เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เปิดใช้งานตลอดเวลา

Show

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้

คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน

คุกกี้ในส่วนการตลาด

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ท่านที่ทำงานบริษัทหรือพนักงานกินเงินเดือนทุกๆท่าน โดยปกติทุกๆเดือนเราจำเป็นจะต้องจ่าย ประกันสังคม ในแต่ละเดือน เพื่อเป็นกองทุนแก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน แต่ท่านผู้อ่านพอจะทราบหรือไม่ว่าเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตอนนี้มีจำนวนเท่าไหร่? และสิทธิประกันสังคมมีอะไรบ้าง และจะได้เงินอะไรอย่างอื่นอีกบ้างวันนี้เราจะมาแนะนำ วิธีเช็คสิทธิประกันสังคม ออนไลน์ด้วยตัวเองไม่เกิน 3 นาทีรู้ผล ง่ายทำได้จริง

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

วิธีเช็คสิทธิประกันสังคม ออนไลน์ด้วยตัวเองไม่เกิน 3 นาทีรู้ผล

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

อ่านให้รู้ สิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตนมาตรา 40

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

ขั้นตอนเช็คสิทธิประกันสังคม ออนไลน์

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

อันดับแรกเข้าเว็บ สำนักงานประกันสังคม คลิก www.sso.go.th

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

2.จากนั้นเมื่อมาที่หน้า ระบบสมาชิก ผู้ประกันตน ให้ไปคลิกที่ สมัครสามาชิกดังรูป

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

ติ๊กยอมรับข้อตกลงในการบริการ จากนั้นกดถัดไป

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

กรอกข้อมูลในรูปให้ครบ เมื่อครบแล้วกดถัดไป

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

จากนั้น คลิกที่นี่ เพื่อขอรับรหัส นำรหัสที่จะจาก SMS บนมือถือมาใส่ในช่องใส่รหัส กดยืนยัน

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อย หน้าจอจะแสดงผลดังรูป

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

เข้าสู่ระบบ จากรหัสที่สมัครไปด้านบน เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

 คลิกที่ผู้ประกันตนดังรูป

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

การตรวจสอบข้อมูลสิทธิประกันสังคม มีรายละเอียดดังนี

วิธีลงทะเบียนรับค่าชดเชยเงินค่าจ้าง กรณีตกงาน จากการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 จากประกันสังคม

อัพเดทคนสูงอายุ 60-65 สมัครประกันสังคมได้แล้ววันนี้

สำนักงานประกันสังคมทำการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ว่า ได้เปิดให้แรงงานอิสระหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งเป็นผู้สูงวัยอายุระหว่าง 60 แต่ไม่ถึง 65 ปี สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้แล้ว โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา

กระทรวงแรงงาน ระบุว่า สำหรับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ประกันสังคม ผู้สูงวัยจะสามารถเลือกได้ครบทั้ง 3 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท ต่อเดือน ทั้งนี้ การแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าว เป็นผลจากการปรับปรุง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ตามมติ ครม. เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งจากเดิมกำหนดให้ผู้ประกันตันต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี เปลี่ยนเป็น 65 ปี โดยผู้สมัครเข้าประกันตนตามมาตรา 40 นี้ จะต้องไม่เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามประกันสังคมมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39

กระทรวงแรงงานกล่าวย้ำถึงผู้สูงวัยที่มีอายุใกล้ครบ 65 ปีบริบูรณ์ว่า ควรรีบสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เพียงใช้บัตรประชาชนใบเดียว และจ่ายเงินสมทบทันที โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด หากอายุเกิน 65 ปีบริบูรณ์แล้ว จะไม่สามารถสมัครได้

ข้อมูลการส่งเงินสมทบ

-ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล

-ประวัติการเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาล

-การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน

-การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ

-ตรวจสอบข้อมูลใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์

สิทธ์ประโยชน์ต่างๆ

-ขอเบิกกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย

-การบริการที่ท่านจะได้รับจากสถานพยาบาล

-สถานพยาบาลต่าง ๆ จะให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาแก่ผู้ประกันตนตามมาตรฐานทางการแพทย์ รวมถึงรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในกรณีที่ทางโรงพยาบาล ไม่สามารถให้บริการได้ และต้องมีการส่งตัวไปรับการรักษายังสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า

-การบริการจากสถานพยาบาลเครือข่าย คือ  ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายของโรงพยาบาลตามสิทธิฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

