ สายเรือเป็นคนเก็บค่าใช้จ่าย ส่วน Storage Charge/Rent เป็นค่าเช่าพื้นที่ที่วางตู้หนักในท่าเรือ ท่าเรือเป็นคนเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้

กลุ่มบริการของเรา

พิธีการศุลกากรขาเข้า Import Customs Clearance

เมื่อสินค้าถึงประเทศปลายทาง ผู้นำเข้าจะต้องนำส่งเอกสารแจ้งรายการสินค้านำเข้าและชื่อผู้นำเข้าแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรของประเทศนั้นๆ สินค้าที่จะนำเข้านั้นจะยังไม่ถูกนำเข้าอย่างถูกกฎหมาย จนกว่าสินค้าจะถูกส่งถึงท่าเรือปลายทาง โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรของประเทศนั้นๆ และภาษีอากรขาเข้าได้ถูกชำระเรียบร้อยแล้วเท่านั้น ซึ่งผู้นำเข้ามีหน้าที่ในการจัดเตรียมเอกสารให้ทางเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบและนำสินค้าออกจากท่าเรือหรือสนามบินปลายทาง

สำหรับสินค้าที่ต้องการนำเข้าประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นทางเครื่องบิน ทางเรือ หรือทางรถ ทางซีพีแอล มีบริการเคลียร์สินค้า เคลียร์ภาษีและอากร และเป็นตัวแทนท่านในการออกของ ซีพีแอลให้คำปรึกษาท่านในเรื่องภาษีและอากรขาเข้าสำหรับสินค้าทุกประเภท ช่วยท่านในการเคลียร์สินค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าแบรนด์แนม สินค้าที่ติด มอก., สมอ., อ.ย. หรือ ใบอนุญาตนำเข้าต่างๆ สินค้าประเภทของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอางค์ นาฬิกา อะไหล่รถยนต์และมอเตอร์ไซด์ เป็นต้น

เอกสารที่ใช้ในการประเมินราคาค่าเคลียร์สินค้า + ค่าภาษีและอากรขาเข้าประเทศไทยเบื่องต้น

1.Invoice

2.Packing List

3.BL/AWB (กรณี สินค้าเข้ามาแล้ว ต้องใช้เพื่อเดินพิธีการ)

พิธีการศุลกากรขาออก Export Customs Clearance

สินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทย ต้องผ่านพิธีการศุลกากรขาออก ซึ่งเป็นการรายงานต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรว่า มีสินค้าอะไรบ้าง ใครเป็นผู้ส่งออก และส่งไปที่ใด

การส่งออกทุกชิปเม้นท์ เราจะจัดเตรียมเอกสารสำหรับการเดินพิธีการศุลกากรขาเข้าปลายทางให้กับลูกค้าดังนี้

การส่งออกสินค้าบางประเภท จำเป็นจะต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม เพื่อใช้สำหรับเดินพิธีการศุลกากรที่ประเทศปลายทาง
เราจะจัดเตรียมเอกสารให้ท่านเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

  • เอกสารรับรองการรมยาไม้ Fumigation Certificate : ใช้สำหรับการส่งออกสินค้าที่ทำจากไม้ และลังไม้
  • เอกสารรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Certificate of Origin (C/O) : สำหรับสินค้าที่เป็นผ้า (ส่วนมากสำหรับส่งออกสินค้าที่ทำจากผ้าไปประเทศในแถบยุโรป)
  • เอกสารรับรองสุขอนามัยพืช Phytosanitary Certificate : สำหรับสินค้าการเกษตร เช่นต้นไม้ และสำหรับสินค้าที่ทำจากไม้ ที่จะนำเข้าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
  • ISF Filling Form for USA : สำหรับทุกชิปเม้นท์ที่ส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกาทางเรือ
  • AFR Filling Form for Japan : สำหรับทุกชิปเม้นท์ที่ส่งออกไปญี่ปุ่นทางเรือ

การส่งออกสินค้าบางประเภทออกจากประเทศไทย จำเป็นต้องมีใบอนุญาตส่งออก ซึ่งทางเราสามารถช่วยประสานงานในการจัดทำได้ ตัวอย่างเช่น การส่งออกโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุออกนอกประเทศไทย (Antique Export Licenses) เป็นต้น

07 May 2021

เคลียร์ของออกจากท่าเรือ ภาษาอังกฤษ

การ Enter เอกสารคืออะไร?
​                Enter เอกสาร คือ การยืนยันข้อมูลบนเอกสาร Bill of lading(B/L) เพื่อที่ทางสายเรือหรือทาง Co-loader จะนำข้อมูลนำเข้าส่งให้กับทางกรมศุลกากรได้อย่างถูกต้อง กรณีผู้ที่นำเข้าสินค้าครั้งแรกควรระมัดระวังในการตอบกลับ Enter เอกสารเป็นอย่างมากเนื่องจากทางหากผิดขึ้นมาจะทำให้เสียเวลาในการแก้ไขเอกสารและอาจจะเสียค่าใช้จ่ายโดยที่ผู้นำเข้าไม่ควรจะเสียอีกด้วย

                โดยทั่วไปทางสายเรือหรือทาง Co-loader จะโทรหาหรือส่งอีเมลให้กับผู้นำเข้าเพื่อให้ Enter เอกสารหรือกับข้อมูลเรือ, ประมาณวันเรือถึง(ETA)และรายละเอียดต่างๆของแต่ละสายเรือหรือทาง Co-loader เมื่อเรือใกล้ถึงไทยหรือเรือถ่ายลำอยู่ที่ประเทศอื่นเพื่อรอเรือต่อมาที่ไทย

การ Enter 
เอกสาร
            ในสมัยก่อนนั้นการ Enter เอกสารสามารถแก้ไขได้เกือบทุกจุดในเอกสาร แต่ในปัจจุบันนั้นทางสายเรือหรือทาง Co-loader ของแต่ละที่ไม่สามารถแก้ไขรายละเอียดต่างๆได้ สามารถแก้ไขได้แต่ชื่อของผู้นำเข้าเท่านั้น เนื่องจากในปัจจุบันมีเอกสารปลอมมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน เช่น ถ้าหากชื่อ นามสกุล หรือบริษัทผิด สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้

จุดที่ควรตรวจสอบก่อน Enter 
เอกสาร
1. กรณีนามบุคคลชื่อ, นามสกุลและที่อยู่ ต้องตรงตามกับบัตรประชาชนหรือตรงตามกับที่ลงทะเบียนผู้นำเข้าส่งออกไว้
กรณีนิติบุคคลชื่อและที่อยู่ ต้องตรงตามกับที่ลงทะเบียนผู้นำเข้าส่งออกไว้

2. Mark ในเอกสาร BL ตรงตามกับรายละเอียดที่ติดมากับข้างกล่องสินค้า

3. จำนวน(No.), หน่วยของสินค้า(Packages), ชื่อของสินค้า(Description), น้ำหนัก(G.W.)และขนาด(CBM) ตรงตามกับสินค้าที่ต้องการนำเข้ามาหรือไม่ สามารถดูได้จาก Invoice และ Packing list

4. Status การเลือกนั้นจะมี 4 ประเภท
4.1 CFS(เปิดตู้เข้าโกดัง) คือเมื่อสินค้าถึงทางสายเรือจะนำสินค้าเข้าโกดังเพื่อรอทางผู้ให้บริการผู้นำเข้าสินค้ามาเคลียร์สินค้าและนำรถเข้ามาขึ้นของนำไปส่งยังปลายทาง
4.2 CY(ลากตู้) คือเมื่อตู้คอนเทนเนอร์ลงมาที่ลานตู้คอนเทนเนอร์ทางผู้ให้บริการผู้นำเข้าสินค้ามาเคลียร์สินค้าและลากตู้ไปยังปลายทาง
4.3 ขนส่งหน้าตู้แรงงานลูกค้า คือ การนำเข้าแบบ FCL แต่ผู้นำเข้าไม่มีพื้นที่ในการนำสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ จึงทำการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือแทนเพื่อนำสินค้าออกมาและจัดส่งไปยังปลายทาง
4.4 ขนส่งหน้าตู้แรงงานท่าเรือ การทำงานเหมือนกับขนส่งหน้าตู้แรงงานลูกค้า แต่ผู้ที่ทำการขนย้ายสินค้าออกจากตู้จะเป็นคนของท่าเรือ **ถ้าหากใช้ Status นี้จำเป็นต้องแจ้งท่าเรือล่วงหน้าและต้องตรวจสอบกับทางสายเรือและท่าที่นำเข้า เนื่องจากบางสายเรือและท่าที่นำเข้านั้นไม่มีแรงงานท่าเรือ

                โดยถ้าหากนำเข้าแบบ LCL สามารถเลือก Status ได้เพียงข้อ 4.1 เท่านั้นและการนำเข้าแบบ FCL สามารถเลือกได้ทั้งข้อ 4.2, 4.3 และ 4.4 ผู้นำเข้าสามารถเลือกได้จากความเหมาะสมของที่จัดส่งสินค้าหรือตามขนาดของสินค้า โดยแต่ละ Status จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันขึ้นอยุ่กับสายเรือหรือ Co-loader ผู้นำเข้าควรตรวจสอบก่อนเลือกใช้

เมื่อเอกสารไม่ถูกต้อง ทำอย่างไร?

            ในกรณีเมื่อตรวจสอบแล้วเอกสารไม่ถูกต้อง จะต้องทำการแก้ไขโดยแจ้งกับทางต้นทางให้แก้ไขรายละเอียดนั้นๆ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ทางเราแนะนำผู้นำเข้าส่งออกควรให้ทาง Shipping ของผู้นำเข้าเป็นผู้จัดการจะง่ายต่อการแก้ไขมากกว่าและถ้าหากผู้นำเข้าทำการนำเข้าสินค้าควรหา Shipping เคลียร์สินค้าไว้ก่อนนำเข้าเสมอ เพื่อง่ายต่อการ Enter เอกสารที่ถูกต้องแน่นอนและง่ายต่อการจัดการรายละเอียดต่างๆในการนำเข้าสินค้า