โรคและบริการที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์  (กลุ่ม 13 โรคยกเว้น) ดังนี้

  • โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องจากการใช้สารเสพเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
  • การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรัง ยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไต ด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม , ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราที่กำหนด
  • การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
  • การรักษาภาวะมีบุตรยาก
  • การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้น การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะหรือเซลล์ต้นกำเนิด ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด
  • การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น
  • การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้น

(ก) การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ให้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 750,000 หรือ 1,300,000 บาทต่อราย แล้วแต่กรณี ให้แก่สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดกระบวนการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่คณะกรรมการการแพทย์รับรอง และได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

(ข) การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา โดยให้เหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล 35,000 บาทและให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย 15,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

(ค) การปลูกถ่ายตับ , การปลูกถ่ายปอด , การปลูกถ่ายหัวใจ , การปลูกถ่ายตับอ่อน รวมถึงการปลูกถ่ายเกินกว่าหนึ่งอวัยวะขึ้นไป

  • การเปลี่ยนเพศ
  • การผสมเทียม
  • การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น
  • ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่าย จริงไม่เกิน 1,300 – 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
  • ทำแว่นตา

ตกงานลาออกเลิกจ้างได้สิทธิอะไรบ้าง จากประกันสังคม


กรณีไม่มีสถานพยาบาลตามสิทธิการรักษาพยาบาล

สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีเจ็บป่วยครบตามเงื่อนไขแล้วแต่ยังไม่มีสถานพยาบาลตามสิทธิ สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลได้  หากประสบอันตรายจากอุบัติเหตุสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ตามอัตราเดียวกับการเจ็บป่วยกรณีอุบัติเหตุ  ส่วนการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ๆ สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้ในอัตราเดียวกับการเจ็บป่วยกรณีฉุกเฉิน

กรณีผู้ประกันตนจำเป็นต้องรับการรักษาตัวประเภทผู้ป่วยใน

ให้ผู้ประกันตน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง แจ้งสำนักงานประกันสังคมในท้องที่ที่เกิดเหตุทราบทันที เพื่อให้สำนักงานประกันสังคมดังกล่าว กำหนดสถานพยาบาลให้ผู้ประกันตนใช้บริการทางการแพทย์ต่อไป

ขอเบิกสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

จ่ายงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร

จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง

พิจารณาสั่งจ่าย

เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  • สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้
  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  7. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  9. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุ* หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

สถานที่ยื่นเรื่อง

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

ขอเบิกสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย หรือกรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป

ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน

ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th) ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้ ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี มีดังนี้

ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง, จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย, ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรงละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร, ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง,ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา, ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ,

สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน เงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ดังนี้

กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทตัวอย่างเช่น  ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท

ในกรณียื่นคำขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือ สิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)

หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้

หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)

หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ผ่าน 11 ธนาคาร ดังนี้

  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
  3. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
  5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
  7. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
  9. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

สถานที่ยื่นเรื่อง

ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต  (เว็บไซต์ www.empui.doe.go.th) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกำหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน

ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น.

หมายเหตุ* ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 2 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

ขอเบิกสิทธิประโนชน์กรณีชราภาพ

ขอเบิกสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร

วิธีสมัคร ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ(ม.39)

วิธีสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

ในช่วงภาวะวิกฤตไวรัสโควิด-19แบบนี้  MoneyGuru ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพและเป็นกำลังใจให้เราผ่านช่วงนี้ไปด้วยกัน ส่วนใครที่มองหาตัวช่วยเงินกู้สำหรับใช้ในการจับจ่ายใช้สอยที่ง่าย สะดวก และทำได้ที่บ้าน เรายังมีตัวช่วยสำหรับการ เปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล หรือจะเป็นบัตรเครดิตอื่นๆ ให้เลือกใช้ เข้ามาเปรียบเทียบบัตรเครดิตได้ทุกวันที่ MoneyGuru นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ทางช่องทาง LINE @MoneyGuruThailand รับรองว่าคุณจะได้คำแนะนำราคาเบี้ยประกันที่ดีที่สุดจากเรา

เช็ค ประวัติการ ทํา งาน กับ ประกัน สังคม

ไม่พลาดทุกเรื่องราวข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @MoneyGuruThailand

ที่มา สสส.